วิธีการเจริญสติที่ถูกต้อง

วิธีการเจริญสติที่ถูกต้อง

ให้พยายามตามรู้สึกตัว
มากเข้าๆ ไปอีก
 
ในการยกมือสร้างจังหวะ
เอามือเข้าเอามือออก
แล้วก็รู้สึกชัดในการที่เราเดินไป
ขณะเท้ากระทบพื้น
พอเรารู้ในส่วนนี้มันชัดเท่านั้นเอง
แล้วเราก็จะรู้ขยายออกไป
ถึงส่วนย่อยของอวัยวะต่างๆ
เช่นการเหยียดแขน คู้แขน
การลืมตา อ้าปาก กลืนน้ำลาย
กระพริบตา การเคี้ยวอาหาร
รู้ขยายออกไปๆ ในอิริยาบทย่อยๆ
เราลุก เราก็รู้ เรานั่งเราก็รู้
เรายืนเราก็รู้ เราเดินเราก็รู้
เราจะไปจับอะไร ทำอะไร
มันก็รู้โดยอัติโนมัติ
 
ถ้าหากเรารู้ชำนาญในส่วนใหญ่ๆ แล้ว
ในอิริยาบถใหญ่แล้ว
มันค่อยรู้ลึกลงไปๆ
 
เราก็จะไปถึงการเห็นความคิด
ความคิดมันเกิดขึ้น
แต่ทีแรกเราจะไม่เห็น
ความคิดมันเกิดขึ้น ๑๐๐ เรื่อง
เราจะเห็น ๒-๓ เรื่อง
แต่ถ้าเรามีความรู้สึกมากขึ้น
เราก็จะเห็นความคิดถี่ขึ้น
ความคิด ๑๐๐ เรื่องก็จะเห็น ๕ เรื่อง
๑๐ เรื่อง ๒๐ เรื่อง ๓๐ เรื่อง
๔๐ เรื่อง ๕๐ เรื่อง
 
จนกระทั่งเกิด ๑๐๐ เรื่อง
เราเห็น ๑๐๐ เรื่อง
 
แล้วการที่เห็นความคิดของเรานี้
ทุกๆ ท่านที่ปฏิบัติมาพอสมควรแล้ว
จะเห็นความคิดของตัวเอง
ว่าความคิดแรกมันจะยาว
คือความคิดมันยาว
แล้วบางทีเราเดินไปตั้งนาน
มันก็คิดไปตั้งนาน มันจึงไปเห็น
พอไปเห็นมันจึงหยุด
 
แต่เมื่อเรามีความรู้สึกมากขึ้น
ความคิดมันจะสั้นลงๆ
เพราะสติของเราเข้าไปเห็นบ่อยเข้า
คือสติของเรามันเริ่มอยู่กับตัวมากเข้า
เราก็จะเห็นความคิดถี่ขึ้น
 
เมื่อเห็นถี่ขึ้น ความคิดมันก็สั้นลง
เราเห็นถี่ขึ้นมากเท่าใด
มันก็จะสั้นลงมากเท่านั้น
มันจะสั้นลงๆ
จนกระทั่งมันเกิดปั๊บ ดับ
เกิดปั๊บ ดับ

การเจริญสติต้องวางใจอย่างไร?

การเจริญสติต้องวางใจให้ถูก การวางใจถูกคือ
1. ปฏิบัติด้วยความผ่อนคลาย สบาย ๆ
ไม่เอาจิตไปเกาะติดกับกายเกินไป2. ไม่ไหลไปเข้าไปความคิดนานเกินไป
การเห็นรูป เคลื่อนตัวสบาย ๆ
จะเห็นเป็นแต่เพียงอาการ ไม่มีเราอยู่ในนั้นให้ฝึกให้คุ้นเคยกับสภาพการรู้แบบนี้
ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเวลาหลั

ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใด ๆ ให้รู้สึกตัว
“กายเคลื่อนไหว ให้ใจรู้ด้วย”
ตามย้ำตามซ้ำให้เกิดความคุ้นชินอันนี้ก่อน
เผลอไปไม่เป็นไร กลับมารู้สึกตัวใหม่
ให้รู้น้อย ๆ ทีละขณะ รู้ทิ้ง รู้ทิ้ง รู้เบา ๆ คลาย ๆ
เวลาความคิดเกิดขึ้นให้รู้ปล่อย รู้ปล่อย

สภาวะใดเกิดขึ้นอย่าไปเค้นว่ามันคืออะไร
ไม่ต้องเอาเหตุเอาผลอะไร นั่งก็เพียงเพื่อจะนั่ง
ไม่ต้องคิดว่าเมื่อไหร่จะสง
เมื่อไรจะหยุดฟุ้งซ่าน
เมื่อไรจะหายง่วง

ในการฝึก ให้ “รู้สึก” ลงไป ไม่ใช่แค่ “รู้ว่า”
“รู้ว่า” กับ “รู้สึก” คนละเรื่องกัน

ล้างชามให้รู้ว่าล้างชาม
กระพริบตาให้รู้ว่ากระพริบต
อันนี้ไม่ใช่
ต้องรู้สึกลงไปด้วย
ขณะกระทบสัมผัสนี่
เวลานั่งตะโพกกระทบพื้นรู้สึกไหม

ถ้าวางใจถูก
ไม่นานจิตจะรู้จักกับสภาพเปล่า ๆ ล้วน ๆ
อยู่ตรงหน้า

เรื่องง่าย ๆ อย่าทำให้มันยาก
มันยากเพราะเราพยายามเกินไป
หรือไม่พยายามเลย

การเจริญสติคือการซ้อมสร้างความตื่น
ถ้ามันยังไม่พอ มันจะยังไม่แสดงตน

อย่าอยาก ยิ่งอยากรู้ ยิ่งไม่รู้
ถ้าวางใจถูก กายกับใจจะสัมพันธ์กัน
ไม่นานจะเกิดความตื่นโพลงขึ้น
จะมีอาการโปร่งเบา เป็นอิสระ
จิตจะคลี่คลาย
ดวงตาเห็นธรรมจะเปิดออก

พระพุทธยานันทภิกขุ