ยาถอนกิเลส

 

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ต้องเห็นไตรลักษณ์นับแสนครั้ง

เจริญสติปัฏฐานสี่
เจริญสติ สมาธิ ปัญญา บ่อยๆ
ก็จะเห็นความเป็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา ของรูปนาม
 
เมื่อเห็นบ่อยเข้าก็เกิดปัญญา
แต่ถ้าไม่เห็นบ่อยๆ ปัญญาก็ไม่เกิด
ต้องเป็นร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง
แสนครั้ง ปัญญาจึงจะเกิด
 
ก็ต้องดูบ่อยๆ
ดูตั้งแต่เช้าจรดเย็น ดูทุกวัน
 
หลวงพ่อเทียนจึงให้เข้าเก็บอารมณ์
เพื่อดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
 
เมื่อดูจนสุกงอม
ก็จะเกิดปัญญาสว่างโพล่งขึ้นมา
มันเห็นความจริง เกิดนิพพิทาวิราคะ
เกิดความเบื่อหน่ายคลายจาง
การยึดมั่นถือมั่น
 
ถ้ายังไม่เกิดปัญญา
เราทำเป็นไม่ยึดมั่นถือมั่นเฉยๆ
เป็นเพียงสมมติ
 
แต่ตัวยึดมั่นถือมั่น
มันจะหายไปไม่กลับมา
ต้องเกิดนิพพิทาญาณ นิพพิทาวิราคะ
 
เกิดความเหนื่อยหน่าย
ในสิ่งที่เราหลง
เหมือนกับเราไปกินของแสลง
ทำอย่างไรจึงจะสำรอกออกมาได้
เมื่อมันออกไปแล้วก็โล่งเลย
 
อาการของทุกข์ก็เหมือนกัน
ให้มันสำรอกออกมา
มันถึงจะเกิดความเหนื่อยหน่าย
 
ต่อมาก็เกิดการปล่อยวาง
ความยึดมั่นถือมั่น
จิตเราก็เป็นอิสระขึ้น
เห็นอะไรก็เฉยๆ ไม่อยากได้
 
เห็นสิ่งที่ชอบก็เฉยๆ
เห็นสิ่งที่ชังก็เฉยๆ
เพราะรู้ว่ามันมีพิษ
มันก็ไม่สะสมตัวอุปาทาน
 
สิ่งที่ดีทำให้เราเป็นทุกข์เพราะอัตตา
สิ่งที่ไม่ดีก็เป็นทุกข์
แต่จะสลัดได้เร็วกว่า
เพราะมันเป็นรากที่ลึก
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ที่ไหนมีรูป ที่นั่นต้องมีไตรลักษณ์

ให้สังเกตความรู้สึกต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในกายและใจตลอดเวลา
ว่ามันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
เราต้องอ่านให้ชัดว่า
ความรู้สึกสุขเป็นอย่างไร
ความรู้สึกทุกข์เป็นอย่างไร

เมื่อใดความรู้สึกต่างๆเกิดกับกาย
ให้รู้สึกเสมอว่า ร่างกายมันเป็นรูป
และความจริงของรูปทุกชนิด
มันจะเปลี่ยนแปลงอย่างนี้เสมอ
คือเปลี่ยนไปตามกฎไตรลักษณ์
ไม่เป็นไปอย่างอื่นเลย

ชาวพุทธเราต้องจดจำ
กฏของธรรมชาติอันนี้ให้ขึ้นใจทีเดียว
ท่านเรียกตามบาลีว่า
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ชาวพุทธทุกคนต้องจำให้ได้
แต่เราจะเข้าใจได้หรือไม่ว่า
กฎทั้งสามมันทำงานของมันอย่างไร

ที่ไหนมีรูป ที่นั้นต้องมีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ไม่ว่ารูปนั้นจะใหญ่หรือเล็ก
หยาบ ละเอียด ปราณีต ปานใดก็ตาม
ตกอยู่ภายใต้กฎนี้ทั้งหมด

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

รู้ไม่ทันไตรลักษณ์ กลายเป็นนามรูป

เมื่อเรานั่งลงใหม่ๆ
เรารู้สึกสบาย
 
พอนั่งไปนานๆ
ความรู้สึกสบายเริ่มหดหายไป
ความไม่สบายก็เริ่มเข้ามาแทนที่
แล้วความสบายเมื่อกี้หายไปไหน
 
เราก็เกิดสติทันทีว่า
ความสบายหรือไม่สบาย
ต่างก็เป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์
ไม่คงที่
มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
ตลอดเวลา
 
นี่พูดถึงความรู้สึกที่เป็นรูป
เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้
อุปาทานก็ทำงานไม่ได้
อกุศลธรรมต่างๆ ก็จืดจางไป
จิตสิกขาก็ทำงานไปเรื่อยๆ
 
ถ้าเราไม่มีการเจริญสติปัญญาแบบนี้
ความรู้สึกสบาย หรือไม่สบาย
มันไม่ใช่หยุดอยู่แค่รูปหรือกาย
มันจะไหลเข้าไปสู่จิตด้วย
 
ความไม่สบายกาย
ก็ทำให้ใจรู้สึกไม่สบายไปด้วย
มันจะแสดงตัวออกมาในรูปของ
ความรู้สึกหงุดหงิดรำคาญ
ซึ่งเรียกว่านามรูป
 
กฎธรรมชาติของไตรลักษณ์
ก็รุกตามเข้าไปถึงจิตอีก
 
เพราะกฎธรรมชาติอันนี้
มันทำหน้าที่ของมันตลอดเวลา
เราจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ติดอารมณ์ไตรลักษณ์

เมื่อสติกับจิตตามกันทัน

ความปรุงแต่งก็ลดลงเรื่อยๆ

มาถึงจุดนี้ ผู้ปฏิบัติบางท่าน
จะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย
ทุกสิ่งทุกอย่าง
อย่างไม่มีเหตุผล
เห็นความทุกข์ของร่างกาย
เบื่อตัวเองอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

ทำให้นักปฏิบัติไม่รู้เท่าทันอารมณ์นี้
อยากจะหนีไปไกลๆ ไม่อยากพบใคร
อยากอยู่คนเดียวเงียบๆ

การเกิดความเบื่อหน่ายเช่นนี้
เรียกว่า”ติดอารมณ์”
(ตามภาษาที่รู้กัน เข้าใจกัน
ในวิธีปฏิบัติแบบนี้)

พระพี่เลี้ยงหรือครูบาอาจารย์
ต้องสังเกตและแก้อารมณ์ให้กับผู้ปฏิบัติ
อาจจะพูดให้ฟัง
หรือให้เทคนิคการแก้อารมณ์
ตามแบบฉบับของท่าน

ถ้าอยู่ในสำนักปฏิบัติ
ท่านก็จะให้เข้าเก็บอารมณ์

การที่จิตมาเป็นอารมณ์เช่นนี้
เรียกว่าการปรากฎของ
อารมณ์ “ไตรลักษณ์”
คือ อาการของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ที่เป็นอาการจริงๆ สัมผัสจริงๆ
ชนิดผู้ปฏิบัติก็ไม่เฉลียวใจว่า
ตนเองเป็นอารมณ์แบบนี้
จนกว่ามันจะผ่านไปแล้ว

ไม่เหมือนกับบางวิธี
การเห็นไตรลักษณ์ต้องน้อมเอา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาพิจารณา

ซึ่งการทำเช่นนั้น
เป็นการสร้างจิตปรุงแต่ง
อีกแบบหนึ่ง เรียกว่า
“ปุญญาภิสังขาร”
คือการปรุงแต่งฝ่ายดี ฝ่ายบุญ

การปรุงแต่งจิตทุกรูปแบบ
ไม่ว่าฝ่ายดี ไม่ดี
หรือปรุงแต่งในเรื่อง
ศีล สมาธิ ปัญญา
ต้องสลัดทิ้งไปทันที
กำหนดรู้แต่ปัจจุบันก็พอ

เมื่อญาณปัญญามันถึงที่แล้ว
มันจะรู้เรื่องอะไร มันก็รู้ขึ้นเอง
โดยไม่ต้องเสียเวลาปรุงแต่งนึกคิด

เพราะนั่นไม่ใช่ลักษณะของ
ปัญญาญาณตามความเป็นจริง

Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)