คุณสมบัติของนักปฏิบัติ

 

 

๑.๒ คุณสมบัติของผู้เข้าปฏิบัติ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

คุณสมบัติของผู้เข้าปฏิบัต

บรรดาญาติโยม
ตลอดทั้งพระสงฆ์องคเจ้าของเราทั้งหลาย
ถ้าปฏิบัติในวิธีการนี้แล้วไม่รู้
หลวงพ่อเทียนท่านเคยเอาชีวิ
เป็นประกันเอาไว้

นี่ก็เช่นกัน อย่าว่าแต่ท่านเลย
แม้แต่ตัวอาตมาเองก็ยอมเอาตัวเอง
เป็นประกันว่า ถ้าหากพวกเราทั้งหลาย
ตั้งใจกันปฏิบัติอย่างจริงจังแล้ว
จะต้องรู้กันทุกคน
แต่การที่จะรู้มากรู้น้อย
อันนี้ขึ้นอยู่กับความตั้งใ
ขึ้นอยู่กับศรัทธาของเรา
ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของเรา
ว่ามีความเข้มแข็งแค่ไหน
การที่จะไม่รู้ไม่เห็นเลยนั้น
มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

คุณสมบัติที่นักปฏิบัติทั้งหลายควรจะมี หรือต้องสร้างให้เกิดขึ้นในตัวเอง สำหรับเป็นเครื่องมือในการที่จะทำเรื่องนี้ให้กระจ่าง มีอยู่ ๕ อย่าง

๑. ต้องมีศรัทธา คือ ความเชื่อในการที่เรามายกมือสร้างจังหวะ ทำให้เกิดความรู้สึกตัวนี้ เราต้องมีศรัทธา ต้องกระทำด้วยความศรัทธา ศรัทธาในการกระทำ จะมาทำแบบเพื่อทดลองทำดู นี่… เรื่องนี้ลองไม่ได้ ต้องทำจริงๆ เราต้องมีศรัทธาว่าจะปฏิบัติเพื่อดับทุกข์โดยวิธีนี้ให้ได้

บางคนไม่เชื่อ เอ…เราไปนั่งหลับตา กำหนดลมหายใจ มันเคยสุขสบาย แต่พอมาทำอย่างนี้รู้สึกใจไม่สงบเลย สงสัยจะไม่ถูกจริตกระมัง นี่เรียกว่าศรัทธาคลอนแคลนแล้ว เพราะบางคนติดสงบมาเป็นเวลานาน เวลามานั่งยกมือรู้สึกมันไม่สบาย มันยุ่งไปหมด จิตไม่สงบ นี่เป็นเพราะเราไปติดความสงบ ไปเสพความสงบจนติด
ความสงบแบบนั้นเป็นสิ่งเสพติดทางอารมณ์ ฤทธิ์มันร้ายยิ่งกว่ายาเสพติดภายนอกเสียอีก เพราะฤาษีชีไพร นักบำเพ็ญพรตทั้งหลายในอดีต ก็ติดอารมณ์สงบพวกนี้แหละ อย่าว่าแต่ฤาษีในอดีตเลย แม้ปัจจุบันนี้ พระเราก็เป็นกันเยอะ พอปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่ง ก็ไปติดความสงบ ไปบอกให้ออกก็ไม่อยากออก มันเสียดายในรสชาติ
พวกเราทั้งหลายเคยนั่งสมาธิแบบหลับตามาก่อนแล้ว พอมานั่งสร้างจังหวะแบบนี้ แรกๆ จิตจะฟุ้ง จิตมันจะวุ่นอยู่บ้างก็ช่างมัน ให้เราทำไปเรื่อยๆ เพราะมันกำลังจะประสานตัว มันกำลังจะก่อตัวใหม่ เป็นอาการที่มันกำลังแตกตัวเพื่อก่อตัวใหม่ ให้ทำไปเรื่อยๆ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

๒. ต้องมีวิริยะ คือความเพียร ต้องทำให้ต่อเนื่อง เพียร มาจากคำว่า วิริยะ แปลว่ากล้าหาญ หิวก็ไม่ท้อถอย หนาวร้อนก็ไม่ท้อถอย แม้จะง่วงคิดถึงบ้านก็ไม่ย่อท้อ อดทนสู้

วิริยะ แปลได้อีกอย่างหนึ่งก็คือสู้ แต่ให้รู้จักตัวเองด้วยว่าจะสู้แค่ไหน สู้อย่างไร ไม่ใช่สู้ตะพึดตะพือ เดินจงกรมสร้างจังหวะทั้งวันทั้งคืน เพราะเดี๋ยวติดความคิด ติดวิปัสสนูจะลำบกกันอีก ถึงเวลาหลับก็ต้องหลับ ถึงเวลานอนก็ต้องนอน ถึงเวลาตื่นต้องตื่น กลางคืนนอนให้เต็มที่ อย่าไปวิตกกังวล พอถึงเวลานอนก็กำหนดความรู้สึก แล้วค่อยๆ ล้มตัวลงนอน กำหนดสูดลมหายใจ หรือจะพลิกมือเล่นเบาๆ ไปก็ได้ อย่าคิดอะไรมาก เดี๋ยวมันก็หลับไปเอง อย่านอนโดยขาดการกำหนดรู้ บางคนนอนเอามือก่ายหน้าผาก คิดไปโน่นไปนี่ คิดว่าเราจะสู้ไหวไหมหนอ เวลาเจ็ดวันนี้ดูมันมากเหลือเกิน ป่านนี้ทางบ้านจะอยู่อย่างไร จะกินอย่างไร เราเองก็ทำมาวันหนึ่งแล้ว ไม่เห็นจะได้อะไร กลับเสียดีไหม ขืนอยู่นานถึงเจ็ดวัน เราคงไม่รอดแล้ว อันนี้ต้องระวังให้ดี เดี๋ยวถูกกิเลสมันหลอกเอา อย่ายอมมัน ต้องขยัน ต้องอดทน ต้องมีวิริยะบากบั่น คิดมากก็เป็นเหตุให้นอนไม่หลับ ถึงไม่กลับไปแต่ก็เป็นเหตุปัจจัย ส่งผลกระทบต่อการทำความเพียรในวันรุ่งขึ้น มันง่วงเหงาซึมเซา นี่ต้องระวังให้ดี

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

๓. ต้องเป็นผู้มีอาพาธน้อย ความเป็นผู้มีอาพาธน้อยนี้ ถือว่าเป็นโชคลาภ คือมันปฏิบัติได้เต็มที่ ทำความเพียรได้สะดวก แต่หากว่าเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ก็อย่าไปวิตกกังวลกับมัน อย่าห่วงโรคภัยไข้เจ็บมากเกินไป บางคนคิดว่าถ้าทำความเพียรมากเกินไป เดี๋ยวเกิดป่วยไข้ กินไม่ได้นอนไม่หลับ แล้วจะทำอย่างไร นี่มันเป็นการระแวงตัวเองมากเกินไป ห่วงไปเสียหมด เกิดกลัวไปเสียทุกอย่าง คนประเภทนี้เขาเรียกว่าเป็นผู้มีอาพาธมาก คือเป็นโรคทั้งกายและใจ

แต่สำหรับผู้ที่เป็นอยู่แล้ว ก็พยายามอย่าเอาจิตไปวิตกกับมัน ลืมมันไปก่อน มาอยู่กับตัวรู้นี้ เอาใจมาอยู่กับตัวสตินี้แหละ หากมันไม่ชัดเจนก็มีการเคลื่อนไหวบ้าง จะเป็นการกระตุ้นหรือเขย่าธาตุรู้เพิ่มขึ้นอีกแรง เวลามันมีอาการขึ้นมาจริงๆ ถ้าบำบัดได้ก็ทำ หากบำบัดไม่ได้ก็แก้ไขกันไปตามเหตุปัจจัยอันเหมาะสม
ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีอาพาธน้อย ไม่วิตกกังวลกับสุขภาพของตัวเองมากเกินไป ไม่ปรุงแต่งหรือกลัวจนเกินเหตุ

 

๔. ต้องเป็นคนซื่อตรง มีสัญชาตญาณของคนตรง เพราะคนทั่วไปใจไม่ค่อยตรง ความตั้งใจคิดว่าจะมาปฏิบัติสักเจ็ดวัน แต่พอสามวันคิดอะไรขึ้นมาได้ก็ไม่รู้ วันที่สี่มาลาครูบาอาจารย์ บอกว่านักทางบ้านเอาไว้อย่างโน้นอย่างนี้ ต้องกลับให้ได้ บางคนอยู่ได้เต็มที่แค่ห้าวัน แต่ในความตั้งใจที่มาจากบ้านนั้น จะมาอยู่ถึงเจ็ดวัน แต่พอมารมันมาเรียก ถูกความคิดมันมากล่อมเข้าหน่อย ก็ถึงกับต้องวิ่งมาหาหลวงพ่อ เมื่อหลวงพ่อห้ามไม่ไหว ก็จำเป็นต้องปล่อยให้มารมันเอาไป

การปฏิบัติไม่ตรงอย่างที่เราตั้งใจเอาไว้ ให้พยายามมีสัญชาตญาณของคนตรง ตรงต่อหน้าที่ ตรงต่อครูบาอาจารย์ ตรงต่อวิธีปฏิบัติ ตรงต่อศีลธรรม ตรงต่อพระรัตนตรัย ฝึกตัวเองให้เป็นคนเปิดเผย เปิดจิตเปิดใจ บูชาพระธรรมกันจริงๆ นี่จึงเรียกว่าเป็นคนตรง มีจิตตรง ไม่ได้มากระทำเพื่อหวังอะไรแอบแฝง มาทำเพื่อจะได้เทศน์เก่งๆ มาทำเพื่อหวังฤทธิ์เดช หวังลาภสักการะ เสียงสรรเสริญ นี่มันคดแล้ว มันคดไปเอาอย่างอื่นแล้ว

ขอให้ตรงต่อการรู้ธรรมเห็นธรรม ตรงไปสู่การดับทุกข์ ทำเพื่อบูชาพระรัตนตรัยเท่านั้น ไม่ใช่ว่าเดี๋ยวจะเอาอย่างนั้นจะเอาอย่านี้ เดี๋ยวจะลองวิธีนั้น เดี๋ยวจะลองวิธีนี้ ทำไปทำมาไม่ได้อะไรเลย เพราะไม่ตรง เป็นคนเหลาะแหละ คดไปงอมา แบบนี้รู้ยาก เข้าใจยาก

๕. ต้องเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ข้อสุดท้ายนี้จะเรียกว่าเป็นปัญญาก็ได้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ใดประกอบด้วยธรรมห้าประการนี้ และมีเราเป็นกัลยาณมิตรแล้ว อย่าว่าแต่จะรู้ธรรมภายในระยะเวลาเพียงเจ็ดปี หรือภายในเจ็ดเดือน หรือภายในเจ็ดวันเลย บางคนปฏิบัติเย็นนี้ อาจรู้พรุ่งนี้เช้าก็ได้ บางคนปฏิบัติเช้าอาจรู้เย็นนี้ก็ได้ ข้อความนี้ท่านตรัสไว้ในโพธิราชกุมารสูตร พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้ขนาดนั้นเลย แต่ว่าผู้ปฏิบัตินี้จะได้ผล จะต้องประกอบด้วยองค์ธรรมทั้งห้าประการดังที่กล่าวมาแล้วนั้นด้วย

Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)
……………………..…….
#คุณสมบัติที่ดีของนักปฏิบัติ
https://www.buddhayanando.com/wordpress/?p=20448

จากหนังสือ “สติเคล็ดลับมองด้านใน คู่มือการเจริญสติ” ฉบับวัดแพร่แสงเทียน เขียนโดย พระพุทธยานันทภิกขุ