เด็กเลี้ยงสติ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เผลอแล้วไม่เป็นไร เริ่มต้นใหม่ได้

บางคนถามว่า
ขณะที่นั่งหรือเดินจงกรมไปนานๆ
มันรู้สึกเบื่อหรือฟุ้ง จะแก้ไขอย่างไร?

สำหรับเรื่องนี้เป็นปัญหาธรรมดามากๆ
ที่เราต้องเจอมันทุกครั้งที่เริ่มภาวนา
โดยเฉพาะสำหรับผู้ใหม่
ความรู้สึกเบื่ออาจจะมาหลายสาเหตุ
วิธีแก้ ตอนแรกที่เริ่มต้นภาวนา
(สำหรับผู้เคยเจริญสติมาแล้วระดับหนึ่ง)
คุณก็ต้องเรียบเรียงความรู้สึกตัว
ให้เป็นระเบียบก่อน
คือตั้งสติคอยเฝ้าดูความรู้สึก
แบบหยาบๆ ง่ายๆ ไปก่อน
ความรู้สึกตัวตรงไหนชัด
ก็สังเกตจุดนั้นไปเรื่อยๆ

การเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง
ให้ตั้งสติรู้ชัดๆเสมอ
ถ้าเผลอขยับขับเคลื่อนกาย
ส่วนไหนไม่ชัด
ให้ตั้งใจขยับใหม่ แบบทบทวน

การตั้งต้นรู้ตัวใหม่เสมอ
อย่าคิดว่าไม่จำเป็น
สำหรับหลวงพ่อเห็นว่า
จำเป็นมากทีเดียว
ภาษาฝรั่งเรียกว่า Double check
เขาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก
ทางจิตภาวนา ก็เช่นเดียวกัน
เมื่อเผลอเคลื่อนไหวเมื่อไร
อย่ารีบปล่อยผ่าน
พอรู้ตัวว่าเผลอเคลื่อนไหว
กลับมาตั้งต้นใหม่เสมอ
อาการแบบนี้เรียกว่า double check

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

สติระดับรูปนาม

แม้แต่ทางจิตก็ทำเช่นดียวกั
เมื่อเผลอคิด ก็กลับมารู้ตัวใหม่

แต่มิใช่กลับมาคิดใหม่อีกครั้งนะ
เราคิดอะไรไป มันจะพันกันยุ่งเลย

เราไม่ปฏิเสธที่จะคิด
แต่ให้รู้ทันให้มากที่สุด
เช่น มันเผลอคิดไปสิบครั้ง
เรารู้ทันตั้งแต่หกครั้งขึ้นไป
ถึงสิบครั้ง ก็ถือว่าใช้ได้
แต่สติตามรู้ทันต่ำกว่าห้าครั้ง
ถือว่าเสี่ยงอันตรายมากขึ้นเรื่อยๆ
นี่สำหรับผู้ยังอยู่ในขั้นต้น
หรืออารมณ์รูปนามนะ
แต่ถ้าคุณรู้ไปถึงระดับปรมัตถ์แล้ว
คุณจัดการกับความคิดเป็น
ก็ไม่น่าห่วง
เพราะคุณสามารถคิดก็ได้
ไม่คิดก็ได้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ปรมัตถ์ระดับต้น

ที่สำคัญก็คือคุณรู้ปรมัตถ์
ระดับไหนเท่านั้น

ถ้าระดับต้นๆ
ก็จัดการกับความคิด
ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
เหมือนเด็กเลี้ยงควาย
ที่ยังไม่รู้นิสัยควาย
มันจะตามควายไม่ทัน
เขาอาจจะมัดมันติดหลัก
ให้กินหญ้าอยู่กับที่
หรือดีขึ้นมาหน่อย
ก็กักบริเวณที่ต้องการ
หรือดีขึ้นมากว่านั้นอีก
ก็อาจขี่หลังมันเลย
แต่ถ้าแดดออกจ้าๆ
คุณก็ร้อนหน่อยเท่านั้นเอง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ปรมัตถ์ระดับกลาง

แต่สำหรับผู้ปฏิบัติ
ที่ได้สัมผัสปรมัตถ์ขั้นกลางๆ

ก็อาจปล่อยควายและเล็มหญ้า
ไปตามสบาย
ไม่ไปยุ่งกับมันมากนัก
พอมันจะออกไป
นอกบริเวณที่ต้องการ
ก็ตะล่อมกลับเข้ามา
พอมันกินหญ้าอยู่กับที่เพลินๆ
เราก็พักผ่อน
หางานอะไรทำเล่นไปเรื่อยๆ
สายตาก็คอยชำเลืองดูควาย
เป็นบางครั้งบางคราวก็พอ
เราก็สามารถทำงานไปได้
หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
แต่แบบนี้
สำหรับคนชำนาญแล้วเท่านั้น
คนที่จัดการจิตยังไม่เป็น
อย่าพึ่งรีบร้อนปล่อยควาย
ปล่อยเชือกเด็ดขาด
เดี๋ยวควายหาย
คุณก็วุ่นวายเท่านั้นเอง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ระวังสติหาย

สำหรับคนที่รู้ปรมัตถ์
เบื้องสูงแล้ว

เขาไม่ต้องเลี้ยงควายเอง
เขาเป็นเหมือนเจ้าของควาย
ที่มีเงินแล้ว
จะจ้างใครมาเลี้ยงให้ก็ได้
ถ้าคุณยังไม่ได้เป็นเจ้าของ
ชีวิตจิตใจของตัวเอง
ร้อยเปอร์เซ็นต์
คุณอย่าเสี่ยงเล่นกับความคิ
ก็แล้วกัน
อันตรายนะจะบอกให้?
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)