ฤดูกาลแห่งจิต

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ฤดูกาลแห่งจิต

เปรียบเสมือนฝั่งน้ำที่เรานั่งอยู่ อารมณ์ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เปรียบเสมือนกระแสน้ำที่ไหลผ่านหน้าเรา แล้วเรานั่งอยู่บนฝั่ง เห็นลำน้ำที่มันไหลมาตามฤดูกาล ฤดูแล้งน้ำก็แห้งขอดและใส ฤดูฝนมันก็จะขุ่นจะเคี่ยวไหลแรง จิตของเราก็มีฤดูกาลเช่นกัน ฤดูกาลภายนอกมี ๓ ฤดู ฝน หนาว แล้ง ฤดูของจิตก็มี ๓ ฤดู คือพอใจ ไม่พอใจ และเฉยๆ

๑. ตัวพอใจเปรียบเสมือนฤดูฝน สดชื่นแจ่มใสสบาย พัฒนามาเป็นสุข สุขเวทนาพัฒนาไปเป็นราคะ พัฒนาไปเป็นกามะ พัฒนาไปเป็นความพอใจทุกชนิด เมื่อเราไปติดสุขเวทนา ก็หมายความว่าเราไปพัฒนาตัวกามะมากขึ้น พัฒนาตัวราคะให้มันแรงขึ้นเรื่อยๆ ทีนี้ความพอใจถูกตอบสนองบ่อยเข้าๆ เราก็ไปติด พอไปติดมันก็ไปพัฒนากามราคะให้มีกำลัง

๒. แต่เมื่อใดความพอใจไม่ถูกตอบสนอง มันตีกลับเป็นความไม่พอใจ โทสะเปรียบเสมือนฤดูร้อน เราไม่ชอบ อบอ้าวเหงื่อตก เราอยากจะให้คนนี้พูดกับเราดีๆ แต่เขาพูดไม่ดีกับเรา เราก็ไม่พอใจ พัฒนาจากตัวไม่พอใจ เป็นปฏิฆะ เป็นโทสะ เป็นหงุดหงิด เป็นโมโห เป็นฉุนเฉียว เป็นพยาบาท เป็นโกรธ

๓. ความพอใจไม่พอใจไม่มี มันรู้สึกซื่อๆ เฉยๆ เปรียบเสมือนฤดูหนาว ตัวราคะ ตัวกามะ ความรู้สึกที่ไม่แน่ใจ เรียกว่าอทุกขมสุขเวทนา หรือเฉยๆ เป็นความเหงา ความซึม เราจะเห็นชัดมากในยุโรป ทั้งภูเขามันซึมเหมือนป่าช้าไม่มีใครกล้าออกจากบ้าน ต้นไม้ใบไม้หลุดล่วงหมดเลย

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ฤดูกาลในใจผลัดเปลี่ยนไปตามอารมณ์

ฤดูกาลภายนอก
มันเปลี่ยนสามสี่เดือนครั้ง
แต่ฤดูกาลภายใน
มันเปลี่ยนเป็นชั่วโมงเป็นนาที

นาทีเมื่อกี้นี้พอใจ
พอมานาทีนี้พูดผิดหูหน่อยเดียว
ไม่พอใจแล้ว
เปลี่ยนจากฤดูฝนเป็นฤดูแล้งทันที
สักพักทำใจได้เฉยๆ เป็นฤดูหนาว
สลับกันอยู่อย่างนี้

แสดงว่าฤดูกาลของจิต
มันก็จะเปลี่ยนจิตเปลี่ยนใจเรา
ตลอดเวลา

เราเรียกว่าอารมณ์
อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย
อารมณ์ซื่อบื้อเฉยๆ

ถ้าเราไม่รู้เท่าทันราคะ โทสะ โมหะ
หมายความว่าเราหลุดจากฝั่ง

เหมือนเราโดดลงไปในน้ำ
หน้าแล้งมีน้ำใสก็ลงไปเล่น
หน้าฝนเห็นน้ำมาก็ลงไปเล่น
หน้าหนาวในยุโรป
น้ำในคลองเป็นน้ำแข็ง
ไม่น่าเล่นเลย

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

สร้างบ้านให้ใจ ปลอดภัยทุกฤดูกาล

เรามาพัฒนา
ที่จะอยู่เหนือทุกฤดูกาล

ฤดูหนาวจัดเราก็อยู่ได้
ฤดูร้อนจัดเราก็อยู่ได้
ฤดูฝนก็อยู่ได้สบาย

จิตของเรามีราคะ โทสะ โมหะอยู่
แต่เราก็ยังสบาย
เพราะเรามีบ้าน

ฤดูหนาวก็เปิดฮีทเตอร์
ฤดูแล้งก็เปิดแอร์

ฤดูกาลภายใน
คือการแปรปรวนของอารมณ์

เพราะฉะนั้น เราต้องมีหลัก
คือสร้างบ้านที่ปลอดภัย
ขึ้นมาบนฝั่งน้ำนั้น

ถ้าไปสร้างบ้านในแพ
ในเรือก็ไม่ปลอดภัย

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

คบสติสร้างบ้าน

เราจะสร้างบ้านของจิตสักหลัง
จะทำอย่างไร?

สติเป็นเสมือนช่าง
สมาธิเป็นพื้น
ปัญญาเป็นหลังคา
ศีลเป็นประตูหน้าต่าง
บ้านจะหลังใหญ่หรือไม่
อยู่ที่ช่างและงบประมาณ
งบประมาณคือศรัทธา
และความเพียร

ดังนั้น ในจุดนี้
จึงต้องการเน้นให้เห็นชัดว่า
เมื่อฤดูกาลของจิต
เราเรียกว่าอารมณ์
มันแปรปรวน

เราชอบสุขแต่ได้ทุกข์
เราชอบพอใจแต่มันได้ไม่พอใจ
มันได้ซื่อบื้อ เฉย มึน ตึง
ต่างเป็นโมหะทั้งหมด
เราจะอยู่เหนือมันได้อย่างไร?

เราต้องสร้างบ้านขึ้นมา
ฤดูกาลทั้งสามก็จะไม่มีผลต่อเรา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

คบสัญชาตญาณไร้บ้านเรือน

การจะสร้างบ้านหลังนี้
ต้องมีความรู้สึกตัว
ที่เป็นธรรมดาธรรมชาติ
 
เป็นความรู้สึก
ที่ไม่ต้องใช้ความคิด
การคำนวณ การคาดคะเน
 
แต่มันเป็นความรู้สึกพื้นฐาน
ที่มีอยู่ขณะนี้เดี๋ยวนี้
ทุกคนสัมผัสได้
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง
เจ็บปวด สบาย ไม่สบาย เป็นพื้นฐาน
 
ให้จับความรู้สึกตัวนี้ให้ดี
ความรู้สึกชนิดนี้
ถ้าคนไหนเข้าไปอยู่กับมัน
โดยความไม่มีสติไม่มีปัญญา
เราเรียกว่าสัญชาตญาณ
หรือสามัญสำนึก
 
แต่ถ้าเราเข้าไปอยู่
ด้วยการเจริญสติ สมาธิ ปัญญา
รับรู้ต่อสิ่งนี้
มันก็จะกลายเป็นวิปัสสนาญาณทันที
 
จากสัญชาตญาณกลับข้างเลย
หมายความว่าเราเจริญตัวรู้
มันจะเปลี่ยนความรู้สึกซื่อๆ เฉยๆ
ให้เป็นวิปัสสนา
 
แต่ถ้าเมื่อใดเรามีความไม่รู้
ความเผลอเกิดขึ้นปั๊บ
สัญชาตญาณก็เข้าทำงานแทน
ก็จะสลับกันอยู่อย่างนี้
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เหนือสุขเหนือทุกข์คือที่อยู่ของจิต

จิตของเราถ้าจะเกิดโลกุตตรปัญญา
มันจะต้องมีความสุขเสียก่อน
มีปีติมีปัสสัทธิก่อน
ตัวปัญญามันถึงจะเกิดขึ้น

ตัวปัญญาเป็นลักษณะของ
ความเบาสบายปลอดโปร่ง
ปัญญาที่เป็นโลกุตตระถึงเกิ
แต่ปัญญาที่เป็นโลกียะ
เกิดจากความรู้สึกนึกคิด
จดจำพินิจพิจารณา
มันไม่ได้เกิดจากความรู้สึก
โล่งโปร่งเบาเหมือนโลกุตตรปัญญาก่อนที่จะไปอยู่เหนือสุขได้
ต้องผ่านสุขเสียก่อน
เห็นความสุขเป็นเพียงบันไดขั้นหนึ่ง
ความทุกข์ก็เป็นบันไดขั้นหนึ่ง
ให้เหยียบขึ้นเหนืออารมณ์เหมือนกับเราเหยียบบันไดขึ้นไป
เหนือบันไดก็คือบ้านที่อยู่ของกาย
เหนือสุขทุกข์ก็คือที่อยู่ของจิต
เหนืออารมณ์ก็คือเหนือกายเหนือใจ
ไปอยู่กับความจริงความรู้

Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)