ปฐมาจารย์เซนแห่งประเทศสยาม ตอนที่ ๔

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

อินทรีย์ห้า พละห้า

เป็นกองหนุนที่เป็นกำลังหลัก

การปฏิบัติในวิธีการแบบเคลื่อนไหวนี้
ต้องเน้นที่อินทรีย์ห้า
พละห้าเป็นกำลังหลัก คือ
ความจริงจัง ตั้งใจ จดจ่อ
ต่อเนื่อง และถูกต้อง

ไม่ใช่เน้นที่ทำได้ดี
หรือทำได้มาก หรือทำได้นาน

แต่ถ้าปฏิบัติถูกต้องตามวิธีการแล้ว
น้อยก็ดี มากก็ได้ ช้าก็ได้ เร็วก็ได้
หลับตาก็ดี ลืมตาก็ได้

แต่ถ้าไม่ถูกต้อง
มากก็ไม่ดี น้อยก็ไม่ดี
จะช้าหรือเร็วใช้ไม่ได้
เพราะตั้งใจไม่ถูก
ทำอย่างไรก็ไม่ถูก

ฉะนั้น เน้นที่ความถูกต้อง
เป็นข้อสุดท้ายของอินทรีย์ห้าและพละห้า

ผู้เขียนก็เลยตั้งสโลแกน
ให้จำอินทรีย์ห้าและพละห้ากันง่ายๆ ไว้ว่า
ศรัทธาคือจริงจัง
วิริยะคือตั้งใจทำ
สติต้องจดจ่อ
สมาธิต้องต่อเนื่อง
และปัญญาคือถูกต้อง

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ต่อเนื่องทั้งในและนอกรูปแบบ

อินทรีย์ห้าตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร
แบบหลวงพ่อเทียน
เน้นความสำคัญของความต่อเนื่อง
ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงต้องนั่งสร้างจังหวะ
หรือเดินจงกรมต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน
 
คำว่า “ต่อเนื่อง” ในทีนี้หมายความว่า
ให้ตามรู้ตามสังเกต
อาการของกายของจิตที่เกิดขึ้น
ในขณะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ
ทั้งในและนอกรูปแบบ
 
เช่น เราปฏิบัติไปพักหนึ่ง
เราจำเป็นจะต้องลุกไปล้างถ้วย
หรือไปเข้าครัวทำอาหาร
เราจะต้องไปทำความสะอาด
ปัดกวาดเช็ดถู เป็นต้น
 
เราก็ตามรู้ สังเกตดู
อาการเคลื่อนไหวของตัวเอง
อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
 
มิใช่ว่าจะให้นั่งปฏิบัติโดยไม่ยอมรับรู้
ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำในขณะนั้นๆ
เราก็ต้องดูที่ความจำเป็น
 
ส่วนมากนักปฏิบัติจะพลาดกันตรงนี้
มากที่สุด
ถ้าใครแก้ไขตรงนี้ได้
การปฏิบัติจะก้าวหน้าได้เร็ว
และเริ่มสนุกกับการเจริญสติแบบนี้มากๆ
ไม่เชื่อลองไปทำกันดูก็แล้วกัน
 
ส่วนใหญ่คิดจะทำอะไรขึ้นมาในขณะปฏิบัติ
ก็ลุกไปเลย ยังไม่ทันสำรวจตรวจสอบ
ความต้องการของตน ว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็น
 
ส่วนไหนของกายจะขยับก่อน
แล้วก็ตามรู้ไปตามลำดับ
ระลึกอยู่เสมอว่า เรากำลังจะเดินจงกรม
ไม่ได้เดินไปทำงานอะไร

ทำไมชาวพุทธต้องมีพิธีกรรม

พิธีกรรมชาวพุทธที่แท้เป็นแบบไหน

เคยสังเกตบ้างไหมว่า เมื่อเวลาที่เราไปงานศพ งานบวช งานแต่งงาน งานสงกรานต์ หรือไปร่วมพิธีกรรมทางศาสนาพุทธเราตามประเพณี เริ่มแรกของงานประเพณี ก็คือจะมีการจุดธูปจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย

เคยตั้งข้อสังเกตบ้างไหมว่า ทำไมต้องจุดธูปเทียน แต่วันนี้อาตมาไม่ใช้จุดธูป เพราะอากาศจะเสียแต่ให้จุดเทียนได้ ที่ไม่ให้จุดธูปเพราะปัจจุบันนี้ทางการแพทย์สมัยใหม่ เข้าได้พิสูจน์ออกมาแล้วว่าการจุดธูปเพื่อประกอบพิธีบ่อยๆ นี้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งปอดของพระสงฆ์ที่ชอบจุดธูปบูชาในพิธีกรรมต่างๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อเมริกาด้วยแล้ว ภายในบ้านเปิดเครื่องทำความอบอุ่นหรือฮีทในหน้าหนาว และเครื่องทำความเย็นหรือแอร์ในหน้าร้อนแทบตลอดทั้งปี ถ้าเราจุดธูปเข้า อากาศก็จะระบายไม่ได้ เพราะห้องต้องปิดสนิทหมด เพื่อรักษาอุณหภูมิที่พอดี ดังนั้นเขาจึงไม่อนุญาตให้จุดธูปเลย จุดได้แต่เทียน เทียนจุดกันช่วงสั้นๆ เพราะเทียนก็มีมลพิษเช่นกัน หรือถ จำเป็นที่ต้องจุดจริงๆ (เพราะบางคนไม่ได้จุดธูปแล้วไม่สบายใจ เพราะยึดติดมานาน พระก็อนุโลมให้จุด แต่จุดแล้วก็เอากระถางธูปไปไว้ข้างนอกบ้าน บางแห่งก็แก้ด้วยวิธีซื้อธูปไฟฟ้ามาตั้งแทนกระถางธูปเสียเลย)

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ทำไมต้องจุดธูป

การจุดธูปเทียนสมัยก่อนสืบเนื่องมาจากเรายอมรับเอาลัทธิศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเข้ามาก่อนพุทธศาสนา เพราะสองศาสนานี้เขาต้องจุดธูปเทียนเพื่อบูชาเทพพระเจ้าในศาสนาของเขา เราก็เอามาทำตามตั้งแต่นั้นมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว พอเรายอมรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาเมื่อสองพันปีมานี้เราก็ไม่เลิกการจุดธูปเทียน และประเพณีพิธีกรรมต่างๆก็ล้วนติดมาจากศาสนาพราหมณ์แทบทั้งนั้น

ว่ากันจริงๆแล้ว ในพุทธศาสนาแทบจะไม่มีพิธีกรรมอะไรเลยนอกจากตั้งใจประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ตลอดเวลานั้น นี่คือพิธีกรรมทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่เป็นสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัย หรือเป็นสัญลักษณ์ของไตรทวารทั้งสาม ถ้าจะมีพิธีกรรมอยู่บ้างก็ทำพอเป็นพิธี เพื่อเป็นแบบแผนแก่อนุชนรุ่นหลังเท่านั้น เช่น การบูชา การกราบไหว้พระรัตนตรัย การสมาทานศีล การถวายทาน และประเพณีบางอย่างที่จำเป็น ก็ทำแบบกระทัดรัดสั้นๆ ไม่เยิ่นเย้อ เสียเวลาในการฟังธรรม ซึ่งเป็นสาระของงานพิธีกรรม

เป้าหมายหลักของการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ก็เพียงเพื่อเตรียมความพร้อมให้มีโอกาสได้รับธรรมบรรยายเท่านั้นเอง ถ้างานพิธีกรรมใดๆไม่มีการแสดงธรรมแล้ว แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่ใช่พิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ต้องจดจำตรงนี้เอาไว้ แม้พิธีกรรมงานนั้นจะทำไปด้วยความเรียบร้อยงดงามเพียงใดก็ตาม ถ้าไม่มีการแสดงธรรมถือว่าเป็นการส่งเสริมความงมงายโดยแท้ ไม่ใช่ชาวพุทธที่แท้แน่นอน

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ไตรทวารมีอะไรบ้าง

ไตรทวารมี
๑. กายกรรม 3 คือ ทำดีด้วยการไม่ฆ่าสัตว์
ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติในกาม
 
๒. วจีกรรม 3 คือ พูดดีด้วยการไม่พูดเท็จ
ไม่พูดคำหยาบไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ
 
๓. มโนกรรม 3 คือ ใจคิดดี
ด้วยการไม่คิดโลภของผู้อื่น
ไม่พยาบาทปองร้าย ไม่เห็นผิดเป็นชอบ
 
นี่เป็นความหมายของธูปทั้งสามดอก
เราถึงไม่จุดกันเกินกว่าสามดอก
 
ท่านผู้รู้นักปราชญ์ทางศาสนา
ท่านเห็นว่าไหนๆ ก็เลิก
จากการทำพิธีกรรมไม่ได้
เพราะทำกันมานาน
 
ท่านก็เลยให้ความหมาย
ทางพิธีกรรมเสียใหม่
โดยให้ความเป็นปริศนาธรรม
ในพิธีกรรมทุกๆ อย่าง
 
เพื่อจะได้ไม่ถูกมองว่าเป็นชาวพุทธ
แล้วยังงมงายกันไม่เลิกอีก
ท่านเลยให้ความหมายเป็นปรมัตถ์ว่า
การจุดธูปเพื่อให้เป็นปริศนาสอนใจเราว่า
 
ธูปให้กลิ่นหอมภายนอก
การบูชาพระรัตนตรัยให้กลิ่นหอมภายใน
 
คือ ประพฤติทางกาย
เรียกว่าทำให้กายหอมด้วยความดี
มีคนอยากเข้าใกล้ อยากคบหา
 
ประพฤติดีด้วยวาจา
ก็คือวาจาหอมหวนด้วยคำพูดที่ดี
วจีไพเราะ ใครได้ฟังแล้วอยากฟังอีก
อยากปฏิบัติตามคำที่พูด
รู้จักใช้คำพูดที่เป็นประโยชน์ เป็นความจริง
และประสานความรัก ความสามัคคี
มีความน่าเชื่อถือในถ้อยคำ
 
และความคิดดีๆ มีประโยชน์
ต่อตนเองและผู้อื่นเสมอ
เรียกว่า ใจหอมด้วยความคิดที่ดี
มีกุศลอยู่ตลอดเวลา
นี่คือหมายความของการจุดธูปทั้งสามดอก
 
การจุดธูปแบบนี้ใครจุดที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้
ไม่ต้องรอการมีพิธีกรรม
 
แต่คนเราที่มีการศึกษามาน้อย
ความเลื่อมใสศรัทธายังไม่เข้มแข็งพอ
ก็ประกอบพิธีกรรมภายนอก
เพื่อสร้างแรงจูงใจไปเรื่อยๆ ก่อน
 
จนวันหนึ่งเกิดสติปัญญาทางธรรม
ก็จะหันมาจุดธูปภายในกันมากขึ้น

ทำไมต้องจุดเทียน

จุดเทียนเพื่ออะไร ก่อนจะตอบเรื่องนี้ ขอแทรกเรื่องนี้หน่อย ในปีนี้ (พ.ศ.2551) พระสงฆ์และชาวพุทธทั่วประเทศ ช่วยกันประกาศรณรงค์ชาวพุทธมาช่วยกันเร่งเร้าให้รัฐบาล ยกระดับพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติที่เรานับถือกันมาเป็นพันๆ ปี สิ่งที่น่าจะยกระดับกันมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมไม่ทำกัน ก็เพราะเหตุผลว่า ชาวพุทธไทยเรายังตอบปัญหาง่ายๆ แก่ชาวต่างชาติต่างศาสนาไม่ได้ เวลาเขามาถามว่า “ชาวพุทธจุดธูปเทียนไปเพื่ออะไร”

พวกเราเป็นชาวพุทธมาเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่ตอบปัญหาง่ายๆ ของศาสนาที่ตนเองนับถืออยู่ยังไม่ได้ แล้วจะไปตอบคำถามที่ลึกซึ้งกว่านี้ได้อย่างไร การจุดธูปจุดเทียนเป็นเพียงแค่เรื่องง่ายๆทำกันอยู่เป็นประจำแล้วคำสอนที่ดีๆไนพุทธศาสนาอีกมากมายที่เรายังไม่ได้ทำจริงจัง เราจะอธิบายเขาได้อย่างไร

ข้อสังเกตนี้น่าคิดมากเพราะตอบคำถามนี้ไม่ได้รัฐบาลก็เลยยังไม่อนุมัติให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศเพราะเกรงว่าจะขายหน้าชาวต่างชาติเขา เพราะถ้าเขาถามไปอีกหน่อยว่าหลักธรรมประจำใจที่ถือปฏิบัติกันทุกวันของชาวพุทธคืออะไร ถ้าเราตอบว่าศีลห้า ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่ามีอะไรบ้างแล้วปฏิบัติได้ครบไหม ถ้าไปถามเจอคนที่ไม่ได้เข้าวัดเข้าวาก็เรียบร้อยเลย หรือแม้จะถามคนที่เข้าวัดตามประเพณีไม่เคยรู้เรื่องศีลเรื่องธรรมเลยก็จอดเหมือนกัน ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ชาวพุทธจะต้องยกระดับเสียตัวเองก่อน ก่อนที่บัญญัติลงในรัฐธรรมนูญว่าให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

เพราะชาวพุทธที่แท้ดูกันที่ตรงไหน ถ้าเป็นคฤหัสถ์ต้องตั้งอยู่ในศีลห้าได้เกินห้าสิบเปอเซ็นต์ขึ้นไปของชาวพุทธทั้งประเทศ ถ้าเป็นนักบวชก็ต้องรักษาศีลแปด ศีลสิบ และสองร้อยยี่สิบเจ็ด หรือศีลสามร้อยสิบเอ็ดให้ได้อย่างน้อยเกินครึ่งของบัญญัตินั้นๆ

แต่ในความเป็นจริง เรายอมรับความจริงกันไหมว่าเรายังทำกันไม่ได้ ขอฝากเรื่องนี้ให้ช่วยคิดกันหน่อย

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

การจุดเทียน 2 เล่ม

หมายความว่าอย่างไร

ทำไมเราจุดแค่ 2 เล่ม ทำไมไม่จุดสัก 3-4 เล่ม หรือมากกว่านั้น จะได้สว่างไสวกันทั่วๆ นักปราชญ์ท่านผู้รู้ทางศาสนาพุทธอีกนะแหละ ท่านเกรงว่าชาวพุทธเราจะงมงายทางศาสนาพราหมณ์อันเป็นศาสนาดั้งเดิมของเรา ท่านก็เลยให้ปริศนาธรรมในการจุดเทียนเอาไว้ว่า

มนุษย์และสัตว์ทั่วไปส่วนใหญ่เกิดมาก็มีตากันเพียง 2 ตา ต่างกับผลไม้หรือต้นไม้บางพันธุ์มีตาเยอะมาก เช่น ตาของสับปะรด หรือตาไม้ ยิ่งเยอะยิ่งใหญ่ ไม่ใช่มีแต่ตาซ้ายตาขวาเหมือนกับมนุษย์และสัตว์ ถ้ามนุษย์มี 2 ตาเท่ากับสัตว์ก็คงไม่ต่างกับสัตว์แน่ๆ เลย แต่เพราะมนุษย์มีตาที่สาม จึงประเสริญกว่าสัตว์มากมาย แต่ถ้ามนุษย์ยังไม่มีตาที่สามก็คงแย่กว่าสัตว์อีกเยอะทีเดียว

แต่ในที่นี่จะเรียกเสียใหม่ เรียกตาสองข้างคือตาขวาและตาซ้ายว่า “ตานอก” หรือมังสจักษุ หรือตาเนื้อ ส่วนตาที่สามจะเรียกว่า “ตาใน” ส่วนที่มีชื่อเรียกตามภาษาบาลีต่างๆเพราะบัญญัติเรียกไปตามสภาวธรรม เช่น ธรรมจักษุ (ตาธรรม) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา) พุทธจักษุ (ตารู้ ตาตื่น ตาใจ) สมันตจักษุ (ตาสติ)

เรามีตานอกไว้เพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ที่มาจากภายนอก เช่น ขวากหนาม ของมีคมทุกชนิด ตลอดจนสถานที่เป็นหลุม เป็นร่อง เป็นบ่อ สิ่งที่มีพิษภัย เช่น อสรพิษและไฟชนิดต่างๆ อันจะเป็นอันตรายกับกาย เราสามารถป้องกันภัยเหล่านี้ได้ เพราะเรามีตานอก ทำให้เรารู้จักหลบหลีกได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นอันตรายภายนอกเรารู้จักกันดี

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ควรจุดเทียนเล่มไหนก่อน

เริ่มจากซ้ายหรือเล่มขวา

ควรจุดเทียนเล่มทางซ้ายก่อน
ทางซ้ายมือของผู้ที่จุดเทียน
 
เล่มซ้ายหมายถึงพระวินัย
ส่วนเทียนเล่มขวาหมายถึงพระธรรม
 
เทียนเล่มซ้ายคือตานอก
เทียนเล่มขวาคือตาใน
 
ที่จุดเล่มซ้ายก่อนเพราะ
คนเราต้องมีตานอกดีเสียก่อน
ถ้าตานอกทั้งสองข้างไม่สัมพันธ์กัน
เราเรียกว่า ตาเข ตาเหล่
 
คนในปัจจุบันตาเหล่นะ ไม่ใช่ตาดีเท่าไร
เพราะตานอกกับตาในไม่สัมพันธ์กัน
 
หมายความว่าตาในบอกเราว่า
บางสิ่งบางอย่างไม่ดีนะ
แต่เราก็ไม่ทำตามที่ตาในบอก
เรามักจะไปเชื่อตานอก
 
สมมติว่าตาในบอกว่า
การทำร้ายเบียดเบียนกันไม่ดี
แต่บางคนก็ยังทำทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ดี
นี่เรียกว่า ตาไม่สัมพันธ์กัน
 
การเสพสิ่งเสพติดมึนเมาไม่ดีมีอันตราย
ทั้งๆ ที่เราเห็นเราก็ยังเสพ ยังดื่มกันเสมอๆ
เพราะตาในมันบอด
 
ดังนั้น การมีระเบียบวินัยจะสอนให้เรา
เห็นภัยภายนอกได้ง่าย
 
ท่านจึงสอนให้จุดเล่มซ้ายก่อน
คือให้รู้จักมีวินัยหรือรักษาศีลก่อน
 
ดังนั้นศีลทุกข้อก็มุ่งให้เรารักษากาย
ให้ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ
ได้รอบด้านทีเดียว
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

อันตรายภายใน คืออะไร

อันตรายภายใน มี 3 อย่าง ได้แก่
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
 
สาเหตุสำคัญของอันตรายสามอย่างนี้
ก็ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม
 
เพราะมโนกรรมเป็นที่ให้เกิดความโลภ
คือความอยากได้ ความทะเยอทะยาน
ความกำหนัดรักใคร่
ความอยากเป็นเจ้าของในสิ่งต่างๆ
ความยินดีพอใจในสิ่งของ
อันไม่ใช่ของตนเอง
เราเรียกว่า โลภะบ้าง ราคะบ้าง
ตัณหาบ้าง หรืออภิชฌาบ้าง
 
ซึ่งศัพท์นี้คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก
เพราะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของ
อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม
 
ทำไมความโลภจึงเป็นอันตรายภายใน
ที่บ้านเมืองวุ่นวายเพราะความโลภ
เข้าครอบงำ ต่างคนก็อยากได้มากๆ
 
เมื่ออยากได้กันมากๆ แต่ของหรือวัตถุ
มีจำกัด จึงเกิดการแย่งชิงกัน
 
เมื่อต้องแย่งชิงกันก็ต้องมีความขัดแย้ง
ต้องสู้รบ เมื่อมีการสู้รบกันเกิดขึ้น
ก็มีความหักล้าง ฆ่าฟันกัน
เพิ่มมากขึ้นไปในระดับตำบล
ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด
 
เมื่อมีการแย่งชิงผลประโยชน์กันเกิดขึ้น
ก็เรียกว่า แย่งชิง ฉ้อโกง โกงกิน แบ่งเค้ก
ในระดับประเทศชาติ ระดับโลก
ก็เรียกว่า สงคราม
 
ดังนั้น ตัวจุดชนวนสงครามโลกทุกๆ ครั้ง
ก็คือ ความโลภนั่นเอง
ความโลภจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

เมื่อความอยากไม่ถูกตอบสนอง

ความโลภจะแสดงออกมา
ทางกรรมทั้งสาม
 
แสดงออกได้หลายรูปแบบมาก
เช่น การขับรถเร็วมากๆ
เพื่ออยากให้ถึงจุดหมายปลายทางเร็วๆ
 
เมื่อความอยากนี้ไม่ถูกตอบสนอง
อย่างทันอกทันใจ
ก็แสดงความไม่พอใจ เกิดเป็นความโกรธ
จากน้อยไปหามากขึ้นเรื่อยๆ
 
ความโกรธ…ก็เป็นอันตรายภายใน
เช่นว่า เมื่อไม่ได้อย่างใจ
ก็แสดงอาการโมโห หงุดหงิด
ฉุนเฉียว ขุ่นเคืองอารมณ์
 
มักจะนำไปสู่วจีกรรมที่ไม่ดี
เริ่มจากอาการน้อยๆ ตั้งแต่บ่น
มีปากมีเสียง พูดเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ
 
เมื่อไม่รู้จักวิธีที่จะหยุด
ก็จะไปถึงแสดงออกทางกายกรรม
คือทำอะไรอย่างเร่าร้อน บุ่มบ่าม
ไม่ระมัดระวัง ไม่เกรงใจคนรอบข้าง
 
แล้วแรงความไม่พอใจเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้
ก็ถูกเก็บสั่งสมมากขึ้นเรื่อยๆ
เป็นแรงพยาบาท เคียดแค้น
เป็นบาปอกุศลแรงเข้มข้นเรื่อยๆ
 
จนกลายเป็นบุคลิกและนิสัยดุดันก้าวร้าว
สามารถจะเกิดอันตรายและอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ
ไม่ว่าคนๆ นั้นจะทำงานอะไร
ก็เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งนั้น
 
ดังนั้น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นประจำวันมากมาย
จนประมาณไม่ได้ว่าอะไรบ้าง
ก็เนื่องมาจากอันตรายภายในตัวนี้เอง
 
บางรายมีอาการรุนแรงสามารถโกรธจนเลือดขึ้นหน้า
สามารถจะฆ่าใครสักคนได้ทันที
แล้วก็สามารถลงไม้ลงมือได้ทันที
 
ดังนั้น ความโกรธจึงเป็นอันตรายภายใน
ที่น่ากลัวที่สุด และสร้างความเสียหาย
ให้แก่มนุษย์มากที่สุด
 
สามารถเกิดเป็นสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ตายเป็นจำนวนแสนๆ ล้านๆ ได้ภายในพริบตา
ทั้งหมดมีสาเหตุมาจากความหลงนั้นเอง
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ความหลงคือจิตออกนอกตัวเอง

ความหลง…เป็นต้นเหตุ
ของอันตรายทั้งหลาย
ทั้งภายนอกภายในได้อย่างไร
 
ความหลงหรือโมหะ
บางครั้งเราเรียกว่า อวิชชา
คืออาการของจิตที่ออกไป
ข้างนอกตัวเอง
 
จนมองเห็นไม่ได้ชัดว่า
อะไรกำลังเกิดขึ้นภายในกาย
และภายในจิตใจของตนเอง
 
มีแต่จะส่งจิตคิดไปแต่เรื่องภายนอก
ตลอดเวลา เรียกว่า การขาดสติบ้าง
ความประมาทบ้าง ความหลงลืมบ้าง
ทั้งหมดนี้เรียกว่า โมหะ
 
การไปเที่ยวเตร่เฮฮาสนุกสนาน
ก็เป็นความหลง อันเป็นเหตุ
ให้ไปติดดื่มเหล้าเสพติดมึนเมา
เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตรได้ง่าย
และผิดศีลผิดธรรมทุกระดับ
ก็ล้วนเกิดจากความหลง
 
เราเคยรู้กันไหมว่า
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
สามสิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุ
ของอันตรายทั้งหลายทั้งปวง
 
ทั้งๆ ที่ทุกคนก็รู้ใช้ไหมว่านั้นเป็นสิ่งไม่ดี
แต่ทำไมจึงยังทำ
เพราะว่าเราไม่เห็นว่าเป็นภัยที่อันตราย
 
ดังนั้น ความโลภ โกรธ หลง
จึงเป็นสาเหตุแห่งอันตรายภายใน
และภายนอกทั้งมวล

พระพุทธยานันทภิกขุ