ยิ่งละเอียดมาก ยิ่งชัดมาก
ดังนั้น ชีวิตจริงประจำวันของเรา
จึงควรต้องฝึกฝนให้มองอะไรให้ชัดๆ
อย่ามองแบบผ่านๆ
อย่ามองข้ามว่า
เรื่องนี้ไม่มีความหมายอะไร
ไม่เกี่ยวข้องกับเรา
หรือไม่ใช่ธุระหน้าที่ของเรา
นี้คือตัวอย่างของการใช้ชีวิต
แบบไม่แยบคายหรือขาดโยนิโส
ก้าวทีละขั้น
ตามรู้อิริยาบทย่อยให้ได้ก่อน
ทำไมจึงปฏิบัติไม่ก้าวหน้า?
วิธีการปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน ท่านเน้นให้เราเรียนรู้ของจริง จากประสบการณ์ด้วยตนเอง ไม่นิยมจะให้มานั่งศึกษา นั่งฟังกันในห้องกรรมฐานทั้งวันทั้งคืนอย่างที่เขาทำกันทั่วไป เพราะความรู้ที่เราได้ ล้วนเป็นความรู้ เป็นประสบการณ์ของอาจารย์ผู้พูดทั้งหมด ไม่ใช่ความรู้และประสบการณ์ของเราเอง ฟังไปมากๆ ก็ไม่มีผลต่อเราสักเท่าไร แต่วิธีการหลวงพ่อเทียน ท่าให้ศึกษาและรับฟังแต่พอสมควร และเท่าที่จำเป็น แต่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างละเอียดถี่ถ้วนในทุกๆ อิริยาบถ ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด เพราะเรียนรู้จากประสบการณ์ของจริงด้วยตนเอง มันจะถูกจะผิดมันก็เป็นความรู้ของเราเอง ถ้ารู้ว่ามันผิด เราก็เรียนรู้พื่อการแก้ไข ถ้ารู้ว่ามันถูก เราก็เรียนรู้เพื่อดูแลรักษาความถูกต้องนั้นให้ตั้งมั่นและเข้มแข็งได้ด้วยตนเอง
ความอยากเป็นได้ทั้งเหตุและผลของอวิชชา
อวิชชาทำให้เกิดตัณหาหรือความอยาก เพราะเราไม่รู้เราจึงเกิดความอยาก แต่ในขณะเดียวกัน ความอยากก็เป็นเหตุ เพราะเราอยากเราจึงยึด ถามว่าอะไรเป็นเหตุของอวิชชา นี่ข้อสอบ พอเรารู้ว่าอวิชชาเป็นเหตุของตัณหา แต่อะไรเป็นเหตุของอวิชชา อะไรคือที่สุดของที่สุด
ถ้าไม่เจอกัลยาณมิตร เราก็เป็นอวิชชาอยู่เรื่อย แต่ถ้าเจอกัลยาณมิตร วิชชาก็เกิดขึ้น ธรรมสองประการ 1. กัลยาณมิตร 2. เมื่อเราเจอครูบาอาจารย์เจอคนดี เจอคนรู้ เจอคนมีประสบการณ์ เราก็ต้องมีโยนิโสมนสิการ คือมีปัญญาเข้าใจสิ่งที่ท่านนำเสนอ ถ้าเราไม่มีปัญญา ท่านพูดเท่าไรก็ไม่เข้าใจ เพราะเราไม่มีโยนิโสมนสิการ แต่ถ้ารู้จักนำมานึก นำมาคิดพิจารณาในสิ่งที่ท่านพูดว่า ใช่ ไม่ใช่ จริง ไม่จริง มันก็จะเกิดโยนิโสมนสิการขึ้นมา เพราะฉะนั้นเหตุของอวิชชาก็คือการไม่ได้พบกัลยาณมิตร ถ้ามีโยนิโสมนสิการของวิชชาก็จะได้พบกัลยาณมิตรทั้งภายนอกและภายใน เพราะถ้ามีโยนิโสมนสิการแล้ว มันก็ต่อไปเรื่อยๆ
ดังนั้นเราพยายามศึกษาเรื่องนี้ให้ดี ดูว่าทุกข์มันเกิดได้ยังไง แล้วจัดการกับมันยังไง จะเลือกเป็นม้าที่ดีหรือม้าที่ขาเก จะเลือกเป็นรถที่ดีหรือว่ารถที่เสีย ปัญญาของใครของมันบอกกันไม่ได้ ดังนั้นในจุดนี้ก็จึงขอให้เราพิจารณาในวันนี้ ว่าใครจะขี่รถหรือใครจะแบกรถ ใครจะขี่ม้าหรือใครจะแบกม้า แล้วก็คำว่าโยนิโสมนสิการ เป็นคำสั้นๆ แต่พระพุทธเจ้าใช้บ่อยเหลือเกิน คุณจะลุกอย่างโยนิโสมนสิการ คุณจะนั่งอย่างโยนิโสมนสิการ คุณจะพูดอย่างโยนิโสมนสิการ คุณจะกินอย่างโยนิโสมนสิการ เราไปห้ามอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ได้ แต่เราใช้มันเป็นพาหนะเท่านั้นเอง ให้รู้จักในจุดนี้ แล้วก็จะเข้าใจโดยไม่ยาก
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)