สติแท้ต้องเติบโต

ความรู้สึกตัวมีหลายระดับ

ความรู้สึกตัวหรือวิชชาจะลึกซึ้งแหลมคมละเอียดมากขนาดไหนขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของเรา ถ้าระดับต้นๆ รู้เบื้องต้นพอแก้ไขได้หยาบๆ ก็เรียกว่า“สติ” พอรู้ทุกขเวทนาที่เกิดทั่วตัวไปอีกหน่อยเรียกว่า “สัมปชัญญะ” แล้วเราเข้าไปรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ โดยที่ไม่ละทิ้งเรียกว่า “สมาธิ” ตัวสตินี้แหละมันพัฒนาตัวของมันไปเรื่อยๆ แล้วถ้ารู้จักวิธีแก้ได้อย่างชัดเจนทุกครั้งที่ทุกข์เกิด ทั้งรูปทั้งนามเรียกว่า “ปัญญา”  แล้วสามารถแยกความทุกข์ที่มันไหลเข้าไปสู่จิตแล้วให้ออกไปได้เรียกว่า “ญาณ” แล้วก็เห็นแจ้งว่า กิเลสหรือเชื้อโรคที่ไหลสู่จิต มันมีความเป็นมาอย่างไร มันแผ่ขยายของมันอย่างไร ลักษณะอาการต่างๆ ที่ใช้คำว่ากิเลสต่างๆ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ความโลภ ความโกรธ ความหลง มานะ ทิฐิ อาสวะต่างๆที่เป็นชื่อของโรคเหล่านี้ สามารถแยกออกมาได้จากจิตให้บริสุทธิ์เรียกว่า “วิปัสสนาญาณ”

 

การบำบัดทุกขเวทนาทุกครั้ง ต้องตั้งใจใส่สติ

เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้สติเป็นฐาน ส่วนจะแยกเป็นอะไร ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราที่จะไปเรียนรู้รับรู้ ดังนั้นในการบำบัดทุกขเวทนาทุกครั้ง เราจึงต้องตั้งใจใส่สติ เพื่อให้ตัวรู้ตัวนี้ ไปพัฒนาเป็นสัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา ญาณ ญาณทัศนะ วิปัสสนาญาณไปเรื่อยๆ วิปัสสนาญาณก็แบ่งออกเป็น ๑๖ ขั้น สมาธิแบ่งเป็น ๓ ขั้น สัมปชัญญะแบ่งเป็น ๔ ขั้น สติแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ สติในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม

 

จิตไม่ใช่ตัวรู้

สุญญตาน่าจะแปลว่าว่างจากจิต เพราะจิตมันไม่ว่างอยู่แล้ว พอมีจิต สังขารต้องเกิดขึ้นเรียกจิตสังขาร คือเรื่องคิดต้องเกิด แต่บางช่วงจิตของเรามันไม่ได้คิดตลอด มีแต่ตัวรู้สึก แต่ตัวรู้สึกไม่ใช่จิต ตัวรู้สึกเป็นตัวรู้คือตัววิญญาณ จิตกับตัวรู้คือคนละตัวกัน จิตคือตัวรับอารมณ์เข้าไปสั่งสมเพื่อที่จะเป็นสังขาร แต่ตัวรู้เป็นตัวของมันล้วนๆใช้คำว่าวิญญาณหรือญาณ จิตแปลว่าสั่งสมเก็บสิ่งที่รับรู้เข้ามาเป็นตัวของมันเองแล้วพร้อมที่จะปรุงแต่งได้ตลอดเวลา แต่วิญญาณเป็นตัวรับรู้แล้วแยกออก แยกอารมณ์ต่างๆออกไปเหลือแต่ญาณล้วนๆ เป็น pure mind ไม่มีจิต เป็นสุญญตา คือว่างจากจิต จิตไม่มี มีแต่ตัวรู้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ตอนแรกตัวรู้
หรือวิชชาของเรา
ยังไม่มีกำลังเข้มแข็งพอ
เราต้องอาศัยศรัทธา
และความเพียร
เจริญตัวรู้ให้มีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ
คือทำบ่อยๆ และทำอย่างเข้าใจ
ตัวรู้ก็เริ่มมีความเข้มแข็
มีความแหลมคม
ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้นตามลำดับ
ปัญญาที่ตามเข้าไปเห็นจิต
ที่เป็นภาวะรู้เฉยๆ ชัดๆ
เกลี้ยงเกลาจากปรุงแต่ง
ไม่นำเอาเวทนาต่างๆ
ที่ได้รับมาจากกาย
มาปรุงเป็นเรา เป็นของเราได้
เรียกว่า “ปัญญาญาณ”
เพราะปัญญาชนิดนี้
จะสามารถเห็นแจ้งว่า
กิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรม
เกิดขึ้นแก่จิตได้อย่างไร
และสามารถเห็นอย่างชัดเจนว่
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
มานะ ทิฏฐิ อาสวะต่างๆ เหล่านี้
เกิดขึ้นกับจิตได้อย่างไร
และสามารถแยกจิต
ให้ออกจากการปรุงแต่ง
ด้วยอำนาจของอวิชชาได้
เรียกว่า “วิปัสสนาญาณ”
ด้วยการเข้าใจสมาธิแบบไร้รูปแบบเช่นนี้
จะเป็นกำลังให้ปัญญาญาณเจริญได้ง่าย
และเจริญได้ตลอดเวลาด้วย
เพราะอาศัยปัญญาญาณ
ชนิดที่มีความเข้มแข็ง
ของสติสัมปชัญญะเป็นฐานราก
จะทำให้จิตว่างจากความคิดปรุงแต่ง
ได้เป็นเวลานานๆ
ตราบเท่าที่สติสัมปชัญญะของเรา
ยังต่อเนื่องอยู่
เพราะรู้สาเหตุของมันว่า
จิตปรุงแต่งเกิดจาก
กำลังสติสัมปชัญญะอ่อนตัวนั้นเอง
แล้วจะสามารถระงับเหตุ
ของการปรุงแต่งจิตนั้นๆ ได้ง่าย
ด้วยเหตุนี้ จิตจึงว่างจากการปรุงแต่ง
ได้เป็นเวลานานๆ ได้
จึงเป็นเหตุให้เกิดนิโรธสัญญา
และสุญญตาจิตในเวลาต่อมา
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)