รูปนามสัมผัสได้ ไม่ต้องคิด
ตัวหลักคือรูปนาม รูปนามเหมือนกับเรานั่งอยู่บนฝั่งน้ำ ฐานเดิมของเราคือความรู้สึกขณะที่รู้อยู่ขณะนี้โดยที่ไม่ต้องใช้หัวคิด ใช้ปัญญา ใช้เหตุผลคาดคะเน หรือใช้วิธีคิดอะไรทั้งสิ้น ที่เราสัมผัสได้ขณะนี้เดี๋ยวนี้ อันนี้คือตัวหลักเราเรียกว่ารูปนาม มีอยู่ใช่มั้ยความรู้สึกอันนี้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง เจ็บปวด มีอยู่สัมผัสได้ อันนี้คือตัวหลัก เป็นรูปนามที่เราสัมผัสได้เลยโดยที่ไม่ต้องคิด
เวทนา ทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่า
สุข ทุกข์ อทุกขมสุขเวทนา มีกับเราตลอดเวลา มันไม่ได้มีบางเวลา เหมือนฝนที่ตกลงมา เราต้องการน้ำมากเท่าไร เราก็เอาภาชนะมารอง ภาชนะเล็กๆก็เก็บได้น้อย นักวิทยาศาสตร์สร้างเขื่อน น้ำก็เลยกลายเป็นทรัพย์มหาศาล ผลิตได้สารพัดอย่าง เวทนาเหมือนฝน พัดลงมาสู่กายใจตลอดเวลา เราต้องสร้างเขื่อนคือตัว”สติ” เราต้องการปัญญามากแค่ไหน ก็สร้างเขื่อนให้ใหญ่ๆ
บริหารเวทนา ให้สงบจากเวทนา
ในช่วงของการปฏิบัติ เราเกี่ยวข้องกับเวทนาทั้งสามตัวนี้ตลอดเวลา สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกสบาย ความรู้สึกไม่สบาย ความรู้สึกไม่แน่ว่ามันจะสบายหรือไม่สบาย อทุกขมสุขเวทนาไม่ใช่ตัวอุเบกขา แต่ว่ามันเป็นภาวะที่ไม่ชัดนั่นเอง ในสภาวธรรมอื่นๆ มันก็ออกมาเป็นตัววิจิกิจฉา เป็นตัวที่ไม่ชัดเจน เราคอยบริหารเวทนาตลอดเวลา โดยการสังเกตดูว่าเวทนาทั้งสาม ตัวไหนชัดกว่าเพื่อน ระหว่างความสบาย ไม่สบาย และความรู้สึกทั้งสองอย่าง ที่เราสังเกตไม่ชัดว่าสบายหรือไม่สบาย แต่ละคนจะรู้อยู่แก่ใจตนเองว่าตัวไหนมีมากกว่า เราก็บริหารจัดการเวทนาทั้งสามนี้ให้มันอยู่ได้ พอทนได้ แต่คนที่ไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็จะอยู่ในเวทนาแค่สองตัว คือ อวิชชาและโทมนัส หรือ สุขเวทนาและทุกขเวทนา ถ้าหากเป็นสุขเวทนาก็จะไปยึดติด หลง ไขว่คว้า ปรารถนาให้มากขึ้น ในส่วนที่เป็นทุกขเวทนา ก็พยายามไปแก้ไขบำบัด หรือวิ่งหนีหลีกเลี่ยง ก็จะมีสองตัวนี้ตลอดเวลา เป็นขั้วบวกขั้วลบ ชีวิตของเรามันก็ไม่เข้าไปสู่ความรู้สึกสงบจากเวทนา
โพธิราชกุมารสูตร
การปฏิบัติวิปัสสนาที่ได้ผลเร็ว พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในโพธิราชกุมารสูตร ๑. มีศรัทธาที่ถูกต้อง ๒. พิสูจน์ในสิ่งที่เราศรัทธา ๓. มีเวทนาที่เบาบาง แต่ที่ทำกันทั่วไปตรงกันข้าม หลายท่านบังคับเวทนาให้มันหนักเข้าไว้ แล้วถึงจุดหนึ่งจะหลุดไปเอง นั่ง ๒-๕ ชั่วโมงไม่ยอมเปลี่ยน ให้ตายกันไปข้างหนึ่ง ซึ่งไม่ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ให้มีเวทนาเบาบาง ซึ่งท่านเคยทำมาแล้วในสมัยบำเพ็ญทุกขกิริยา ๔. เป็นคนซื่อ ตรงไปตรงมา ไม่ไปเล่นแร่แปรธาตุให้บิดเบี้ยวแปรปรวน ๕. มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติสัมปชัญญะปกติ และมากพอที่จะเข้าไปเห็นเหตุเกิดทุกข์ ถ้าปฏิบัติตามห้าข้อนี้ ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นนักบวชหรือคฤหัสถ์ ก็จะพบสัจธรรมหรืออมฤตธรรมได้ทุกคน
ใส่ใจในเวทนา รู้ให้ชัดๆ
เมื่อมีความรู้สึกสบายก็ให้รู้ชัดๆ ว่าสบาย เมื่อรู้สึกไม่สบายก็ให้รู้ชัดๆ ว่าไม่สบาย แต่วิสัยของคนทั่วไป เมื่อรู้สึกสบายก็จะแช่ แล้วก็เสพ แล้วก็ต้องการเพิ่มจำนวน เมื่อรู้สึกไม่สบายอึดอัดขัดเคือง ก็หาทางหลบเลี่ยง ไม่สู้ เมื่อความรู้สึกไม่ชัดว่าเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เราก็ไม่ได้ใส่ใจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราปล่อยวาง เพราะเป็นการไม่ใส่ใจแบบไม่รู้ เป็นอทุกขมสุขเวทนา เป็นสาเหตุให้เกิดตัณหาได้ แต่ถ้าเราใส่ใจว่าอะไรกำลังเกิด แต่ไม่ไปสำคัญมั่นหมายอะไรอันนี้เป็นอุเบกขา
สุขเวทนา ที่มาของกามราคะ
ถ้าเราไม่มีสติ สมาธิ ปัญญา เข้าไปบริหารสุขเวทนา สุขเวทนาก็จะแปรสภาพเป็นความพอใจ ความพอใจก็เป็นเหตุให้เกิดกามราคะ ดังนั้น สุขเวทนาจึงเป็นต้นเหตุของ ราคะ โทสะ โมหะ เรามาเจริญสติรู้สึกตัวให้เข้าไปรู้อาการความสบายชัดๆ เพื่อจะไม่ให้ใจของเราไปแช่อยู่ตรงนั้น แต่คนทั่วโลกก็ไปติดอยู่ตรงนี้ วิ่งหาสุขเวทนากัน เราต้องบริหารสุขเวทนา โดยการเข้าไปรู้ชัดๆ ไม่แช่ ไม่เสพ ไม่เข้าไปยึด มีความพอดี เบาบาง ไม่ให้มันสุขมากไปกว่านั้น สมมติว่านั่งไป ๒ นาที สมาธิสงบ แช่เลย แต่ถ้าได้สติว่ามันสุขเกินไป ก็ต้องออกมา ทำให้มันเปลี่ยนแปลงโดยการเปลี่ยนอิริยาบถ ถ้านั่งแล้วมันไม่สบาย เราก็ไม่ต้องสู้จนกระทั่งความไม่สบายนั้นหายไป เราก็ต้องปรับท่านั่งใหม่ให้มันผ่อนคลาย แต่ถ้านั่งแช่อยู่อย่างนั้น แสดงว่าคนนั้นขึ้เกียจ นั่งสมาธิทั้งวันก็ถือว่าขี้เกียจ นั่งสร้างจังหวะทั้งวันก็ถือว่าขี้เกียจ เพราะสาระคือ ๑. การเพียรระวังไม่ให้สุขเกินไป ทุกข์เกินไป ๒. เมื่อสุขหรือทุกข์เกินไปต้องเพียรละ ๓. เพิ่มตัวรู้สึกให้มากขึ้น ๔. ตัวรู้ที่เพิ่มมากขึ้นรักษาระดับมันไว้
สุขเวทนาพัฒนาขึ้นมาเป็นความพอใจ กามะ ตัณหา กามาสวะ
ทุกข์กายล้ำเส้นเป็นทุกข์ใจ
ถ้าตัวทุกขเวทนาเข้มข้นขึ้น เริ่มกินเนื้อที่ของจิตเข้ามา ทำให้จิตขุ่นมัว เศร้าหมอง หงุดหงิด ไม่พอใจ หมายความว่าสติของเราไม่สามารถควบคุมทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบายทางกายในขอบเขตที่ชัดเจน มันล่วงล้ำเขตของฝ่ายอารมณ์เข้าไปแล้ว ลักษณะนี้เรียกว่าเสพทุกข์แล้ว เราก็ต้องคอยกลับมาบำบัดออกไป ต้องทดสอบก่อน ไม่ใช่หนีทันที ไม่ใช่พอไม่สบายก็เปลี่ยนทันที โดยขาดการศึกษาตรงนั้น
ความรู้สึกไม่สบาย ถ้าไม่กำหนดรู้ชัดๆ เราก็วิ่งหนีความรู้สึกไม่สบาย เกิดตัวไม่พอใจ พัฒนาเป็นปฏิฆะ โทสะ โกธะ มานะ และมานะตัวนี้จะติดตามต่อไป แม้แต่พระอริยสงฆ์ขั้นพระอนาคามียังละไม่ได้เลย
ทุกขเวทนาก่อให้เกิด ปฏิฆะ โทสะ โกธะ มาจากการที่เราไม่บริหารทุกขเวทนาให้ถูกต้องพอดี
รู้ไม่ทันเฉย เลยกลายเป็นโมหะ
เมื่อเราบำบัดอาการสบาย ไม่สบาย จนรู้สึกเบาบางไปหมด เราสังเกตว่า เรานั่งปฏิบัติไปนานๆความรู้สึกมันพอดี นั่งได้นานแล้ว ทีนี้เราก็แช่ความรู้สึกที่มันเฉยๆนั้นแหละ แต่ไม่ได้ศึกษาดูว่าความรู้สึกเฉยๆที่มันไม่สุขไม่ทุกข์ มันเป็นอะไรกันแน่ ไม่ได้เข้าไปพิจารณาเอาใจใส่ ดูให้มันชัดๆ เข้าไปแช่ ก็เป็นอทุกขมสุขเวทนา ตัวนี้ก็พัฒนาเป็นโมหะ หลง อวิชชา ตัณหา
อทุกขมสุขเวทนา พัฒนาเป็นตัวโมหะ ทิฐิ
สมมติว่านั่งไป ๒ นาที
สมาธิสงบ แช่เลย
แต่ถ้าได้สติว่ามันสุขเกินไ ป
ก็ต้องออกมา
ทำให้มันเปลี่ยนแปลง
โดยการเปลี่ยนอิริยาบถ
ถ้านั่งแล้วมันไม่สบาย
เราไม่ต้องสู้ทนนั่ง
จนกระทั่งความไม่สบายนั้นหา
เราก็ต้องปรับท่านั่งใหม่
ให้มันผ่อนคลาย
แต่ถ้านั่งแช่อยู่อย่างนั้น
แสดงว่าคนนั้นขึ้เกียจ
นั่งสมาธิทั้งวันก็ถือว่าขี
นั่งสร้างจังหวะทั้งวันก็ถื
เพราะสาระคือ
๑. การเพียรระวังไม่ให้สุขเกิน
๒. เมื่อสุขหรือทุกข์เกินไปต้อ
๓. เพิ่มตัวรู้สึกให้มากขึ้น
๔. ตัวรู้ที่เพิ่มมากขึ้นรักษา
ตัวสุขเวทนาพัฒนาขึ้นมา
เป็นความพอใจ กามะ ตัณหา กามาสวะ
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)