มอบรักด้วยธรรม

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๑)

** รู้จักกระแสชีวิตก่อนจะผ่อนคลาย **

จากการพิสูจน์ทดลอง อาตมาได้พบว่า คำสอนที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ และนำมาแสดงไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น เป็นสัจจธรรมที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนและไม่ซับซ้อนเลย คือพระองค์ตรัสเรื่องทางสามสาย คือ ๑.ทางสายหย่อน ที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค ๒.ทางสายตึง ที่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค และ ๓.ทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
ในทีนี้ อยากใช้ภาษาพูดเสียใหม่ว่า “กระแสของความรู้สึก” แทนคำว่า “ทาง” เพราะเห็นภาพความรู้สึกได้ชัดกว่า ความรู้สึกมันมีอยู่สามกระแส คือกระแสติดสุข หรือทางหย่อน กระแสติดทุกข์ หรือทางตึง และกระแสที่พอดี หรืออาจจะเรียกว่าทางสายกลาง และอาจเรียกชื่อต่างๆ กันไปเช่นว่า กระแสพอใจ(หย่อน) กระแสไม่พอใจ(ตึง) และกระแสพอดี (เป็นกลาง) กระแสบาป กระแสบุญ กระแสเหนือบุญเหนือบาป เป็นต้น ส่วนมากจิตของเราจะตกอยู่ในสามกระแสนี้เท่านั้น
แม้แต่พระพุทธองค์เอง ก่อนที่จะตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ จิตของพระองค์ก็ตกอยู่ในกระเสทั้งสามนี้ ที่ท่านเรียกว่า “กามสุขัลลิกานุโยค” คือกระแสพอใจ และ อัตตกิลมถานุโยค” คือกระแสไม่พอใจ แต่เมื่อท่านตรัสรู้แล้ว ท่านจึงค้นพบกระแสที่สาม ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง หรือกระแสที่เป็นกลาง เพราะก่อนหน้านั้นมีแต่กระแสสุดโต่งไปทางตามใจ หรือกามสุขัลลิกานุโยค กระแสสุดโต่งไปทางขัดใจ คือกระแสอัตตกิลมถานุโยค
ขณะที่เราทั้งหลายมานั่งตรงนี้ ประมาณเกือบชั่วโมงมาแล้ว จะเห็นความจริงข้อนี้ได้โดยไม่ยาก เพราะทราบว่าท่านทั้งหลายมานั่งรออยู่นานพอสมควรแล้ว ท่านทั้งหลายลองสำรวจลงไปในความรู้สึกของตัวเองให้ดีๆ จะเห็นว่าบางท่านบางคนอาจจะรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องนั่งรอคอยนาน บางคนอาจจะรู้สึกเหนื่อยใจและเบื่อ แต่บางคนอาจจะรู้สึกยังสบายใจอยู่ แต่ละคนจะมีความรู้สึกผิดแผกแตกต่างกันไป ตามกระแสของความรู้สึกทั้งสามที่กล่าวมา
สำหรับคน ที่ฝึกสติจนชำนาญแล้ว อาจถือเอาการรอคอยเป็นการทำสมาธิไปในตัว แต่สำหรับคนที่ไม่เคยฝึกเจริญสติมาก่อน การรอคอยอาจจะเป็นเวลาที่ทุกข์ทรมานแม้จะเป็นเวลาที่สั้นๆก็เหมือนกับเป็นเวลาที่ยาวนาน

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

 

มอบรักด้วยธรรม (๒)

** กระแสเวทนามิใช่กระแสสติ **

ดังนั้นเอง เรื่องของความรู้สึกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับคนที่ยังไม่ได้ฝึกฝนจิตใจ หรือฝึกมาบ้างแต่ยังไม่ถึงที่ ความรู้สึกระดับนี้เรียกว่า “เวทนา” อาตมาได้ทดลองศึกษาเรื่องเวทนาดูหลายๆขั้นตอน และพยายามศึกษาสังเกตโดยแยบคายทุกครั้ง เมื่อมีโอกาสปฏิบัติตามรูปแบบ โดยเฉพาะเวลาเจริญสติในอิริยาบถนั่ง เมื่อจิตเรายังไม่สงบ เราจะถูกทุกขเวทนาบีบคั้น เราจะผุดลุกผุดนั่ง เปลี่ยนแปลงอิริยาบถอยู่บ่อยๆ เดี๋ยวพลิกตรงนั้น เดี๋ยวเปลี่ยนตรงนี้ไปเรื่อยๆ
เพราะจิตกับกายของเรายังไม่เกิดการประสานกลมกลืนกันอย่างสนิท มันจะไปเบียดเบียนซึ่งกันและกัน กายรู้สึกทุกข์อย่างไร ใจก็เป็นอย่างนั้น กายเจ็บใจก็เจ็บ กายปวดใจก็ปวด กายเหนื่อยใจก็เหนื่อยไปด้วย ทั้งกายและใจก็เลยดิ้นไปตามกระแสเวทนา เพราะกายกับใจยังตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกระแสเวทนา เมื่อกระแสสติยังไม่ต่อเนื่องก็ยังไม่เกิดปัญญาญาณในการแยกรูปแยกนามออกจากกันได้
ดังนั้นการเจริญสติ สมาธิแบบที่เราทำกันมา บางแห่งก็ใช้หลักของการทำลมหายใจ บางแห่งก็ใช้หลักของการบริกรรม บางแห่งก็ใช้หลักของการแพ่งนิมิตพิจารณารูปนาม บางแห่งก็ใช้หลักของการเคลื่อนไหว ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงนั้นเป็นการศึกษากระแสของจิตนั่นเอง ส่วนมากเราจะศึกษากันแค่สองกระแสเท่านั้น คือกระแสตามใจ และกระแสขัดใจ ต่างก็เป็นการปรุงแต่งทั้งสองกระแส คือกระแสที่ปรุงแต่งกับไม่ปรุงแต่ง กระแสที่คิดกับไม่คิดเท่านั้น
นักบวชที่ชอบปฏิบัติในสมัยนั้นเขาเรียกว่า เจริญฌานหรือนักเพ่ง เขาเห็นว่า การหยุดความคิด เป็นทางแห่งความสุข เป็นทางแห่งการหลุดพ้น เขาก็เลยเข้ามาฝึกฝนปฏิบัติตัดกระแสของความคิด ไม่คิดไม่ปรุงแต่งได้เหมือนกัน พยายามหยุดความคิดโดยการเพ่งจิตอยู่กับนิมิตอันใดอันหนึ่ง จนจิตทำงาน จิตก็สงบได้เหมือนกัน เขาเรียกว่าเป็นพราหมณ์ นักบวชกลุ่มนี้มุ่งเข้าถึงความเป็นพรหม โดยเข้าใจว่านั้นคือนิพพาน แต่พระพุทธองค์พิสูจน์แล้วว่า ไม่ใช่นิพพานแน่นอน เพราะพระองค์เคยทำมาหมดแล้ว

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๓)

** พุทธศาสนาไม่ติดทั้งสองกระแส **

ตามหลักของวิปัสสนาในพุทธศาสนาแล้ว จะไม่พยายามทำให้จิตสงบ เพราะการทำเช่นนั้นยังเป็นกระแสสมถะ ซึ่งไม่ต้องใช้ความคิดใดๆเลย ก่อนหน้านี้มีพวกนักพรตฤๅษีเคยปฏิบัติกันมาก่อนหน้าที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาในโลก พระองค์ก็ค้นพบว่า ทั้งกระแสที่คิดและไม่คิด ทั้งที่สงบหรือไม่สงบ มันไม่ถูกทั้งสองทาง ต่างก็เป็นทางที่สุดโต่ง
ในที่สุดพระองค์ทรงค้นพบอีกระแสหนึ่ง คือกระแสสายกลาง เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือไม่ได้ปฏิเสธความคิดหรือไม่คิด ไม่ได้ปฏิเสธความพอใจและความไม่พอใจ หรือความสุขและความทุกข์ แต่ให้หันกลับมาศึกษาจิตทั้งสองลักษณะว่า ความสุขและความทุกข์เกิดขึ้นเพราะอะไร ความคิดและไม่คิด ความสงบและความไม่สงบ เกิดขึ้นเพราะอะไร
เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ท่านจึงมาทราบว่า ทาง ๒ กระแสนั้นเป็นทางสุดโต่ง อันเป็นเหตุให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราตกอยู่ในกระแสของความรู้สึกเพียงสองกระแสนี้เท่านั้น คือกระแสบวกและลบ สลับสับเปลี่ยนกันอยู่อย่างนี้ตลอดไป แม้แต่ขณะนี้และเดี๋ยวนี้ ท่านก็พิสูจน์ได้ แม้ขณะนี้ ท่านลองเข้าไปสังเกตดูความรู้สึกในกายในใจของท่าน ว่าจิตของท่านกำลังอยู่ในกระแสไหน อึดอัดหรือปลอดโปร่ง รู้สึกทรมานหรือรู้สึกสบาย สำรวจลงไปชัดๆ แล้วท่านจะเห็นข้อเท็จจริงด้วยตัวของท่านเอง

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๔)

** พลาดทางตรงหลงทางอ้อม **

เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบกระแสที่สามที่เรียกว่า “ทางสายกลาง” หรือ มัชฌิมาปฏิปทา คือกระแสแห่งความสมดุล คือความรู้สึกเฉยๆ หรือตัวรู้สึกที่ทำหน้าที่เป็นผู้รู้ ผู้สังเกตเห็นอาการของจิตทั้งสองนั้นอีกทีหนึ่ง ท่านจึงเรียกกระแสนี้ว่า “อริยมรรค” คือหนทางอันประเสริฐ ท่านค้นพบทางที่สาม ซึ่งนักปฏิบัติกรรมฐานทุกสายก็พยายามพิสูจน์คำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องอริยมรรคนี้ เพื่อเข้าถึงทางสายกลางนี้ด้วยกันทั้งนั้น แต่เพราะขาดความแยบคายและความละเอียดถี่ถ้วน ก็เลยตกไปสู่ที่กระแสบวก กระแสลบ กระแสสุข กระแสทุกข์ โดยไม่รู้สึกตัว แต่ส่วนใหญ่ก็มุ่งสู่กระแสของความสงบจิตหรือสะกดจิต ซึ่งเป็นกระแสเดิม คือกระแสของพราหมณ์ หรือฮินดูสอนกันอยู่แล้ว
แต่ในกระแสพุทธนั้น ไม่ได้มุ่งความสงบหรือไม่สงบของจิต แต่มุ่งให้ทำความเข้าใจสภาวะจิต ทั้งที่สงบ และไม่สงบ ให้เข้าใจทั้งสุขและทุกข์ ตลอดถึงความพอใจไม่พอใจ นักปฏิบัติส่วนมากพยายามที่จะทำจิตให้สงบ หรือพยายามที่จะสะกดจิตให้สงบ นั้นมิใช่วิปัสสนาตามแนวทางของพุทธ
ในช่วงที่อาตมาเข้ามาฝึกปฏิบัติกับหลวงพ่อเทียนใหม่ๆ ก็ยังเสพติดความสงบอยู่มาก เพราะก่อนหน้า ที่จะมาทำแบบเคลื่อนไหว ได้เคยปฏิบัติแบบยุบหนอพองหนอมาหลายปี ต่อมาได้มีโอกาสสมาทานปฏิบัติเจริญสติแบบเข้าเก็บอารมณ์เข้มและต่อเนื่องตลอด ๗ วัน พอปฏิบัติไปถึงวันที่เจ็ด เราก็เผลอไปกำหนดลมหายใจ จิตก็ตามลมหายใจเข้าไปสู่กระแสของความสงบแบบลึกลับดับดิ่งไปเลย ตัวเราแข็งทื่อไปเลย กระดิกตัวไม่ได้ เพราะเมื่อสามารถสะกดตัวเองจนสงบถึงที่สุดแล้วตัวเราจะแข็งทื่อโดยอัตโนมัติ เราก็คิดว่ามันถูกต้อง เพราะไม่เคยมีประสบการณ์แบบนี้มาก่อน คืนนั้นทั้งคืนทดสอบทดลองทำแต่เรื่องนี้หลายๆแบบ นั่งก็ทำได้ ยืนก็ทำได้ นอนก็ทำได้ เว้นแต่เดินไม่ทำ
พอเช้าขึ้นมา เอาเรื่องนี้มารายงานให้หลวงพ่อเทียนทราบ ท่านบอกว่าอาจารย์วิปัสสนาทั่วไปคิดว่า การเข้าสมาธิตัวแข็งแบบนี้เป็นการเข้าฌานสมาบัติ เป็นการเข้าถึงอัปปนาสมาธิ แต่ท่านหลวงพ่อบอกว่า สมาธิแบบนี้ไมใช่เป็นการเข้าฌานสมาบัติแบบพุทธ อันนี้ในพุทธถือว่าเป็นการสะกดจิตตัวเอง ซึ่งในศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูเขาทำกันมานานแล้ว

มอบรักด้วยธรรม (๕)

** ถ้าจิตเสพติดความสงบไปนานๆ อาจพิการทางวิญญาณได้ **

หลวงพ่อท่านจึงห้ามไม่ให้ปฏิบัติแบบนั้นอีก เพราะท่านเคยทำมาแล้ว และไม่เกิดประโยชน์อะไร ถ้าคนไหนทำจิตให้สงบแบบนี้บ่อยๆ จิตจะหมดกำลังไปเรื่อยๆ เมื่อจิตอ่อนกำลังแล้วมันจะไม่มีความเข้มแข็ง ไม่สามารถตั้งรับการกระทำที่รุนแรงได้ และไม่สามารถให้อยู่ในทางสายกลางได้อย่างยาวนาน เพราะจิตไม่มีพลัง แต่ทางสายกลางนั้น เราต้องสามารถดำรงจิตไว้ในทางสายรู้ ตื่น เบิกบาน คือรู้สึกตัว หรือรู้เนื้อรู้ตัวได้อย่างปกติ และเป็นธรรมชาติ
การบังคับจิตให้สงบ หรือสะกดด้วยพลังสมาธิแบบเพ่งบ่อยๆ จิตอาจจะหมดสภาพการทรงตัว ไม่สามารถจะดำรงให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันได้นาน และความรู้สึกตัวทั่วพร้อมก็ไม่อาจเติบโตได้ตามธรรมชาติ เพราะจิตถูกกดทับด้วยพลังสมาธิจนเป็นเปลี้ยเป็นง่อย เมื่อมีอารมณ์ดีหรือไม่ดีมากระทบ จิตก็สูญเสียความทรงตัวได้ง่ายแล้วลื่นไหลไปกับอารมณ์นั้นๆได้ง่าย เป็นการทำลายสภาพของจิตปภัสสรไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ
แม้อาตมาเอง เมื่อเข้ามาศึกษาวิธีปฏิบัติสายหลวงพ่อเทียน ตอนแรกๆ จิตก็ไม่แข็งพอที่จะยอมรับการยกมือสร้างจังหวะได้ง่ายๆ เพราะจิตเราเสพติดความสุขสงบแบบสมถะทั้งแบบหนอ ทั้งแบบพุทโธอย่างผิดๆมายาวนาน จึงทำให้จิตติดสงบ แทบจะเป็นเปลี้ยเป็นง่อยทางจิตวิญญาณเลยทีเดียว เหมือนกับคนติดยาเสพติเลยทีเดียว

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๖)

** คนติดสงบรับวิธีนี้ได้ยาก **

ในสมัยนั้น เข้ามาปฏิบัติที่วัดสนามใน ประมาณปี ๒๕๑๙ อาตมายังทำแบบเคลื่อนไหวไม่เป็น เพราะไม่เคยทำสมาธิแบบลืมตามาก่อน เราก็สงสัยว่า “เอ…ทำสมาธิอะไรลืมตา และก็ยกมือด้วย เรารู้จักการทำสมาธิแบบนั่งหลับตา เอามือขวาทับมือซ้าย ขาขวาทับขาซ้าย นั่งตั้งตัวตรงดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า แล้วกำหนดลมหายใจเข้าออกตามด้วยคำบริกรรม ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไม่ได้ เราคุ้นแต่อย่างนั้นมาตลอด
แต่การทำแบบเคลื่อนไหว ท่านให้นั่งปกติธรรมดา นั่งแบบไหนก็ได้ ยกมือเคลื่อนไหวเป็นจังหวะๆ เป็นสิบสี่จังหวะและก็ลืมตาทำ เอ…แล้วมันจะเป็นสมาธิได้อย่างไร เราทำไม่ลง เหมือนกับบางท่านที่กำลังประสบปัญหาอยู่นี้”
สมัยนั้น เป็นช่วงที่อาตมากำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ(มหาวิทยาลัยสงฆ์) อยู่ปีที่ ๒ ก็กำลังเตรียมดูหนังสือสอบอยู่ด้วย และปฏิบัติไปด้วย รู้สึกปั่นป่วนวุ่นวายสับสนอยู่ในใจ ปฏิบัติก็จะทำ หนังสือก็จะอ่าน สับสนไปหมด เลยถือหนังสือหลบเข้าไปในสวนหลังวัด ซึ่งเป็นสวนทุเรียนของชาวบ้านแถวนั้น หลังจากที่หลบเข้าไปแล้ว ในสวนทุเรียนทั่วไป ชาวบ้านมักจะปลูกกระต๊อบเล็กๆ ไว้เป็นที่พัก เราก็หลบไปนั่งดูหนังสือตรงที่กระต๊อบนั้น ขณะที่อ่านหนังสือไป ความคิดก็ปั่นหัวติ้วๆเลยทีเดียว เพราะมันเกิดความคิดขัดแย้งกันอยู่ข้างใน หนังสือก็อยากจะอ่าน ปฏิบัติก็อยากจะทำ เราจะเอายังไงกันแน่ ในที่สุดก็คิดขึ้นได้ ก็ค่อยๆวางหนังสือลง แล้วก็มาลองยกมือสร้างจังหวะช้าๆดู ทั้งๆที่ไม่ค่อยได้ทำเลยนะ ยกมือไปเอามือมาสักพักประมาณ ๓ – ๕ นาทีเห็นจะได้ ความปั่นป่วนวุ่นวายที่มันอัดแน่นอยู่ในหัวแบบจะเป็นบ้านั้นไม่รู้ว่ามันหายไปตั้งแต่เมือไหร่ ใจมันรู้สึกว่าง ในหัวมันโล่งโปร่งอย่างบอกไม่ถูกไปเลยนะ เอ๊ะ! มันเกิดอะไรขึ้น เบาทั้งตัวนะ เลยลืมดูหนังสือ ยกมือต่อไปเป็นชั่วโมง นับตั้งแต่วันนั้นมา อาตมาเลยยกมือมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ไม่เคยเบื่อเลย ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่ยอมแม้กระทั่งการนั่งสร้างจังหวะ แต่ในใจลึกๆ ชอบฟังหลวงพ่อพูดมาก เพราะหลวงพ่อเทียนเป็นพระหลวงตาที่มีแววตาแจ่มใส บุคลิกดี แคล่วคล่องว่องไว เวลาเทศน์ก็ดูดุดันจริงจัง เรียกว่าดูแล้วสดใส สบายตา ชอบตรงนั้น จึงเป็นเหตุให้ต้องยกมือ
ท่านไม่เคยพูดเล่นๆหัวๆกับใคร ถึงแม้ท่านจะพูดเป็นภาษาเมืองเลย เราก็ฟังออกบ้างไม่ออกบ้าง แต่ก็เข้าใจคือเข้าใจจิตของท่าน ว่าท่านต้องการสื่อให้เรารู้อะไร ทำอะไร

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๗)

** แรงบันดาลใจให้ยกมือ**

อาตมาเอง สมัยนั้นถือว่าประสบความทุกข์อย่างหนักเพราะมันเกิดความขัดแย้งภายในใจตนเอง จวนๆจะประสาทเลยทีเดียว เมื่อเกิดแรงบันดาลใจให้ยกมือได้ ก็ปรากฏว่า เรื่องขัดแย้งต่างๆที่มันดังก้องในหัวตลอดเวลา มันหายวูบไปได้อย่างไร ก็แปลกใจว่ามันเป็นไปได้อย่างไร แค่ยกมือเล่นๆ สบายๆเท่านี้แหละ
ตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ จนมาถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังยกมือปฏิบัติแบบนี้ตลอดมา ประมาณ ๓๐ ปีแล้ว ดูแป๊บเดียวเองนะ ยกมือแป๊บเดียว ๓๐ปีแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์ เพราะทำให้จิตใจถูกยกสูงขึ้นจากโลกิยะขึ้นไปสู่โลกุตระตามลำดับ
อาตมาอยากบอกทุกคนว่า การยกมือเป็นเรื่องมหัศจรรย์ ถ้าใครรับได้และทำด้วยศรัทธา คือทำไปด้วยความพอใจ มิใช่ทำด้วยความสงสัยลังเล หรือกล้าๆกลัวๆ แต่ส่วนใหญ่จะรับไม่ค่อยได้หรอก ร้อยหนึ่งจะได้สักสิบคนก็ยังยากนะ เพราะการปฏิบัติแบบนี้มันเป็นการทวนกระแสจิตอย่างแรงทีเดียว เพราะมันสอดคล้องกับความจริงของชีวิตมาก คือวันๆหนึ่ง เวลาเราทำงานด้วยมือใช่มั๊ย? เดินด้วยเท้าใช่มั๊ย? และคิดด้วยใจมั๊ย?

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๘)

** ลมหายใจทำให้ใจหาย **

เมื่อเข้าใจปรัชญาและแนวคิดของการภาวนาแบบนี้ได้ชัดเจนแล้ว ก็ทำด้วยความเข้าใจที่เรียกว่า “สัมมาทิฐิ” แต่ถึงกระนั้น จิตมันก็ยังโหยหาความสงบแบบสมถะอยู่นะ เพราะมันเสพติดมานาน แรกๆ ยอมรับว่าฝืนมากทีเดียว แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้อ มีกัลยาณมิตรคือ หลวงพ่อเทียน ที่เราสามารถเข้าถึงตัวและปรึกษา แก้ไขข้อข้องใจได้ตลอดเวลา
เมื่อทนทำเป็นก็เริ่มเข้าใจ และเห็นประโยชน์อานิสงส์ของการปฏิบัติแบบนี้ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งเมื่อทำไปได้อารมณ์กรรมฐานชัดๆ ทำให้ทำความเพียรได้สนุกสนานมาก สามารถทำได้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้สึกเบื่อเลย เพราะว่าสมัยเมื่อทำความเพียร ด้วยการตามลมหายใจ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะรักษาให้จิตมันเกาะติดอยู่กับลมหายใจอย่างต่อเนื่อง เพราะลมหายใจมันแสนจะบอบบางแค่ไหน และมองไม่เห็นตัวด้วย มันง่ายมากที่ความคิดปรุงแต่งจะไหลลื่นเข้ามาอย่างง่ายดาย และถ้าไม่ได้สมาธิยิ่งนั่งไปนานยิ่งน่าเบื่อและทุกข์ทรมาน แทนที่จะสนุกกลับเป็นสิ่งที่น่าเบื่อและน่ากลัว
เมื่อความคิดปรากฏเกิดขึ้นปั๊บ สติก็หลุดปุ๊บทันที เพราะลมหายใจมันบางเบามากจริงๆ ฉะนั้นสติที่ไปจับลมหายใจ มันแผ่วเบาเหลือเกิน พอไปนึกคิดอะไรปั๊บ สติก็ลืมลมหายใจ ใจก็หายไปพร้อมกับสติ แต่ความรู้สึกตัวที่เกิดจากการเคลื่อนไหวมือ มันชัดเจนเข้มแข็งมาก มันสามารถทำต่อเนื่องได้ยาวนานเป็นวันๆ และสามารถสร้างตัวปัญญาญาณ ผู้รู้ ผู้สังเกตได้อย่างชัดเจนมาก แต่การกำหนดลมหายใจ นานที่สุดไม่เกิน ๓ ชั่วโมง ประมาณ ๓ ชั่วโมง ตะคริวจับทั้งตัวแล้ว จิตก็นิ่งหลับดับดิ่งไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ และปัญญาญาณที่เกิดก็ไม่เข้มแข็ง จึงจัดการนิวรณ์ไม่ได้เด็ดขาด

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๙)

** ความต่อเนื่องที่เป็นไปได้ **

ตามหลักการเจริญสติปัฏฐาน ๔ พระพุทธองค์ทรงรับรองว่า ผู้ใดก็ตามเจริญสติปัฏฐานอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ตลอดวันและคืน อย่างเร็วที่สุด ๗ วัน อย่างช้าที่สุดไม่เกิน ๗ ปี คนนั้นจะได้ดวงตาเห็นธรรม อย่างต่ำเป็นพระอนาคามี ถ้ามีปัญญาญาณถึงพร้อม ก็จะได้บรรลุขั้นสูงสุดคือ พระอรหันต์
เมื่อมาพบกับการปฏิบัติแบบเคลื่อนไหวของหลวงพ่อเทียน ก็รู้ทันทีว่ามันเป็นไปได้มาก เพราะอะไร เพราะการปฏิบัติแบบนั่งสร้างจังหวะ ท่านไม่จำกัดอิริยาบถ เราจะเปลี่ยนไปใช้อิริยาบถไหนก็ได้ ถ้าเรามีสติในการเปลี่ยนและทำความเพียรได้อย่างต่อเนื่องทั้งวันและคืน โดยร่างกายไม่บอบช้ำหรือล้าเลย

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๑๐)

** เก็บอารมณ์ครั้งแรก **

ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ ได้อยู่จำพรรษากับหลวงพ่อคำเขียน ที่วัดป่าสุคะโต เป็นเวลาสองปี เมื่อจะใกล้เข้าพรรษาปี ๒๕๒๙ ได้ลาท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดสนามใน เมื่อเข้าไปกราบหลวงพ่อเทียน ท่านได้กล่าวเตือนว่า “ท่านมหา จะทำอะไรก็รีบทำเสียนะ ผมคงอยู่ไปอีกไม่นานเพราะอาการของโรคมันแรงขึ้นเรื่อยๆ” ตอนนั้นท่านป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้มาเป็นปีที่หกแล้ว หลังจากนั้นมาอีกสองปีท่านก็มรณภาพ ซึ่งหมอได้เคยบอกท่านไว้ตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๒๔ เป็นปีที่ท่านเริ่มเป็นว่า จะอยู่ได้ไม่เกินสองปี แต่ท่านก็อยู่มาได้ถึงแปดปี
เมื่อท่านเตือนตรงๆอย่างนี้ อาตมาก็ตัดสินใจเก็บอารมณ์เข้ม ตั้งแต่เข้าพรรษาเริ่มเก็บอารมณ์ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๑ เดือนกรกฎาคม ๒๕๒๙ ตอนแรกๆก็อึดอัดมาก เพราะไม่เคยเก็บเข้มอย่างจริงจังมาก่อน หลังจากเดินงุ่นง่านสองสามวัน รู้สึกทรมานมาก ก็หาอุบายวิธีการที่จะฝ่าอุปสรรคตรงนี้ให้ได้ จึงหันมาผลิตวิธีนั่งให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ จึงหาวิธีเปลี่ยนท่านั่งสร้างจังหวะ จากท่าที่เคยนั่งเพียง สองสามท่า มาเป็นสิบสี่ท่านั่งดังต่อไปนี้
๑. นั่งพับเพียบซ้าย
๒. นั่งพับเพียบขวา
๓. นั่งเทพธิดา (นั่งทับส้น)
๔. นั่งเทพบุตร (นั่งคุกเข่า)
๕. นั่งขัดสมาธิ ชั้นเดียว (นั่งขัดสมาธิทั่วไป)
๖. นั่งสมาธิสองชั้น (นั่งสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย)
๗. นั่งสมาธิสามชั้น หรือปัทมาสนะ คือท่าดอกบัวหงาย (นั่งแบบท่าที่หก แต่ยกเท้าซ้ายมาวางบนเท้าขวาอีกครั้ง ใช้สำหรับผู้ปฏิบัติโยคะด้วย)
๘. นั่งเหยียดขากับพื้น
๙. นั่งเก้าอี้ (นั่งหลังตรง หรือพิงก็ได้)
๑๐. นั่งยองๆ (หรือนั่งด้วยปลายเท้า สำหรับแก้ง่วง)
๑๑. นั่งพลิกเท้าออกทั้งสองข้าง คล้ายนั่งทับส้น แต่เอาส้นออกข้างๆสะโพก
๑๒. ท่ายืนด้วยเข่า คือนั่งคุกเข่าแล้วเหยียดตัวขึ้นเหยียดปลายเท้าไปข้างหลัง
๑๓. ท่ายืนสร้างจังหวะ และใช้ท่านอนแทนก็ได้
๑๔. ท่าเดินจงกรม (ท่าเดินก็สามารถแยกย่อยได้หลายท่า เช่น ๑.เดินก้าวหน้า ๒.เดินถอยหลัง ๓.เดินเป็นวงกลม ๔.เดินตรงไปตรงมา ๕.เดินเป็นจังหวะตามลมหายใจ )
การเข้าเก็บอารมณ์ครั้งนั้น ก็เลยรู้เทคนิคในการเปลี่ยนท่านั่ง ท่ายืน และท่าเดินได้มากถึงสิบสี่ท่า เท่ากับการสร้างจังหวะ จึงทำให้นั่งปฏิบัติได้นานเท่าไรก็ได้ แต่ว่ามือไม่เปลี่ยนวิธีการยกมือ จะนั่งอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม มือก็ยกเป็นจังหวะๆละห้านาทีบ้าง สิบนาทีบ้างไปเรื่อยๆ สามารถสร้างจังหวะได้ครั้งละสอบถึงสามชั่วโมงทำได้ทั้งวัน บางครั้งเรามีความจำเป็นจะทำอะไร ก็หยุดจากการสร้างจังหวะ เมื่อย้ายมือไปทำอะไร ก็เอาสติตามรู้ไปกับการเปลี่ยนอิริยาบถด้วย สติก็ไม่ขาด อันนี้คือความต่อเนื่อง ดังนั้น ความต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ไม่ได้หมายความว่ายกมือตลอดเวลา หมายความว่าเราจะลุกไปทำอะไร ใจเราก็ยังอยู่กับการเคลื่อนไหวทั้งตัว ใจก็ยังเฝ้าสังเกตอาการทั่งหมดของกายอยู่
เพราะฉะนั้นการทำแบบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่เช่นนี้ มันเป็นไปได้ เพราะมีการยืดหยุ่นได้ตลอดเวลา คือไม่ได้หมายถึงว่า กำหนดสติต่อเนื่องอยู่ที่ลมหายใจ หรือการเคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่รู้สึกอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของกายก็ได้ แต่ขอให้รู้ชัดเจนเสมอว่า ขณะนี้ใจเราอยู่ตรงนี้นะ ให้มั่นใจจริงๆว่า ขณะนี้ใจเราอยู่ตรงนี้จริงๆ อยู่ตรงที่การเคลื่อนไหว อยู่อย่างเข้าใจ มิใช่อยู่แบบฝืนใจ แต่รับรู้การเคลื่อนไหวไปแบบสบายๆ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๑๑)

** ถ้าจิตทำงานเหมือนนาฬิกา ขันธ์ห้าเหมือนเฟืองนาฬิกา **

เพราะจิตของเรานี้ มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่โดยผ่านการรับรู้ของระบบประสาททั้ง ๕ คือ ประสาททางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ แล้วก่อให้เกิด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยอาศัยระบบประสาทวิญญาณรับรู้ผ่านทางอายตะทั้งหกทางเป็นตัวรับข้อมูลให้ แล้วส่งให้แก่จิต จิตเป็นฮาร์ทดิสก์เก็บข้อมูลอีกทีหนึ่ง แล้วแปลงข้อมูลที่รับมา นำออกมาใช้เป็นหน้าที่ต่างๆ โดยผ่านทางความคิด เรียกว่า “ขันธ์” คือรูปขันธ์ ได้แก่ ภาพที่เกิดจากจินตนาการแล้วเกิด เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ รวมเรียกว่า “จิต”
ความคิดแต่ละครั้ง เป็นผลรวมของทุกขันธ์ที่ทำงานร่วมกันโดยอัตโนมัติ เหมือนกับการทำงานของนิ้วมือ ซึ่งจำลองมาจาการทำงานของขันธ์ห้านั่นเอง ดังนั้น นิ้วมือนิ้วเท้ามนุษย์จึงมีแค่ห้านิ้ว ถ้ามากหรือน้อยกว่านั้น ถือว่าผิดปรกติ พอคิดปั๊บ เรื่องราวก็ปรากฏทันทีหรือเหมือนกับการทำงานของนาฬิกา เฟืองแต่ละตัว ของ clock machine ข้างในมันหมุนติ๊กๆ มันทำงานไปวันละ ๒๔ ชั่วโมง แม้เฟืองทุกตัวของมันจะหมุนอยู่กับที่ก็ตาม แต่ว่าเข็มนาฬิกามันหมุนไปเรื่อยๆบอกเวลาเป็นหน่วยวินาที นาที เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี เป็นหลายปี มันบอกเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ แต่ว่าฟันเฟืองที่หมุนอยู่กับที่ มันไม่เคยบอกอะไร มันเพียงทำหน้าที่หมุนอยู่แค่นี้ ลูกตุ้มของมันทำงานตามหน้าที่ฉันใด จิต หรือขันธ์ทั้งห้าของเราก็เหมือนเฟืองนาฬิกาฉันนั้น ทำให้เกิดระบบการทำงานของจิต อันอาศัยเฟืองทั้งห้า คือนามรูป ที่รวมเอา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าด้วยกัน แล้วแปลงออกมาเป็นความคิด และสามารถคิดได้สารพัดอย่าง ทวารทั้งสามคือ กาย วาจา และใจ ก็เหมือนเข็มวินาที เข็มนาที เข็มชั่วโมง มันจะบอกเวลาได้ตลอดไปเป็นกัปเป็นกัลป์
ดังนั้น การเจริญสติทำให้เราเกิดญาณปัญญา และสามารถจัดการกับความคิดได้ เราจะต้องมารู้จักโครงสร้างของจิตเสียก่อน ว่าความคิดเกิดจากอะไร มันประกอบด้วยอะไร ความคิดเริ่มต้นทำงานอย่างไร สิ้นสุดอย่างไร
ในขณะที่เราคิด เราเคยเห็นความคิดของตัวเองบ้างไหม ความรู้สึกกับความคิดต่างกันอย่างไร เราต้องตอบปัญหาเหล่านี้ให้ได้ก่อน ถ้าไม่แจ่มแจ้งกับคำถามเหล่านี้ เราจะปฏิบัติวิปัสสนาไปด้วยความสงสัยและท้อแท้ และล้มเลิกในที่สุด

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๑๒)

** ชาวตะวันตกกำลังสนใจวิปัสสนาในเชิงวิทยาศาสตร์ **

ในปัจจุบันทางยุโรป อเมริกาเกิดปรากฎการณ์ใหม่ขึ้นอย่างน่าสนใจ คือมีการศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับจิตวิญญาณด้วยการทำสมาธิและเจริญวิปัสสนากันอย่างกว้างขวางกระจายกันไปเกือบจะทุกรัฐทีเดียว
ดังนั้น เวลาอาตมากลับไปอเมริกาแต่ละครั้ง แทบจะไม่มีเวลาว่างเลย เพราะถูกนิมนต์ให้ไปจัด Mildfulness Retreat หรือให้การอบรมการเจริญสติในหลายๆ แห่งในแต่ละรัฐ แต่ละครั้งก็มีผู้เข้าร่วมเจริญสติมากบ้าง น้อยบ้าง เพราะว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลการสอบสมถภาวนาและวิปัสสนากันอย่างกว้าง จนกลายเป็นแฟชั่น มีอาจารย์สอนสมาธิทั้งชาวพุทธทางยุโรปและอเมริกา และมีชาวพุทธเอเชียทั้งนักบวชและฆราวาส โดยเฉพาะจากลุ่มมหายาน ได้จัดตั้งชมรมและสมาคมสอนการเจริญสติและสมาธิภาวนากัน โดยทั่วไป ที่เรียกว่า Mildfulness Training Center บ้าง หรือ Vipassana Center บ้าง มีแทบทุกรัฐเลย โดยเฉพาะรัฐมิสซูรี่ ที่อาตมาสังกัดอยู่ที่วัดพระศรีรัตนาราม เมืองเซนต์หลุยส์ ก็ปรากฎว่าทุกวันเสาร์จะมีทั้งหมอทั้งพยาบาล ทั้งชาวไทยและชาวอเมริกัน มาเจริญสติร่วมกัน และจัดเจริญสติแบบหลวงพ่อเทียนประจำ เดือนละเจ็ดวัน
ดังนั้นจึงมีผู้มีจิตศรัทธา ได้นิมนต์พระไปสอนเรื่องเจริญวิปัสสนาแบบนี้เป็นประจำ และทำการศึกษาค้นคว้าปฏิบัติตามกันอย่างมีระบบ เพราะคนตะวันตก เขามีพื้นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มาสูง เมื่อมาสัมผัสหลักพุทธธรรมอันเป็นวิทยาศาสตร์ทางนามธรรม จึงเกิดการปฏิบัติ พิสูจน์กันอย่างจริงจังกว้างขวาง ในวงการของคนที่มีการศึกษา ดังนั้นคำกล่าวจากโบราณพยากรณ์ที่ว่า ยุคต่อไป พระอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันตก เป็นเรื่องที่เป็นไปได้มาก เพราะนั่นหมายความว่า พระพุทธศาสนา จะไปเจริญรุ่งเรืองสว่างไสว ณ ดินแดนตะวันตก หมายถึงประเทศแถวยุโรปและอเมริกา แต่ขณะเดียวกัน พุทธธรรมทางประเทศเอเชียกลับกำลังตกต่ำ ริบหรี่และมือสลัวลงไปเรื่อยๆ และเข้าสู่ดินแดนสนธยาไปทุกเวลานาที พวกเราชาวพุทธรู้สึกตัวกันบ้างหรือยัง

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๑๓)

** การเคลื่อนไหวเป็นเพียงสื่อนำ **

การเจริญสติแบบหลวงพ่อเทียนได้รับการตอบรับจากผู้ปฏิบัติอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว เพราะเป็นการเข้าสู่จิตตรงๆโดยอาศัยการเคลื่อนไหวกายเป็นสื่อนำ การสร้างจังหวะและเดินจงกรมเป็นเทคนิคที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เพราะการกำหนดรู้ตัวเคลื่อนไหวมือและเท้า เป็นเพียงสื่อนำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อันเข้าไปสู่จิตอีกทีหนึ่งเท่านั้น
เมื่อจิตได้รับกำลังสัมมาสติอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง กุศลธรรมต่างๆที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญมากขึ้น สามารถป้องกันอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เริ่มเสื่อมไปสิ้นไปตามลำดับความเข้มแข็งของอินทรีย์
การภาวนาแบบนี้ไม่จำเป็นต้องหยุดความคิด แต่พยายามสร้างตัวรู้ขึ้นมาแทนที่ความคิดเท่านั้น ความคิดปรุงแต่ง เป็นเสมือนเงามืด เมื่อถูกแสงสว่างสาดส่องเข้าไป เงามืดก็จะหายไปทันทีฉันใด ความคิดก็เหมือนกันจะดับไปทันทีเมื่อปะทะความรู้สึกตัว เพราะมันเป็นธรรมชาติตรงกันข้าม ไม่ต้องไปทำอะไรกับความคิด มันอยากเกิดก็ให้มันเกิด มันอยากดับก็ให้มันดับ เราต้องเป็นนักสังเกตเรียนรู้อาการของกายและจิตเสมอๆ

 

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๑๔)

** เจริญสติเพื่อเพิ่มพลังปัญญาให้รู้เท่าทันจิต **

เมื่อถามว่า เรื่องการเน้นความรู้สึกตัวนี้เป็นของใหม่หรือเปล่า? ก็ไม่ใช่ เพราะความรู้สึกตัวมันมีมากับคนทุกคนตั้งแต่เกิด แต่มันไม่มีกำลัง หรือไม่มี energy คือไม่มีความรวดเร็วพอที่จะเท่าทันความคิด ความคิดปรุงแต่งที่เกิดขึ้นความคิดนั้นก็ดึงดูดเอาความรู้สึกตัวไปเป็นทาสแห่งกิเลสหมด สติสัมปชัญญะที่เราทีอยู่ตามธรรมชาติก็ถูกดึงไปรับใช้อวิชชาตัณหาตลอดเวลา สติที่ประกอบด้วยวิชชาและปัญญาแทบไม่มีโอกาสได้เกิดเลย แล้วจะเอากำลังปัญญาที่ไหนมาจัดการกิเลสกันล่ะ?
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติกรรมฐานของพุทธศาสนาแบบไทยๆ ชอบใช้แต่อำนาจของสมถะบังคับจิต สะกดจิต ข่มจิตอยู่อย่างนี้เพราะทำได้ง่ายกว่า เร็วกว่า แต่ระยะยาวแล้วสมถะก็ไปไม่รอด เพราะกิเลสที่ถูกกลมเกลื่อนและกดทับเอาไว้ มันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นวิปัสสนาจะเจริญได้อย่างไร คิดเรื่องนี้ให้ดี วิปัสสนาปัญญาของพุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไปไม่ถึงไหนเพราะเราใช้อำนาจสมถะแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามาตลอดและพากันหลงคิดว่า เราใช้วิปัสสนาปัญญา หรือปัญญาญาณ เอาเรื่องนี้ไปไตร่ตรองให้ดี ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยก็ได้

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๑๕)

** การเกิดดับที่สัมผัสได้ **

ดังได้กล่าวมาแต่แรกแล้วว่า ความคิดมี 2 กระแส คือ กระแสเกิดกับกระแสดับ กระแสเกิด เรียกว่า “กระแสสมุทัยจิต” คือความคิดที่ขาดสัมมาปัญญาเข้าไปรู้ทัน มันก็พัฒนาตัวเป็นความอยาก เรียกว่า “สมุทัยสัจจ์”
ส่วนความคิดที่เป็นสัมมาปัญญา สติเข้าไปรู้ เรียกว่า “นิโรธสัจจ์” คือเป็นความคิดที่มีสติกำหนดรู้ จะเปลี่ยนเป็นสัมมาปัญญาทันที ปัญญาตัวนี้มันจะช่วยจิตให้คิดเฉพาะเรื่อง และคิดแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น เช่นนั่งตรงนี้ รู้สึกปวดหนักปวดเบา มันก็จะคิดว่าห้องน้ำอยู่ตรงไหน กำหนดรู้แล้วลุกไปอย่างรู้ตัว แล้วก็จบ มันไม่ได้คิดอะไรต่อไป เพียงแต่ประคองสัมปชัญญะให้รู้ตัวทั่วพร้อมขณะที่เดินไปหาเป้าหมายเท่านั้น
ฉะนั้นความคิดที่เป็นกระแสดับ จึงเป็นความคิดที่ประกอบด้วย สัมมาปัญญา เป็นความคิดที่สอดคล้องกับ ความเป็นจริง ทำแล้วก็จบ มันไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น หมดหน้าที่แค่นั้น นี้เรียกว่าความคิดที่เป็นกระแสดับ คือดับสังขารจิต ปัญญาญาณจะเข้าไปทำงานแทนที่ความคิดผู้ปฏิบัติต้องฝึกฝนอาการรู้ชนิดนี้ให้ชำนิชำนาญ จนเป็นวสี จิตก็จะสัมผัสปรมัตถ์ถี่ขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดมัคคสมังคีคือการรวมลงของกระแสรู้ และประจักษ์แจ้งการเกิด-ดับของจิตในที่สุด ตรงนี้ ผู้ปฏิบัติต้องไปทำให้ถูก จะไปคิดคำนวณเอาไม่ได้เด็ดขาด
จิตที่สัมผัสการเกิดดับตามความเป็นจริงแล้ว จะทำหน้าที่คอยสนองตอบต่อความต้องการที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นในเวลานั้นๆ เราจึงเรียกความรู้ชนิดนี้ว่า “ปัญญาญาณ” หรือ วิปัสสนาญาณ หรือจะเรียกว่า ยถาภูตญาณ ก็ได้ เป็นความรู้ที่เกิดจากการเจริญสติปัฏฐานสี่อย่างถูกต้องเท่านั้น

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๑๖)

** ความรู้ขั้นพื้นฐานที่ชาวพุทธต้องรู้ก่อน **

สมุทัย คือความคิดประกอบด้วยตัณหาสาม สมุทัยคืออะไร? สมุทัย คือความคิดที่มากับความอยาก อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
สมุทัยมีกี่อย่าง? (ถามผู้ฟัง)
ผู้ฟัง “มีสามอย่างเจ้าข้า”
ถาม “มีอะไรบ้าง”
ผู้ฟัง “กามตัณหา คือความใคร่อยากได้ตามความคิด; ภวตัณหา คือได้มาแล้วคิดอยากครอบครองไว้นานๆ ; วิภวตัณหา คือ คิดเบื่อหน่ายในสิ่งที่ไม่ถูกใจไม่สมใจ”
ถาม “ความคิดแบบไม่อยากได้ เป็นตัณหาด้วยหรือ?”
ผู้ฟัง “ความคิดไม่อยาก ก็เป็นอยากชนิดหนึ่ง คือไม่อยากได้สิ่งนี้ คนนี้ แต่ก็ยังอยากได้สิ่งอื่น คนอื่นที่ตนชอบ ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อยู่ดี”
คนนี้เหมาะสมที่เป็นชาวพุทธ ชาวพุทธจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของพุทธศาสนาให้แน่นอนก่อนว่าสมุทัยคืออะไรและมีกี่อย่าง ถ้าตอบได้อย่างนี้ ก็สอบผ่าน เพราะถ้าเป็นชาวพุทธที่แท้ ต้องรู้จักศาสนาของตนเองให้ดีก่อน ก่อนที่จะไปสอนผู้อื่น แต่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ แต่ชอบไปสอนคนอื่น ทั้งๆที่ตนเองก็ยังใช้ชีวิตที่ผิดศีลผิดธรรมกันอยู่
ถ้าหากเขาไม่ผ่านกฎหมายให้ ก็สมควรแล้วที่เขาไม่บัญญัติเข้าไป ก็เดือดร้อนถึงพระที่ต้องออกไปเดินขบวน เพื่อช่วยโยมอีก พระก็อุตส่าห์ไปนั่งอดข้าวอดน้ำกัน แต่พอมาสอบความรู้ชาวพุทธจริงๆ แล้ว ปรากฏว่า พระก็ยังตอบไม่ได้ว่า สมุทัยคืออะไร

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๑๗)

** ความอยากดีที่ขาดปัญญา นำมาซึ่งความทุกข์ **

(ถามผู้ฟัง) “เราอยากมาฟังธรรม รักษาศีล เจริญภาวนา ถือว่าเป็นตัณหามั๊ย”
ตอบ “ไม่เป็นตัณหาขอรับ”
ถ้าเราอยากด้วยสติปัญญา มีคุณประโยชน์ มีเหตุมีผล เราเรียกว่าศรัทธา ถ้าความอยากที่ขาดสติปัญญา แม้จะเป็นความอยากในทางดี ก็ยังเป็นตัณหาอยู่ เพราะความอยากดีที่ขาดปัญญา ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้มากเหมือนกัน คนทุกวันนี้เป็นทุกข์เพราะอยากดีมีมากกว่าทุกข์เพราะอยากชั่ว ที่จริงแล้วไม่ค่อยมีใครอยากจะชั่วกันหรอก แต่เพราะอยากดีไม่มีปัญญานั้นแหละ ความดีแบบนั้นจึงทำให้เกิดทุกข์
ตัวอย่างเช่น ความรักลูก รักสามีภรรยา รักพ่อแม่ รักพี่น้องเป็นสิ่งที่ดีใช่มั๊ย? แต่ทำไมคนส่วนมากจึงมีทุกข์เพราะมีลูก มีภรรยาสามี มีพ่อแม่กันละ? มักจะมีการทะเลาะเบาะแว้งขัดแย้งถกเถียงกันโดยทั่วไป ก็เพราะความอยากดีที่สติขาดปัญญามิใช่หรือ? เราอยากให้เขาดีได้อย่างใจเรา ทั้งๆที่เราก็ยังทำดีตามที่เราอยากดีไม่ได้ซึ่งมันเป็นเรื่องแปลกแต่จริงของคนทั่วไป

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๑๘)

** ศึกษากฎสัจจธรรมจากของจริง **

อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่นวันนี้อยากจะมาฟังการบรรยายธรรม เพราะมีพระอาจารย์มาจากอเมริกา แต่ความจริงตอนนี้มาอยู่ที่วัดถ้ำแสงเทียน อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ มาจากอเมริกาหลายเดือนแล้วนะ แต่จริงๆแล้วอาตมาเป็นเพียงพระป่าพระเถื่อนเท่านั้น นี่ก็เพิ่งลงมาจากถ้ำ ซึ่งตั้งอยู่บนวัดถ้ำแสงเทียนนั่นเอง ไปอยู่เก็บอารมณ์เข้ม เป็นการให้ของขวัญแก่ตัวเอง เพื่อไปตรวจสอบตัวเอง ทบทวนตัวเองไปชำระอาบัติให้ตัวเองได้สิบกว่าวัน แต่รู้สึกว่าเวลาน้อยเกินไป เพราะอยู่ในพรรษา ต้องสัตตาหะไปเป็นคราวๆ กลับมาคราวนี้ทั้งผอมทั้งดำเลย เพราะฉันข้าววันละนิด ดื่มน้ำวันละหน่อย เป็นน้ำที่หยดมาจากหินในถ้ำ เอากระป๋องไปรองเอาไว้ วันไหนมันเต็มก็ได้อาบ วันไหนไม่เต็มก็อดอาบ อดกินไปวันหนึ่ง อาตมาก็มีเวลาเก็บเงียบตัวเองปีละครั้ง บางปีก็ได้เป็นเดือน บางปีก็ได้สองอาทิตย์ มาคราวนี้มีเวลาพักแค่สิบวันเท่านั้นเอง
ในช่วงที่อาตมาเก็บอารมณ์เข้มที่นั่นสิบวัน ก็ได้ทบทวนพิจารณาจนได้เห็นกระแสของการเกิด-ดับของความอยาก ขณะนั่งไปสิบนาทีแรก มันก็อยากแล้ว คืออยากจะพลิกแล้ว เพราะกายมันบอกว่าปวดขา พอตั้งสติได้ จิตก็เริ่มทวนกระแสความอยากทันที จิตก็อ่านความรู้สึกอยากอย่างชัดเจน จิตก็ต่อรองว่า
“ถ้าไม่พลิก จะเกิดอะไรขึ้นละ?” กิเลสมันก็สวนกลับทันทีเหมือนกัน บอกว่า
“ถ้าไม่พลิกฉันก็จะบีบขาให้แกปวดมากขึ้นเรื่อยๆอะไรจะเกิดขึ้นก็ให้ดูต่อไปสิ?”
ปัญญาญาณ เริ่มตั้งข้อสังเกตขึ้นมาทันทีว่า กายปวด หรือใจปวด สติคอยชี้เป้า ปัญญาก็เริ่มทำงานอย่างระมัดระวัง คอยกำหนดรู้เฝ้าดูไปอย่างอดทน และคอยถามตัวเองไปเรื่อยๆว่า “ฉันปวดหรือขาปวด ถ้าใจปวดด้วย จะไม่ยอมพลิกให้เด็ดขาด เป็นไรเป็นกัน” มันเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างพุทธจิตกับมารจิต และเป็นครั้งแรกของรอบนี้ ที่พุทธจิตมีกำลังอย่างรวดเร็วและกล้าต่อกรกับมารจิตอย่างแข็งกร้าว
สติก็เฝ้าดูลึกเข้าไปเรื่อยๆ ผ่าน ๒๐ นาทีไม่พลิก ๓๐ นาทีก็ไม่พลิก ชั่วโมงหนึ่งก็ไม่พลิก ดูมันต่อสู้กันขนาดหนักเลยนะ ระหว่างกระแสอยากที่ต้องการจะเปลี่ยน กับกระแสสติที่ต้องการเฝ้าดูความจริงที่กำลังเกิด
ก็เริ่มค้นพบว่า กระแสของตัวรู้เฉยๆ คือกระแสพุทธจิต มันมีอยู่แล้ว แต่เวลาทำหน้าที่ เขาจะใช้ปัญญาญาณทำหน้าที่แทน เขาจะคอยบอกเราว่า “สิ่งใดไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เป็นอนิจจัง สิ่งนั้นก็ต้องทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สิ่งนั้นก็เป็นทุกขัง สิ่งใดเป็นทุกข์เราก็ไม่อาจบังคับสิ่งนั้นให้เป็นไปตามความอยากความต้องการของเรา มันก็เป็นอนัตตา นี้เป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดาของสังขารธรรมทั้งหลาย มันจะเป็นอย่างนี้ของมันตลอดไป ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สรรพสังขารทั้งหลายตั้งอยู่ภายใต้กฎอันนี้เท่านั้น แม้แต่ความคิดที่เป็นสังขารก็อยู่ในกฎอันนี้เช่นกัน

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๑๙)

** ไม่ทวนกระแสไม่เห็นสัจจธรรม **

ความคิดใดที่ขาดสติกำหนดรู้ ขาดปัญญาญาณเข้าไปเฝ้าดู ความคิดนั้นจะต้องเกิดเป็นสังขารจิตทุกครั้งไปและสังขารจิตก็ตกเป็นที่ตั้งของความอยาก ความอยากก็เป็นที่ตั้งของอัตตา และอัตตาก็หมุนไปตามกฎของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งหมด ไม่สามารถคงความเป็นอัตตาไว้ได้
วันนั้น อาตมานั่งเฝ้าดูความจริงอยู่ตรงนั้น ได้พิจารณาเป็นสัจจธรรมข้อนี้ ตั้งแต่ ๑๐ โมงเช้าถึง ๕ โมงเย็น โดยไม่เปลี่ยนเป็นอิริยาบถหลักเลย นอกจากเป็นอิริยาบถย่อยในท่านั่งเท่านั้น แต่ท่านั่งเปลี่ยนอยู่แค่ ๓ ท่า แต่ไม่ยืนไม่เดิน ไม่นอนเลยนะ แค่นั่งและเปลี่ยนให้มันแค่ ๓ ท่าแล้วสลับสับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ ไปจนถึง ๕ โมงเย็น ก็ได้เห็นสัจจธรรมของจิตอย่างชัดเจนว่า ปัญญาญาณเท่านั้นที่แยกความอยากและไม่อยากออกจากกันได้ ในที่สุดแล้ว ทั้งความอยากและความไม่อยากก็ดับไปด้วยกัน เหลือไว้แต่รู้เฉยๆ แม้แต่จิตก็ไม่มี ภาวะที่ไม่มีจิต จึงเป็นภาวะที่เบาสบายทั้งกายและใจ ไม่รู้สึกเหนื่อยเลย

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๒๐)

** อัตตาอยู่ได้เพราะอาศัยความอยาก **

ในฝ่ายรูป มันก็ปรุงเป็นเจ็บปวด พอถึงที่สุดแล้วก็หายไป สักพักหนึ่งก็ปวดใหม่ เกิดสลับกันอยู่อย่างนี้ ในที่สุดก็ประจักษ์แจ้งในความจริงว่า อัตตานี้เป็นที่ตั้งของความอยาก อัตตาต้องการอย่างไร ความอยากก็คอยตอบสนองไปเรื่อยๆ ถ้าเอาชนะความอยากได้ ไม่ทำตามความอยาก ความอยากก็ดับไป พออัตตาไม่ได้ความอยากเป็นอาหาร อัตตาก็ต้องตาย พออัตตาตาย กิเลสก็ไม่มีที่อาศัย เหตุของทุกข์ก็ไม่มีที่เกิดก็แค่นี้เอง อันนี้คือการทำงานของปัญญาญาณ
ก่อนเข้าเก็บอารมณ์ครั้งนี้ อาตมาได้ตั้งปณิธานกับตัวเองอย่างเด็ดเดี่ยวว่า “ถ้าอัตตาไม่ตาย กูก็ต้องตาย ถ้ากูไม่ตาย อัตตาก็ต้องตาย เราคงอยู่กันไม่ได้แล้ว” จากนั้นก็เริ่มสังเกตเฝ้าดูการปลอมแปลงของอัตตา มันจะดิ้นต่อสู้ของมันไปทุกๆรูปแบบ เพื่อความอยู่รอดของมัน แต่มันเป็นการต่อสู้และชิงไหวชิงพริบที่โหดร้ายมาก ระหว่างความแหลมคมของปัญญาญาณ และ ความเจ้าเล่ห์ของอัตตา มันเป็นเหมือนศัตรูที่ไล่ล่ากันอย่างสาหัสสากรรจ์ ยิ่งกว่าการต่อสู้ในสนามรบ
เย็นวันนั้น หลักจากการต่อสู้กันระหว่างอัตตากับปัญญาญาณจบลง ก็รู้สึกโล่งโปร่งเบาสบายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิต ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา นั่งปฏิบัติภาวนา ไม่รู้สึกปวดเมื่อยอีกเลย นั่นนานเท่าไหร่ก็ได้ เหมือนกับว่าใจเราทะลุความปวดระดับต่างๆไปแล้ว ร่างกายก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน คือปวดบ้างหายบ้างไปตามกฎของสังขาร เพียงแต่เจ้าอัตตาไม่เข้ามาอ้างตัวว่าเป็นเจ้าของๆรูปนามนี้ต่อไปเท่านั้นเอง

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๒๑)

ความอยากเป็นอาหารของอัตตาได้อย่างไร **

การเก็บอารมณ์เข้มครั้งนี้ จึงประจักษ์แจ้งว่า ความอยากคือตัณหา โดยรากลึกๆแล้ว มันเป็นต้นเหตุให้เกิดอัตตาตัวตน เราจะไม่เคยเห็นหน้าตาที่แท้จริงของมันเลย ถ้าเราไม่เผชิญหน้ากับมันตรงๆ ความอยากทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นเหยื่อและอาหารอันโอชะของอัตตา แม้ความอยากเล็กๆน้อยๆ เช่นความอยากจะลุก อยากจะนั่ง อยากจะไป อยากจะกินดื่มอะไรเหล่านี้ เราไม่เคยสังเกต และตอบสนองมันไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับหล่อเลี้ยงความอยากให้มันจัดจ้าน เติบโตขึ้นเรื่อยๆ อัตตาก็โตขึ้นเรื่อยๆจากตัวเล็กๆเท่าลูกแมว มันเติบโตเท่าแม่เสือได้ในเวลาไม่นาน ก็เพราะเราไม่รู้จักมัน หลงหาอาหาร เลี้ยงมันทุกวัน วันไหนหาให้มันกินไม่ทัน มันก็กัดเราเจ็บวันละหลายครั้ง และตายวันละหลายหน แต่เราก็ยังไม่รู้จักมัน ดังนั้น เมื่อพระพุทธองค์ได้ประจักษ์แจ้งเห็นตัณหาครั้งแรก พระองค์ถึงกับทรงเปล่งอุทานออกมาอย่างลิงโลดว่า “เมื่อเรายังไม่พบปัญญาญาณ เราได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสาร เป็นอเนกอนันตชาติ อันไม่อาจนับได้ ดูก่อนเจ้าตัณหาผู้สร้างอัตตา (ภพ) บัดนี้เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะมาสร้างอัตตาให้เราไม่ได้อีกต่อไป เราได้ทำลายโครงสร้าง (อุปาทาน ชาติ ภพ) ของเจ้าเสียแล้ว จิตของเราได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปของความอยาก”

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๒๒)

** ความขัดใจ เป็นอาหารเผ็ดร้อนของอัตตา **

ความโกรธก็เช่นเดียวกัน รากเหง้าของความโกรธก็มีต้นเหตุมาจากความอยาก ซึ่งไม่ถูกตอบสนองอย่างทันอกทันใจนั้นเอง อัตตามันก็เกิดความไม่พอใจ วันหนึ่งๆเราเคยสังเกตจิตของเราบ้างไหม ว่าเรารู้สึกไม่พอใจกี่ครั้ง บางวันเป็นร้อยๆครั้ง ใช่มั๊ย?
เช่น กินอาหารไม่อร่อย ไม่ถูกปากก็ไม่พอใจ รถติดก็ไม่พอใจ คนพูดไม่ถูกหูก็ไม่พอใจ เรียกเขาไม่ขานตอบก็ไม่พอใจ คนเขานินทาก็ไม่พอใจ เข้าห้องน้ำห้องส้วมไม่สะอาดก็ไม่พอใจ ฯลฯ
ดูสิ !!! สารพัดเรื่องที่จะทำให้เราขัดใจ วันๆหนึ่งสังขารจิตที่ทำให้เกิดความไม่พอใจมากมายเท่าไหร่ ความไม่พอใจสั่งสมทีละนิดๆ เป็นเสมือนแก๊สถังใหญ่ วันใดมีอะไรไปชนถังอย่างแรงเข้า ผลจะเป็นอย่างไร แก๊สถังนั้นก็ระเบิดแตกออกมา เผาผลาญทั้งเราทั้งเขาฉันใดความไม่พอใจที่ถูกสั่งสมมาทีละนิดๆจนอัดแน่น วันหนึ่งวันใด มีใครมากระทบเข้าอย่างแรง เราก็ระเบิดอารมณ์โกรธออกมาทางใจก่อน แล้วก็ระเบิดทางวาจา และทะลุออกมาทางกาย ที่เราได้ยินเสมอว่า ลุแก่โทสะ เมื่อระเบิดออกมาครบสามทาง ทำให้เราต้องมีการทะเลาะเบาะแว้ง มีการโต้แย้งถกเถียง มีการฆ่ารันฟันแทงกันมากมายโดยทั่วไป เพราะเกิดจากไฟแก๊สไฟโกรธ อันสั่งสมมาจากความไม่พอใจทีละนิดนั้นเอง จนในที่สุด ก็ทำให้เราต้องสะสมวิบากกรรมใหม่เรื่อยไป

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๒๓)

** ความรู้สึกตัวเท่านั้นที่จะถอดรหัสอัตตาได้ **

ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่เราจะต้องถอดรหัสอัตตาให้สำเร็จ ก่อนที่มันจะพาเราไปตกนรกในภพชาติต่อๆไป ไม่มีที่สิ้นสุด ถึงตอนนั้น เราก็ไปนอนรับวิบากกรรมในอบายภูมิอย่างเดียว แก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ตอนนี้เรายังมีโอกาส วิธีแก้คือ สร้างตัวรู้สึกอย่างต่อเนื่อง เรารู้ตัวรู้สึกจากการเคลื่อนไหว คือเรียนรู้การเจริญสติปัฏฐานแบบหลวงพ่อเทียน แต่หลายคนก็เริ่มปฏิบัติแล้วล่ะ หลายคนก็เพิ่งมาใหม่ใช่มั๊ย? สร้างจังหวะมือแบบที่สาธิตไปแล้วนั่นแหละ ขยันทำบ่อยๆตอนแรกๆก็ฝืนใจหน่อยเป็นธรรมดา ของดีๆไม่มีใครได้มาง่ายๆหรอก สำหรับบางคนได้ทำทางอื่นมา รับแบบนี้ไม่ได้ ก็ไม่ว่ากัน แต่บางคนเป็นนักพิสูจน์ทดลอง รูปแบบไหนไม่สำคัญ ขอให้มันออกจากทุกข์เป็นใช่ได้ทั้งนั้น คนแบบนี้ต่างหากที่จะรับวิธีนี้ได้

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๒๔)

** สติสัมปชัญญะ คือภาชนะที่สะอาด **

ความรู้สึกตัวแบบนี้ หลวงพ่อเทียนเรียกว่า ตัวรู้สึกซื่อๆ ตัวรู้สึกซื่อๆใสๆมันเปรียบเสมือนน้ำฝนใสๆ ที่ตกลงมาแล้วเราเอาภาชนะที่สะอาดๆรองเอาไว้ จะนำไปดื่ม อาบ ทำอะไรก็ได้ จะทำเป็นน้ำเย็น น้ำร้อนก็ได้ ใช้ได้ตลอดเวลา แต่ถ้าฝนตกไปถูกดินสกปรกเข้าเมื่อไหร่ล่ะก็ น้ำนั้นไม่อาจเรียกว่าน้ำฝนอีกต่อไปฉันใด ใจที่มีสติสัมปชัญญะของเราก็เป็นเหมือนภาชนะสะอาด ความรู้สึกที่มากระทบอายตนะทั้งหก เปรียบเสมือนน้ำฝนที่ตกลงมาในภาชนะนั้น การนำน้ำฝนไปใช้ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ก็คือ ปัญญาญาณ นั้นเอง มันเป็นปรมัตถธรรม อันเป็นทางแห่งมรรคผลที่แน่นอน
แต่ถ้าสติสัมปชัญญะยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ความรู้สึกที่มากระทบอายตนะทั้งหก ก็เป็นความรู้ที่ไม่บริสุทธิ์ เพราะมีอวิชชา คือความไม่รู้เท่าทันรองรับอยู่ ความรู้ที่มากระทบก็แปรเป็นความคิด ความอยาก และความเคยชินต่อไป บางครั้งจิตเราก็ปรุงแต่งเป็นเรื่องต่างๆดีบ้างชั่วบ้าง เสมือนน้ำที่เรานำไปปรุงเป็นน้ำชากาแฟ น้ำแป๊บซี่ โคล่า น้ำเหล้า น้ำต้ม น้ำแกง น้ำอะไรได้ทั้งนั้น แต่ไม่ใช่น้ำใสบริสุทธิ์อีกต่อไป

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๒๕)

** พุทธภาวะ ฝังลึกอยู่ในใจของทุกๆคน **

ถ้าเราไม่มีตัวรู้สึกตัวที่ถูกต้อง ก็ไม่สามารถเกิดปัญญาญาณที่ถูกต้องได้ เราก็สั่งสมความพอใจและความไม่พอใจไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นในชีวิตจริงของเราจึงหนาแน่นด้วยอารมณ์สองอย่างนี้ ตามภาษากรรมฐานท่านเรียก อภิชฌา คือความพอใจ และโทมนัส คือความไม่พอใจ เมื่อเราหนาแน่นด้วยความพอใจและความไม่พอใจ ตัวพุทธะภาวะของเรา ก็ถูกทับถมฝังลึกลงไปเรื่อยๆ
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงค้นพบ “พุทธภาวะ” ซึ่งมีอยู่แล้วในใจของพระองค์เอง และของมนุษย์ทุกๆคนไม่มียกเว้น แต่ว่าพุทธภาวะจะถูกฝังลึกลงไปมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความพอใจ และไม่พอใจ ที่แต่ละคนได้สั่งสมขึ้นมาเรื่อยๆ เราจึงเรียกบุคคลที่ทับถมตัวพุทธภาวะลึกลงไป ลึกลงไปเรื่อยๆ ว่าเป็น ปุถุชน “ปุถุ” แปลว่า หนา ปุถุชน ก็คือคนหนาด้วยกิเลส หนาด้วยความพอใจไม่พอใจ
ดังนั้น การที่เราจะกำจัดความพอใจ ไม่พอใจนี้ ออกจากใจจนหมดได้ จึงต้องใช้เวลาในการเจริญสัมมาสติด้วยความเข้าใจอย่างจริงจัง ตั้งใจต่อเนื่องและถูกต้องด้วย เพราะในบทสรุป อานิสงส์ของสัมมาสติได้ระบุไว้ชัดเจนว่า อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา โทมะนัสสัง แปลว่า “ผู้ใดเจริญสัมมาสติด้วยความเพียรเพ่งเผากิเลสด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อย่างต่อเนื่อง เขาผู้นั้นย่อมกำจัดความพอใจและความไม่พอใจออกจากจิตเสียได้”

 

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

 

มอบรักด้วยธรรม (๒๖)

** วิธีรื้อถอนความพอใจและไม่พอใจ **

ทุกครั้งที่ความพอใจ และความไม่พอใจเกิดขึ้น ให้พิจารณาความรู้สึกอันนั้น ว่าวัฏฏสงสารและไฟนรกกำลังก่อตัวขึ้นแล้ว ต้องใช้ปัญญาญาณ เข้าไปเฝ้าดูความรู้สึกชนิดนั้นอย่างชัดเจน ถ้าเราขืนปล่อยให้จิตคิดปรุงแต่งตามเหตุการณ์นั้นๆ ไปเรื่อยๆ ความรู้สึกพอใจและไม่พอใจนั้น จะลุกลาม ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ เหมือนไฟไหม้ป่า จนกลายเป็นความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจเกิดขึ้น ถ้าเราไม่ใส่ใจรู้และพิจารณา อย่างน้อยพิษภัยของมันก็ตกค้าง ทำให้รู้สึกเศร้าหมอง
แต่ถ้าปรุงแต่งไปทางตรงข้าม คือ ความพอใจ ความรู้สึกพอใจซึ่งคนส่วนใหญ่ชอบ อยากให้มันเกิด และพยายามปรุงแต่งหามัน และพยายามสร้างบรรยากาศให้เกิดความพึงพอใจอยู่เสมอ ความรู้สึกอันนี้เองที่มันจะก่อตัวเป็นราคานุสัย และตัณหานุสัย เป็นอาสวะ และสังโยชน์ชนิดต่างๆ ดังนั้นความพอใจนี่เอง จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความไม่พอใจได้อีกต่อไป

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๒๗)

** อย่าประมาทไฟ แม้ว่าเล็กน้อย **

เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า การกระทบที่ขาดสติกำหนดรู้ ย่อมเป็นเชื้อไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ มันถูกสั่งสมมาจากความรู้สึกเล็กๆน้อยๆ ที่เราไม่สนใจมัน คือไม่มีการเตรียมพร้อมที่จะรู้ และไม่เห็นความสำคัญมัน เราเรียกตามภาษาพระว่า “อวิชชา”
ดังนั้น อยากจะให้เราชาวพุทธทุกคน หันมาสนใจ เห็นความสำคัญของความรู้สึกตัวทั่วพร้อมให้มากที่สุด เพราะมันเป็นประตูแรกที่จะรื้อถอนความพอใจหรืออภิชฌา และความไม่พอใจหรือโทมนัส ออกจากใจได้ และมีทางเดียวเท่านั้น ไม่มีทางอื่นเลย
ก่อนหน้าที่พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ ไม่เคยมีบัณฑิตหรือนักปราชญ์ ท่านผู้รู้คนใดออกมาประกาศเรื่องนี้อย่างชัดแจ้ง เมื่อพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงได้มาประกาศสัมมาสัมโพธิญาณ เพื่อไขปัญหารหัสลับของวัฏฏสงสารได้ และทางวางหลักเกณฑ์แห่งสติปัฏฐานสี่เอาไว้ เพื่อเป็นเครื่องมือสลายความพอใจ และไม่พอใจให้หมดสิ้นได้ และทรงชี้ชัดลงไปว่า อภิชฌาและโทมนัสทุกระดับชั้นเป็นต้นตอแห่งความทุกข์ในวัฏฏสงสารทั้งหลายทั้งปวง อบายภูมิจะมีกี่ขุม สุคติจะมีกี่ชั้น ก็ล้วนแต่เริ่มต้นจากกิเลสสองตัวนี้เท่านั้น พระพุทธองค์ฟันธงลงไปตรงนี้อย่างเด็ดขาดที่สุด และพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้หมด
การปฏิบัติตามหลักการที่พระองค์นำมาแสดง ก็มิใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนเลย เริ่มต้นจาก สัมมาสติ สัมมาสมาธินี่เอง คือสั่งสมอบรมความรู้สึกซื่อๆ หรือความรู้สึกตัวเฉยๆ ความรู้สึกตัวแบบไม่อยากรู้ สั่งสมมันขึ้นมาตามหลักของสัมมาสติคือเฝ้าดูความเป็นไปของกาย เวทนา จิตและธรรม มีความเพียรเพ่งพิจารณา ด้วยสติสัมปชัญญะว่ากาย เวทนา จิตและอารมณ์ เป็นเพียงอาการที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป มันทนอยู่ไม่ได้ และแตกดับไปตลอดเวลา ไม่อาจควบคุมให้คงที่ได้เลย เรียกว่า กฎไตรลักษณ์ หรืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ถ้าเราไม่ฝึกวิปัสสนาจนเห็นแจ้ง เราก็สำคัญผิดในอารมณ์ต่างๆว่าเป็นตัวตนอยู่ร่ำไป

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๒๘)

** ความรู้สึกซื่อๆ คือทางสายกลาง **

เมื่อความรู้สึกตัวทั่วพร้อมถูกสั่งสมมากขึ้นเท่าไร ตัวรู้สึกตัวซื่อๆ นี้ก็จะเข้มแข็งและปรากฎชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แล้วมันก็จะไปเจือจางความพอใจและไม่พอใจ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำวัน เมื่อเรารู้สึกตัวรู้สึกใจอย่างถูกต้องแล้ว มันจะไปสลายความรู้สึกทั้งสองขั้วนั้น สลายตัวเป็นกลาง สมมุติว่า ความรู้สึกพอใจ และความไม่พอใจ มันเป็นกรดเป็นเคมีอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่เราใช้ความรู้สึกตัวซื่อๆ อันเป็นเสมือนน้ำด่าง เข้าไปเจือจาง สลายความเข้มข้นของมัน เจือให้มันจืดจางไปได้ฉันใด
ในนามธรรม ก็คือตัวรู้สึกตัวซื่อๆ ที่ประกอบด้วยปัญญาณาณนี่แหละ ที่จะเข้าไปไขรหัสลับของวัฏฏสงสารให้แจ่มแจ้งได้ สติปัฏฐานนี่แหละ จะนำไปสู่แสงสว่างของจิตใจได้
ดังนั้น หลายคนหลายท่านที่ลงมือทำไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้สัมผัสอะไรจริงจัง ก็อย่างเพิ่งท้อถอย ขอให้ทำไปอย่างมั่นใจ ก็เหมือนร่างกายเรา ที่มันเติบโตเข้มแข็งขึ้นมาได้ถึงวันนี้ ก็เพราะอาศัยการขยันดูแลเอาใจใส่ให้ข้าวให้น้ำมันอย่างสม่ำเสมอ มันจึงเติบโตได้ฉันใด สติปัญญาก็เติบโตขึ้นทุกวันทุกคืนไปเรื่อยๆ แต่ต้องดูแลเอาใจใส่เขาเป็นอย่างดีด้วย
ดังนั้น วันนี้ก็ขอบอกเป็นเคล็ดลับไว้เลยว่า ต้องเจริญสติปัฎฐานสี่ให้เป็นเรื่องสนุกสนาน อย่าฝืนใจทำเป็นอันขาด ตั้งแต่อาตมาได้พบกับตัวรู้สึกตัวทั่วพร้อมมานี้ จิตใจมีแต่ความสุขสงบมาโดยตลอด ไม่รู้จักคำว่าทุกข์ใจเลย แต่ความไม่สบายกายเป็นเรื่องธรรมดามาก มันก็ทำหน้าที่ของมัน คือมันเป็นสังขาร มันก็ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลง ทนอยู่ไม่ได้ และแก่ไปตายไปทุกๆวัน ไม่มีใครหลีกพ้นกฎเกณฑ์นี้ไปได้ เราก็คอยบำบัดแก้ไขมันไป ทุกข์ของรูปแก้ไขได้แค่บำบัดชั่วคราวเท่านั้น เพราะรูปมันเป็นของชั่วคราวอยู่แล้ว
เพราะความทุกข์ มันก็เป็นสิ่งสมมุติ ความสุขก็เป็นสิ่งสมมุติ มันไม่ได้มีอยู่จริง ว่าที่จริงแล้ว ความสุขความทุกข์ก็เป็นภาวะอันเดียวกัน แต่มันอยู่คนละด้านของความรู้สึกเท่านั้น เหมือนเหรียญๆเดียวกัน แต่อยู่คนละด้าน แล้วแต่ว่าด้านไหนมันจะหงายขึ้นมาก่อน ถ้ารู้สึกทนได้ง่ายเข้มข้นมาก ก็เรียกว่าสุข ถ้ารู้สึกทนได้ยากเข้มข้นมาก ก็เรียกว่าทุกข์

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๒๙)

** ความไม่ทุกข์ คือภาวะที่นอกสุขเหนือทุกข์ **

ภาวะที่ตรงกันข้ามกับทุกข์ตรงๆเลย เราไม่เรียกว่าสุขนะ มันมีคำใหม่อีกคำหนึ่ง ในพระพุทธศาสนาเราเรียกว่า “ไม่ทุกข์” ภาษาอังกฤษ เขาเรียก Non Suffering ไม่ใช้คำว่า Happiness คำว่า ไม่ทุกข์ ก็คือความรู้สึกเป็นกลาง จะเรียกว่า อุเบกขา ก็พอได้ แต่ก็ไม่ตรงเลยทีเดียว ความรู้สึกตัว ไม่ใช่ตัวสุข ตัวทุกข์ แต่มันเป็นภาวะนอกสุขเหนือทุกข์ ทุกข์มันไม่ได้มีอยู่ก่อน สุขก็ไม่ได้มีอยู่ก่อน แต่ว่าเราไม่รู้จัก ไม่เข้าใจความจริงของจิตใจ จึงหลงเข้าใจว่ามันมีตัวตน ว่าให้ถูกแล้ว สุขทุกข์มีตามสมมุติ โดยปรมัตถ์แล้ว สุขทุกข์ไม่มี มีแต่ความหลงเข้าใจผิดเท่านั้น
ดังนั้น เราจะทำอย่างไร ให้รู้จักคุ้นเคยภาวะไม่ทุกข์ ให้มากๆ ความรู้สึกไม่ทุกข์จะเข้าไปทำให้ตัวสุขทุกข์เจือจาง ตัวรู้สึกสุขเกิดมาจากความพอใจ ตัวรู้สึกทุกข์เกิดมาจากความไม่พอใจ ตัวสุขเวทนาก่อให้เกิดราคะ ตัวทุกขเวทนาก่อให้เกิดโทสะ ความรู้สึกไม่แน่ใจก่อให้เกิดโมหะ เราต้องมาทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมให้มาก

มอบรักด้วยธรรม (๓๐) ** น้ำท่วมเกลือหมด น้ำลดเกลือเค็ม ** สมมุติว่าทุกข์ คือเกลือเค็มๆแก้วหนึ่ง เราใส่น้ำเปล่าๆเจือลงไปหนึ่งแก้ว “เกลือยังเค็มอยู่มั๊ย” “ยังเค็มอยู่นะ เค็มมากด้วย ทีนี้เราเติมน้ำเปล่าไปเรื่อยๆให้ได้หนึ่งร้อยแก้วนะ คราวนี้ยังเค็มอยู่มั๊ย” “ไม่เค็มแล้ว หนึ่งต่อร้อยแก้วนี้ จืดไหม” “จืดสนืทเลยนะ ถามว่าเกลือหายไปรึเปล่า?” “ไม่หาย วันใดก็ตาม ถ้าหากว่าน้ำมันแห้งเรื่อยๆจากร้อยแก้วเหลือแก้วเดียว เกลือก็ยังเค็มเหมือนเดิมใช่มั๊ย?” ฉันใดก็ดี ความทุกข์อันเกิดจากความเข้มข้นของราคะ โทสะ โมหะ มันก็เหมือนเกลือแก้วนั้น ถ้าไม่มีการเจือจางมันใช้ไม่ได้เลยทีเดียว ดังนั้น เราจะต้องใส่ตัวรู้สึกซื่อๆ ลงไปเรื่อยๆ ความรู้ตัวซื่อๆ ก็เหมือนน้ำสะอาดธรรมดา ที่เราใส่เจือจางลงไปในแก้วเกลือเค็มนั้น ความรู้สึกตัวที่เราได้จากลมหายใจ มันเหมือนน้ำทีละหยดๆ กว่าจะไปเจือจางได้ ใช้เวลานานมาก หลวงปู่หลวงตาบางท่าน ต้องพาตัวเองไปปฏิบัติอยู่ในป่าในถ้ำจนครึ่งค่อนชีวิต กว่าจะจบกิจของท่าน กว่าจะได้มาสอนเรา ท่านก็แก่เสียแล้วไม่ไหวแล้ว เราก็ได้แต่ไปกราบไหว้บูชาท่านเอาบุญตามป่า ตามเหว ตามถ้ำ ท่านก็หมดแรงที่จะสอนเราแล้ว แต่วิธีการเคลื่อนไหวแบบหลวงพ่อเทียน มันเหมือนกับน้ำสะอาดที่เปิดจากก๊อกใส่แก้วเลยทีเดียว ไม่ต้องรอน้ำทีละหยดๆ หมายความว่า การสร้างสติแบบนี้ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมันเจริญได้ไวมาก สามารถเจือจางและสลายกิเลสเหตุเกิดได้เร็วมาก แบบว่าไม่ต้องรอกันหลายภพหลายชาติ พิสูจน์กันให้เห็นชาตินี้เลย แต่ต้องทำตามกติกา ตามที่กล่าวแล้วว่า ไม่มีใครจะได้สิ่งประเสริฐที่สุดมาอย่างง่ายๆ และฟรีๆหรอก ต้องเอาชีวิตเข้าแลกทุกคนแหละ ชนิดที่ว่ากล้าตายเสียก่อนตาย สำนวนนี้ไม่ใช่คำพูดเล่นๆนะ

มอบรักด้วยธรรม (๓๐)

** น้ำท่วมเกลือหมด น้ำลดเกลือเค็ม **

สมมุติว่าทุกข์ คือเกลือเค็มๆแก้วหนึ่ง เราใส่น้ำเปล่าๆเจือลงไปหนึ่งแก้ว “เกลือยังเค็มอยู่มั๊ย”
“ยังเค็มอยู่นะ เค็มมากด้วย ทีนี้เราเติมน้ำเปล่าไปเรื่อยๆให้ได้หนึ่งร้อยแก้วนะ คราวนี้ยังเค็มอยู่มั๊ย”
“ไม่เค็มแล้ว หนึ่งต่อร้อยแก้วนี้ จืดไหม”
“จืดสนืทเลยนะ ถามว่าเกลือหายไปรึเปล่า?”
“ไม่หาย วันใดก็ตาม ถ้าหากว่าน้ำมันแห้งเรื่อยๆจากร้อยแก้วเหลือแก้วเดียว เกลือก็ยังเค็มเหมือนเดิมใช่มั๊ย?”
ฉันใดก็ดี ความทุกข์อันเกิดจากความเข้มข้นของราคะ โทสะ โมหะ มันก็เหมือนเกลือแก้วนั้น ถ้าไม่มีการเจือจางมันใช้ไม่ได้เลยทีเดียว
ดังนั้น เราจะต้องใส่ตัวรู้สึกซื่อๆ ลงไปเรื่อยๆ ความรู้ตัวซื่อๆ ก็เหมือนน้ำสะอาดธรรมดา ที่เราใส่เจือจางลงไปในแก้วเกลือเค็มนั้น ความรู้สึกตัวที่เราได้จากลมหายใจ มันเหมือนน้ำทีละหยดๆ กว่าจะไปเจือจางได้ ใช้เวลานานมาก หลวงปู่หลวงตาบางท่าน ต้องพาตัวเองไปปฏิบัติอยู่ในป่าในถ้ำจนครึ่งค่อนชีวิต กว่าจะจบกิจของท่าน กว่าจะได้มาสอนเรา ท่านก็แก่เสียแล้วไม่ไหวแล้ว เราก็ได้แต่ไปกราบไหว้บูชาท่านเอาบุญตามป่า ตามเหว ตามถ้ำ ท่านก็หมดแรงที่จะสอนเราแล้
แต่วิธีการเคลื่อนไหวแบบหลวงพ่อเทียน มันเหมือนกับน้ำสะอาดที่เปิดจากก๊อกใส่แก้วเลยทีเดียว ไม่ต้องรอน้ำทีละหยดๆ หมายความว่า การสร้างสติแบบนี้ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมันเจริญได้ไวมาก สามารถเจือจางและสลายกิเลสเหตุเกิดได้เร็วมาก แบบว่าไม่ต้องรอกันหลายภพหลายชาติ พิสูจน์กันให้เห็นชาตินี้เลย แต่ต้องทำตามกติกา ตามที่กล่าวแล้วว่า ไม่มีใครจะได้สิ่งประเสริฐที่สุดมาอย่างง่ายๆ และฟรีๆหรอก ต้องเอาชีวิตเข้าแลกทุกคนแหละ ชนิดที่ว่ากล้าตายเสียก่อนตาย สำนวนนี้ไม่ใช่คำพูดเล่นๆนะ

มอบรักด้วยธรรม (๓๑) ** เกิดมาแล้วไม่เห็นตัวเอง เสียชาติเกิดโดยแท้ ** ในวิธีการของหลวงพ่อเทียน ถ้าทำให้ถูกต้อง อย่างช้าที่สุดไม่เกิน ๓ ปี หมายความว่าทำให้ได้ตามเงื่อนไขของท่านนะ อย่างไวที่สุดตั้งแต่ ๑ วันถึง ๙๐ วัน อย่างกลางตั้งแต่ ๓ เดือน ถึง ๑ ปี ถ้าใช้ความรู้สึกตัวจากการเคลื่อนไหวน่าสนใจไหม? ถ้า ๓ ปีหมดทุกข์ได้นี้ ก็ไม่แก่เกินไปนะ ดังนั้นอาตมาอยากจะบอกว่า ท่านทั้งหลายต้องพิสูจน์นะ ไม่จำเป็นต้องเชื่อสิ่งที่อาตมาหรือหลวงพ่อพูดนะ อาตมาพิสูจน์มาแล้ว อย่างน้อยยกมือมาแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๐ จนถึงปีนี้ ๓๐ ปีมาแล้ว อาตมารู้สึกว่า แป๊บเดียวนะ ๓๐ ปี แต่มันสนุกมากเลย ยิ่งยกก็ยิ่งสนุก เพราะอะไร เพราะยิ่งยกยิ่งเห็นตัวเอง ถามว่า ยกมือเพื่ออะไร? เพื่อให้เห็นตัวเองนะ เห็นตัวเองตั้งแต่หัวจรดเท้าเลยนะ ว่ามันมีอะไรบ้าง เมื่อก่อนอาตมาไม่เคยเห็นตัวเองตามความเป็นจริง มีแต่เห็นตัวเองอย่างผิดๆ เราก็ทำร้ายตัวเอง โกหกตัวเองทุกวัน เบียดเบียนตัวเองทุกๆวัน เช่น โกรธแต่ละครั้ง ไม่พอใจแต่ละคราว ก็ถือว่าทำร้ายตัวเองแล้วใช่มั๊ย? หมอเขาบอกว่า สารอะไรมันหลั่ง สารอะดรีนาริน ใช่มั๊ย? ไม่รู้นะ หมอเขาบอกมาว่า สารตัวนี้ถ้ามันหลั่งมากเกินมันจะไปทำลายเซลล์ดีๆในร่างกายของเรา วันละมากๆ แล้วทีนี้วันหนึ่งๆ เราทำร้ายตัวเองหลายครั้ง เพราะบางคนโกรธวันละหลายหน ถ้าเราอยู่ในอารมณ์โลภ ก็ทำร้ายตัวเองได้เช่นกัน เช่น เวลากินอาหารอร่อยๆมันต้องรสจัด รสอร่อยจัดจ้าน มันก็ทำร้ายท้องตนเองอีก อร่อยด้วยสารอาหารจิปาถะ อย่างน้อยก็อร่อยด้วยผงชูรสใช่มั๊ย? ถึงมารู้ทีหลัง จากแพทย์ทางเลือกว่า ความเอร็ดอร่อยนั้นนอกจากทำร้ายร่างกายแล้ว ยังก่อให้เกิดความพอใจ ก็ก่อให้เกิดกำหนัด ราคะมาทำร้ายใจอีก แต่ถ้าหากกินไม่อร่อย เกิดความไม่พอใจอีก ก็ก่อให้เกิดโทสะอีก เรียกว่าโดนทั้งขึ้นทั้งล่อง คนถึงได้ทุกข์เอาๆ

มอบรักด้วยธรรม (๓๑)

** เกิดมาแล้วไม่เห็นตัวเอง เสียชาติเกิดโดยแท้ **

ในวิธีการของหลวงพ่อเทียน ถ้าทำให้ถูกต้อง อย่างช้าที่สุดไม่เกิน ๓ ปี หมายความว่าทำให้ได้ตามเงื่อนไขของท่านนะ อย่างไวที่สุดตั้งแต่ ๑ วันถึง ๙๐ วัน อย่างกลางตั้งแต่ ๓ เดือน ถึง ๑ ปี ถ้าใช้ความรู้สึกตัวจากการเคลื่อนไหวน่าสนใจไหม? ถ้า ๓ ปีหมดทุกข์ได้นี้ ก็ไม่แก่เกินไปนะ
ดังนั้นอาตมาอยากจะบอกว่า ท่านทั้งหลายต้องพิสูจน์นะ ไม่จำเป็นต้องเชื่อสิ่งที่อาตมาหรือหลวงพ่อพูดนะ อาตมาพิสูจน์มาแล้ว อย่างน้อยยกมือมาแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๐ จนถึงปีนี้ ๓๐ ปีมาแล้ว อาตมารู้สึกว่า แป๊บเดียวนะ ๓๐ ปี แต่มันสนุกมากเลย ยิ่งยกก็ยิ่งสนุก เพราะอะไร เพราะยิ่งยกยิ่งเห็นตัวเอง ถามว่า ยกมือเพื่ออะไร? เพื่อให้เห็นตัวเองนะ เห็นตัวเองตั้งแต่หัวจรดเท้าเลยนะ ว่ามันมีอะไรบ้าง เมื่อก่อนอาตมาไม่เคยเห็นตัวเองตามความเป็นจริง มีแต่เห็นตัวเองอย่างผิดๆ เราก็ทำร้ายตัวเอง โกหกตัวเองทุกวัน เบียดเบียนตัวเองทุกๆวัน เช่น โกรธแต่ละครั้ง ไม่พอใจแต่ละคราว ก็ถือว่าทำร้ายตัวเองแล้วใช่มั๊ย?
หมอเขาบอกว่า สารอะไรมันหลั่ง สารอะดรีนาริน ใช่มั๊ย? ไม่รู้นะ หมอเขาบอกมาว่า สารตัวนี้ถ้ามันหลั่งมากเกินมันจะไปทำลายเซลล์ดีๆในร่างกายของเรา วันละมากๆ แล้วทีนี้วันหนึ่งๆ เราทำร้ายตัวเองหลายครั้ง เพราะบางคนโกรธวันละหลายหน ถ้าเราอยู่ในอารมณ์โลภ ก็ทำร้ายตัวเองได้เช่นกัน เช่น เวลากินอาหารอร่อยๆมันต้องรสจัด รสอร่อยจัดจ้าน มันก็ทำร้ายท้องตนเองอีก อร่อยด้วยสารอาหารจิปาถะ อย่างน้อยก็อร่อยด้วยผงชูรสใช่มั๊ย? ถึงมารู้ทีหลัง จากแพทย์ทางเลือกว่า ความเอร็ดอร่อยนั้นนอกจากทำร้ายร่างกายแล้ว ยังก่อให้เกิดความพอใจ ก็ก่อให้เกิดกำหนัด ราคะมาทำร้ายใจอีก แต่ถ้าหากกินไม่อร่อย เกิดความไม่พอใจอีก ก็ก่อให้เกิดโทสะอีก เรียกว่าโดนทั้งขึ้นทั้งล่อง คนถึงได้ทุกข์เอาๆ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มอบรักด้วยธรรม (๓๒)

** สติเป็นดั่งอาหารรสจืด กิเลสเป็นดั่งอาหารรสจัด **

วิธีแก้ เราก็ต้องหันมาสร้างสติปัญญา ให้รู้เท่าทันความอยาก เรากินอร่อยก็ได้ ไม่อร่อยก็ได้ แต่ให้รู้สึกตัวว่าเรากำลังทานอาหาร ไม่ได้ทานรสอร่อย ฝึกตั้งสติถามตัวเองไม่เรื่อยๆว่า
“รสอร่อยนี่เที่ยงหรือไม่เที่ยง” ก็ตอบว่า
“ไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงแล้วมันทนอยู่ได้มั๊ย?”
“มันทนอยู่ไม่ได้ รสอร่อยนี่มันจะอยู่นานได้มั๊ย?”
“ใครบ้างทานข้าวอร่อยตั้งแต่คำแรกถึงคำสุดท้ายเลย มันจะอร่อยสักสิบคำแรกเท่านั้นแหละ คำต่อๆมาก็กร่อยแล้ว ยิ่งใกล้จะอิ่มแล้ว ยิ่งไม่อร่อยเลย ดังนั้นเราจะเห็นกฎของความพอใจ ไม่พอใจ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตลอดเวลาใช่ไหม?”
“รสอร่อย เราต้องแสวงหาใช่ไหม? แต่รสไม่อร่อยเราไม่ต้องแสวงหา เพราะมันมีอยู่แล้วใช่ไหม? ดังนั้นรสอร่อยไม่เที่ยง แต่รสไม่อร่อยเที่ยงกว่าใช่มั๊ย?”
ดังนั้นเราจงมาสร้างความรู้สึกตัว เพื่อลด ละ เลิกการเสพติดในรสอาหารกันเถอะ เพราะรสอาหารเป็นสิ่งเสพติดที่น่ากลัวและเลิกยากที่สุด และเป็นสิ่งเสพติดที่ไม่ผิดกฎหมาย คิดว่าร้อยละเก้าสิบ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เกิดจากการเสพติดในรสอาหาร และถ้าเราทานอาหารรสจืดแทนรสจัด รสอาหารจะกลับเป็นยาทันที โดยไม่จำเป็นต้องไปรักษาด้วยยาขนานใดๆฉันใด ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นเสมือนอาหารรสจืด กิเลศคือ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นเสมือนอาหารรสจัด มีแต่จะทำร้ายจิตใจให้เจ็บป่วยเป็นทุกข์ เวียนว่ายตายเกิดไปนานชั่วกัปชั่วกัลป์ ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านจงประจักษ์แจ้งในสัจจธรรมตามสติปัญญาที่ฝึกฝนมาดีแล้ว ตั้งแต่บัดนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยกันทุกคนทุกท่านเทอญ

จากหนังสือ มอบรักด้วยธรรม
พระพุทธยานันทภิกขุ

Cr: Nucharee Intarachote, f: Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)