การเจริญสติที่ฮาวาย

คอร์สอบรมเจริญสติ 10-20 ธันวาคม 2559 ณ มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา โดย พระพุทธยานันทภิกขุ, หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, Direk Saksith, Deva Nanda

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ตอนที่ 1 สติเคลื่อนไหวไปสู่เกาะฮาวาย

การจัดอบรมเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ที่วัดลาวพุทธศักดิ์สิทธิ์
เกาะฮาวายเที่ยวนี้ มิใช่ครั้งแรก แต่ก็ดูเหมือนเป็นครั้งแรก
เพราะที่แล้วๆมา กลุ่มศิษย์พุทธยนันทะไปจัดก่อนถึง 4 ครั้ง

แต่ก็ศรัทธาของผู้เข้าร่วมปฏิบัติยังไม่เต็มร้อย
จึงไม่ทุ่มเทต่อการปฏิบัติมากเท่าที่ควร
แต่เที่ยวนี้ สมาชิกผู้เคยสัมผัสการเจริญสติมาบ้างแล้ว
ได้ตั้งใจรอคอยอย่างเต็มที่ว่า สักวันหนึ่ง
หลวงพ่อคงมาพาพวกเขาปฏิบัติบ้าง

เมื่อวันนี้มาถึง พวกเขาต่างทุ่มเทปฏิบัติกันอย่างจริงจัง
ตั้งใจ ต่อเนื่อง และถูกต้องตลอด 10 วัน
ปรากฏว่าได้ผลเกินคาด เพราะมีผู้สูงอายุหลายคน
ทำท่าจะทำต่อไม่ไหวตอนแรก ๆ

แต่พอใกล้ถึงเวลาระฆังหมดยก ต่างคนต่างเร่งสปีดเต็มที่
ปรากฏว่า ทุกคนได้เห็นและรู้จักอารมณ์รูปนามอย่างชัดเจน
ปัจจัยสำคัญในความสำเร็จครั้งนี้ น่าจะเกิดความพร้อมของสัปปายะดังนี้

1. อากาศ น่าจะมาอันดับหนึ่ง เพราะบรรยากาศไม่เย็นและไม่ร้อน บางวันมีฝนลงปรอยๆบางๆเหมือนน้ำค้าง แถมมีลมพัดบางๆเป็นระยะๆ ชุ่มเย็นสบายๆ ภาวนาได้ทั้งวันไม่น่าเบื่อ

2. สิ่งแวดล้อม วัดตั้งอยู่ในระหว่างหุบเขา มีน้ำตกตลอดทั้งปี และด้านหน้าห่างทะเลประมาณ 500 เมตร ได้ยินเสียงคลื่นดังแผ่วๆตลอดทั้งวันและคืน สงบเย็น

3. อาหาร มีทีมแม่ครัวเดินทางมาจากลาสเวกัสโดยตรง นำโดยคุณสมพร แท่นทองคำ อาหารเบาๆ ไม่ก่อให้เกิดถีนมิทธะ

4. ตารางการปฏิบัติ เราเดินตามตารางเวลาของเมืองไทย คือตื่นก่อนตีสี่ 04-05 น. ออกกำลังกาย ด้วยโยคะและแบบ The 5 Tibetan rites ของทุกๆเช้า นอกนั้นเดินตามโปรแกรมในไทยหมด ตั้งแต่ตี 5-3 ทุ่ม เจริญสติแบบเคลื่อนไหวสลับนั่งสลับเดินตลอดห้าวันแรก แล้วเก็บอารมณ์เข้มอารมณ์เข้ม 5 วันหลัง สอบอารมณ์ก่อนเลิกช่วงเย็นทุกวัน

5. วิธีการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะแก่สถานการณ์และอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติ ตลอดถึงการแนะนำอย่างชัดเจนถูกต้องทุกขั้นตอน

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ตอนที่ 2 สติมาที่ฮาวาย

การเจริญสติภาวนาเที่ยวนี้ มีการปรับเปลี่ยนระยะของการปฏิบัติ
ช่วงสามวันแรก มีการเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 30 นาที
ไม่ให้ทำแบบชักยาว เช่น
 
1. หลังอาหารเช้า-เพลให้เริ่มต้นด้วยการเดินจงกรม
เพื่อปรับให้เลือดลมเดินสะดวก อาหารที่ทานใหม่ ๆ จะย่อยได้เร็วขึ้น ไม่เป็นเหตุให้ง่วงง่าย การเดิน ก็มีการเปลี่ยนเดินก้าวหน้า 15 นาที ถอยหลัง 15 นาที ใช้ระบบ สัมปชัญญะปัพพะ เดินแบบที่ระบุไว้ในพระบาลีว่า
อภิกกันเต=ก้าวไปข้างหน้า และ ปฏิกกันเต= การถอยกลับมาข้างหลัง ช้าบ้าง ไวบ้าง
 
2. เมื่อเดินได้ 30 นาทีก็ให้สัญญาณระฆังเบา ๆ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ จากเดินมาเป็นอิริยาบถนั่งกับพื้น เพราะสามารถเปลื่ยนไปสู่ท่าอื่น ๆได้อีกหลายท่า
 
3. เมื่อนั่งจนทำท่าจะง่วงหรือเพลินเกิดบ่อย ก็ให้เปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 3-5 นาที
 
4. เมื่อนั่งได้ครบเวลาได้ครบเวลาที่กำหนด ให้กลับมาเดินใหม่ เดินก้าวหน้าและถอยหลังเหมือนเดิม พอครบเวลา ให้เปลี่ยนมานั่งสร้างจังหวะบนเก้าอี้ อิริยาบถนี้จะเก็บไว้ในช่วงท้ายๆ ก่อนจะเลิก เพราะช่วงเย็น 3-5 โมงความง่วงจะน้อยลง จึงสามารถนั่งเก้าอี้ได้ และก่อนจะหมดเวลา ก็หันมาใช้ท่านอนบ้างในบางวัน
 
ด้วยการสลับสับเปลียนท่าทุกๆ 30 นาทีนี้เอง ทำให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เพราะไม่ปล่อยให้ความเผลอและเพลินนำไปสู่นิวรณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ หรือนานเกินไป
 
ด้วยหลักการนี้ พระพี่เลี้ยงต้องทำเป็นเพื่อนโดยตลอดห้าวันแรก เพราะต้องได้ดูแลการปรับเปลี่ยนเวลาไปด้วย และคอยบอกเตือนบางคนที่เผลอปล่อยความเพลินเข้ามาเป็นระยะ ๆ ทำให้ส่งจิตออกนอก ให้กลับมาอยู่ปัจจุบันได้เร็วขึ้น
 
ด้วยการปรับใช้อิริยาบถและเวลาครั้งนี้ จึงทำใด้นักปฏิบัติทั้งเก่าและใหม่ ได้สภาวะธรรมกันชัดเจนดีมาก
 
เว้นแต่บางคน ที่ติดอยู่ในสภาวะอารมณ์สงบมานานหลาย ๆ ภพชาติ จิตก็ไปติดเอากับนิมิตต่าง ๆ ได้ง่าย และบางคนที่มีเวลาปฏิบัติน้อย ต้องวิ่งเข้า ๆ ออก ๆ เพราะภาระหน้าที่ ๆ จำเป็น แต่ใจก็อยากปฏิบัติ จึงไม่ค่อยได้อารมณ์อย่างต่อเนื่องมากนัก ซึ่งเป็นจุดบอดที่ต้องแก้ไขในการปฏิบัติครั้งต่อไป
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ตอนที่ 3 การทำแล็บเจริญสติแบบเคลื่อนไหว

น่าจะสรุปข้อส้งเกตไว้ดังนี้

1. การเข้าคอร์สทุกครั้ง เราพยายามปรับปรุงการปฏิบัติให้กระทัดรัดชัดเจนมากขึ้น ทั้งการใช้ช่วงเวลาที่กระชับ และเปลี่ยนอิริยาบทที่พอดี ไม่ปล่อยไปตามอารมณ์อยากทำของนักภาวนา

2. ช่วงของการนั่งภาวนา ขณะยกมือสร้างจังหวะ สติจะต้องตามรู้การเคลื่อนไหวของมือ ขณะที่สัมปชัญญะจะตามดูอาการภายในของกาย ที่เริ่มเปลี่ยนจากเบาเป็นหนักขึ้นเรื่อยๆ ส่วนสมาธิและปัญญา ก็ตามดูอาการของจิตว่า มีปฏิกิริยาตอบสนองต่ออาการเปลี่ยนแปลงของกาย ที่เริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ ปัญญาจะต้องทำหน้าที่คอยติดตามตรวจสอบตลอดเวลาว่า อาการกายที่หนักขึ้นเพราะนั่งนานๆนั้น เริ่มมีผลต่อใจแล้วยัง?

3. ถ้าเวทนาทางกายเริ่มหนักหน่วง จนกายไม่อาจทนต่อไปได้ จิตจะเริ่มแสดงการดิ้นรนซัดส่ายออกมาเป็นระยะๆ เราก็ต้องทราบว่า ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนท่าแล้ว ค่อยตามดูทุกขเวทนากายให้ชัด ๆ ก่อนจะเปลี่ยนไปสู่ท่าอื่นต่อไป

4. เมื่อเวทนาทางกายได้รับการดูแลเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสักระยะ ร่างกายจะเริ่มผ่อนคลาย เบาสบาย สมาธิจิตจะเริ่มสงบและตั้งมั่นมากขึ้น พอมาถึงจุดนี้ เราเริ่มนั่งทำจังหวะได้นุ่มนวล และยืดเวลานั่งนานขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีเวทนาทางกายรบกวน ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขาก็ปรากฏเด่นชัดขึ้นทุกครั้งที่ปฏิบัติมาถึงจุดนี้ และทำให้นักปฏิบัติได้อารมณ์รูปนามง่ายขึ้น และผู้ที่เคยได้สัมผัสรูปนามมาแล้ว ก็จะพัฒนาก้าวหน้ารู้จักอารมณ์ปรมัตถ์ต่อไปตามลำดับ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ตอนที่ 4 การประคองสติ

ในช่วงกำลังเจริญสติภาวนา จุดสำคัญอันหนึ่ง
ที่พระพี่เลี้ยงมักมองข้าม ไม่เน้นย้ำ หรือติดตามคือ
การประคองสติในช่วงพักทำภาระกิจของนักปฏิบัติ
นักปฏิบัติใหม่ หรือแม้กระทั้งเก่าแล้วก็ตาม
มักจะเผลอหลุดลุ่ย ปล่อยเนื้อปล่อยตัวเร็วเกินไป
 
การปล่อยตัวมันตรงข้ามกับการปล่อยวาง
เราสามารถประคองการปฏิบัติ
ให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
โดยไม่รู้สึกเกร็งเครียด
 
ฝึกการเคลื่อนไหวในท่าทีที่อ่อนโยน
และนุ่มนวลลงกว่าเดิมอีกนิด
ใช้สติตามสังเกตใจตนเองไปเรื่อย ๆ
 
โดยไม่ให้ตัวรู้ขาดตอน คอยสังเกตว่า ค
วามคิดจะสร้างเรื่องขึ้นตอนใดบ้าง
แม้เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไม่ควรประมาท
 
สัมปชัญญะ ต้องคอยสำรวจ
การเคลื่อนไหวของเวทนาในส่วนต่าง ๆ
ของกายอย่างทั่วถึง และชัดเจนเสมอ
 
สติคอยสำรวมระวังแบบสบาย ๆ
 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดอ่อนของนักภาวนา
คือการทักทายพูดคุยในเรื่องที่ไม่จำเป็นต่างๆ
พระพี่เลี่ยงต้องคอยเตือนสติผู้ใหม่เสมอ ๆ
ในกรณีที่นักภาวนาบางคนที่มักพูด
มักจะมีปัญหากับเรื่องนี้มาก ๆ

พระพุทธยานันทภิกขุ