มีทุกข์ซ่อนอยู่ในทุกอิริยาบถ
ในความเห็นของคนทั่วไป ชีวิตมีทั้งทุกข์และสุขคละเคล้ากันไป
แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงเห็นเช่นนั้น
ทรงเห็นมีแต่ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
มีแต่ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ และมีแต่ทุกข์เท่านั้นดับไป
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
พระองค์ทรงเห็นความจริงว่ากายและใจเรานี้เป็นทุกข์ล้วน ๆ
ความสุขที่ปุถุชนรู้สึกคือความทุกข์ที่ลดน้อยลงไปเท่านั้นเอง
ความทุกข์ที่เราเห็นได้ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ก็คือ อิริยาบถ
ทนแบบเก็บกด หรือทนแบบใช้ปัญญา
ความอดทนหรือการยับยั้งใจมี ๒ แบบ
คือทนแบบเก็บกด
ด้วยอำนาจของมานะทิฏฐิ
ยืนหยัดเพื่อเอาชนะตนเองและผู้อื่น
ในทางผิดๆ
ก่อให้เกิดอาการเก็บกด
บีบคั้นกายและใจของตนเอง
ให้ได้รับความลำบาก
ถ้าทำไปนานๆ
ก็มีผลให้ทรมานร่างกาย
และเบียดเบียนตนเองประเภทสุดโต่ง
เป็นที่มาของลัทธิอัตตกิลมถานุโยค
คือทนแบบทำตนให้ลำบากเดือดร้อน
ทนแบบนี้ไม่ได้ใช้ปัญญา
การปฏิบัติวิปัสสนา
เป็นการอดทนแบบใช้ปัญญา
คือทนต่อการบีบคั้นของอารมณ์
ที่เป็นฝ่ายของบาปและอกุศล
ไม่ตอบสนองต่อการครอบงำ
ของนิวรณ์ธรรมชนิดต่างๆ
เช่น ทนต่อความอยาก
หรือความใคร่ในกามารมณ์
ที่กระตุ้นรุมเร้าให้เผลอเพลิน
ในอารมณ์ที่น่ายินดีและพอใจ เป็นต้น
แต่ผู้มีสติ จะทนเฝ้าดูอาการกวัดแกว่ง
ดิ้นรนของจิตอย่างต่อเนื่อง
จนกว่ามันจะสงบเป็นปกติ
และใช้ปัญญาตรวจสอบดูว่า
อารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
และตั้งอยู่อย่างไร
ถ้าเราเปลี่ยนไปแล้ว
อาการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร
การเข้าไปลำดับดูอาการ
ขั้นตอนเหล่านี้ตามลำดับ
เรียกว่าการใช้ปัญญา
มีเหตุมีผลในตัวของมัน
อันไหนเราทนได้ก็ทนไป
อันไหนทนไม่ได้ก็เปลี่ยนแปลง
อย่างมีสติสัมปชัญญะ
การเข้าไปรู้เหตุผลกระบวนการ
ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
เรียกว่า การใช้โลกุตตรปัญญา
และเมื่อโลกุตตรปัญญาถูกใช้บ่อยเข้าๆ
ก็จะเกิดเป็นญาณปัญญา
คือเกิดความชำนิชำนาญ
เกิดความคล่องแคล่วว่องไว
ในการตัดสินใจ
ในการแก้ปัญหาแต่ละอย่าง
ได้ราบรื่นและสงบเย็น
รู้รูปนามภายในสามวัน
พระพุทธยานันทภิกขุ