ถอดธรรมบรรยายประกอบภาพและเสียง วิธีเก็บอารมณ์ จากอัลบั้ม เบิกตาชาวอาศรม แสดงธรรมโดย หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, พระพุทธยานันทภิกขุ, Deva Nanda, Direk Saksith
นั่งมากกว่าเดิน
การทำความเพียร
การเข้าไปศึกษาเฝ้าดู จัดการ
ทางกาย ทางใจ ทางรูป ทางนาม
ตัวรู้ก็กลับเข้ามารวมกันเป ็นพลัง
ให้เกิดความชัดเจนในการสังเ กต
เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา
ตัวรู้ คือ สติ สมาธิ สัมปชัญญะ
ก่อให้เกิดปัญญาได้อย่างไร?
มันเป็นของมันเอง
เหมือนเราจัดการเซ็ตระบบไฟ
พอทำงานได้ก็เป็นปัญญา
ก่อนที่จะทำงานได้
ต้องเปิดพาวเวอร์
เปิดเครื่องเสียง ตรงนั้นตรงนี้
หลายระบบ กว่าจะใช้งานได้
เช่นเดียวกัน กว่าจะมาเป็นตัวรู้ได้
ต้องผ่านความเพียร สติ ความรู้สึกตัว
ผ่านสัมปชัญญะ ผ่านความตั้งใจ
ผ่านฉันทะ ความพอใจที่จะทำ
เวลาเข้าเก็บอารมณ์
ถ้าเราเป็นคนใหม่ เราอาจจะตั้งจิตไม่ถูก
ไม่รู้จะตั้งต้นอย่างไรก่อน
ต้องดูสภาพความพร้อมของตัวเ อง
ว่าพร้อมที่จะนั่งหรือพร้อม ที่จะเดิน
แต่เวลาเก็บอารมณ์ พยายามนั่งให้มาก
เดิน เอาไว้เป็นอิริยาบถผ่อนคลาย เท่านั้น
ไม่ใช่เป็นอิริยาบถหลัก
จัดหมวดหมู่อารมณ์ให้เป็นก ็จะง่าย
เราต้องศึกษาให้ครบขบวนการ
ของการเจริญสติแบบนี้
เมื่อเราเจริญสติไปได้ระดับ หนึ่งแล้ว
รู้หมวดหมู่อารมณ์
อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม
อะไรเป็นเวทนา อะไรเป็นสติ
อะไรเป็นนามรูป คือความคิด
อะไรเป็นรูปนาม คือรู้สึกที่เฉยๆ
รู้สึกที่ปัจจุบัน
ให้รู้หมวดหมู่อารมณ์ชัดเจน
พอเข้าไปเก็บอารมณ์
ตัวหลักๆ ก็มีอยู่แค่นี้
ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้
ถ้าเราจัดการตัวหลักๆ เหล่านี้
ไม่ลงตัว ไม่ชัดเจน
มันจะเกิดผลิตผลออกมา
เป็นความคิดและอารมณ์ต่างๆ
ทำให้เราเก็บอารมณ์ไม่ได้
จะฟุ้งซ่านวุ่นวาย
ปวดเศียรเวียนเกล้า
อึดอัด อะไรต่างๆ สารพัด
เพราะเราไม่ทันตัวความรู้สึ ก
ที่เป็นรูปเป็นนามนี้
พิสูจน์กันตอนเก็บอารมณ์
การปฏิบัติโดยวิธีนี้
เหมือนไก่ที่ออกไข่แล้วระยะ หนึ่ง
มันก็ต้องการฟัก
ในช่วงที่มันไข่
เหมือนเราเก็บความรู้สึกตัว
รู้สึกตัว คือ รับรู้ต่อการเคลื่อนการไหว
รับรู้ต่อความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ชัดเจน
รับรู้ต่อความคิดและอารมณ์
รับรู้ต่อสภาวธรรม
ที่เป็นปรมัตถ์ ที่เป็นสมมติ
เราจะรู้ว่า ที่เข้าใจนี้ถูกหรือไม่ถูก
มันก็ต้องไปพิสูจน์กัน
ตอนที่เราเก็บอารมณ์
ว่าเราจัดการกับอารมณ์ได้ถู กต้องไหม
ถ้าถูกต้อง ก็เป็นความชัดเจนอีก
ต่อไปมันก็จะทำง่ายขึ้น
ความจริงแล้ว การเก็บอารมณ์คือ
ต้องการที่จะฝึกโฟกัสจิต
ให้อยู่ ณ ปัจจุบัน
ให้เข้มแข็ง ให้แน่นอน
คือสติ สมาธินั่นเอง
เก็บอารมณ์เป็นอยู่คนเดียว เป็น
เมื่อเก็บอารมณ์เป็น
เราก็จะอยู่คนเดียวเป็น
อยู่คนเดียวระวังความคิด
อยู่กับมิตรระวังการพูดจา
แต่ถ้าเราไม่เคยฝึกเก็บอารม ณ์
ก็จะอยู่คนเดียวไม่เป็น
อยู่คนเดียวก็หาเรื่องมาเล่ น
หาเรื่องมาคิด หาเรื่องมาทำ
หาเรื่องมาพูด
หาเรื่องมาปรุงมาแต่ง
เพราะเราไม่เห็นตัวจิต
ที่ไม่มีความคิด
จิตมีความคิดจิตไม่มีความค ิด
เราฝึกอยู่คนเดียว
เพื่อเห็นจิตที่ไม่มีความคิ ด
เป็นอย่างไร?
จิตที่มีความคิด
เป็นอย่างไร?
เราจะฝึกให้จิตได้สัมผัส
ภาวะอย่างนี้บ่อยๆ
เพื่อให้จิตได้สัมผัสสภาวะว ่า
จิตที่ไม่มีความคิด
เป็นจิตว่างจากความคิด
เป็นจิตอย่างไร?
จิตที่มีความคิด
ไม่ว่างจากความคิด การปรุงแต่ง
เป็นจิตอย่างไร?
เราจะเห็นความต่าง
ของสองสภาวะจิตนี้
พอเห็นความต่างแล้ว เราจะเห็นว่า
จิตมีความคิด
เหมือนเราจับของมาถือไว้
รู้สึกอย่างไร?
จิตไม่มีความคิด
เหมือนเราวางของนี้ลงไป
รู้สึกอย่างไร?
ความคิดแก้ความคิด
ถ้าเราถือของ รู้สึกหนัก เป็นภาระ
แต่พอเราวางลง รู้สึกเบา เป็นอิสระ
ให้จิตได้สัมผัสความเบา
ความอิสระนี้บ่อยๆ
จิตมันจะมีที่อยู่
ตัวความอิสระ ความเบาสบาย ตัวรู้
เป็นประสบการณ์ใหม่ของจิต
ตลอดเวลาที่ผ่านมาจิตต้องสร ้างภาระ
คือหาสังขารมาเป็นที่อยู่
ไม่ว่าเราจะกินข้าว อาบน้ำ
หาเรื่องมาคิดไปเรื่อยๆ
แต่พอเรามาเจริญวิปัสสนากรร มฐาน
ต้องการให้จิตเป็นอิสระ
รับรู้ต่อสภาวะที่มีอยู่
โดยไม่เข้าไปยึด ไปครอง
ไปถือ ไปเป็นเจ้าของ
ในกรณีที่จิตมีอารมณ์
มีความคิดบางเรื่องผุดขึ้นม า
เราก็ต้องกลับมาตั้งต้นที่
การปรับอารมณ์รูปนาม
ปรับปัจจุบันให้ชัด
ถ้าหากว่าเราไม่รู้จักรูปนา ม
หรือไม่ชัดเจนในรูปนาม
เวลาความคิดอารมณ์อะไรเกิดข ึ้น
เราก็จะหาความคิดอีกอันมาแก ้
เอาความคิดไปแก้ความคิด
มันจะมั่วไปหมด
เก็บอารมณ์คือเก็บกายวาจาใ จ
เราต้องการความรู้สึกตัว ตัวรู้
ตัวปัจจุบันที่ชัดเจน
เมื่อจิตมาอยู่กับปัจจุบัน
เพราะจิตมีขณะเดียว
เมื่อมาอยู่กับตัวนี้
ก็ไปอยู่กับตัวนั้นไม่ได้
แต่ดูเหมือนว่ามันรู้ได้หลา ยอย่าง
เพราะความถี่ของจิตมันหมุนเ ร็ว
จึงสามารถรู้ได้เร็ว
แต่พอเราจับความถี่ของจิต
มาอยู่กับอันหนึ่งชัดๆ
มันก็หลุดออกจากอีกอันหนึ่ง
มันหมุนไปไม่ได้
ในจุดนี้ คือความหมาย
ของการเก็บอารมณ์
การเก็บอารมณ์คือการสำรวม
เก็บกาย เก็บวาจา เก็บใจ
มาอยู่ ณ ปัจจุบัน
เก็บตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มาอยู่ ณ ปัจจุบัน
เพราะกาย วาจา ใจ
เป็นตัวสร้างอารมณ์
แต่อารมณ์มันไม่มีตัวตนจะให ้เก็บ
ก็ต้องมาเก็บอายตนะ เก็บทวาร
เก็บบ้านคือปิดประตูหน้าต่ าง
เหมือนเราต้องการเก็บบ้าน
ไม่ให้ขโมยเข้า
เก็บบ้านไม่ใช่เก็บของในบ้า น
ให้เรียบร้อย
เก็บบ้านคือการปิดประตูหน้า ต่าง
เพื่อไม่ให้ใครเข้าไปได้
ของในบ้านถูกเก็บ
ก็คือปิดหน้าต่าง
เราจะเก็บอารมณ์ทุกอย่าง
ให้เป็นปัจจุบัน
เราก็มาดูที่ประตูบ้าน
กาย วาจา ใจ ของเรา
ระวัง ปิด สำรวม เอาสติมาสำรวมระวัง
สำรวมระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา
ไม่ให้แส่ส่ายไปกับอารมณ์ต่ างๆ
พยายามสลัดทิ้ง กลับมาอยู่ ณ ปัจจุบัน
ปัจจุบันมีอะไร เหลือเท่าไรก็เท่านั้น
อย่าเอาความเป็นตัวตน
เป็นอดีต อนาคต เข้าไป
เอาความมีอยู่ ภาวะที่มีอยู่
ตัวรู้ก็จะแยกจิตออกจากกาย
แยกกายออกจากจิต
แยกรูปออกจากนาม
แยกนามออกจากรูปได้
หมายความว่า
จิตสามารถแยกมาอยู่ ณ ปัจจุบัน
สภาวะปัจจุบันที่เป็นรูปนาม
ปัจจุบันไม่ชัดเกิดนามรูป
ถ้ามีสติรับรู้อยู่กับรูปนา ม
เมื่อมีความคิดบางอย่าง
เราก็เห็นว่ามีนามรูปเกิดขึ ้น
แล้วก็รู้ว่านามรูปนี้ไว้ใจ ไม่ได้
ขืนปล่อยปละละเลย
เดี๋ยวมันสร้างเรื่อง
เราก็ไม่ไปต่อเติมอะไรมัน
กลับมาอยู่กับรูปนามให้ชัด
นามรูปก็หายไป
แต่ถ้าอยู่กับนามรูป
ปัจจุบันไม่ชัด นามรูปก็ปรากฏ
พอนามรูปปรากฏ เรายังไม่ใส่ใจ
ที่จะจัดการปรับความรู้สึกใ ห้ชัด
นามรูปก็สร้างความคิด
เป็นขั้นเป็นตอนของมัน
ตั้งใจเกินไปจะเครียด
ในช่วงของการเก็บอารมณ์
การเคลื่อนไหว การเปลี่ยนอิริยาบถ
ให้ชัดไว้ก่อน
มันอาจจะช้ากว่าปกติก็ได้
เพราะต้องการความชัดเจน
แต่ต้องระวังการกด การเพ่ง การจ้อง
การบีบบังคับตัวเอง
ทำทุกอย่างให้รู้สึกผ่อนคลา ย สบายๆ
แต่มีความระวังอยู่ในที
ถ้าเราตั้งใจมากเกินไป
มันจะตึง เครียด เกร็ง ไม่สบาย
อันนี้ไม่ถูก
เป็นตัวอยาก ตัณหา อุปาทาน
เข้าไปจัดการ
แต่ถ้ามันเป็นตัวผ่อนคลาย สบายๆ
เป็นตัวสติ เป็นลักษณะประคอง
เราเข้าใจในสิ่งที่ทำ
เป็นลักษณะของตัวสัมปชัญญะ
และปัญญา
จะต้องรู้ถึงเป้าหมาย
ว่าเราทำเพื่ออะไรและทำอย่า งไร
ให้กายกับใจโคจรมาอยู่ร่วมก ัน
อย่างสม่ำเสมอ
แล้วคอยตรวจสอบสัมปชัญญะ
ให้ชัดเจนไว้
ปัจจุบันโปร่งเบาสบาย
ในการเก็บอารมณ์เป้าหมายคือ
ความรู้สึกตัว โปร่ง เบาสบาย
ถ้ามีแล้ว ก็รักษา บริหารไป
ในช่วงที่เราดูแลความโปร่ง เบาสบาย
ก็ถือว่าเป็นปกติ
ซึ่งเราแสวงหาตัวนี้อยู่
คือเป้าหมายของเรา
ความโปร่ง เบาสบาย เป็นอิสระ
ไม่มีอะไรผูกมัด ไม่ขึ้นกับความคิด
ไม่ขึ้นกับอดีต อนาคต เรื่องราวต่างๆ
ทุกอย่างมาลงตัว ณ ปัจจุบัน
เราก็บริหารตัวปัจจุบันไปอย ่างนี้
ให้ชำนิชำนาญ
ให้จิตได้เสพคุ้นกับความรุ้ สึกนี้บ่อยๆ
มันก็เกิดทักษะที่จิตจะมีที ่อยู่ใหม่
ที่อยู่ใหม่ คือ ความโปร่ง เบา อิสระ
ไม่เกร็ง ไม่เพ่ง ไม่เครียด ไม่วุ่นวาย
ที่แล้วมามีความอยากเป็นที่ อยู่
มีความคิดเป็นที่อยู่
มีความเป็นเจ้าของเป็นที่อย ู่
แต่พอเรามาฝึกตัวอิสระ โปร่ง เบา
สบาย ผ่อนคลาย
จิตมันก็อยู่ง่าย
เป็นที่มาของความสุขที่เราต ้องการ
จิตไม่หลงทางเพราะจิตกลับบ ้านถูก
ทำให้ชำนิชำนาญ
เมื่อเราไปประกอบภารกิจ
หน้าที่การงานต่างๆ
ถ้าจิตเรามีที่อยู่ อะไรเกิดขึ้นปั๊บ
จิตมันจะหลบมาอยู่กับตัวนี้
มันไม่กระโดดเข้าไปตอบสนอง
ต่อเหตุการณ์ต่างๆ
เรียกว่ากลับบ้านถูก
จิตกลับบ้านถูก
บ้านดั้งเดิมของจิต คือตัวนี้
ความอิสระ โปร่ง เบา สบาย
ไม่เครียด ไม่เกร็ง ไม่เพ่ง
ไม่จ้อง ผ่อนคลาย
เรามีหน้าที่ทำการงานเราก็ท ำไป
โดยที่จิตใช้สติปัญญาเข้าไป จัดการ
เมื่อก่อนเราใช้อวิชชา ตัณหา
อุปาทาน จัดการ
อันนี้คือเป้าหมาย
เก็บอารมณ์ที่บ้าน
ที่เราปฏิบัติมาสองสามวัน
คือการเตรียมจิตของเราให้พร ้อม
ในแต่ละวันจะให้เรียนรู้เรื ่องเหล่านี้
เรื่องของความรู้สึกตัว
เรื่องของเวทนาระดับต่างๆ เป็นอย่างไร
รู้จัก เข้าใจ จัดการ ถูกต้องไหม
ปรับกันไป ปรับกันมา
หลายคนเริ่มเข้าใจ เริ่มเห็นชัด
เพื่อจะให้แน่ใจว่าเราเข้าใ จเห็นชัด
ถูกต้องหรือเปล่า
ก็ลองไปอยู่คนเดียวดู
ถ้าไปอยู่คนเดียวแล้วรู้สึก ทำได้
ต่อไปเราก็จะมีทักษะ ความชำนาญงาน
ก็อาจจะมีการเก็บอารมณ์
ที่บ้านสักวันสองวัน
หรือสามวันห้าวันเจ็ดวัน
เราก็ทำได้เลย
โดยที่ไม่ต้องไปเก็บอารมณ์ท ี่โน่นที่นี่
ที่บ้านเราดีที่สุด
แต่ถ้าเราไม่เข้มแข็ง และชำนาญจริงๆ
ก็เก็บอารมณ์ที่บ้านไม่ได้
เพราะมันมีเรื่องเยอะแยะมาก มาย
บรรยากาศไม่เอื้อ
วัดคือศาลาพักใจ
การที่เราไปสำนัก ไปวัดไปวา
ก็เพื่อต้องการบรรยากาศ
ที่เอื้อต่อการฝึกฝนและพัฒน า
เมื่อฝึกฝนและพัฒนาเป็นแล้ว
เราก็ลองไปใช้ดู
เมื่อใช้เป็นก็หมายความว่า
ชีวิตเรามีอิสระ มีความสุข
เราไม่ขึ้นกับอะไร
แต่ขึ้นกับสภาวธรรม โปร่ง เบา
สบาย อิสระ เป็นที่อยู่
แต่ถ้าเราไม่ได้สัมผัสสิ่งน ี้
จนชำนิชำนาญ
จิตไม่มีที่อยู่ที่แท้จริง
มันก็ต้องไปขึ้นกับเรื่องอื ่น
ในลักษณะยึด
แทนที่จะเป็นลักษณะพึ่งพา
พักพิงแล้วผ่านไป
เราก็ไปยึดบ้านนี้เป็นบ้านข องเรา
แทนที่จะใช้เป็นศาลาพักพิง
เพื่อทำภารกิจบางอย่างแล้วก ็ผ่านไป
วัฏฏสงสารยาวนานสำหรับผู้ไ ม่รู้ธรรม
เราอยู่ในภาวะของการเดินทาง
เราต้องเดินทางไกล
ผ่านความโลภ ความโกรธ ความหลง
สิ่งเหล่านี้พยายามที่จะยึด เรา
เข้าที่ใดที่หนึ่ง
เราก็ฝึกศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นมา
เพื่อให้เป็นเส้นทางเดิน
พอเราเผลอปั๊บ
โลภ โกรธ หลง
จะล็อคเราเข้าเป็นเจ้าของ
ทำให้เราไม่ยอมเดินทาง
เรียกว่ายึด
การเดินทางทางจิต
เป็นภาวะที่ยาวไกล
ท่านบอกว่าหนทางยาวไกล
สำหรับคนที่เมื่อยล้า
คนที่แบกภาระหนัก
ราตรียาวนาน
สำหรับคนที่นอนไม่หลับ
วัฏฏสงสารนี้ยาวนาน
สำหรับคนไม่รู้ธรรม
พอเรามารู้เรื่องนี้
มันไม่ยาวแล้ว
วัฏฏสงสารของเราสั้นๆ
จิตของเราไม่ต้องไปท่องเที่ ยว
ในอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
เพราะมันมีที่อยู่แล้ว
ไม่ต้องเร่ร่อนอีกต่อไป
นิพพานอาศัยรูปเป็นเรือข้า มฟาก
เมื่อก่อนจิตเร่ร่อน
ไปในอารมณ์ต่างๆ
ไปในความคิดต่างๆ
แต่ทีนี้มันไม่เร่ร่อน
มันกลับมามีที่อยู่ที่ชัดเจ น
เอานิพพานเป็นที่พึ่ง
นิพพานเป็นลักษณะจิตที่เป็น อิสระ
โปร่ง เบา สบาย
ไม่เกร็ง ตึง เคร่งเครียด
ไม่พึ่งพาอะไรที่เป็นภายนอก
เช่น วัตถุ อารมณ์ทั้งหลาย
แต่อาศัยรูปเป็นเพียงที่พัก พิง
หรือเป็นที่ข้าม
ถ้าสมมติเส้นทางนี้เป็นทางน ้ำ
ก็เรียกว่าเป็นเหมือนแพ หรือเรือ
ที่อาศัยเพียงข้ามฟาก
ไม่ใช่ยึดเอาเรือเป็นบ้าน
ไม่ใช่ยึดเอาบ้านข้างทางเป็ นที่อยู่
แต่เราต้องการไปสู่เป้าหมาย
อิสรภาพคือเป้าหมายของเราเท ่านั้น
เราก็ต้องไปฝึกดู
เก็บอารมณ์สั่งสมปัญญา
ในช่วงที่เข้าเก็บอารมณ์
ผู้ที่อยู่ข้างนอก อาตมาก็จะดูแล
ถ้าเก็บอารมณ์สองวันได้
ก็เก็บสามวันได้
ถ้าเก็บสามวันได้ ก็เก็บเจ็ดวันได้
ถ้าเก็บเจ็ดวันได้ ก็เก็บสิบวันได้
เก็บครั้งเดียวไม่ใช่จะทะลุ เป้าหมาย
แต่มันจะประหยัดเส้นทางของจ ิต
ให้สั้นขึ้นไปเรื่อยๆ
สมมติว่าเส้นทางนี้
เราต้องเดินอีกร้อยกิโล
เก็บครั้งนี้ได้สิบกิโล
เที่ยวต่อไปได้อีกสิบกิโล
ระยะทางที่ต้องเดินก็สั้นลง ไป
ถ้าเป็นอารมณ์ก็คือ
เมื่อก่อนมีอะไรกระทบปั๊บ
มันเข้าไปอยู่ในความคิดสิบน าที
เดี๋ยวนี้พอกระทบปั๊บ
เหลือแค่เจ็ดหรือแปดนาที
เก็บครั้งต่อไปกระทบปั๊บ
อาจจะเหลือห้านาที
ครั้งต่อไปกระทบปั๊บ
อาจเหลือสองสามนาที
เก็บครั้งต่อไปกระทบปั๊บ
อาจจะหลุดทันที
ในชีวิตประจำวัน
บางเรื่องที่มันสำคัญ
เกี่ยวกับผลได้ผลเสีย
ก็จะรู้จักวิธีคิด และใช้เวลาสั้น
เพื่อจิตของเราจะได้เป็นอิส ระ
คุกคือความคิด
เรื่องการงานต่างๆ เพื่อเลี้ยงอัตภาพ
เป็นเครื่องมือให้ดำรงอยู่
ไม่ต้องเสียเวลากับมันมากมา ย
แต่เวลาที่เราจะต้องมาทำให้ จิตวิญญาณ
เป็นอิสระจากสิ่งนี้ มันต้องทำให้มาก
เพราะเราเป็นนักโทษของวัฏฏส งสาร
มาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติแล้ว
เราก็น่าจะรู้จักเข็ดหลาบขา บจำบ้าง
ให้อยู่ในคุกอย่างนี้ตลอดก็ ไม่ไหว
เอาตัวออกมาจากคุกเสียบ้าง
คุกคือความคิด
ที่เกิดจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
เป็นคุกขังใจเรา ออกไปไม่ได้
ในที่สุดเราก็มาสร้างคุก สร้างบ้าน
สร้างลูก สร้างภรรยา สร้างครอบครัว
สร้างวงศ์สกุล สร้างภาระหน้าที่มากมาย
เป็นคุกหลายชั้นๆ เข้าไป
จนยากที่จะพังมันออกมา
คนไหนที่สามารถออกจากคุก
มาทีละชั้นได้
ก็เป็นอิสระมากขึ้น
ติดอารมณ์ที่ชอบ
เหมือนนกมันกินผลไม้ได้ทุกต ้น
เพราะมันไม่ได้อยู่ที่ต้นไม ้ต้นใดต้นหนึ่ง
มันบินไปเรื่อยๆ
ต้นไหนอร่อยมันก็กิน
ต้นไหนไม่อร่อย มันก็เลือกได้
แต่นกบางตัว กินผลไม้บางต้นอร่อย
เช่น กินมะม่วงอร่อย ก็ถือไว้สองสามลูก
บินไม่ไหวแล้ว ต้องเอามะม่วงไปด้วย
ผลไม้ต้นนี้อร่อย ฉันไม่หนีไปไหน
เดี๋ยวนายพรานก็มายิง
เพราะไปติดต้นนั้น
เหมือนกัน ถ้าเราชอบอารมณ์ใด
เราก็ติดอยู่กับอารมณ์นั้น
เดี๋ยวมารก็เอาไปกิน
เราควรเป็นอิสระเหมือนนก
มีแค่ปีก อันหนึ่งเป็นรูป อันนึ่งเป็นนาม
บินไปได้ทุกหนทุกแห่ง
แต่ถ้ามีภาระหลายๆ อย่าง บินไม่ขึ้น
เพราะติดแร้ว ติดบ่วง
ที่นายพรานวางกับดักเอาไว้
บ่วงผูกคอ
โบราณบอกว่า
บ่วงผูกคอ ปอผูกศอก ปลอกผูกเท้า
บ่วงผูกคอ คือ ลูก
เชือกปอผูกศอก คือ ภรรยาสามี
ปลอกใส่เท้า คือ ทรัพย์สมบัติ
หามาตลอดชีวิต ทิ้งไม่ได้
เวลาคนตายเขาถึงมัดตราสัง ๓ ที่
ไม่ให้หลุดไปจากวัฏฏสงสาร
บ่วงผูกคอ ปอผูกศอก ปลอกผูกเท้า
คือ ราคะ โทสะ โมหะ
ไม่ใช่ว่าคนที่ไม่มีลูก ภรรยา ทรัพย์สมบัติ
จะปราศจากห่วง
เพราะห่วงที่แท้จริงคือ
ราคะ โทสะ โมหะ
พอตัดบ่วงอันนี้ได้
การมีลูก ภรรยา สามี
ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไร
แต่ถ้าเราตัดบ่วงข้างในไม่ไ ด้
ลูก ภรรยา สามี ทรัพย์สมบัติ
ก็เป็นตัวมัดให้แน่นเข้าไปอ ีก
ถ้าเราบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ ให้น้อยลง
การมีทรัพย์สิน สมบัติ ลูก ภรรยา สามี
ก็เป็นเพื่อน เป็นเครื่องประดับ เป็นเครื่องมือ
ในการแสวงหาอิสรภาพ
คำสอนพระพุทธเจ้าเป็นเหตุเป
ที่มองเห็นได้อย่างน่าอัศจร
เป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์
ลำดับให้เห็นขั้นตอนได้ว่า
อะไรเป็นอะไร
ในพุทธศาสนามี
๑. อิทธิปาฏิหาริย์
๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์
๓. อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์
แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสร
อิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์
ทรงสรรเสริญอนุสาสนีย์ปาฏิห
ทุกคนสามารถเข้าใจได้ในขบวน
ว่าเราจะดับทุกข์อย่างไร
มีขบวนการขั้นตอนอย่างไร
จะออกจากปัญหาอย่างไร
มีขบวนการขั้นตอนอย่างไร
มันชัดเจน
จึงอยากให้ตั้งใจ
อย่าไปเสียเวลากับเรื่องไม่
ในชีวิตจริงมีเรื่องไม่จำเป
เรื่องจำเป็นจริงๆ มีไม่กี่เรื่อง
ตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน
มีเรื่องไม่จำเป็นเยอะแยะไป
เรื่องที่จำเป็นก็มีอยู่สี่
คือหาปัจจัยสี่ เพื่อการดำรงชีวิต
หาเสื้อผ้า หาอาหาร หาที่อยู่อาศัย
หาวิธีการรักษาเยียวยาโรคภั
ในสี่เรื่องมีเรื่องประกอบเ
ปัจจัยสี่ก็เป็นปัจจัยนับร้
จากห้าไปถึงร้อย
เป็นปัจจัยที่ไม่จำเป็น
ทางเตียนเวียนไปนรก
ไม่ใช่เราจะมาเจอกันง่ายๆ
วิธีการหลวงพ่อเทียน
เป็นวิธีที่รับไม่ได้ง่ายๆ
ถ้าคนไหนมาศึกษาแล้วรับได้เ
ถือว่าเป็นบุญกุศล
คนที่รับไม่ได้มีเยอะแยะ
เพราะเป็นรูปแบบที่แปลก
แตกต่างจากเพื่อนดูเหมือนไม่ค่อยน่าไว้ใจเท่
ว่าจะใช่หรือเปล่า เป็นไปได้หรือเปล่า
แต่หารู้ไม่ว่า อันนี้เป็นเส้นทาง
ที่เราทิ้งมันมานานหลวงพ่อเทียนท่านเปรียบเสมื
เป็นเส้นทางเก่าแก่ ที่คนทิ้งไม่เดินแล้ว
พระพุทธเจ้าท่านพาเดินมานาน
แต่คนทิ้งไปหลวงพ่อเทียนมาพบเส้นทาง
มันเป็นเค้าอยู่ ต้องมาถางใหม่
เส้นทางที่เขาเดินกันจนโล่ง
ไม่ใช่เส้นทางที่ไปสู่ตัวนี
โบราณอีสานว่า
ทางเตียนเวียนไปนรก
ทางรกวกไปนิพพาน
ทางรกคือทางเก่าแก่
ไม่ค่อยมีใครเดิน
เราก็มาแผ้วถาง มาเดินกัน
คนมาเดินใหม่ๆ
ก็สงสัยว่ามันดูไม่ใช่ทาง
เพราะคนเขาไม่เดินกัน
เราก็สงสัยว่าใช่หรือเปล่า
เราต้องแยบคายพอสมควร
เวลาปฏิบัติ มันเกิดอารมณ์
เบื่อ ท้อถอย ลังเล
เราจะแก้อย่างไร?
มันเป็นอารมณ์ที่ค่อนข้างน่
ทำไปรู้สึกว่ามีแค่สองอย่าง
เดินจงกรม สร้างจังหวะ
แล้วจะทำอะไรต่อไปอีก
มันคิดอย่างนี้
อันนี้หมายความว่า
เราเข้าไม่ถึงเนื้อใน
เราเอาแต่เปลือกนอก
แล้วจะทำเพื่ออะไร?
ตัวมารมันทำให้เราคิด
แต่ถ้าเราแยบคาย
เดินจงกรมสร้างจังหวะไม่ใช่
แต่ตัวที่มันเกิดจากการกระท
มันมีอะไรบ้าง เราต้องการดูตรงนั้น
เหมือนเครื่องมือจับปลา เบ็ด แห อวน
เราไม่ใช้มัน มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร
แต่พอเราใช้มัน ก็จับปลาได้
ตัวรู้สึกตัว ก็เช่นกัน
ตัวสติ สมาธิ ปัญญา
เป็นเครื่องมือ ถ้ารู้จักใช้มันเป็น
มันก็ไปจับอารมณ์ต่างๆ
อารมณ์ที่เป็นสุคติภูมิ อบายภูมิต่างๆ
อารมณ์ที่เป็นกุศล อกุศล มันมาอย่างไร
เราก็ไปจับมันมา
ต้องใช้สติ สมาธิ ปัญญา
แหมือน แห เบ็ด อวน
ต้องใช้มันเป็น ถ้าใช้ไม่เป็น
บางคนไปนั่งตกเบ็ดทั้งวัน
ไม่ได้ปลาสักตัวก็มี
แต่บางคนไปนั่งเดี๋ยวเดียว
ได้ปลามาเป็นพวง
#ฝึกเหวี่ยงแหสติสมาธิปัญญา
เราเจริญสติ สมาธิ ปัญญา อยู่ก็จริง
แต่ต้องใช้ให้เป็นด้วย
คนไม่เคยหว่านแห ก็หว่านไม่เป็น
ต้องฝึกใช้สติ สมาธิ ปัญญา บ่อยๆ
เพื่อจะได้ใช้เป็น
เจออารมณ์แบบนี้ ต้องใช้อะไรแก้
เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที
ใช้ศิลปะ
มีศรัทธาอย่างเดียวไม่ได้
ต้องฝึกทำสิ่งนั้นบ่อยๆ ก็จะรู้เทคนิค
กว่าเราจะฝึกให้ชำนาญได้
ต้องใช้เวลาสามปี เจ็ดปี สิบปี
บางคนขับรถใหม่ๆ ปีสองปี
เอารถไปชนไปเฉี่ยวได้
อารมณ์บางตัวเหมือนกัน
ถ้าเราจะใช้ให้มันว่องไว ชัดเจน
ต้องฝึกบ่อยๆ
สติมันจะมาไวทันการ
ต้องตอกย้ำในอารมณ์นั้นบ่อย
ต้องรู้จักอาการของสติเป็นอ
อาการของสติที่เป็นสัญชาตญา
เป็นแบบนี้
อาการของสติที่เป็นปัญญาญาณ
เป็นแบบนี้ เห็นชัด
สติที่เป็นสัญชาตญาณคือ
เวลาเรานั่งนานๆ
ปวดแล้วเราเปลี่ยน
การเปลี่ยนของสติ
แบบสัญชาตญาณคือ
เปลี่ยนไปเพื่อหาความสบาย
แต่ถ้าเป็นสติแบบปัญญาญาณ
เป้าหมายคือต้องการสองด้าน
ความสบายด้วย
และรู้ว่าความสบายเกิดขึ้นไ
ความไม่สบายหายไปได้อย่างไร
สติตัวนี้จะเป็นตัวปัญญาญาณ
ถ้าเราไม่ฝึกใช้ ก็จะมีแต่ด้านเดียว
คือด้านสัญชาตญาณ
ได้ความสบายก็จริง
แต่ความสบายมาอย่างไร
ความไม่สบายหายไปอย่างไร
เราไม่รู้ เพราะเป็นสติชั้นเดียว
แต่อันนี้เป็นสติชั้นที่สอง
เราก็รู้ด้วยว่า หลังจากที่เราเปลี่ยนไปปั๊บ
ตัวสัมปชัญญะตามมาเลย
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)
………………………………………………………
ไฟล์เสียง “เบิกตาชาวอาศรม” ตอน “วิธีเก็บอารมณ์”
https://www.buddhayanando.com/