เฝ้าดูกายให้ชัดก่อน อย่าเพิ่งรีบร้อนดูใจ
เฝ้าดูกาย จนรู้ภาษาใจ
เฝ้าดูเฉยๆ ปัญญาจะเกิดเอง
การเฝ้าดู ให้ดูกาย ให้รู้สึกอยู่ที่กาย
และแอบชำเลืองดูใจบ้าง
ไม่ต้องจ้องดู การจ้องดูจะเป็นการเพ่งไป
จะทำให้เข้าไปในความคิดได้
แค่แอบดู พอความคิดเกิดขึ้นแค่รู้ แล้วกลับมาดูกาย
นี่เป็นหลักการปฏิบัติอย่างง่ายๆ แต่ที่เราทำแล้วไม่ง่าย
เพราะเราคุ้นชินกับความคิด เลยไปกับความคิด
ท่องเที่ยวไปในวัฎสงสาร
ไปเกาะเกี่ยวเอาทุกข์ เอาสุข เข้ามาตลอดเวลา
ไม่คุ้นชินกับการรู้สึกอยู่กับกายเฉยๆ โดยไม่คิด ไม่ปรุงแต่ง
ไม่ท่องเที่ยวไปในวัฎสงสาร ไม่เวียนว่ายตายเกิด
ไม่ไปเกี่ยวเอาทุกข์ เอาสุข มาเป็นของตน
การที่เรามาปฏิบัติ ก็เพื่อทำให้เราคุ้นชินกับการที่ใจเป็นหนึ่งเดียวกับกาย
เพียงรู้ตัว รู้ใจ ไปเรื่อย ๆ
อะไรจะปรากฎ ให้รู้ เฝ้าดูไปเฉย ๆ
ไม่เข้าไปร่วมแสดงกับอาการนั้น ๆ
รักษาอาการเฝ้าดูไว้อย่างเข้มแข็ง
แล้วจะหายสงสัยเรื่องชีวิตจิตใจของตนไปเรื่อย ๆ
เมื่อหายสงสัยในชีวิตของตนเอง
ก็หมดสงสัยในชีวิตของผู้อื่นด้วย
เพราะชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย
มีโครงสร้างพื้นฐาน ธาตุ 4 ขันธ์ 5 เหมือนกัน
เพราะสิ้นสงสัยนั้นเอง จะเป็นหนทางสู่การสิ้นทุกข์
เจอกิเลสต้องรีบประหาร
เฝ้าดูความเพลิน เจริญปัญญา
ถ้ามันรู้สึกเพลิน ก็ให้เฝ้าดู สภาวะจิตที่มันเพลิน มันเป็นอย่างไร แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ทิ้งตัวรู้สึกตัว แล้วไปคิดเรื่องความรู้สึกเพลิน แม้แต่ลุกเดินจงกรมก็ให้รู้สึกตัวว่าเดินเฉยๆ ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป ไม่ต้องปรุงแต่งเรื่องเดิน และไม่ต้องตั้งใจว่าจะเดินอย่างนั้นอย่างนี้ เดินก็คือเดินเฉยๆ
เมื่อรู้สึกว่าโล่ง โปร่ง เบาสบาย ก็รู้มันเฉยๆ ไม่ต้องไปเพลินกับความรู้สึกแบบนั้น และไม่ต้องคิดปฏิเสธความรู้สึกสบาย แต่ให้รู้จักธรรมชาติของมันได้ โดยไม่ต้องเข้าไปเสพสุขนั้นๆ เพราะมันเกิดเพราะเหตุปัจจัย พอหมดเหตุมันก็หมดไปตามธรรมชาติของมัน พอมันมีเหตุมันก็เกิดอีก สลับกันอยู่อย่างนี้เรื่อยไป
เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้ เราจะเสพติดในเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกเพลิดเพลิน สนุกสนาน แต่หารู้ไม่ว่า นั้นคืออาหารอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เพราะ ตัณหา มันแปลว่า “ความเพลิดเพลินในอารมณ์ คือเพิ่มอาการความอยากมากขึ้นเรื่อยๆ” หลักปฏิบัติแบบนี้ ก็คือเข้าไปเฝ้าดู ศึกษาอาการเหล่าไปเรื่อยๆด้วยสติปัญญาอันเกิดจากการภาวนาแบบเคลื่อนไหวนี้ เราจึงเน้นให้เฝ้าดูมันเฉยๆ เดี๋ยวเกิดปัญญาขึ้นเอง
กระบวนการรูปนาม ที่จะเข้าสู่ ปรมัตถ์
จะต้องผ่านอารมณ์หลายอารมณ์
เช่น อารมณ์รูปธรรม นามธรรม ฯลฯ
มันจะลึกเข้าไปเรื่อยๆ จะรู้ จะเห็นอะไรๆ ไปเรื่อยๆ
จะเข้าใจ จนหายสงสัย ด้วยตนเอง
รู้เอง เห็นเอง ไม่ใช่ด้วยการถาม
หรือการได้คำตอบจากครูบาอาจารย์ หรือผู้อื่น
สามารถตัดวิจิกิจฉา
ซึ่งเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของพระโสดาบัน
ในอารมณ์รูปธรรม นามธรรม
จะเห็นกาย เห็นใจ ได้ชัดขึ้น
เมื่อก่อนเราเห็นกายใจเป็นอันเดียวกัน
ขาเจ็บ เราก็เจ็บ ท้องปวด ใจมันไปปวดด้วย
เป็นเราปวด กายกับใจมันพันกัน มันเป็นอันเดียวกัน
พอเห็นรูปนาม กายปวด ใจไม่ปวดไปด้วย
เริ่มเห็นเป็น 2 อย่าง จึงเรียกว่า รูปธรรม นามธรรม
เฝ้าดูแบบสบายๆ แต่ให้ชัด
ตามดูการเกิดของความคิดแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทีละชั่วโมง และหลายๆชั่วโมงขึ้นไป ดูว่าจะรู้สึกอย่างไรเช่น อาการ เครียด เกร็ง ปวดหัว หรือสับสนเป็นต้น
ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้ถอยกลับมาสังเกตอาการ. ความรู้สึกเวทนาทางกายแทนและตามดูการ เคลื่อนไหวทางกายให้ชัดๆ สบายๆ ไม่บังคับ หรือตั้งใจเกินไปและพยายามตามดูอาการทาง กายเป็นหลักไว้ไม่ควรหาเรื่องมาคิดโดยไม่จำเป็น เพราะโดยธรรมชาติของจิตมันมีหน้าที่ รับรู้อารมณ์ที่มากระทบทางอายตนะทั้งห้าตลอดเวลาอยู่แล้ว เรียกว่า ธรรมารมณ์ มันคล้ายจะเป็นความคิด แต่มิใช่ความคิด เรียกว่า เจตสิกธรรม ถ้าเผลอสติมันจะแปลงเป็นตัวคิดทันที ถ้ามีสติ เจตสิกตัวนี้ จะเป็นสัมปชัญญะ และปัญญาทันทีเหมือนกัน
เพราะความคิดปรุงแต่งเกิดเป็นบางคราวเท่านั้น ส่วนความรู้สึกทางกาย มันมีตลอดเวลา ตั้งแต่หัวจรดเท้า สังเกตมันไปเรื่อยๆ เอาเท่าที่กำลังของสติสัมปชัญญะจะรับได้ นี่คือบทเรียนต่อไป
ก็ทำงานไปตามปกติของเรานี่แหละ แต่ต้องหาช่วงเวลาให้กับการปฏิบัติในรูปแบบในแต่ละวันด้วย เพราะการมีสติสัมปชัญญะในการทำงาน เพื่อป้องการรั่วไหลของพลังสติปัญญาไปมากกว่าปกติ และรักษากำลังสติให้เติบโต และสติจะ ไม่หมดไวเท่านั้นเอง
แต่การเจริญสติในรูปแบบ เป็นการสั่งสมกำลังสติโดยตรง เสมือนการหาเงินของนักธุรกิจ มันมีทั้งช่วงการหาเงินโดยตรงคืออาชีพ แต่การใช้สติเหมือนการใช้เงิน ถ้าไม่ระมัดระวังจริงๆ เราจะเสียเงินไปกับสิ่งมีประโยชน์น้อย ไม่คุ้มค่าเงินมากมาย ฉันใดก็ฉันนั้น ดังนั้น การใช้สติที่ดีที่สุด คือใช้แล้วได้กำไรสติปัญญากลับคืนมา เหมือนนักเลงลงทุน ส่วนคนทั่วไป ใช้เงินหมดเลย แล้วหาใหม่เรื่อยไป เผลอๆ ติดลบ และเป็นหนี้ก็มากมาย ฉันใดก็ฉันนัน
การปฏิบัติวิปัสสนาอย่างถูก
จะทำให้เราได้เห็นตัวเอง รู้จักตัวเอง
หากเราดูตัวเองเป็น จะสนุกในการปฏิบัติ
เมื่อใดใจเกิดความโลภ
เราก็กลับไปดูอาการของจิต
เมื่อใดใจเกิดความโกรธ
เราก็กลับไปดูอาการของจิต
เมื่อใดใจเกิดความหลง
เราก็กลับไปดูอาการของจิต
ก็จะรู้ว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง
เป็นอย่างไร
ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเห
เรียกว่าปัญญา
และปัญญาที่เกิดจากการเห็นแ
เรียกว่าญาณปัญญา
ญานปัญญาชนิดนี้
จะทำให้เกิดนิพพิทาญาณ คือ
ความรู้สึกเหนื่อยหน่ายในอา
ที่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำอยู่
เมื่อก่อนยิ่งโลภ ก็เหมือนยิ่งได้
ยิ่งสนุก ทะเยอทะยาน
ยิ่งโกรธ ก็เหมือนยิ่งมีอำนาจมากขึ้น
ยิ่งหลง ก็เหมือนยิ่งเพลิดเพลินสนุก
เพราะเราไม่เกิดปัญญาญาณ
แต่พอมาเห็นด้วยอาการอย่างน
ด้วยปัญญาญาณ
ยิ่งเห็น มันก็ยิ่งเบื่อ เบื่อใจตัวเอง
เราจะเกิดคำถามขึ้นในใจตนบ่
ทำไมเราต้องโลภ ทำไมเราต้องโกรธ
ทำไมเราต้องหลง
ความคิดอย่างนี้เกิดขึ้นบ่อ
นิพพิทาญาณของเรา ก็มีกำลังมากขึ้นๆ
ในที่สุด เราก็ค่อยปล่อยวาง..
ให้ความสำคัญกับกระบวนการหยิบจับ
ให้ความสำคัญกับกระบวนการ
ที่เข้าไปเกี่ยวข้อง
มากกว่าสิ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้อง
ให้ความสำคัญกับกระบวนการหยิบจับ
มากกว่าสิ่งของที่เราหยิบจับ
เรียกว่ามีสัมมาสติ สัมปชัญญะ
รู้อาการหยิบจับ ไม่มุ่งหวัง รีบร้อน
กับผล กับสิ่งของที่ต้องการ
ที่เรียกว่ามิจฉาสติ หรือสัญชาตญาณ
การเฝ้าดูด้วยสติ สัมปชัญญะ
จะทำให้เกิดคุณค่า เกิดศรัทธา
เกิดโยนิโสมนสิการ
เกิดความแยบคายในการกระทำ
กระทำด้วยสติ ระมัดระวัง
มีอินทรีย์สังวร มีศีล
ทำให้บริสุทธิ์ในกาย วาจา ใจ
ตรงข้าม หากไม่มีสติคอยกำกับ เฝ้าดู
ไม่ระมัดระวัง รีบร้อน เผลอ เกิดความอยาก
ความโลภ แย่งชิงทำร้าย
เกิดโทสะ โมหะ ลุ่มหลง
ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
กลายเป็นมิจฉาสติ
ทำตามสัญชาตญาณ กลายเป็นราคานุสัย
นอนเนื่องในสันดาน กลายเป็นอาสวะ
บุคลิกภาพของตน ล้วนมาจากอวิชชาทั้งสิ้น
พระพุทธยานันทภิกขุ