ระลึกชาติคือเห็นการเกิดดับชัดเจน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนาhttps://www.youtube.com/watch?v=xR6QKLiMruU

ระลึกชาติแบบวิปัสสนา

การปฏิบัติวิปัสสนาแบบที่ทำให้เรารู้สึกระลึกชาติในปัจจุบันได้เท่านั้น จะเป็นวิธีที่เราจะเรียนรู้ทุกข์ได้ไว แต่การระลึกชาติได้แบบสมถะ คือระลึกชาติได้แบบก่อนเกิด หรือหลังตายไป แบบนั้นมีประโยชน์น้อย แต่การระลึกชาติแบบวิปัสสนา เราทุกคนสามารถทำได้ คือการเจริญสติปัญญาให้มากและต่อเนื่องจนสามารถระลึกได้ว่า ตั้งแต่เช้าจรดเย็นของแต่ละวัน เราสามารถรู้สึกระลึกได้ว่า เรามีความสุขมากหรือความทุกข์มาก และให้พยายามระลึกรู้ในชาติปัจจุบันนี้ ว่าชีวิตประจำวันของเราได้รับความสุขหรือความทุกข์ อย่างไหนมากกว่ากัน ดังนั้น การเจริญสติที่ทำให้ระลึกชาติได้แบบนี้บ่อยๆ สามารถจะทำให้เราเกิดความเบื่อหน่ายคลายจางในกายสังขาร และจิตสังขารนี้ได้เร็วขึ้นสามารถจะทำให้เราเกิด “นิพพิทาญาณ” ขึ้นได้ ถ้าเรามีความเข้าใจความจริงขั้นปรมัตถ์มากพอ

ฉะนั้น การตรัสรู้ของพระพุทธองค์จึงเป็นการระลึกชาติแบบวิปัสสนา เป็นการรู้ในสิ่งที่มนุษย์ทุกคนทำได้ ถ้ามีศรัทธาและความเพียรทำตามพระองค์สอนอย่างถูกต้อง เช่น การระลึกถึงปัจจุบันในขณะหนึ่งๆ ก็คือระลึกชาติได้ชาติหนึ่งๆ เช่นกัน แต่จะต่างกันเฉพาะระลึกได้ช่วงสั้นหรือยาว ต่างวัน ต่างเวลากันเท่านั้นเอง แต่เนื้อหามันไม่ได้ต่างกัน เพียงแต่ขยันระลึกรู้อยู่เรื่อยๆ หรือตามรู้กายรู้ใจแบบไม่ขาดสาย นี่คือการระลึกชาติแบบวิปัสสนา

การระลึกชาติแบบนี้ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณได้เร็ว ถ้าหากเราไม่เกิดวิปัสสนาญาณ ก็จะไม่เห็นทุกข์ที่กำลังเกิดขึ้น ไม่เห็นทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว และไม่เห็นทุกข์ที่จะเกิดขึ้นในขณะต่อไป เมื่อไม่เกิดปัญญาเห็นเช่นนี้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะเบื่อหน่ายภพชาติที่เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา เมื่อไม่เห็นทุกข์ตามความเป็นจริง ก็จะไม่รู้สึกเบื่อหน่ายชีวิต และจะติดอยู่กับความหลงเรื่อยไป ฉะนั้น สิ่งที่เราเรียกว่า ความสุข อีกมุมหนึ่งก็คือความทุกข์นั้นเอง ในแง่ของวิปัสสนาปัญญาแล้วสุขกับทุกข์มีค่าเท่ากัน เพราะล้วนแต่เป็นสภาพที่เกิดจากสังขารจิตปรุงแต่งทั้งนั้น ไม่ใช่ความจริงที่เที่ยงแท้ถาวรอะไรเลย

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เห็นเกิดในดับ เห็นดับในเกิด

เห็นอาการเกิดในอาการดับ
คือการเห็นอาการดับในอาการเกิด
หรือ จุตูปปาตญาณ

แปลว่า รู้อาการดับที่เกิดขึ้น
เป็นอาการดับที่ปรากฎอย่างชัดเจน
อาการสิ้นไป อาการขาดไป อาการสลายตัว
อาการหด อาการจืดจาง
ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว

เมื่ออาการนี้เกิดขึ้นแล้ว
มีผลทำให้”จิตเปลี่ยน”

อาการจิตเปลี่ยนอาจจะปรากฎหลายครั้งต่อเนื่องกัน
การประจักษ์แจ้งการเกิด-ดับ ก็คือ
การเกิดขึ้นของโลกุตตรจิต
และการดับไปของโลกียจิต
การเดินทางของโลกียจิต
มันมาถึงจุดสิ้นสุดด้วยอำนาจ
ของความเพียรที่อยู่ในเส้นทางอริยมรรค
“มัคคคสมังคี”
คือการทำงานกันอย่างพรั่งพร้อมพอดิบพอดี
ของมรรคทั้งแปด คืออริยมรรค
หลวงพ่อเทียนอุปมาอาการอันนี้ว่า
เหมือนเราเอาเชือกมัดติดเสาสองต้น
แล้วตัดตรงกลางมันเกิดการขาด
ต่อกันไม่ติดอีก

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ใจไปไวกว่าแสง

ถามมา:การเห็นความเกิดและดับ
ของความคิดนั้นคือ…
ตัวรู้ที่เข้าไปเห็นการเกิดและการดับ
ซึ่งมันใช้เวลาเพียงไม่ถึง 2 วินาทีเท่านั้น
ใช่มั๊ยเจ้าคะ

ตอบไป:ไม่ใช่ การเกิดดับของจิต
เห็นไม่ได้ด้วยการคิดและคาดคะเน
เหมือนการหลับตาและลืมตา
ไม่อาจนับเป็นวินาทีได้
แต่ผู้ได้บรรลุจุตูปปาตญาณทัศนะเท่านั้น
จะรู้เห็นได้
ซึ่งเร็วกว่าวินาทีด้วยซ้ำไ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เชือขาดต่อไม่ติด

เรารู้มันทั้งหมด เรารู้ด้วยการเฝ้าดูโดยปกติธรรมดา โดยไม่จำต้องพยายามหรือฝืน การรู้นี้เป็นสิ่งที่รวดเร็วมาก มันรวดเร็วยิ่งกว่าสายฟ้า ยิ่งกว่าไฟฟ้า และยิ่งกว่าสิ่งใดๆ การรู้เป็นสิ่งเดียวกับปัญญา เป็นสิ่งเดียวกับสติปัญญา สติและสมาธิและปัญญา ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเดียวกัน ปัญญารอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างจริงๆ แม้แต่ว่าเสียงที่แผ่วเบาที่สุดเกิดขึ้นเราก็รู้ เมื่อลมพัดมาถูกผิวหนังของเราเราก็รู้ ความคิดไม่ว่าจะเกิดในลักษณะอาการเช่นใดเราก็รู้ เมื่อความคิดอยู่ลึกปัญญาก็ลึกด้วย เมื่อความคิดว่องไวกิเลสก็ว่องไวและปัญญาก็ว่องไวด้วย ไม่ว่าความคิดจะเกิดโดยรวดเร็วเพียงใด ปัญญาจะรู้ความคิดนั้น

นี่คือสิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน) เมื่อไม่มีอวิชชา (การไม่รู้) สายโซ่ซึ่งยังให้เกิดทุกข์ก็ขาดสะบั้นลง เพราะการรู้เข้าไปแทนที่ เธออาจจะเคยได้ยินมาว่าพระพุทธเจ้าทรงตัดผมของพระองค์เพียงครั้งเดียว และผมของพระองค์ก็ไม่ขึ้นมาอีกเลย ข้อนี้เป็นปริศนาธรรม เมื่อผมถูกตัดออกไป มันไม่อาจจะกลับมาติดได้ดั่งเดิม ข้อนี้ฉันใด การตัดอวิชชาออกไปอย่างเด็ดขาด โดยที่มันไม่อาจจะหวนกลับมาได้อีก ก็เป็นฉันนั้น นี้คือกฎตายตัวของธรรมชาติ ดุจดั่งเชือกที่ขึงตึงไว้กับเสาสองต้น เมื่อเราตัดให้ขาดออกจากกันที่ตรงกลางก็ไม่อาจจะกลับเข้ามาผูกติดกันได้อีก เมื่อเราเห็นมาถึงจุดนี้เราจะรู้ว่า ภาวะเช่นนี้เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในคน แล้วทำไมมันจึงกลายเป็นเรื่องที่ยากเย็น มันไม่ใช่เป็นสิ่งที่ยากแต่ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ง่าย มันเป็นสิ่งที่ทั้งยากและง่าย
มีภาษิตบทหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย กล่าวไว้ว่า “คนจนมั่งมี เศรษฐีทุกข์ไส้” ทำไมจึงทุกข์ ทำไมจึงจน เศรษฐีนั้นรวยเฉพาะแต่ในเรื่องเงินทองเท่านั้น แต่ยากจนเพราะไม่เห็นธรรมชาติที่แท้จริงของตน ส่วนคนยากจนใดที่เห็นถึงกฎของธรรมชาติข้อนี้ ถือว่าเป็นผู้มั่งคั่งโดยแท้ เงินทองไม่อาจจะนำใครมาถึงจุดนี้ได้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนาเห็นการเกิดดับทางกายเป็นเหตุให้เห็นการเกิดดับทางใจ

ถามมา: หนูอ่านแล้วเข้าใจว่า
ทุกอย่างเกิดที่จิตค่ะ
ถ้าเห็นการเกิดที่จิต ก็จะเห็นการดับที่จิต
แล้วจิตนั้นจะว่างใช่ใหมคะ?

ตอบไป: ใช่ เหมือนการกระพริบตา
(หลับตา ลืมตา)
แทบไม่ต่างกันเลยหนู
ท่านจึงบอกว่าการเกิดและดับของจิต
เกิดขึ้นชั่วพริบตาเท่านั้น
การเกิดดับของจิตจึงมีความถี่ที่สูงสุด
จนเป็นทศนิยมไม่รู้จบ หรือ infinity
ดังนั้น ในภาคปฏิบัติท่านจึงแนะให้ดู
การเคลื่อนไหวของกาย
และเฝ้าดูอาการเกิดดับทางกายเป็นหลัก
ส่วนการรู้เห็นการเกิดดับนั้นเป็นผล
เราไม่อาจจะทำตรงนั้นได้
เพราะมันเป็นกฏตายตัว
ของธรรมชาติฝ่ายดับ
เมื่อเราตามดูฝ่ายเกิดได้ถูกต้อง
ฝ่ายดับไม่จำเป็นต้องดูก็ได้
เช่น เราหายใจเข้าไม่จำเป็นต้องบอก
ให้หายใจออกก็ได้
หลับตาแล้ว ไม่ต้องบอกให้ลืมก็ได้
ฉันใดก็ฉันนั้นแหละหนู

คุ้นเคยกับการเกิดดับทางกายให้ได้ก่อน

ญาณที่สอง เรียกว่าจุตูปปาตญาณ
เมื่อเราดูกายดูใจเป็น
เราจะเห็นกายมันหนัก กายมันเบา
กายมันสบายอย่างไร ไม่สบายอย่างไร

เห็นการเกิด
ปรากฏทั้งส่วนหนัก ส่วนเบา
เห็นอาการต่างๆ ของกาย
ที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตลอด

เดี๋ยวความสบายเกิดขึ้น
เดี๋ยวมันก็ตั้งอยู่ เดี๋ยวมันก็ดับไป

เดี๋ยวความไม่สบายเกิดขึ้น
เดี๋ยวมันก็ตั้งอยู่ เดี๋ยวมันก็ดับไป

เดี๋ยวความง่วงเกิดขึ้น
เดี๋ยวมันก็ตั้งอยู่ เดี๋ยวมันก็ดับไป
สลับกันอย่างนี้ ทั้งวัน

เดี๋ยวความเบื่อเกิดขึ้น
เดี๋ยวมันก็ตั้งอยู่ เดี๋ยวมันก็ดับไป

ไม่มีอะไรคงที่ ดับไปหมด
ทั้งวันที่ผ่านมา มีอาการง่วง
มีอาการเบื่อ เซ็ง ปวด เมื่อย
เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า มันก็ดับไป

ให้เราคุ้นกับการเกิดดับของกายอย่างนี้ก่อน
ต่อไปเราก็ดูลึกลงไปถึงอาการทางจิต

ต้นตอของทุกข์ (๑)

พระพุทธเจ้าทรงพบว่า มันมีการเกิด การดับ
แล้วถ้าตรงกลางเรามีสติ
การเกิดการดับก็ไม่เป็นไปเพื่อความทุกข์
แต่เป็นเพียงธรรมชาติอันหนึ่ง

พอมาเห็นตรงนี้ จึงเกิดญาณที่ ๒ ขึ้นมา
เรียกว่า จุตูปปาตญาณ
จุตู มาจากคำว่า จุติ แปลว่าดับ
อุปาทะ แปลว่า เกิด
เกิดญาณแห่งการเกิดและการดับ
ความเป็นพุทธะก็เกิด

ตอนแรกท่านอยากรู้ที่ไปที่มาของกาย
พอได้รู้ว่ากายมาจากรูปกับนาม
รูปกับนามมาจากการเกิด-ดับ
รูปเป็นการเกิด นามเป็นการดับ

พอท่านมาเห็นแล้วก็รู้ว่า
ถ้าเราไม่อยากให้การเกิด-ดับ
เป็นต้นตอของความทุกข์
แต่ให้การเกิด-ดับกลายเป็นไม่ทุกข์
ระหว่างกลางก็อย่าให้มันแปรปรวน
เพราะทุกข์แปลว่าแปรปรวน

แต่ความแปรปรวน(ทุกข์)ของรูป ห้ามไม่ได้
เช่น นั่งนานๆ ก็แปรปรวนแล้ว มันจะหนัก
พอเราเปลี่ยนแปลงปั๊บ ความแปรปรวนก็หายไป
เพราะฉะนั้น ตัวรูป เราไม่สามารถบังคับ
ไม่ให้เป็นทุกข์ได้เลย ทุกสิ่งที่เป็นรูป
ต้องเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ทั้งหมด
คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วนอยู่อย่างนี้

การกระทบจบแล้วแต่ความคิดยังไม่จบ

เห็นอาการเกิดดับทางจิต
เรียกว่า จุตูปปาตญาณ

เห็นการดับ และเห็นการเกิดขึ้น
ของความคิด และความไม่คิด

เห็นการเกิดขึ้นของความอยาก
และไม่อยาก

มันมีที่มาที่ไป เกิดขึ้นดับไป
แล้วแต่มันจะกระทบ

เมื่อเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในใจของเรา
มันไม่ได้มีอยู่ก่อน
มันเกิดขึ้นเมื่อมีการกระทบ
พอกระทบเสร็จ มันก็ดับ

เพราะการมีอยู่ของอวิชชา
ที่เราไม่รู้จัก
เราก็เลยไปสำคัญมั่นหมาย
สิ่งที่เกิดขึ้นว่ามีตัวตน

เหมือนระฆังใบนี้
เสียงยังไม่เกิด เพราะยังไม่มีการกระทบ
และยังไม่มีการดับ เพราะยังไม่มีการเกิด

แต่พอมีการเกิดขึ้นปั๊บ
(หลวงพ่อเคาะระฆัง)
การกระทบจบไปแล้ว
แต่เสียงที่เกิดขึ้นยังไม่ดับ

ความคิดของคน คิดแล้วก็จบ
บางเรื่องคิดแล้วไม่จบ
เพราะมีตัวตัณหา อุปาทาน

พอเห็นอย่างนี้แล้ว
ก็รู้วิธีการที่จะไม่ให้ความคิด
ที่เป็นตัณหา อุปาทานเกิด
จะทำอย่างไร?

ถึงเวลาคิดค่อยคิด

ให้พยายามระลึก
ใช้ความรู้สึกตัวบ่อยๆ
เพื่อให้จิตได้จำ

เราใช้ความคิดมา
ไม่รู้กี่ร้อยวันพันชาติแล้ว
มันก็เลยไปจำแต่เรื่องที่คิด

แต่พอเรามารู้สึกบ่อยๆ
อยู่กับมันนานๆ
ฝึกเฉพาะมานั่งอย่างนี้ไม่พอ
ต้องเวลาเราจะลุก จะนั่ง
จะย่าง จะเดิน
ฝึกให้มันรู้บ่อยๆ

บางคนบอกว่า
ไม่ได้คิดแล้วมันจะดีเหรอ
ก็ตอนนี้มันยังไม่ถึงเวลาคิด
จะไปคิดทำไม

ถึงเวลาคิด ค่อยคิด
มันจำเป็นค่อยคิด
ถ้าไม่จำเป็นต้องคิด
ก็มาอยู่กับความรู้สึกตัว

ความคิดทุกเรื่อง
มันไม่จำเป็นทุกเรื่อง
แต่ทำไมมันถึงต้องคิด
เพราะเราใช้มันบ่อย
มันก็เลยทิ้งไม่ลง

Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)