ทางรอดของนักโทษประหาร
คุกคือความคิด
คุกคือความติดใจในรสชาติ
เหมือนนกมันกินผลไม้ได้ทุกต
เพราะมันไม่ได้อยู่ที่ต้นไม
มันบินไปเรื่อยๆ
ต้นไหนอร่อยมันก็กิน
ต้นไหนไม่อร่อย มันก็เลือกได้
แต่นกบางตัว กินผลไม้บางต้นอร่อย
เช่น กินมะม่วงอร่อย ก็ถือไว้สองสามลูก
บินไม่ไหวแล้ว ต้องเอามะม่วงไปด้วย
ผลไม้ต้นนี้อร่อย ฉันไม่หนีไปไหน
เดี๋ยวนายพรานก็มายิง
เพราะไปติดต้นนั้น
เหมือนกัน ถ้าเราชอบอารมณ์ใด
เราก็ติดอยู่กับอารมณ์นั้น
เดี๋ยวมารก็เอาไปกิน
เราควรเป็นอิสระเหมือนนก
มีแค่ปีก อันหนึ่งเป็นรูป อันนึ่งเป็นนาม
บินไปได้ทุกหนทุกแห่ง
แต่ถ้ามีภาระหลายๆ อย่าง บินไม่ขึ้น
เพราะติดแร้ว ติดบ่วง
ที่นายพรานวางกับดักเอาไว้
คุกคือราคะ โทสะ โมหะ
โบราณบอกว่า
บ่วงผูกคอ ปอผูกศอก ปลอกผูกเท้า
บ่วงผูกคอ คือ ลูก
เชือกปอผูกศอก คือ ภรรยาสามี
ปลอกใส่เท้า คือ ทรัพย์สมบัติ
หามาตลอดชีวิต ทิ้งไม่ได้
เวลาคนตายเขาถึงมัดตราสัง ๓ ที่
ไม่ให้หลุดไปจากวัฏฏสงสาร
บ่วงผูกคอ ปอผูกศอก ปลอกผูกเท้า
คือ ราคะ โทสะ โมหะ
ไม่ใช่ว่าคนที่ไม่มีลูก ภรรยา ทรัพย์สมบัติ
จะปราศจากห่วง
เพราะห่วงที่แท้จริงคือ
ราคะ โทสะ โมหะ
พอตัดบ่วงอันนี้ได้
การมีลูก ภรรยา สามี
ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไร
แต่ถ้าเราตัดบ่วงข้างในไม่ไ
ลูก ภรรยา สามี ทรัพย์สมบัติ
ก็เป็นตัวมัดให้แน่นเข้าไปอ
ถ้าเราบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ ให้น้อยลง
การมีทรัพย์สิน สมบัติ ลูก ภรรยา สามี
ก็เป็นเพื่อน เป็นเครื่องประดับ เป็นเครื่องมือ
ในการแสวงหาอิสรภาพ
กัลยาณมิตรผู้รู้จริง จะพาเราออกจากคุกได้
ออกจากคุก คือหลุดจากอุปาทาน
ผู้เดินถึงจุดหมายเปลายทางแล้ว
วิมุติหลุดพ้นโดยประการทั้งปวง
หมดโศก หมดเครื่องพัวพันแล้ว
ความร้อนใจก็หมดไป
For him who has completed his journey,
For him who is wholly free from all,
For him who has destroyed all bonds,
The fever of passion exists not.
คตทฺธิโน วิโสกสฺส
วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส
ปริฬาโห น วิชฺชติ . .
อธิบายความนิยามแบบเคลื่อนไหว
จุดหมายปลายทางในพุทธภาษิตนี้ หมายถึงความหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งอุปาทานทั้งปวง
เพราะความยึดมั่นหรืออุปาทาน เสมือนบ่วงร้อยรัดมัดหัวใจสรรพสัตว์ ให้เสพติดอยู่กับรสชาดและเพลิดเพลินในรสของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ที่น่าพึงพอใจ
เมื่อไม่เสพ ก็ไม่ติด ไม่ยึด ไม่ถือ จึงไม่มีความอาลัยอาวรณ์ ความโศกเศร้าเสียดายก็หมดไป เพราะหมดอุปาทานนั้นเอง
พระพุทธยานันทภิกขุ
……………………………………………
บริจาคลูกและภรรยา เพื่อบรรลุธรรม
เคยเรียนถามท่านเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งเป็นตัวอย่างทานบารมี
การให้ทานเช่นนี้ทำให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าจริงหรือ ท่านตอบว่า
“เรื่องพระเวสสันดรเป็นเรื่องเล่าต่อกันมา
ถ้าเราคิดว่าจริง
เราควรบริจาคทาน ภรรยาและลูกของเราเอง
ให้แก่กรรมกรหรือชาวนา ไปช่วยงานเขา
แล้วเราก็จะได้เป็นพระพุทธเจ้า
ถ้าจะเปรียบใหม่ว่า
สิ่งที่ติดตัวเรา ผูกพันเหมือนบุตร ภรรยา
ก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ให้เราบริจาคทานสิ่งนี้ไปเสีย
จะพอเข้าใจไหม”
นายแพทย์วัฒนา สุพรหมจักร เล่าเกี่ยวกับหลวงพ่อเทียน