มอบรักด้วยธรรม (๑)
** รู้จักกระแสชีวิตก่อนจะผ่อนคลาย **
จากการพิสูจน์ทดลอง อาตมาได้พบว่า คำสอนที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ และนำมาแสดงไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น เป็นสัจจธรรมที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนและไม่ซับซ้อนเลย คือพระองค์ตรัสเรื่องทางสามสาย คือ ๑.ทางสายหย่อน ที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค ๒.ทางสายตึง ที่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค และ ๓.ทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
ในทีนี้ อยากใช้ภาษาพูดเสียใหม่ว่า “กระแสของความรู้สึก” แทนคำว่า “ทาง” เพราะเห็นภาพความรู้สึกได้ชัดกว่า ความรู้สึกมันมีอยู่สามกระแส คือกระแสติดสุข หรือทางหย่อน กระแสติดทุกข์ หรือทางตึง และกระแสที่พอดี หรืออาจจะเรียกว่าทางสายกลาง และอาจเรียกชื่อต่างๆ กันไปเช่นว่า กระแสพอใจ(หย่อน) กระแสไม่พอใจ(ตึง) และกระแสพอดี (เป็นกลาง) กระแสบาป กระแสบุญ กระแสเหนือบุญเหนือบาป เป็นต้น ส่วนมากจิตของเราจะตกอยู่ในสามกระแสนี้เท่านั้น
แม้แต่พระพุทธองค์เอง ก่อนที่จะตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ จิตของพระองค์ก็ตกอยู่ในกระเสทั้งสามนี้ ที่ท่านเรียกว่า “กามสุขัลลิกานุโยค” คือกระแสพอใจ และ อัตตกิลมถานุโยค” คือกระแสไม่พอใจ แต่เมื่อท่านตรัสรู้แล้ว ท่านจึงค้นพบกระแสที่สาม ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง หรือกระแสที่เป็นกลาง เพราะก่อนหน้านั้นมีแต่กระแสสุดโต่งไปทางตามใจ หรือกามสุขัลลิกานุโยค กระแสสุดโต่งไปทางขัดใจ คือกระแสอัตตกิลมถานุโยค
ขณะที่เราทั้งหลายมานั่งตรงนี้ ประมาณเกือบชั่วโมงมาแล้ว จะเห็นความจริงข้อนี้ได้โดยไม่ยาก เพราะทราบว่าท่านทั้งหลายมานั่งรออยู่นานพอสมควรแล้ว ท่านทั้งหลายลองสำรวจลงไปในความรู้สึกของตัวเองให้ดีๆ จะเห็นว่าบางท่านบางคนอาจจะรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องนั่งรอคอยนาน บางคนอาจจะรู้สึกเหนื่อยใจและเบื่อ แต่บางคนอาจจะรู้สึกยังสบายใจอยู่ แต่ละคนจะมีความรู้สึกผิดแผกแตกต่างกันไป ตามกระแสของความรู้สึกทั้งสามที่กล่าวมา
สำหรับคน ที่ฝึกสติจนชำนาญแล้ว อาจถือเอาการรอคอยเป็นการทำสมาธิไปในตัว แต่สำหรับคนที่ไม่เคยฝึกเจริญสติมาก่อน การรอคอยอาจจะเป็นเวลาที่ทุกข์ทรมานแม้จะเป็นเวลาที่สั้นๆก็เหมือนกับเป็นเวลาที่ยาวนาน
มอบรักด้วยธรรม (๒)
** กระแสเวทนามิใช่กระแสสติ **
ดังนั้นเอง เรื่องของความรู้สึกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับคนที่ยังไม่ได้ฝึกฝนจิตใจ หรือฝึกมาบ้างแต่ยังไม่ถึงที่ ความรู้สึกระดับนี้เรียกว่า “เวทนา” อาตมาได้ทดลองศึกษาเรื่องเวทนาดูหลายๆขั้นตอน และพยายามศึกษาสังเกตโดยแยบคายทุกครั้ง เมื่อมีโอกาสปฏิบัติตามรูปแบบ โดยเฉพาะเวลาเจริญสติในอิริยาบถนั่ง เมื่อจิตเรายังไม่สงบ เราจะถูกทุกขเวทนาบีบคั้น เราจะผุดลุกผุดนั่ง เปลี่ยนแปลงอิริยาบถอยู่บ่อยๆ เดี๋ยวพลิกตรงนั้น เดี๋ยวเปลี่ยนตรงนี้ไปเรื่อยๆ
เพราะจิตกับกายของเรายังไม่เกิดการประสานกลมกลืนกันอย่างสนิท มันจะไปเบียดเบียนซึ่งกันและกัน กายรู้สึกทุกข์อย่างไร ใจก็เป็นอย่างนั้น กายเจ็บใจก็เจ็บ กายปวดใจก็ปวด กายเหนื่อยใจก็เหนื่อยไปด้วย ทั้งกายและใจก็เลยดิ้นไปตามกระแสเวทนา เพราะกายกับใจยังตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกระแสเวทนา เมื่อกระแสสติยังไม่ต่อเนื่องก็ยังไม่เกิดปัญญาญาณในการแยกรูปแยกนามออกจากกันได้
ดังนั้นการเจริญสติ สมาธิแบบที่เราทำกันมา บางแห่งก็ใช้หลักของการทำลมหายใจ บางแห่งก็ใช้หลักของการบริกรรม บางแห่งก็ใช้หลักของการแพ่งนิมิตพิจารณารูปนาม บางแห่งก็ใช้หลักของการเคลื่อนไหว ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงนั้นเป็นการศึกษากระแสของจิตนั่นเอง ส่วนมากเราจะศึกษากันแค่สองกระแสเท่านั้น คือกระแสตามใจ และกระแสขัดใจ ต่างก็เป็นการปรุงแต่งทั้งสองกระแส คือกระแสที่ปรุงแต่งกับไม่ปรุงแต่ง กระแสที่คิดกับไม่คิดเท่านั้น
นักบวชที่ชอบปฏิบัติในสมัยนั้นเขาเรียกว่า เจริญฌานหรือนักเพ่ง เขาเห็นว่า การหยุดความคิด เป็นทางแห่งความสุข เป็นทางแห่งการหลุดพ้น เขาก็เลยเข้ามาฝึกฝนปฏิบัติตัดกระแสของความคิด ไม่คิดไม่ปรุงแต่งได้เหมือนกัน พยายามหยุดความคิดโดยการเพ่งจิตอยู่กับนิมิตอันใดอันหนึ่ง จนจิตทำงาน จิตก็สงบได้เหมือนกัน เขาเรียกว่าเป็นพราหมณ์ นักบวชกลุ่มนี้มุ่งเข้าถึงความเป็นพรหม โดยเข้าใจว่านั้นคือนิพพาน แต่พระพุทธองค์พิสูจน์แล้วว่า ไม่ใช่นิพพานแน่นอน เพราะพระองค์เคยทำมาหมดแล้ว
มอบรักด้วยธรรม (๓)
** พุทธศาสนาไม่ติดทั้งสองกระแ ส **
ตามหลักของวิปัสสนาในพุทธศา
ในที่สุดพระองค์ทรงค้นพบอีกระแสหนึ่
เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้
มอบรักด้วยธรรม (๔)
** พลาดทางตรงหลงทางอ้อม **
เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบกระแสที่สามที่เรีย
แต่ในกระแสพุทธนั้น ไม่ได้มุ่งความสงบหรือไม่สง
ในช่วงที่อาตมาเข้ามาฝึกปฏิ
พอเช้าขึ้นมา เอาเรื่องนี้มารายงานให้หลว
มอบรักด้วยธรรม (๕)
** ถ้าจิตเสพติดความสงบไปนานๆ อาจพิการทางวิญญาณได้ **
หลวงพ่อท่านจึงห้ามไม่ให้ปฏ
การบังคับจิตให้สงบ หรือสะกดด้วยพลังสมาธิแบบเพ
แม้อาตมาเอง เมื่อเข้ามาศึกษาวิธีปฏิบัต
มอบรักด้วยธรรม (๖)
** คนติดสงบรับวิธีนี้ได้ยาก **
ในสมัยนั้น เข้ามาปฏิบัติที่วัดสนามใน ประมาณปี ๒๕๑๙ อาตมายังทำแบบเคลื่อนไหวไม่
แต่การทำแบบเคลื่อนไหว ท่านให้นั่งปกติธรรมดา นั่งแบบไหนก็ได้ ยกมือเคลื่อนไหวเป็นจังหวะๆ
สมัยนั้น เป็นช่วงที่อาตมากำลังศึกษา
ท่านไม่เคยพูดเล่นๆหัวๆกับใ
มอบรักด้วยธรรม (๗)
** แรงบันดาลใจให้ยกมือ**
อาตมาเอง สมัยนั้นถือว่าประสบความทุก
ตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ จนมาถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังยกมือปฏิบัติแบบนี้ตลอ
อาตมาอยากบอกทุกคนว่า การยกมือเป็นเรื่องมหัศจรรย
มอบรักด้วยธรรม (๘)
** ลมหายใจทำให้ใจหาย **
เมื่อเข้าใจปรัชญาและแนวคิดของการภาวนาแบบนี้ได้ชัดเจนแล้ว ก็ทำด้วยความเข้าใจที่เรียกว่า “สัมมาทิฐิ” แต่ถึงกระนั้น จิตมันก็ยังโหยหาความสงบแบบสมถะอยู่นะ เพราะมันเสพติดมานาน แรกๆ ยอมรับว่าฝืนมากทีเดียว แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้อ มีกัลยาณมิตรคือ หลวงพ่อเทียน ที่เราสามารถเข้าถึงตัวและปรึกษา แก้ไขข้อข้องใจได้ตลอดเวลา
เมื่อทนทำเป็นก็เริ่มเข้าใจ และเห็นประโยชน์อานิสงส์ของการปฏิบัติแบบนี้ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งเมื่อทำไปได้อารมณ์กรรมฐานชัดๆ ทำให้ทำความเพียรได้สนุกสนานมาก สามารถทำได้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้สึกเบื่อเลย เพราะว่าสมัยเมื่อทำความเพียร ด้วยการตามลมหายใจ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะรักษาให้จิตมันเกาะติดอยู่กับลมหายใจอย่างต่อเนื่อง เพราะลมหายใจมันแสนจะบอบบางแค่ไหน และมองไม่เห็นตัวด้วย มันง่ายมากที่ความคิดปรุงแต่งจะไหลลื่นเข้ามาอย่างง่ายดาย และถ้าไม่ได้สมาธิยิ่งนั่งไปนานยิ่งน่าเบื่อและทุกข์ทรมาน แทนที่จะสนุกกลับเป็นสิ่งที่น่าเบื่อและน่ากลัว
เมื่อความคิดปรากฏเกิดขึ้นปั๊บ สติก็หลุดปุ๊บทันที เพราะลมหายใจมันบางเบามากจริงๆ ฉะนั้นสติที่ไปจับลมหายใจ มันแผ่วเบาเหลือเกิน พอไปนึกคิดอะไรปั๊บ สติก็ลืมลมหายใจ ใจก็หายไปพร้อมกับสติ แต่ความรู้สึกตัวที่เกิดจากการเคลื่อนไหวมือ มันชัดเจนเข้มแข็งมาก มันสามารถทำต่อเนื่องได้ยาวนานเป็นวันๆ และสามารถสร้างตัวปัญญาญาณ ผู้รู้ ผู้สังเกตได้อย่างชัดเจนมาก แต่การกำหนดลมหายใจ นานที่สุดไม่เกิน ๓ ชั่วโมง ประมาณ ๓ ชั่วโมง ตะคริวจับทั้งตัวแล้ว จิตก็นิ่งหลับดับดิ่งไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ และปัญญาญาณที่เกิดก็ไม่เข้มแข็ง จึงจัดการนิวรณ์ไม่ได้เด็ดขาด
มอบรักด้วยธรรม (๙)
** ความต่อเนื่องที่เป็นไปได้ **
ตามหลักการเจริญสติปัฏฐาน ๔ พระพุทธองค์ทรงรับรองว่า ผู้ใดก็ตามเจริญสติปัฏฐานอย
เมื่อมาพบกับการปฏิบัติแบบเ
มอบรักด้วยธรรม (๑๐)
** เก็บอารมณ์ครั้งแรก **
ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ ได้อยู่จำพรรษากับหลวงพ่อคำ
เมื่อท่านเตือนตรงๆอย่างนี้
๑. นั่งพับเพียบซ้าย
๒. นั่งพับเพียบขวา
๓. นั่งเทพธิดา (นั่งทับส้น)
๔. นั่งเทพบุตร (นั่งคุกเข่า)
๕. นั่งขัดสมาธิ ชั้นเดียว (นั่งขัดสมาธิทั่วไป)
๖. นั่งสมาธิสองชั้น (นั่งสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย)
๗. นั่งสมาธิสามชั้น หรือปัทมาสนะ คือท่าดอกบัวหงาย (นั่งแบบท่าที่หก แต่ยกเท้าซ้ายมาวางบนเท้าขว
๘. นั่งเหยียดขากับพื้น
๙. นั่งเก้าอี้ (นั่งหลังตรง หรือพิงก็ได้)
๑๐. นั่งยองๆ (หรือนั่งด้วยปลายเท้า สำหรับแก้ง่วง)
๑๑. นั่งพลิกเท้าออกทั้งสองข้าง
๑๒. ท่ายืนด้วยเข่า คือนั่งคุกเข่าแล้วเหยียดตั
๑๓. ท่ายืนสร้างจังหวะ และใช้ท่านอนแทนก็ได้
๑๔. ท่าเดินจงกรม (ท่าเดินก็สามารถแยกย่อยได้
การเข้าเก็บอารมณ์ครั้งนั้น
เพราะฉะนั้นการทำแบบต่อเนื่
มอบรักด้วยธรรม (๑๑)
** ถ้าจิตทำงานเหมือนนาฬิกา ขันธ์ห้าเหมือนเฟืองนาฬิกา **
เพราะจิตของเรานี้ มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน
ความคิดแต่ละครั้ง เป็นผลรวมของทุกขันธ์ที่ทำง
ดังนั้น การเจริญสติทำให้เราเกิดญาณ
ในขณะที่เราคิด เราเคยเห็นความคิดของตัวเอง
มอบรักด้วยธรรม (๑๒)
** ชาวตะวันตกกำลังสนใจวิปัสสน าในเชิงวิทยาศาสตร์ **
ในปัจจุบันทางยุโรป อเมริกาเกิดปรากฎการณ์ใหม่ข
ดังนั้น เวลาอาตมากลับไปอเมริกาแต่ล
ดังนั้นจึงมีผู้มีจิตศรัทธา
มอบรักด้วยธรรม (๑๓)
** การเคลื่อนไหวเป็นเพียงสื่อ นำ **
การเจริญสติแบบหลวงพ่อเทียน
เมื่อจิตได้รับกำลังสัมมาสต
การภาวนาแบบนี้ไม่จำเป็นต้อ
มอบรักด้วยธรรม (๑๔)
** เจริญสติเพื่อเพิ่มพลังปัญญาให้รู้เท่าทันจิต **
เมื่อถามว่า เรื่องการเน้นความรู้สึกตัวนี้เป็นของใหม่หรือเปล่า? ก็ไม่ใช่ เพราะความรู้สึกตัวมันมีมากับคนทุกคนตั้งแต่เกิด แต่มันไม่มีกำลัง หรือไม่มี energy คือไม่มีความรวดเร็วพอที่จะเท่าทันความคิด ความคิดปรุงแต่งที่เกิดขึ้นความคิดนั้นก็ดึงดูดเอาความรู้สึกตัวไปเป็นทาสแห่งกิเลสหมด สติสัมปชัญญะที่เราทีอยู่ตามธรรมชาติก็ถูกดึงไปรับใช้อวิชชาตัณหาตลอดเวลา สติที่ประกอบด้วยวิชชาและปัญญาแทบไม่มีโอกาสได้เกิดเลย แล้วจะเอากำลังปัญญาที่ไหนมาจัดการกิเลสกันล่ะ?
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติกรรมฐานของพุทธศาสนาแบบไทยๆ ชอบใช้แต่อำนาจของสมถะบังคับจิต สะกดจิต ข่มจิตอยู่อย่างนี้เพราะทำได้ง่ายกว่า เร็วกว่า แต่ระยะยาวแล้วสมถะก็ไปไม่รอด เพราะกิเลสที่ถูกกลมเกลื่อนและกดทับเอาไว้ มันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นวิปัสสนาจะเจริญได้อย่างไร คิดเรื่องนี้ให้ดี วิปัสสนาปัญญาของพุทธศาสนาในประเทศไทยจึงไปไม่ถึงไหนเพราะเราใช้อำนาจสมถะแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามาตลอดและพากันหลงคิดว่า เราใช้วิปัสสนาปัญญา หรือปัญญาญาณ เอาเรื่องนี้ไปไตร่ตรองให้ดี ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยก็ได้
มอบรักด้วยธรรม (๑๕)
** การเกิดดับที่สัมผัสได้ **
ดังได้กล่าวมาแต่แรกแล้วว่า ความคิดมี 2 กระแส คือ กระแสเกิดกับกระแสดับ กระแสเกิด เรียกว่า “กระแสสมุทัยจิต” คือความคิดที่ขาดสัมมาปัญญาเข้าไปรู้ทัน มันก็พัฒนาตัวเป็นความอยาก เรียกว่า “สมุทัยสัจจ์”
ส่วนความคิดที่เป็นสัมมาปัญญา สติเข้าไปรู้ เรียกว่า “นิโรธสัจจ์” คือเป็นความคิดที่มีสติกำหนดรู้ จะเปลี่ยนเป็นสัมมาปัญญาทันที ปัญญาตัวนี้มันจะช่วยจิตให้คิดเฉพาะเรื่อง และคิดแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น เช่นนั่งตรงนี้ รู้สึกปวดหนักปวดเบา มันก็จะคิดว่าห้องน้ำอยู่ตรงไหน กำหนดรู้แล้วลุกไปอย่างรู้ตัว แล้วก็จบ มันไม่ได้คิดอะไรต่อไป เพียงแต่ประคองสัมปชัญญะให้รู้ตัวทั่วพร้อมขณะที่เดินไปหาเป้าหมายเท่านั้น
ฉะนั้นความคิดที่เป็นกระแสดับ จึงเป็นความคิดที่ประกอบด้วย สัมมาปัญญา เป็นความคิดที่สอดคล้องกับ ความเป็นจริง ทำแล้วก็จบ มันไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น หมดหน้าที่แค่นั้น นี้เรียกว่าความคิดที่เป็นกระแสดับ คือดับสังขารจิต ปัญญาญาณจะเข้าไปทำงานแทนที่ความคิดผู้ปฏิบัติต้องฝึกฝนอาการรู้ชนิดนี้ให้ชำนิชำนาญ จนเป็นวสี จิตก็จะสัมผัสปรมัตถ์ถี่ขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดมัคคสมังคีคือการรวมลงของกระแสรู้ และประจักษ์แจ้งการเกิด-ดับของจิตในที่สุด ตรงนี้ ผู้ปฏิบัติต้องไปทำให้ถูก จะไปคิดคำนวณเอาไม่ได้เด็ดขาด
จิตที่สัมผัสการเกิดดับตามความเป็นจริงแล้ว จะทำหน้าที่คอยสนองตอบต่อความต้องการที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นในเวลานั้นๆ เราจึงเรียกความรู้ชนิดนี้ว่า “ปัญญาญาณ” หรือ วิปัสสนาญาณ หรือจะเรียกว่า ยถาภูตญาณ ก็ได้ เป็นความรู้ที่เกิดจากการเจริญสติปัฏฐานสี่อย่างถูกต้องเท่านั้น
มอบรักด้วยธรรม (๑๖)
** ความรู้ขั้นพื้นฐานที่ชาวพุทธต้องรู้ก่อน **
สมุทัย คือความคิดประกอบด้วยตัณหาสาม สมุทัยคืออะไร? สมุทัย คือความคิดที่มากับความอยาก อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
สมุทัยมีกี่อย่าง? (ถามผู้ฟัง)
ผู้ฟัง “มีสามอย่างเจ้าข้า”
ถาม “มีอะไรบ้าง”
ผู้ฟัง “กามตัณหา คือความใคร่อยากได้ตามความคิด; ภวตัณหา คือได้มาแล้วคิดอยากครอบครองไว้นานๆ ; วิภวตัณหา คือ คิดเบื่อหน่ายในสิ่งที่ไม่ถูกใจไม่สมใจ”
ถาม “ความคิดแบบไม่อยากได้ เป็นตัณหาด้วยหรือ?”
ผู้ฟัง “ความคิดไม่อยาก ก็เป็นอยากชนิดหนึ่ง คือไม่อยากได้สิ่งนี้ คนนี้ แต่ก็ยังอยากได้สิ่งอื่น คนอื่นที่ตนชอบ ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อยู่ดี”
คนนี้เหมาะสมที่เป็นชาวพุทธ ชาวพุทธจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของพุทธศาสนาให้แน่นอนก่อนว่าสมุทัยคืออะไรและมีกี่อย่าง ถ้าตอบได้อย่างนี้ ก็สอบผ่าน เพราะถ้าเป็นชาวพุทธที่แท้ ต้องรู้จักศาสนาของตนเองให้ดีก่อน ก่อนที่จะไปสอนผู้อื่น แต่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ แต่ชอบไปสอนคนอื่น ทั้งๆที่ตนเองก็ยังใช้ชีวิตที่ผิดศีลผิดธรรมกันอยู่
ถ้าหากเขาไม่ผ่านกฎหมายให้ ก็สมควรแล้วที่เขาไม่บัญญัติเข้าไป ก็เดือดร้อนถึงพระที่ต้องออกไปเดินขบวน เพื่อช่วยโยมอีก พระก็อุตส่าห์ไปนั่งอดข้าวอดน้ำกัน แต่พอมาสอบความรู้ชาวพุทธจริงๆ แล้ว ปรากฏว่า พระก็ยังตอบไม่ได้ว่า สมุทัยคืออะไร
มอบรักด้วยธรรม (๑๗)
** ความอยากดีที่ขาดปัญญา นำมาซึ่งความทุกข์ **
(ถามผู้ฟัง) “เราอยากมาฟังธรรม รักษาศีล เจริญภาวนา ถือว่าเป็นตัณหามั๊ย”
ตอบ “ไม่เป็นตัณหาขอรับ”
ถ้าเราอยากด้วยสติปัญญา มีคุณประโยชน์ มีเหตุมีผล เราเรียกว่าศรัทธา ถ้าความอยากที่ขาดสติปัญญา แม้จะเป็นความอยากในทางดี ก็ยังเป็นตัณหาอยู่ เพราะความอยากดีที่ขาดปัญญา ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้มากเหมือนกัน คนทุกวันนี้เป็นทุกข์เพราะอยากดีมีมากกว่าทุกข์เพราะอยากชั่ว ที่จริงแล้วไม่ค่อยมีใครอยากจะชั่วกันหรอก แต่เพราะอยากดีไม่มีปัญญานั้นแหละ ความดีแบบนั้นจึงทำให้เกิดทุกข์
ตัวอย่างเช่น ความรักลูก รักสามีภรรยา รักพ่อแม่ รักพี่น้องเป็นสิ่งที่ดีใช่มั๊ย? แต่ทำไมคนส่วนมากจึงมีทุกข์เพราะมีลูก มีภรรยาสามี มีพ่อแม่กันละ? มักจะมีการทะเลาะเบาะแว้งขัดแย้งถกเถียงกันโดยทั่วไป ก็เพราะความอยากดีที่สติขาดปัญญามิใช่หรือ? เราอยากให้เขาดีได้อย่างใจเรา ทั้งๆที่เราก็ยังทำดีตามที่เราอยากดีไม่ได้ซึ่งมันเป็นเรื่องแปลกแต่จริงของคนทั่วไป
มอบรักด้วยธรรม (๑๘)
** ศึกษากฎสัจจธรรมจากของจริง **
อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่นวันนี้อยากจะมาฟังการบรรยายธรรม เพราะมีพระอาจารย์มาจากอเมริกา แต่ความจริงตอนนี้มาอยู่ที่วัดถ้ำแสงเทียน อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ มาจากอเมริกาหลายเดือนแล้วนะ แต่จริงๆแล้วอาตมาเป็นเพียงพระป่าพระเถื่อนเท่านั้น นี่ก็เพิ่งลงมาจากถ้ำ ซึ่งตั้งอยู่บนวัดถ้ำแสงเทียนนั่นเอง ไปอยู่เก็บอารมณ์เข้ม เป็นการให้ของขวัญแก่ตัวเอง เพื่อไปตรวจสอบตัวเอง ทบทวนตัวเองไปชำระอาบัติให้ตัวเองได้สิบกว่าวัน แต่รู้สึกว่าเวลาน้อยเกินไป เพราะอยู่ในพรรษา ต้องสัตตาหะไปเป็นคราวๆ กลับมาคราวนี้ทั้งผอมทั้งดำเลย เพราะฉันข้าววันละนิด ดื่มน้ำวันละหน่อย เป็นน้ำที่หยดมาจากหินในถ้ำ เอากระป๋องไปรองเอาไว้ วันไหนมันเต็มก็ได้อาบ วันไหนไม่เต็มก็อดอาบ อดกินไปวันหนึ่ง อาตมาก็มีเวลาเก็บเงียบตัวเองปีละครั้ง บางปีก็ได้เป็นเดือน บางปีก็ได้สองอาทิตย์ มาคราวนี้มีเวลาพักแค่สิบวันเท่านั้นเอง
ในช่วงที่อาตมาเก็บอารมณ์เข้มที่นั่นสิบวัน ก็ได้ทบทวนพิจารณาจนได้เห็นกระแสของการเกิด-ดับของความอยาก ขณะนั่งไปสิบนาทีแรก มันก็อยากแล้ว คืออยากจะพลิกแล้ว เพราะกายมันบอกว่าปวดขา พอตั้งสติได้ จิตก็เริ่มทวนกระแสความอยากทันที จิตก็อ่านความรู้สึกอยากอย่างชัดเจน จิตก็ต่อรองว่า
“ถ้าไม่พลิก จะเกิดอะไรขึ้นละ?” กิเลสมันก็สวนกลับทันทีเหมือนกัน บอกว่า
“ถ้าไม่พลิกฉันก็จะบีบขาให้แกปวดมากขึ้นเรื่อยๆอะไรจะเกิดขึ้นก็ให้ดูต่อไปสิ?”
ปัญญาญาณ เริ่มตั้งข้อสังเกตขึ้นมาทันทีว่า กายปวด หรือใจปวด สติคอยชี้เป้า ปัญญาก็เริ่มทำงานอย่างระมัดระวัง คอยกำหนดรู้เฝ้าดูไปอย่างอดทน และคอยถามตัวเองไปเรื่อยๆว่า “ฉันปวดหรือขาปวด ถ้าใจปวดด้วย จะไม่ยอมพลิกให้เด็ดขาด เป็นไรเป็นกัน” มันเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างพุทธจิตกับมารจิต และเป็นครั้งแรกของรอบนี้ ที่พุทธจิตมีกำลังอย่างรวดเร็วและกล้าต่อกรกับมารจิตอย่างแข็งกร้าว
สติก็เฝ้าดูลึกเข้าไปเรื่อยๆ ผ่าน ๒๐ นาทีไม่พลิก ๓๐ นาทีก็ไม่พลิก ชั่วโมงหนึ่งก็ไม่พลิก ดูมันต่อสู้กันขนาดหนักเลยนะ ระหว่างกระแสอยากที่ต้องการจะเปลี่ยน กับกระแสสติที่ต้องการเฝ้าดูความจริงที่กำลังเกิด
ก็เริ่มค้นพบว่า กระแสของตัวรู้เฉยๆ คือกระแสพุทธจิต มันมีอยู่แล้ว แต่เวลาทำหน้าที่ เขาจะใช้ปัญญาญาณทำหน้าที่แทน เขาจะคอยบอกเราว่า “สิ่งใดไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เป็นอนิจจัง สิ่งนั้นก็ต้องทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สิ่งนั้นก็เป็นทุกขัง สิ่งใดเป็นทุกข์เราก็ไม่อาจบังคับสิ่งนั้นให้เป็นไปตามความอยากความต้องการของเรา มันก็เป็นอนัตตา นี้เป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดาของสังขารธรรมทั้งหลาย มันจะเป็นอย่างนี้ของมันตลอดไป ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สรรพสังขารทั้งหลายตั้งอยู่ภายใต้กฎอันนี้เท่านั้น แม้แต่ความคิดที่เป็นสังขารก็อยู่ในกฎอันนี้เช่นกัน
มอบรักด้วยธรรม (๑๙)
** ไม่ทวนกระแสไม่เห็นสัจจธรรม **
ความคิดใดที่ขาดสติกำหนดรู้
วันนั้น อาตมานั่งเฝ้าดูความจริงอยู
มอบรักด้วยธรรม (๒๐)
** อัตตาอยู่ได้เพราะอาศัยความอยาก **
ในฝ่ายรูป มันก็ปรุงเป็นเจ็บปวด พอถึงที่สุดแล้วก็หายไป สักพักหนึ่งก็ปวดใหม่ เกิดสลับกันอยู่อย่างนี้ ในที่สุดก็ประจักษ์แจ้งในความจริงว่า อัตตานี้เป็นที่ตั้งของความอยาก อัตตาต้องการอย่างไร ความอยากก็คอยตอบสนองไปเรื่อยๆ ถ้าเอาชนะความอยากได้ ไม่ทำตามความอยาก ความอยากก็ดับไป พออัตตาไม่ได้ความอยากเป็นอาหาร อัตตาก็ต้องตาย พออัตตาตาย กิเลสก็ไม่มีที่อาศัย เหตุของทุกข์ก็ไม่มีที่เกิดก็แค่นี้เอง อันนี้คือการทำงานของปัญญาญาณ
ก่อนเข้าเก็บอารมณ์ครั้งนี้ อาตมาได้ตั้งปณิธานกับตัวเองอย่างเด็ดเดี่ยวว่า “ถ้าอัตตาไม่ตาย กูก็ต้องตาย ถ้ากูไม่ตาย อัตตาก็ต้องตาย เราคงอยู่กันไม่ได้แล้ว” จากนั้นก็เริ่มสังเกตเฝ้าดูการปลอมแปลงของอัตตา มันจะดิ้นต่อสู้ของมันไปทุกๆรูปแบบ เพื่อความอยู่รอดของมัน แต่มันเป็นการต่อสู้และชิงไหวชิงพริบที่โหดร้ายมาก ระหว่างความแหลมคมของปัญญาญาณ และ ความเจ้าเล่ห์ของอัตตา มันเป็นเหมือนศัตรูที่ไล่ล่ากันอย่างสาหัสสากรรจ์ ยิ่งกว่าการต่อสู้ในสนามรบ
เย็นวันนั้น หลักจากการต่อสู้กันระหว่างอัตตากับปัญญาญาณจบลง ก็รู้สึกโล่งโปร่งเบาสบายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิต ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา นั่งปฏิบัติภาวนา ไม่รู้สึกปวดเมื่อยอีกเลย นั่นนานเท่าไหร่ก็ได้ เหมือนกับว่าใจเราทะลุความปวดระดับต่างๆไปแล้ว ร่างกายก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน คือปวดบ้างหายบ้างไปตามกฎของสังขาร เพียงแต่เจ้าอัตตาไม่เข้ามาอ้างตัวว่าเป็นเจ้าของๆรูปนามนี้ต่อไปเท่านั้นเอง
มอบรักด้วยธรรม (๒๑)
ความอยากเป็นอาหารของอัตตาไ ด้อย่างไร **
การเก็บอารมณ์เข้มครั้งนี้ จึงประจักษ์แจ้งว่า ความอยากคือตัณหา โดยรากลึกๆแล้ว มันเป็นต้นเหตุให้เกิดอัตตา
มอบรักด้วยธรรม (๒๒)
** ความขัดใจ เป็นอาหารเผ็ดร้อนของอัตตา **
ความโกรธก็เช่นเดียวกัน รากเหง้าของความโกรธก็มีต้น
เช่น กินอาหารไม่อร่อย ไม่ถูกปากก็ไม่พอใจ รถติดก็ไม่พอใจ คนพูดไม่ถูกหูก็ไม่พอใจ เรียกเขาไม่ขานตอบก็ไม่พอใจ คนเขานินทาก็ไม่พอใจ เข้าห้องน้ำห้องส้วมไม่สะอา
ดูสิ !!! สารพัดเรื่องที่จะทำให้เราข
มอบรักด้วยธรรม (๒๓)
** ความรู้สึกตัวเท่านั้นที่จะถอดรหัสอัตตาได้ **
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่เราจะต้องถอดรหัสอัตตาให้สำเร็จ ก่อนที่มันจะพาเราไปตกนรกในภพชาติต่อๆไป ไม่มีที่สิ้นสุด ถึงตอนนั้น เราก็ไปนอนรับวิบากกรรมในอบายภูมิอย่างเดียว แก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ตอนนี้เรายังมีโอกาส วิธีแก้คือ สร้างตัวรู้สึกอย่างต่อเนื่อง เรารู้ตัวรู้สึกจากการเคลื่อนไหว คือเรียนรู้การเจริญสติปัฏฐานแบบหลวงพ่อเทียน แต่หลายคนก็เริ่มปฏิบัติแล้วล่ะ หลายคนก็เพิ่งมาใหม่ใช่มั๊ย? สร้างจังหวะมือแบบที่สาธิตไปแล้วนั่นแหละ ขยันทำบ่อยๆตอนแรกๆก็ฝืนใจหน่อยเป็นธรรมดา ของดีๆไม่มีใครได้มาง่ายๆหรอก สำหรับบางคนได้ทำทางอื่นมา รับแบบนี้ไม่ได้ ก็ไม่ว่ากัน แต่บางคนเป็นนักพิสูจน์ทดลอง รูปแบบไหนไม่สำคัญ ขอให้มันออกจากทุกข์เป็นใช่ได้ทั้งนั้น คนแบบนี้ต่างหากที่จะรับวิธีนี้ได้
มอบรักด้วยธรรม (๒๔)
** สติสัมปชัญญะ คือภาชนะที่สะอาด **
ความรู้สึกตัวแบบนี้ หลวงพ่อเทียนเรียกว่า ตัวรู้สึกซื่อๆ ตัวรู้สึกซื่อๆใสๆมันเปรียบเสมือนน้ำฝนใสๆ ที่ตกลงมาแล้วเราเอาภาชนะที่สะอาดๆรองเอาไว้ จะนำไปดื่ม อาบ ทำอะไรก็ได้ จะทำเป็นน้ำเย็น น้ำร้อนก็ได้ ใช้ได้ตลอดเวลา แต่ถ้าฝนตกไปถูกดินสกปรกเข้าเมื่อไหร่ล่ะก็ น้ำนั้นไม่อาจเรียกว่าน้ำฝนอีกต่อไปฉันใด ใจที่มีสติสัมปชัญญะของเราก็เป็นเหมือนภาชนะสะอาด ความรู้สึกที่มากระทบอายตนะทั้งหก เปรียบเสมือนน้ำฝนที่ตกลงมาในภาชนะนั้น การนำน้ำฝนไปใช้ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ก็คือ ปัญญาญาณ นั้นเอง มันเป็นปรมัตถธรรม อันเป็นทางแห่งมรรคผลที่แน่นอน
แต่ถ้าสติสัมปชัญญะยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ความรู้สึกที่มากระทบอายตนะทั้งหก ก็เป็นความรู้ที่ไม่บริสุทธิ์ เพราะมีอวิชชา คือความไม่รู้เท่าทันรองรับอยู่ ความรู้ที่มากระทบก็แปรเป็นความคิด ความอยาก และความเคยชินต่อไป บางครั้งจิตเราก็ปรุงแต่งเป็นเรื่องต่างๆดีบ้างชั่วบ้าง เสมือนน้ำที่เรานำไปปรุงเป็นน้ำชากาแฟ น้ำแป๊บซี่ โคล่า น้ำเหล้า น้ำต้ม น้ำแกง น้ำอะไรได้ทั้งนั้น แต่ไม่ใช่น้ำใสบริสุทธิ์อีกต่อไป
มอบรักด้วยธรรม (๒๕)
** พุทธภาวะ ฝังลึกอยู่ในใจของทุกๆคน **
ถ้าเราไม่มีตัวรู้สึกตัวที่ถูกต้อง ก็ไม่สามารถเกิดปัญญาญาณที่ถูกต้องได้ เราก็สั่งสมความพอใจและความไม่พอใจไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นในชีวิตจริงของเราจึงหนาแน่นด้วยอารมณ์สองอย่างนี้ ตามภาษากรรมฐานท่านเรียก อภิชฌา คือความพอใจ และโทมนัส คือความไม่พอใจ เมื่อเราหนาแน่นด้วยความพอใจและความไม่พอใจ ตัวพุทธะภาวะของเรา ก็ถูกทับถมฝังลึกลงไปเรื่อยๆ
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงค้นพบ “พุทธภาวะ” ซึ่งมีอยู่แล้วในใจของพระองค์เอง และของมนุษย์ทุกๆคนไม่มียกเว้น แต่ว่าพุทธภาวะจะถูกฝังลึกลงไปมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความพอใจ และไม่พอใจ ที่แต่ละคนได้สั่งสมขึ้นมาเรื่อยๆ เราจึงเรียกบุคคลที่ทับถมตัวพุทธภาวะลึกลงไป ลึกลงไปเรื่อยๆ ว่าเป็น ปุถุชน “ปุถุ” แปลว่า หนา ปุถุชน ก็คือคนหนาด้วยกิเลส หนาด้วยความพอใจไม่พอใจ
ดังนั้น การที่เราจะกำจัดความพอใจ ไม่พอใจนี้ ออกจากใจจนหมดได้ จึงต้องใช้เวลาในการเจริญสัมมาสติด้วยความเข้าใจอย่างจริงจัง ตั้งใจต่อเนื่องและถูกต้องด้วย เพราะในบทสรุป อานิสงส์ของสัมมาสติได้ระบุไว้ชัดเจนว่า อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา โทมะนัสสัง แปลว่า “ผู้ใดเจริญสัมมาสติด้วยความเพียรเพ่งเผากิเลสด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อย่างต่อเนื่อง เขาผู้นั้นย่อมกำจัดความพอใจและความไม่พอใจออกจากจิตเสียได้”
มอบรักด้วยธรรม (๒๖)
** วิธีรื้อถอนความพอใจและไม่พ อใจ **
ทุกครั้งที่ความพอใจ และความไม่พอใจเกิดขึ้น ให้พิจารณาความรู้สึกอันนั้
แต่ถ้าปรุงแต่งไปทางตรงข้าม
มอบรักด้วยธรรม (๒๗)
** อย่าประมาทไฟ แม้ว่าเล็กน้อย **
เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า การกระทบที่ขาดสติกำหนดรู้ ย่อมเป็นเชื้อไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ มันถูกสั่งสมมาจากความรู้สึ
ดังนั้น อยากจะให้เราชาวพุทธทุกคน หันมาสนใจ เห็นความสำคัญของความรู้สึก
ก่อนหน้าที่พระพุทธเจ้าจะมา
การปฏิบัติตามหลักการที่พระ
มอบรักด้วยธรรม (๒๘)
** ความรู้สึกซื่อๆ คือทางสายกลาง **
เมื่อความรู้สึกตัวทั่วพร้อมถูกสั่งสมมากขึ้นเท่าไร ตัวรู้สึกตัวซื่อๆ นี้ก็จะเข้มแข็งและปรากฎชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แล้วมันก็จะไปเจือจางความพอใจและไม่พอใจ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำวัน เมื่อเรารู้สึกตัวรู้สึกใจอย่างถูกต้องแล้ว มันจะไปสลายความรู้สึกทั้งสองขั้วนั้น สลายตัวเป็นกลาง สมมุติว่า ความรู้สึกพอใจ และความไม่พอใจ มันเป็นกรดเป็นเคมีอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่เราใช้ความรู้สึกตัวซื่อๆ อันเป็นเสมือนน้ำด่าง เข้าไปเจือจาง สลายความเข้มข้นของมัน เจือให้มันจืดจางไปได้ฉันใด
ในนามธรรม ก็คือตัวรู้สึกตัวซื่อๆ ที่ประกอบด้วยปัญญาณาณนี่แหละ ที่จะเข้าไปไขรหัสลับของวัฏฏสงสารให้แจ่มแจ้งได้ สติปัฏฐานนี่แหละ จะนำไปสู่แสงสว่างของจิตใจได้
ดังนั้น หลายคนหลายท่านที่ลงมือทำไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้สัมผัสอะไรจริงจัง ก็อย่างเพิ่งท้อถอย ขอให้ทำไปอย่างมั่นใจ ก็เหมือนร่างกายเรา ที่มันเติบโตเข้มแข็งขึ้นมาได้ถึงวันนี้ ก็เพราะอาศัยการขยันดูแลเอาใจใส่ให้ข้าวให้น้ำมันอย่างสม่ำเสมอ มันจึงเติบโตได้ฉันใด สติปัญญาก็เติบโตขึ้นทุกวันทุกคืนไปเรื่อยๆ แต่ต้องดูแลเอาใจใส่เขาเป็นอย่างดีด้วย
ดังนั้น วันนี้ก็ขอบอกเป็นเคล็ดลับไว้เลยว่า ต้องเจริญสติปัฎฐานสี่ให้เป็นเรื่องสนุกสนาน อย่าฝืนใจทำเป็นอันขาด ตั้งแต่อาตมาได้พบกับตัวรู้สึกตัวทั่วพร้อมมานี้ จิตใจมีแต่ความสุขสงบมาโดยตลอด ไม่รู้จักคำว่าทุกข์ใจเลย แต่ความไม่สบายกายเป็นเรื่องธรรมดามาก มันก็ทำหน้าที่ของมัน คือมันเป็นสังขาร มันก็ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลง ทนอยู่ไม่ได้ และแก่ไปตายไปทุกๆวัน ไม่มีใครหลีกพ้นกฎเกณฑ์นี้ไปได้ เราก็คอยบำบัดแก้ไขมันไป ทุกข์ของรูปแก้ไขได้แค่บำบัดชั่วคราวเท่านั้น เพราะรูปมันเป็นของชั่วคราวอยู่แล้ว
เพราะความทุกข์ มันก็เป็นสิ่งสมมุติ ความสุขก็เป็นสิ่งสมมุติ มันไม่ได้มีอยู่จริง ว่าที่จริงแล้ว ความสุขความทุกข์ก็เป็นภาวะอันเดียวกัน แต่มันอยู่คนละด้านของความรู้สึกเท่านั้น เหมือนเหรียญๆเดียวกัน แต่อยู่คนละด้าน แล้วแต่ว่าด้านไหนมันจะหงายขึ้นมาก่อน ถ้ารู้สึกทนได้ง่ายเข้มข้นมาก ก็เรียกว่าสุข ถ้ารู้สึกทนได้ยากเข้มข้นมาก ก็เรียกว่าทุกข์
มอบรักด้วยธรรม (๒๙)
** ความไม่ทุกข์ คือภาวะที่นอกสุขเหนือทุกข์ **
ภาวะที่ตรงกันข้ามกับทุกข์ต
ดังนั้น เราจะทำอย่างไร ให้รู้จักคุ้นเคยภาวะไม่ทุก
มอบรักด้วยธรรม (๓๐)
** น้ำท่วมเกลือหมด น้ำลดเกลือเค็ม **
สมมุติว่าทุกข์ คือเกลือเค็มๆแก้วหนึ่ง เราใส่น้ำเปล่าๆเจือลงไปหนึ
“ยังเค็มอยู่นะ เค็มมากด้วย ทีนี้เราเติมน้ำเปล่าไปเรื่
“ไม่เค็มแล้ว หนึ่งต่อร้อยแก้วนี้ จืดไหม”
“จืดสนืทเลยนะ ถามว่าเกลือหายไปรึเปล่า?”
“ไม่หาย วันใดก็ตาม ถ้าหากว่าน้ำมันแห้งเรื่อยๆ
ฉันใดก็ดี ความทุกข์อันเกิดจากความเข้
ดังนั้น เราจะต้องใส่ตัวรู้สึกซื่อๆ
แต่วิธีการเคลื่อนไหวแบบหลว
มอบรักด้วยธรรม (๓๑)
** เกิดมาแล้วไม่เห็นตัวเอง เสียชาติเกิดโดยแท้ **
ในวิธีการของหลวงพ่อเทียน ถ้าทำให้ถูกต้อง อย่างช้าที่สุดไม่เกิน ๓ ปี หมายความว่าทำให้ได้ตามเงื่
ดังนั้นอาตมาอยากจะบอกว่า ท่านทั้งหลายต้องพิสูจน์นะ ไม่จำเป็นต้องเชื่อสิ่งที่อ
หมอเขาบอกว่า สารอะไรมันหลั่ง สารอะดรีนาริน ใช่มั๊ย? ไม่รู้นะ หมอเขาบอกมาว่า สารตัวนี้ถ้ามันหลั่งมากเกิ
มอบรักด้วยธรรม (๓๒)
** สติเป็นดั่งอาหารรสจืด กิเลสเป็นดั่งอาหารรสจัด **
วิธีแก้ เราก็ต้องหันมาสร้างสติปัญญ
“รสอร่อยนี่เที่ยงหรือไม่เท
“ไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงแล้วมันทนอยู
“มันทนอยู่ไม่ได้ รสอร่อยนี่มันจะอยู่นานได้ม
“ใครบ้างทานข้าวอร่อยตั้งแต
“รสอร่อย เราต้องแสวงหาใช่ไหม? แต่รสไม่อร่อยเราไม่ต้องแสว
ดังนั้นเราจงมาสร้างความรู้
จากหนังสือ มอบรักด้วยธรรม
พระพุทธยานันทภิกขุ
Cr: Nucharee Intarachote, f: Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)