ถอดธรรมบรรยายจากคลิป นวัตกรรมแห่งสติ ๓๐

พระธรรมเทศนา ณ ครุสติสถาน เช้า ๑๘ ก.ค. ๖๐ โดย หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท

เรื่อง สอบอารมณ์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ไตรลักษณ์และไตรสิกขาเป็นธรรมชุดเดียวกัน
เหมือนสวิตช์ไฟ เราจะเปิดให้สว่างหรือปิดให้มืดก็ได้
ทุกสิ่งเป็นอันเดียวกัน ขึ้นอยู่กับเราต้องการใช้หรือไม่ใช้
บางครั้งเราต้องการมืด บางครั้งเราต้องการสว่าง
ถ้าเราควบคุมความมืดความสว่างได้ตามต้องการ
เรียกว่ารู้ปรมัตถ์ คือใช้สมมติได้ตามต้องการ
ถ้ารู้แต่สมมติไม่รู้ปรมัตถ์มันจะยุ่งไปหมด
เช่น เราจำเป็นต้องกลับบ้านวันที่ห้า
พอไม่ได้กลับ เรารู้สึกขึ้นมาได้ว่า
วันที่ห้าหรือวันที่เจ็ดก็เป็นเพียงสมมติ
เรียกว่ารู้ปรมัตถ์
ถ้ารู้แต่สมมติไม่รู้ปรมัตถ์
จะคิดปรุงแต่งยาวไปเลย
เราใช้สมมติปรมัตถ์เป็น
เหมือนเราเปิดปิดไฟฟ้าได้ตามต้องการ
เรารู้ปรมัตถ์เพื่อที่จะใช้สมมติให้เป็น
สมมติมีเป็นแสนเป็นล้าน
แต่ปรมัตถ์มีเหตุหนึ่งก็มีอันหนึ่ง
สมมติว่าการคว่ำมือเป็นสมมติ
การหงายมือเป็นปรมัตถ์
คว่ำกับหงายก็เป็นอันเดียวกัน
แต่เวลาใช้งาน แล้วแต่เหตุปัจจัย
ว่าจะให้เราใช้อะไร
บางครั้งเราต้องการใช้สุข
บางครั้งเราต้องการใช้ทุกข์
เช่น เราต้องใช้ทุกข์ในการทำงานเพื่อให้มีอยู่มีกิน
ทุกข์เปรียบเสมือนคว่ำ
ไม่ทุกข์เปรียบเสมือนหงาย
สุขเปรียบเสมือนคว่ำ
ไม่สุขเปรียบเสมือนหงาย
ไม่สุขไม่ได้หมายถึงทุกข์
ไม่ทุกข์ไม่ได้หมายถึงสุข
ไม่สุขไม่ทุกข์ คืออยู่เหนือสุขเหนือทุกข์
เหนือสุขเหนือทุกข์เป็นหงาย
สุข-ทุกข์เป็นคว่ำอยู่
เราใช้บางเหตุการณ์เท่านั้นเอง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เรารู้ปรมัตถ์เพื่อให้รู้ทันสมมติ
อันไหนที่จำเป็นก็เป็นปรมัตถ์ในขณะนั้น
อันไหนที่หมดความจำเป็นก็เป็นสมมติ
เราเปิดไฟในเวลาที่มืดเพราะมันจำเป็น
แต่พอมันสว่างแล้วยังเปิดอีก
ไฟหมดความจำเป็นแล้ว
ไฟกลายเป็นสมมติไป
เพราะหมดความจำเป็น
ปรมัตถ์สนองความจำเป็น
ที่ร่างกายต้องการเท่านั้น
คนเราเป็นทุกข์เพราะไม่เข้าใจปรมัตถ์
จึงเกิดความสับสนวนไปวนมา ไม่รู้จะเอายังไงดี
แต่พอเข้าใจปรมัตถ์ รู้ว่าสิ่งนี้เป็นสมมติ
เวลาคนพูดมาไม่ถูกใจ ก็รู้ว่าเป็นสมมติ
ถ้าไม่รู้จักสมมติ ก็หาเรื่องเถียงกันต่อไปอีก
เพราะผิดมาจากถูก ถูกมาจากผิด
หงายมาจากคว่ำ คว่ำมาจากหงาย
ที่เขาพูดมามีทั้งถูกและผิด
เราต้องการใช้ส่วนถูก ส่วนผิดเราก็ไม่เอา
เพราะมันเป็นสมมติผิด เราก็ไม่เป็นทุกข์
การมาปฏิบัติเพื่อให้ได้สภาวะ ได้ความรู้สึกตัว
คือได้ปรมัตถ์ สั่งสมตัวปรมัตถ์
ก็จะเปลี่ยนแปลงเป็นสติปัญญา
รู้เท่าทันสมมติปรมัตถ์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

สมมติคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เดี๋ยวผิดเดี๋ยวถูก ถ้าเราไปยึดตามนั้นมีปัญหาแล้ว
ถ้าเราไม่ยึด รู้ว่ามันเป็นแค่สมมติ ก็ปล่อยวางไป
ในแง่ของวัตถุ เป็นทั้งสมมติและปรมัตถ์
แล้วแต่ว่าเราจะใช้อย่างไร
ปรมัตถ์มีสี่อย่าง จิต เจตสิก รูป นิพพาน
จิตกับรูปมาบวกกัน กลายเป็นนามรูป
ซึ่งเป็นสมมติแล้ว
ปรมัตถ์แยกออกมาเป็นหนึ่ง
ถ้าเป็นคู่ก็เป็นสมมติทันที
ให้ระวังของคู่ ทุกอย่างมาจากของคู่
แต่เราต้องอยู่เหนือของคู่
เราถึงจะใช้ของคู่โดยไม่ทุกข์
ทุกอย่างมาจากการเกิดการดับ
เราใช้เกิดเป็นบางครั้ง ใช้ดับเป็นบางคราว
ใช้เปิดเป็นบางครั้ง ใช้ปิดเป็นบางคราว
ใช้ถูกบางครั้ง ใช้ผิดบางคราว
ลักษณะที่ใช้ให้เป็นนี้
เราได้แปลงตัวปรมัตถ์เป็นปัญญา
รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้ รู้ปล่อย รู้วาง
เรามาฝึกตัวนี้ เพื่ออยู่ในโลกนี้อย่างไม่มีทุกข์
ใช้สมมติแบบไม่มีโทษ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เราต้องดูในส่วนที่เราเข้าใจได้
ส่วนไหนที่เข้าใจไม่ได้อย่าไปพยายามดู
ทุกอย่างมันไม่ยาก
แต่ส่วนที่เราไม่เข้าใจทำให้ยาก
การเกิดดับมีสี่ระดับ
การเกิดดับขั้นที่หนึ่ง
ระดับกาย การเคลื่อนหยุด
การพูดมีจังหวะที่ปากหยุด ลิ้นหยุด
พอเราพูดริมฝีปากเคลื่อน
หยุดพูดริมฝีปากหยุด พับตาเคลื่อนหยุด
ดูการเกิดดับแบบง่ายๆ ให้เป็นเสียก่อน
ก่อนที่จะไปดูการเกิดดับของจิต
เพราะกำลังสติปัญญายังไม่พอ
การเกิดดับขั้นที่สอง
นั่งอยู่อาการหนักเกิด
พอเปลี่ยนหนักหายไป เบาเกิดขึ้น
อันไหนที่เราดูทันให้เราดูอันนั้น
การเกิดดับขั้นที่สาม
จิตมันคิดหรือไม่คิด
การเกิดดับขั้นที่สี่
ตอนนี้อารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดีหายไป
พอมีอะไรมากระทบ อารมณ์ก็เปลี่ยนไป
เราไปพยายามดูสิ่งที่เราไม่สามารถเห็นได้
แต่สิ่งที่เราสามารถเห็นได้กลับไม่ดู
เห็นการเกิดดับในอดีตอนาคต
แต่การเกิดดับในปัจจุบันไม่เห็น
เห็นไตรลักษณ์ในความคิด
แต่ไม่เห็นไตรลักษณ์ในความจริงในปัจจุบันขณะ
เป็นโลกียปัญญา ไม่ใช่โลกุตตรปัญญา
นี้คือความยากของการปฏิบัติ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

สังเกตเวทนาทางกายที่เกิดจากไตรลักษณ์
อย่าให้มันไปสู่จิต เพราะถ้าไปสู่จิต
ไตรลักษณ์จะก่อให้เกิดนามรูป
เป็นตัวตั้งต้นของทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง
เรามัวแต่ระวังเวทนาที่หนัก แต่ไม่ระวังเวทนาที่เบา
เพราะเราคิดว่าเวทนาเบาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
เราจึงเข้าไปเสพและเสียทีทุกครั้ง
เพราะเวทนาทั้งหนักและเบา
เป็นเหตุให้เกิดนามรูป ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ
นามรูปเป็นเหตุของอาสวะและความทุกข์ทั้งปวง
เราจึงต้องระวังทั้งสุขและทุกข์
สุขอย่าเสพ ทุกข์อย่าเป็น
เวลารับประทานอาหาร ถ้าใครทำแกงร้อนๆ มาให้
เราจะลงมือรับประทานทันทีไม่ได้
ต้องรอให้อุ่นลงก่อน
แต่ถ้าเป็นแกงที่เย็น เราก็ไม่อยากรับประทาน
เราไม่ได้บอกให้เขาเอาอาหารไปร้อนหน่อย
แต่เราพูดว่าเอาอาหารไปอุ่นหน่อย
แกงที่อุ่นเป็นปัจจุบัน
แกงที่ร้อนเป็นอดีต
แกงที่เย็นเป็นอนาคต
แกงที่เย็นแล้ว ถ้าปล่อยให้เย็นต่อไปจะกลายเป็นบูด
สุขเปลี่ยนเป็นบูด
ต่อมาบูดเริ่มอุ่นและกลายเป็นร้อน
อุ่นแบบที่มาจากร้อน
กับอุ่นแบบที่มาจากบูด ต่างกัน
คุณไปเสพสุขเวทนาตรงที่มันอุ่นจนจะบูดแล้ว
ทุกขเวทนาเป็นเวทนาที่หยาบ รู้ได้ง่าย
สุขเวทนาเป็นเวทนาที่ละเอียด รู้ได้ยาก

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ความเพลินเป็นอาการของสุขเวทนา
พอรู้ว่าเพลินต้องรีบเปลี่ยนอิริยาบถ
นั่งสร้างจังหวะประมาณ ๕ นาที
ส่วนใหญ่ก็เริ่มเพลินแล้ว
ความตั้งใจมากเกินไป นั่งนานๆ
โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรู้สึกตัว
กลายเป็นการเข้าฌาณแบบสะกดจิตตัวเอง
ทำให้จิตอ่อนกลายเป็นฤาษี ไปอริยภูมิไม่ได้
เพลินในสุขกับเพลินในทุกข์
อันไหนสังเกตได้ยากกว่ากัน?
ตัวเพลินในทุกข์ก่อให้เกิดปฏิฆะ หงุดหงิด
ตัวเพลินในสุขทำให้เกิดกามฉันทะ เป็นนิวรณ์
การปรับทั้งสุขและทุกข์ออกเสมอ
ทำให้เราสัมผัสสภาวะที่เป็นกลางได้ไว
รู้ซื่อๆ จิตต้องไม่เพลินในสุขในทุกข์
ถ้าเพลินในสุขในทุกข์ รู้ไม่ซื่อแล้ว
ต้องปรับจิตให้บาลานซ์ตรงกลางจริงๆ
เราก็จะตัดความเพลินได้
ในชีวิตจริงเราอยู่ได้ด้วยความเพลิน
กินเพลิน นอนเพลิน พูดเพลิน ฟังเพลิน ดื่มเพลิน
ถ้าไม่เพลินก็ไม่มีความสุข
ต้องหาเรื่องให้มันเพลิน ดูหนัง ฟังเพลง
หาอะไรใส่ปากมาเคี้ยว เช่น หมากฝรั่ง
ชีวิตเราอยู่ด้วยความเพลิน
เวลามาปฏิบัติเราต้องการตัดกระแสตัวนี้
สังเกตความเพลินได้ก็จะไว
ความเพลินเป็นนามรูปฝ่ายสุขเวทนา
เป็นนามรูปที่ค่อนข้างรู้ได้ยาก
เพราะเราเสพติดมานานแล้ว

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ทุกวันนี้เรามีทุกข์เพราะสุขเวทนา
เรามีสามีเพราะสุขเวทนา
ทำให้เราต้องยอมรับวิบากกรรม
จากสุขเวทนาไปตลอดชีวิต คุ้มมั้ย?
เราทุ่มเททั้งชีวิตให้กับครอบครัว
เพราะเราเสพสุขเวทนา
แล้วในที่สุดมันก็เป็นบ่วงของมาร
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอพ้นแล้วจากบ่วงอันเป็นของทิพย์
และบ่วงอันเป็นของมนุษย์
บ่วงอันเป็นของทิพย์คือติดความสบาย
ฤทธิ์เดช ความสงบทางด้านจิตใจ
บ่วงของมนุษย์คือการเสพสุข
เสพติดสัมผัส อารมณ์ อย่างที่ใจต้องการ
ท่านไม่ได้พูดถึงเรื่องทุกข์เลย
เพราะบ่วงเหล่านี้เป็นเหตุของทุกข์
ถ้าไปเสพสุข ทุกข์ต้องมาแน่นอน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ปฏิภาณไหวพริบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
บางคนปล่อยให้เพลินไปถึงสุข
จนสุขกลายเป็นทุกข์ถึงค่อยเปลี่ยน
เวทนามันเตือนแต่เราไม่ได้ใช้สติ
คนทั่วไปที่ทุกข์เพราะสนองต่อสุขเวทนา
เวลาทุกข์ขึ้นมาหน่อยก็ไม่อยากทนแล้ว
เพราะไปติดสุขเวทนา
เมื่อติดสุขเวทนาแล้วจึงเพลิน
ตอกย้ำความเอร็ดอร่อยทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ทำให้มันมีกำลัง เกิดวิบาก เพราะไปเสพสุขต่างๆ
ความทุกข์ในโลกมีประการเดียวคือไปเสพสุข
สุขเป็นอนิจจังจึงเปลี่ยนเป็นทุกข์
พอเปลี่ยนเป็นทุกข์ก็วิ่งไปหาสุข
วนอยู่อย่างนี้เรียกว่าวัฏฏสงสาร ไม่มีวันสิ้นทุกข์
นอกจากคนที่มาศึกษาวิปัสสนาที่ถูกต้องจนเข้าใจ
ไม่ใช่ว่าผู้ปฏิบัติวิปัสสนาทุกคนจะเข้าใจ
คนปฏิบัติวิปัสสนาที่ผิดก็ไม่สามารถเข้าใจได้
อาจจะเข้าใจได้บางส่วนแต่ไม่ครบ
ผู้ที่ปฏิบัติถูกต้อง จะรู้จักใช้สติปัญญา
และมีกัลยาณมิตรคอยปรับคอยแก้กันไป
จนกระทั่งเราเกิดสติปัญญาของเราเอง
จึงจะสามารถดับกระแสการเวียนว่ายตายเกิด
ของสุขทุกข์ ความอร่อยไม่อร่อยได้ จนอยู่เหนือมัน
เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามความสุข
แม้จะความสุขเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

การที่เราจะเข้าสู่ความจริงอันประเสริฐได้
เราจะต้องพูดจริง ทำจริง คิดจริง
แต่ว่าการพูดจริง ทำจริง คิดจริง
ต้องรู้จักปล่อยวางด้วย
ถ้าปล่อยวางไม่เป็น
การพูดจริง ทำจริง จะทำร้ายเรา
ไฟเป็นของจริง ถ้าเรากำแล้วปล่อยไม่เป็น
มันก็จะไหม้มือเรา
ถ้ายังรู้สึกฝืนอยู่ การฝึกก็จะไม่สมบูรณ์
การฝึกเป็นไตรสิกขา การฝืนเป็นไตรลักษณ์
ขัดเกลาเป็นไตรสิกขา ขัดเคืองเป็นไตรลักษณ์
หลงเป็นไตรลักษณ์ รู้เป็นไตรสิกขา
เรื่องวิบากกรรมเราต้องยอมรับ
คนมีวิบากต้องเจอหมอผ่าตัด เราต้องทนเจ็บปวด
แต่ถ้าแผลหายก็จะหายเลยไม่กลับมาเป็นอีก
เรามาที่นี่เรามาทำสิ่งที่สูงสุด
ถ้าเราทำเล่นกับสิ่งสูงเราก็จะตกต่ำ
ถ้าเราเล่นกับสิ่งต่ำแล้วทำใจเป็นสูง
เราก็จะตกต่ำลงไปอีก
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)

 

พระธรรมเทศนาครุสติสถาน เช้า ๑๘ ก.ค. ๖๐ โดย หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท

ไตรลักษณ์และไตรสิกขาเป็นธรรมชุดเดียวกัน เหมือนสวิตช์ไฟเราจะเปิดให้สว่างหรือปิดให้มืดก็ได้ ทุกสิ่งเป็นอันเดียวกัน ขึ้นอยู่กับเราต้องการใช้หรือไม่ใช้ บางครั้งเราต้องการมืด บางครั้งเราต้องการสว่าง ถ้าเราควบคุมความมืดความสว่างได้ตามต้องการ เรียกว่ารู้ปรมัตถ์ คือใช้สมมติได้ตามต้องการ ถ้ารู้แต่สมมติไม่รู้ปรมัตถ์มันจะยุ่งไปหมด
เราจำเป็นต้องกลับบ้านวันที่ห้า พอไม่ได้กลับ เรารู้สึกขึ้นมาได้ว่าว่าวันที่ห้าหรือวันที่เจ็ดก็เป็นเพียงสมมติ เรียกว่ารู้ปรมัตถ์ ถ้ารู้แต่สมมติไม่รู้ปรมัตถ์จะคิดปรุงแต่งยาวไปเลย เราใช้สมมติปรมัตถ์เป็น เหมือนเราเปิดปิดไฟฟ้าได้ตามต้องการ
เรารู้ปรมัตถ์เพื่อที่จะใช้สมมติให้เป็น สมมติมีเป็นแสนเป็นล้าน แต่ปรมัตถ์มีเหตุหนึ่งก็มีอันหนึ่ง
สมมติว่าการคว่ำมือเป็นสมมติ การหงายมือเป็นปรมัตถ์ คว่ำกับหงายก็เป็นอันเดียวกัน แต่เวลาใช้งาน แล้วแต่เหตุปัจจัยว่าจะให้เราใช้อะไร บางครั้งเราต้องการใช้สุข บางครั้งเราต้องการใช้ทุกข์ เช่น เราต้องใช้ทุกข์ในการทำงานเพื่อให้มีอยู่มีกิน
ทุกข์เปรียบเสมือนคว่ำ ไม่ทุกข์เปรียบเสมือนหงาย
สุขเปรียบเสมือนคว่ำ ไม่สุขเปรียบเสมือนหงาย
ไม่สุขไม่ได้หมายถึงทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่ได้หมายถึงสุข
ถ้าไม่สุขไม่ทุกข์ คืออยู่เหนือสุขเหนือทุกข์
เพราะฉะนั้น เหนือสุขเหนือทุกข์เป็นหงาย
สุข-ทุกข์เป็นคว่ำอยู่ เราใช้บางเหตุบางการณ์เท่านั้นเอง
เรารู้ปรมัตถ์เพื่อให้รู้ทันสมมติ อันไหนที่จำเป็นก็เป็นปรมัตถ์ในขณะนั้น อันไหนที่หมดความจำเป็นก็เป็นสมมติ เราเปิดไฟในเวลาที่มืดเพราะมันจำเป็น แต่พอมันสว่างแล้วยังเปิดอีก ไฟหมดความจำเป็นแล้ว ไฟกลายเป็นสมมติไปเพราะหมดความจำเป็น ปรมัตถ์สนองความจำเป็นที่ร่างกายต้องการเท่านั้น ๑๓๓๖
คนเราเป็นทุกข์เพราะไม่เข้าใจปรมัตถ์ จึงเกิดความสับสนวนไปวนมา ไม่รู้จะเอายังไงดี แต่พอเข้าใจปรมัตถ์ รู้ว่าสิ่งนี้เป็นสมมติ เวลาคนพูดมาไม่ถูกใจ ก็รู้ว่าเป็นสมมติ ถ้าไม่รู้จักสมมติ ก็หาเรื่องเถียงกันต่อไปอีก เพราะผิดมาจากถูก ถูกมาจากผิด หงายมาจากคว่ำ คว่ำมาจากหงาย ที่เขาพูดมามีทั้งถูกและผิด เราต้องการใช้ส่วนถูก ส่วนผิดเราก็ไม่เอา เพราะมันเป็นสมมติผิด เราก็ไม่เป็นทุกข์
การมาปฏิบัติเพื่อให้ได้สภาวะ ได้ความรู้สึกตัว คือได้ปรมัตถ์ สั่งสมตัวปรมัตถ์ ก็จะเปลี่ยนแปลงเป็นสติปัญญา ก็จะรู้เท่าทันสมมติปรมัตถ์ ว่าสมมติคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เดี๋ยวผิดเดี๋ยวถูก ถ้าเราไปยึดตามนั้นมีปัญหาแล้ว ถ้าเราไม่ยึด รู้ว่ามันเป็นแค่สมมติ ก็ปล่อยวางไป
ในแง่ของวัตถุ เป็นทั้งสมมติและปรมัตถ์ แล้วแต่ว่าเราจะใช้อย่างไร ปรมัตถ์มีสี่อย่าง จิต เจตสิก รูป นิพพาน ถ้าจิตกับรูปมาบวกกัน กลายเป็นนามรูป ซึ่งเป็นสมมติแล้ว ปรมัตถ์แยกออกมาเป็นหนึ่ง ถ้าเป็นคู่ก็เป็นสมมติทันที
ให้ระวังของคู่ ทุกอย่างมาจากของคู่ แต่เราต้องอยู่เหนือของคู่ เราถึงจะใช้ของคู่โดยไม่ทุกข์ ทุกอย่างมาจากการเกิดการดับ เราใช้เกิดเป็นบางครั้ง ใช้ดับเป็นบางคราว ใช้เปิดเป็นบางครั้ง ใช้ปิดเป็นบางคราว ใช้ถูกบางครั้ง ใช้ถูกบางคราว ลักษณะที่ใช้ให้เป็นนี้ เราได้แปลงตัวปรมัตถ์เป็นปัญญา รู้เท่ารู้ทันรู้กันรู้แก้รู้ปล่อยรู้วาง เรามาฝึกตัวนี้ เพื่ออยู่ในโลกนี้อย่างไม่มีทุกข์ ใช้สมมติแบบไม่มีโทษ
……………………………………………………
เราต้องดูในส่วนที่เราเข้าใจได้ ส่วนไหนที่เข้าใจไม่ได้อย่าไปพยายามดู ทุกอย่างมันไม่ยาก แต่ส่วนที่เราไม่เข้าใจทำให้ยาก
การเกิดดับมีสี่ระดับ
การเกิดดับขั้นที่หนึ่ง ระดับกาย การเคลื่อนหยุด การพูดมีจังหวะที่ปากหยุด ลิ้นหยุด พอเราพูดริมฝีปากเคลื่อน หยุดพูดริมฝีปากหยุด พับตาเคลื่อนหยุด ให้ดูเกิดดับง่ายๆ ให้เป็นก่อนที่จะไปดูการเกิดดับของจิต เพราะกำลังสติปัญญายังไม่พอ
การเกิดดับขั้นที่สอง นั่งอยู่อาการหนักเกิด พอเปลี่ยนหนักหายไป เบาเกิดขึ้น อันไหนที่เราดูทันให้เราดูอันนั้น
การเกิดดับขั้นที่สาม จิตมันคิดหรือไม่คิด
การเกิดดับขั้นที่สี่ ตอนนี้อารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดีหายไป พอมีอะไรมากระทบ อารมณ์ก็เปลี่ยนไป
เราไปพยายามดูสิ่งที่เราไม่สามารถเห็นได้ แต่สิ่งที่เราสามารถเห็นได้กลับไม่ดู เห็นการเกิดดับในอดีตอนาคต แต่การ้เกิดดับในปัจจุบันไม่เห็น เป็นไตรลักษณ์ในความคิด แต่ไม่เป็นไตรลักษณ์ในความจริงในปัจจุบันขณะ เป็นโลกียปัญญา ไม่ใช่โลกุตตรปัญญา นี้คือความยากของการปฏิบัติ
………………………………………
สังเกตเวทนาทางกายที่เกิดจากไตรลักษณ์ อย่าให้มันไปสู่จิต ถ้าไปสู่จิตไตรลักษณ์จะก่อให้เกิดนามรูป เป็นตัวตั้งต้นของทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง
เรามัวแต่ระวังเวทนาที่หนัก แต่ไม่ระวังเวทนาที่เบา เพราะเราคิดดว่าเวทนาเบาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เราจึงเข้าไปเสพและเสียทีทุกครั้ง เพราะเวทนาทั้งหนักและเบาเป็นเหตุให้เกิดนามรูป ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ เป็นนามรูป นามรูปเป็นเหตุของอาสวะและความทุกข์ทั้งปวง เราจึงต้องระวังทั้งสุขและทุกข์
สุขอย่าเสพ ทุกข์อย่าเป็น เวลารับประทานอาหาร ถ้าใครทำแกงร้อนๆ มาให้ เราจะลงมือรับประทานทันทีไม่ได้ ต้องรอให้อุ่นก่อน แต่ถ้าเป็นแกงที่เย็น เราก็ไม่อยากรับประทาน เราไม่ได้บอกให้เขาเอาอาหารไปร้อนหน่อย แต่เราพูดว่าเอาอาหารไปอุ่นหน่อย แกงที่อุ่นเป็นปัจจุบัน แกงที่ร้อนเป็นอดีต แกงที่เย็นเป็นอนาคต
การพูดเร็วเกิดจากอนุสัย แก้ยาก แต่เราต้องพยายามแก้ ถ้าแก้ไขได้ก็จะกลายเป็นปัญญา
ถ้าแก้ไม่ได้ความไวนี้จะกลายเป็นอาสวะ
แกงที่เย็นแล้ว ถ้าปล่อยให้เย็นต่อไปจะกลายเป็นบูด สุขเปลี่ยนเป็นบูด ต่อมาบูดเริ่มอุ่นและกลายเป็นร้อน อุ่นแบบที่มาจากร้อน กับอุ่นแบบที่มาจากบูด ต่างกัน คุณไปเสพสุขเวทนาตรงที่มันอุ่นจนจะบูดแล้ว
ทุกขเวทนาเป็นเวทนาที่หยาบ รู้ได้ง่าย สุขเวทนาเป็นเวทนาที่ละเอียด รู้ได้ยาก
……………………………………
ความเพลินเป็นอาการของสุขเวทนา พอรู้ว่าเพลินต้องรีบเปลี่ยนอิริยาบถ นั่งสร้างจังหวะประมาณ ๕ นาทีส่วนใหญ่ก็เริ่มเพลินแล้ว ความตั้งใจมากเกินไป นั่งนานๆ โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรู้สึกตัว กลายเป็นการเข้าฌาณแบบสะกดจิตตัวเอง ทำให้จิตอ่อนกลายเป็นฤาษี ไปอริยภูมิไม่ได้
เพลินในสุขกับเพลินในทุกข์ อันไหนสังเกตได้ยากกว่ากัน ตัวเพลินในทุกข์ก่อให้เกิดปฏิฆะ หงุดหงิด ตัวเพลินในสุขทำให้เกิดกามฉันทะ เป็นนิวรณ์ การปรับทั้งสุขและทุกข์ออกเสมอ ทำให้เราสัมผัสสภาวะที่เป็นกลางได้ไว
รู้ซื่อๆ จิตต้องไม่เพลินในสุขในทุกข์ ถ้าเพลินในสุขในทุกข์รู้ไม่ซื่อแล้ว ต้องปรับจิตให้บาลานซ์ตรงกลางจริงๆ เราก็จะตัดความเพลินได้ ในชีวิตจริงเราอยู่ได้ด้วยความเพลิน กินเพลิน นอนเพลิน พูดเพลิน ฟังเพลิน ดื่มเพลิน ถ้าไม่ดพลินก็ไม่มีความสุข ต้องหาเรื่องให้มันเพลิน ดูหนัง ฟังเพลง หาอะไรใส่ปากมาเคี้ยว เช่น หมากฝรั่ง
ชีวิตเราอยู่ด้วยความเพลิน เวลามาปฏิบัติเราต้องการตัดกระแสตัวนี้ สังเกตความเพลินได้ก็จะไว ความเพลินเป็นนามรูปฝ่ายสุขเวทนา เป็นนามรูปที่ค่อนข้างรู้ได้ยาก เพราะเราเสพติดมานานแล้ว
ทุกวันนี้เรามีทุกข์เพราะสุขเวทนา เรามีสามีเพราะสุขเวทนา ทำให้เราต้องยอมรับวิบากกรมจากสุขเวทนาไปตลอดชีวิต คุ้มมั้ย? เราทุ่มเททั้งชีวิตให้กับครอบครัว เพราะเราเสพสุขเวทนา แล้วในที่สุดมันก็เป็นบ่วงของมาร
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอพ้นแล้วจากบ่วงอันเป็นของทิพย์ และบ่วงอันเป็นของมนุษย์ บ่วงอันเป็นของทิพย์คือติดความสบาย ฤทธิ์เดช ความสงบทางด้านจิตใจ บ่วงของมนุษย์คือการเสพสุข เสพติดสัมผัส อารมณ์ อย่างที่ใจต้องการ ท่านไม่ได้พูดถึงเรื่องทุกข์เลย เพราะบ่วงเหล่านี้เป็นเหตุของทุกข์ ถ้าไปเสพสุข ทุกข์ต้องมาแน่นอน
……………………………………………………
ปฏิภาณไหวพริบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนปล่อยให้เพลินไปถึงสุข จนสุขกลายเป็นทุกข์ถึงค่อยเปลี่ยน เวทนามันเตือนแต่เราไม่ได้ใช้สติ คนทั่วไปที่ทุกข์ เพราะสนองต่อสุขเวทนา เวลาทุกข์ขึ้นมาหน่อยก็ไม่อยากทนแล้ว เพราะไปติดสุขเวทนา เมื่อติดสุขเวทนาแล้วจึงเพลิน ตอกย้ำความเอร็ดอร่อยทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้มันมีกำลัง เกิดวิบาก เพราะไปเสพสุขต่างๆ
ความทุกข์ในโลกมีประการเดียวคือไปเสพสุข สุขเป็นอนิจจังจึงเปลี่ยนเป็นทุกข์ พอเปลี่ยนเป็นทุกข์ก็วิ่งไปหาสุข วนอยู่อย่างนี้เรียกว่าวัฏฏสงสาร ไม่มีวันสิ้นทุกข์ นอกจากคนที่มาศึกษาวิปัสสนาที่ถูกต้องจนเข้าใจ
ไม่ใช่ว่าผู้ปฏิบัติวิปัสสนาทุกคนจะเข้าใจ คนปฏิบัติวิปัสสนาที่ผิดก็ไม่สามารถเข้าใจได้ อาจจะเข้าใจได้บางส่วนแต่ไม่ครบ
ผู้ที่ปฏิบัติถูกต้อง จะรู้จักใช้สติปัญญา และมีกัลยาณมิตรคอยปรับคอยแก้กันไป จนกระทั่งเราเกิดสติปัญญาของเราเอง จึงจะสามารถดับกระแสการเวียนว่ายตายเกิดของสุขทุกข์ ความอร่อยไม่อร่อยได้ จนอยู่เหนือมัน เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามความสุข แม้จะความสุขเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม
…………………………………….
การที่เราจะเข้าสู่ความจริงอันประเสริฐได้ เราจะต้องพูดจริง ทำจริง คิดจริง แต่ว่าการพูดจริง ทำจริง คิดจริง ต้องรู้จักปล่อยวางด้วย ถ้าปล่อยวางไม่เป็น การพูดจริง ทำจริง จะทำร้ายเรา ไฟเป็นของจริง ถ้าเรากำแล้วปล่อยไม่เป็น มันก็จะไหม้มือเรา ถ้ายังรู้สึกฝืนอยู่ การฝึกก็จะไม่สมบูรณ์
การฝึกเป็นไตรสิกขา การฝืนเป็นไตรลักษณ์ ขัดเกลาเป็นไตรสิกขา ขัดเคืองเป็นไตรลักษณ์ หลงเป็นไตรลักษณ์ รู้เป็นไตรสิกขา เรื่องวิบากกรมเราต้องยอมรับ คนมีวิบากต้องเจอหมอผ่าตัด เราต้องทนเจ็บปวด แต่ถ้าแผลหายก็จะหายเลยไม่กลับมาเป็นอีก เรามาที่นี่เรามาทำสิ่งที่สูงสุด ถ้าเราทำเล่นกับสิ่งสูงเราก็จะตกต่ำ ถ้าเราเล่นกับสิ่งต่ำแล้วทำใจเป็นสูง เราก็จะตกต่ำลงไปอีก
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)