พุทธวิปัสสนาเชิงวิทยาศาสตร์

พุทธวิปัสสนาเชิงวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 1

ทุกวันนี้คนประเทศตะวันตกกำลังตื่นตัวหันมาสนใจเรื่องสมาธิตามแบบพุทธศาสนา เพราะยิ่งศึกษาเข้าไปลึกเท่าไร ก็ยิ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าพุทธศาสนา ชี้ให้เห็นความจริงของโลกวัตถุในทางวิทยาศาสตร์ยิ่งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น คนที่มีพื้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาก่อน เมื่อมาศึกษาพุทธศาสนา จะค้นพบว่า วัตถุกับนามธรรม ต่างก็อิงอาศัยกันอย่างแยกไม่ได้ เหมือนกายกับใจ
แต่ว่านักวิทยาศาสตร์ค้นพบความจริงทางรูปธรรมเท่านั้น แต่พระพุทธเจ้าค้นพบความจริงของโลกทั้งทางด้านรูปธรรมนามธรรม เป็นวิทยาศาสตร์ทางนามธรรมและรูปธรรมอย่างไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย

ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย หันมาศึกษาเรียนรู้คัมภีร์ทางพุทธศาสนามากขึ้น ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และเอาหลักคำสอนของพุทธศาสนา มาพิสูจน์ตามหลักของวิทยาศาสตร์ในแขนงต่างๆ และนำมาประยุกต์ใช้ด้านวัตถุในเชิงเทคโนโลยีในรูแบบต่างๆ ความจริงแล้วพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เรื่องนี้ทั้งหมดทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์ในรูปธรรมและนามธรรม แต่ทำไมพระองค์จึงไม่ทรงเผยแพร่หลักการของวิทยาศาสตร์ทางรูปธรรมเล่า?

เคยมีคนถามเรื่องกับพระองค์มามาก พระองค์ตรัสตอบสั้นๆว่า น สิยา โลกวฑฺฒโน แปลว่า “อย่าทำโลกวัตถุนี้ให้เจริญมากกว่านี้เลย” เพพระองค์ให้เหตุผลว่า ถ้าพัฒนาวัตถุนิยมให้มันเจริญมากเท่าไร จะทำให้มนุษย์เสพความสุข สนุกเมามันในความละเอียดปราณีตในรสชาติของ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ ด้วยอำนาจของตัณหาอุปาทาน และจะยึดติดอย่างยากแก่การแก้ไขได้ แล้วมนุษย์ก็จะหันหลังให้กับพระศาสนา ซึ่งสอนให้ใช้ความพอดีทั้งวัตถุและจิตใจ แต่เมื่อคนเสพติดวัตถุแล้ว ก็ยากที่จะมีความพอดี ต่อไปก็จะเกิดการทำลายล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติให้หมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว

พุทธวิปัสสนาเชิงวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 2

ต่อไปก็จะเกิดการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติของโลกใบนี้ ซึ่งมีอย่างจำกัด และในที่สุด ก็จะเกิดสงครามระหว่างชาติต่อชาติเล็กกับชาติใหญ่ จะเกิดการขาดแคนและอดอยาก และจะประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด
พระพุทธองค์ ทรงชี้ให้เห็นว่า วัตถุยิ่งละเอียดยิ่งปราณีตเท่าไรคนก็ยิ่งยึดติด เมื่อยึดติดแล้วก็ย่อมมีการแสวงหา การสั่งสมและการครอบครอง และนำไปสู่การแย่งชิง เมื่อมีการแย่งชิงก็มีการทำสงคราม
เพราะฉะนั้น พระองค์ท่านจึงประกาศตรงกันข้าม คือประกาศสันติภาพ แทนที่จะประกาศสงคราม ประกาศสันติภาพคือใช้นิพพานเป็นอุดมการณ์หลัก

ดังนั้น เราจึงหันมาปฏิบัติกัน เพื่อแสวงหาสันติภาพที่แท้จริง โดยผ่านการศึกษาทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม หรือทั้งวัตถุและจิต เพื่อแสวงหาความพอดีบนพื้นแห่งศีล สมาธิและปัญญา ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ทันสมัย เพราะศึกษาอย่างเป็นระบบทางวิทยาศาสตร์ ที่เราสามารถตรวจสอบได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม

พวกเราจึงควรศึกษาเรื่องนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และได้รับผลที่พิสูจน์ได้ด้วย เพื่อว่าชาวต่างประเทศที่เขาสนใจศึกษาพุทธศาสนาก็จะตามมาศึกษามาถามไถ่เรื่องนี้ กับชาวพุทธที่อยู่เมืองไทย ที่เรารู้จักเรื่องพุทธศาสนามาก่อนและนานเป็นพันๆปี แต่ถ้าว่า เขามาเจอชาวพุทธของเรายังเป็นผี เป็นพราหมณ์ตามประเพณี ที่คนส่วนใหญ่กำลังเป็นอยู่ หรือ Traditional Buddhists อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ ก็จะทำให้เขาดูถูกเราได้ว่า เป็นชาวพุทธที่งมงาย ไร้แก่นสาร

ดังนั้น จึงมีชาวต่างประเทศส่วนหนึ่ง ที่เรียกว่าพระฝรั่งที่เข้ามาฝังตัวศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เป็นเวลานานๆ เขาศึกษาทั้งทางด้านทฤษฏีตำรา และภาคปฏิบัติ ซึ่งส่วนใหญ่ นำรูปแบบปฏิบัติมาจากพม่าและลังกาเข้าประยุกต์เป็นวิธีการต่างๆ เช่น ยุบหนอ พองหนอ และอานาปานสติแบบต่างๆเป็นต้น เพียงแต่เพิ่มคำบริกรรมเป็นภาษาไทยเข้าไปเท่านั้นเอง

เราปรับรู้จักเปลี่ยนรูปแบบกรรมฐานให้เป็นของคนไทย พอพระชาวต่างประเทศกลับไปประเทศเขา ก็เปลี่ยนพุทธศาสนาเป็นเวอร์ชั่นของเขา ไม่เหลือเรื่องของการประเพณีท้องถิ่นแบบพุทธศาสนาแบบไทยของเราไว้เลย เขาเลือกเอาแต่เนื้อหาสาระไป

ดังนั้น เราต้องมีการทำความเข้าใจกับความหมายเรื่องปฏิบัติที่ถูกต้อง และมีเหตุผลที่พิสูจน์ได้ทุกเรื่อง ให้เห็นความความสัมพันธ์กันระหว่างเรื่องรูปธรรมและนามธรรมอย่างชัดเจน จะมั่วไม่ได้

พุทธวิปัสสนาเชิงวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 3

ช่วงบ่ายวันนี้ มีเพื่อนของแม่ชีมาพบ เขาแจ้งว่า เขาอยากศึกษาและปฏิบัติเรื่องการทำแบบเคลื่อนไหวนี้อย่างจริงจัง
ก็มีการชักถามปัญหา ในรูปที่เขาทำอยู่ว่า เขาปฏิบัติตามหลักการของใครมาบ้าง เขาก็บอกว่า เคยผ่านหลักการปฏิบัติตามแบบของเรามาหลาย
ท่าน แต่ย้อนถามเขาว่า เมื่อทำตามคำแนะนำของท่านแล้ว ทำให้เราหายสงสัยหรือยัง? เขาบอกว่า ก็ยังไม่หายสงสัย เพราะอะไร? เพราะว่า เพราะรักษาความความต่อเนื่องของตัวรู้สึกตัวยังไม่ได้ ทำตามในรูปแบบช่วงเช้า และช่วงเย็น ครั้งละครึ่งชั่วโมง และช่วงที่ไม่ได้ทำรูปแบบ ยังตามดูความรู้สึกตัวอยู่ไหม? ตอบว่า ไม่ได้ทำ แล้วรู้แค่เวลาทำ เวลาที่ปล่อยตัวมันนานกว่า แบบนี้ เมื่อไรกำลังสติมันจะพอ
ก็เลยแนะนำเขาไปว่าให้ทำความรู้สึกตัวต่อเนื่องอยู่ เสมอๆ ไม่จำเป็นในต้องทำตามรูปแบบตลอดเวลา เวลาว่างก็ทำในรูปแบบ แต่เวลาไมว่าง ให้ทำความรู้จักวิธีประยุกต์ทำนอกรูปแบบให้มากที่สุด หมายถึงว่า รักษาตัวรู้ให้ต่อเนื่องในการทำงานทุกๆกิจกรรม ไม่ใช่ไปทำการเคลื่อนไหวต่อเนื่องในรูปแบบเท่านั้น แต่เปลี่ยนจุดความรู้สึกตัว ไปในกิจกรรมใหม่ๆไปเรื่อยๆ เมื่อก่อนตอนที่เรายังไม่ได้ศึกษาปฏิบัติเรื่องตัวรู้ เราเคลื่อนไหวไปตามแรงของความเคยชิน ใส่ใจไปกับเรื่องวัตถุนอกตัวเอง จึงเป็นสติแบบสัญชาตญาณ
แต่พอเรามาศึกษาเรื่องนี้เราต้องการกลับมาหาตัวเองคือรูปกับนาม ถ้าเราสนใจไปกับวัตถุที่สองที่สามที่สี่ออกไป จิตของเราก็จะถูกแบ่งแยกออกไปจากตัว แล้วมันก็จะให้น้ำหนักลงไปกับวัตถุที่เราไปสัมผัส แม้แต่ว่าหนังสือสวดมนต์ที่เรากำลังสวดอยู่ใกล้ตัวที่สุดแล้วพอนำขึ้นไปโชว์ในโปรเจคเตอร์ มันก็ยิ่งห่างตัวเราไปอีกใช่ไหม? จิตของเราวิ่งออกไปอยู่ที่โน่น แม้หนังสือสวด จะวางอยู่ใกล้ๆ มันสามารถแยกจิตออกจากกายไปได้
ดังนั้น เวลาสวดมนต์ ทางที่ดีที่สุด คือให้สวดจนจำได้ขึ้นใจ โดยไม่ต้องใช้หนังสือ อาตมาจำได้เกือบทั้งเล่ม เพราะอะไร เพราะเราสวดทุกวันเลยจำได้
พระพุทธยานันทภิกขุ