
รายงานการปฏิบัติ
ช่างปั้นหม้อ (รายงาน ๑)
ทุกวันที่ ๑๑ ถึง ๑๗ ของทุกเดือน
ณ สถานปฏิบัติธรรมริมคลอง
ครุสติถาน บนเนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่
ได้ถูกดัดแปลง
เป็นโรงงานอุตสาหกรรม
เครื่องปั้นดินเผาขนาดย่อม
ภายใต้การดำเนินงาน
โดยนายช่างปั้นหม้อผู้ชำนาญ
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท
ผู้ปฏิบัติแต่ละท่าน
ต่างพกพาดินเหนียว
มาจากแหล่งพื้นที่ต่างกัน
เนื้อดินมีความแข็ง ความเหนียว
ความละเอียด แตกต่างกันไป
จึงเป็นหน้าที่ของนายช่าง
ที่จะคอยให้คำแนะนำ
และให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด
ก่อนที่เจ้าของดินจะเบื่อหน่าย
และหอบดินกลับบ้านไปเสียก่อน
เพราะเป็นงานที่เหนื่อยยากแสนสาหัส
ไม่สามารถว่าจ้างใคร
ให้มาทำแทนได้
คนไทยส่วนใหญ่
ก็ไม่สนใจที่จะทำงานนี้
แม้แต่ชาวพม่าหรือกัมพูชา
ก็ยังไม่อยากทำ
ขั้นตอนแรกเริ่มต้นขึ้น
ด้วยการทุบดินให้นิ่ม
ถ้าเป็นผู้ใหม่แกะกล่อง
ก็ต้องออกแรงมากหน่อย
อาจจะมีอาการง่วง เหม่อลอย คิดถึงบ้าน
คิดสงสัยว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่
นายช่างได้วางระบบสายพาน
ไว้อย่างเรียบร้อย
ตามขั้นตอนของขบวนการผลิต
โดยแบ่งพนักงานปั้นหม้อ
ออกเป็น ๔ กลุ่ม
กลุ่มแรก ทุบดินเหนียวให้นุ่ม
เปรียบได้กับผู้ปฏิบัติใหม่แกะกล่อง
กลุ่มที่สอง ดินนุ่มแล้ว
นำมาขึ้นแป้นหมุน
เพื่อก่อตัวเป็นภาชนะ
เป็นผู้เคยเข้าปฏิบัติมาแล้ว
ประมาณหนึ่งหรือสองครั้ง
กลุ่มที่สาม แกะสลักลวดลาย
เก็บรายละเอียดบนภาชนะ
ที่ปั้นเป็นรูปทรงแล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติเก่าพอสมควร
กลุ่มที่สี่ เข้าเตาอบ
เก็บอารมณ์ สำหรับผู้เก่า
ที่พอรู้รูปนามบ้างแล้ว
ทั้งสี่กลุ่มก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน
ใช้สถานที่ปฏิบัติงานสลับกันไป
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจ
เช่น ใต้ศาลาริมคลองลมพัดเย็นสบาย
ในห้องโถงติดแอร์ อุโมงค์ซุ้มไทร
หรือในห้องนอนที่ว่างเปล่า
ช่างปั้นหม้อ (รายงาน ๒)
ปกติแล้วเวลาตีสี่
จะเป็นช่วงที่ผู้คนหลับสบาย
แต่เป็นเวลาที่นายช่างนัดไว
ให้พนักงานปั้นหม้อทุกคน
มารวมกันที่ศาลา
เพื่อบริหาร่างกายแบบทิเบต
การดึงตัวเองออกจากความเคยช
ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
จึงต้องมีเบลบอยคอยเดินเคาะ
ผ่านด้านหน้าอาคารที่พักชาย
ปลุกสติทุกคนให้ตื่นจากภวัง
ซึ่งเบลบอยผู้นั้นไม่ใช่ใคร
คือหลวงพ่อนั่นเอง
ถ้าใครยังอยากจะนอนต่อ
ก็คงต้องคิดหนักหน่อย
ผู้ใหม่ที่ตั้งใจมาปฏิบัติธ
อาจจะนึกสงสัย
เหตุใดจึงเริ่มต้นด้วยการออ
มันช่างต่างจากการปฏิบัติธร
ที่เคยพบเห็นมา
ต่อเมื่อได้เห็นผลของความสด
อันเกิดขึ้นตามมาในระหว่างว
จึงได้หายสงสัย
เพราะการบริหารร่างกายที่ถู
จะช่วยเพิ่มออกซิเจน
ที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิง
ในการเผาผลาญวิญญาณธาตุ
ให้กลายเป็นตัวตื่นรู้ได้
หลวงพ่อไม่ได้เน้นความสงบ
แต่ท่านต้องการให้เห็น
ไตรลักษณ์ของรูป
ที่เกิดจากการเคลื่อนไหว
อันจะเป็นก้าวแรกสู่ประตูแห
หลังจากออกกำลังกายกันแล้ว
จึงได้พักดื่มน้ำอุ่น
และมารวมตัวกันอีกครั้งเพื่
ต่อด้วยการฟังธรรมบรรยายสดๆ
และเดินจงกรม ก่อนรับประทานอาหารเช้า
อาหารมังสวิรัติ
จากฝีมือแม่ครัวระดับห้าดาว
ทำให้ผู้ปฏิบัติลืมตัวไปชั่
หลวงพ่อได้กล่าวเตือน
ให้ระลึกถึงความรู้สึกหนักเ
ในขณะเคี้ยวอาหาร
ต่อจากนั้นจึงได้แยกย้ายกัน
และมารวมตัวกันอีกครั้ง
ในเวลาแปดโมงครึ่ง
เพื่อรับมอบงานจากนายช่าง
ว่ากลุ่มไหนจะใช้สถานที่ใด
ในการปฏิบัติงาน
ด้วยเหตุนี้ในแต่ละวัน
ช่วงเช้าและช่วงบ่าย
สถานที่ปฏิบัติงานของแต่ละก
จึงสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไ
แล้วแต่การมอบหมายงาน
ของนายช่างผู้เชี่ยวชาญ
ช่างปั้นหม้อ (รายงาน ๓)
ช่างปั้นหม้อ (รายงาน ๔)
รายงานปฏิบัติบูชา หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ ๑๒-๑๓ ก.ย. ๕๘ ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ