พลิกพุทธเป็นพราหมณ์

ปริศนาธรรม รามเกียรติ์

ระหว่างศาสนาพุทธหรือศาสนาพราหมณ์
พลิกกันไปพลิกกันมาตลอด
เมื่อพราหมณ์เกิดขึ้นหลายพันปี
พุทธก็เกิดขึ้น
 
มีพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาองค์หนึ่ง
ก็พลิกศาสนาพราหมณ์มาเป็นศาสนาพุทธ
หลังจากศาสนาพุทธยืดยาวไปหลายพันปี
ก็กลับมาเป็นศาสนาพราหมณ์อีก
 
คำสอนในเรื่องของศาสนาคล้ายๆ กัน
แต่มาประยุกต์
อย่างพรหม 4 หน้า กลายมาเป็นพรหมวิหาร 4
 
ตัวอย่างเรื่องศาสนาพราหมณ์
ตอนกำเนิดพระราม
 
เริ่มต้นตรงที่ว่าเขาไกรลาส
เป็นเขาที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาล
บนยอดเขามีพรหม โดยมีลูกน้อง 2 คน
พระนารายณ์กับพระศิวะ
 
พระนารายณ์ปลอมเป็นนางประภัสสร
เพื่อปราบนนทยักษ์
ทำให้นนทยักษ์อาฆาต
ท้าให้พระนารายณ์ตายแล้วเกิดมาสู้กันใหม่
 
พระนารายณ์รับปาก
นนทยักษ์ก็ตายไปเกิดเป็นทศกัณฑ์
ส่วนพระนารายณ์ไปเกิดเป็นพระราม
คำว่าพระสุเมรุหมายถึงรูปนาม
แต่ในรูปนามมีพระอิศวรเป็นใหญ่
คือจิตเป็นใหญ่
 
คำว่าอิศวรแปลว่าอิสระเป็นใหญ่
แล้วจิตจะมีผู้ที่ช่วยจิตให้เป็นใหญ่ ได้แก่
 
สติ คือพระศิวะ
ปัญญา คือพระนารายณ์

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

พระนารายณ์คือปัญญา 

พระนารายณ์มี 4 กร
กรที่ 1 ถือจักร
กรที่ 2 ถือคทา
กรที่ 3 ถือสังข์
กรที่ 4 ถือตรีศูนย์
 
จิตจะใช้ปัญญาในการปราบ
จิตที่จะเป็นอิสระ
อยู่เหนือรูปเหนือนามจริงๆ นั้น
ต้องมีพระนารายณ์ 4 กร
 
พระนารายณ์นี้ก็คือปัญญา
ที่เกิดจากการสัมมาปัญญา
คือรู้อริยสัจสี่
 
กรที่ 1 คือจักร
จักรที่หมุนไปกัดกินมนุษย์
ตัดมนุษย์ให้เดือดร้อน
คือจักรแห่งทุกข์เรียกว่า สังข์สารจักร
 
แต่พอพระพุทธเจ้าแสดงธรรม
ทรงเปลี่ยนจักรเป็น ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
 
เปลี่ยนสังข์สารจักรเป็นธรรมจักรทันที
จักรที่มีฟันเฟืองหมายถึง
ปฎิจจสมุปบาท 12
 
กรที่ 2 คือคฑา
คฑาได้แก่ตัณหา คือสมุทัย คือทุกข์นั้น
เป็นอาวุธของสังสารวัฏ
เฆี่ยนตีสัตว์ ให้ต้องยอมตามอำนาจ
 
โดยมีอำนาจอยู่ 3 ประการ คือ
กามตัณหา ภาวะตัณหา วิภาวะตัณหา
ครอบงำจิตใจของสัตว์ป่า
 
กรที่ 3 ถือสังข์
ได้แก่ นิโรธสัตว์
ถ้าคนไหนมีทุกข์โศก โรคภัยต่างๆ
เมื่อมาปฏิบัติให้ได้นิโรธแล้ว
ทุกข์ก็จะหมด ดับไฟตัณหาได้
 
กรที่ 4 ถือตรีศูนย์
คนที่จะทำให้เกิดดับร้อน ดับทุกข์ได้
ต้องมีอาวุธเป็นตรีศูนย์
ได้แก่มรรคมีองค์ 8
 
เพราะมรรคมีองค์ 8 ย่อเหลือ 3
ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่าตรีศูนย์
 
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นปัญญา
สัมมาวาจา สัมมามันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นศีล
สัมมาวายามะ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิ
พุทธศาสนากับพราหมณ์มันคาบเกี่ยวกัน

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

พระศิวะคือสติ 

พระศิวะได้แก่คำว่าสติ
พระศิวะเป็นผู้สร้าง
จิตของเรามีสัตว์ทั้งหลาย
ไปเกิดตลอดเวลา
 
สิ่งที่เกิดขึ้นในจิตเรียกว่าสัตว์
นนทะคือนนทุกข์
คือมาจากนันทิราคะสะหะคะตา
หมายถึงว่า ตัณหาเกิดขึ้นจากความเพลิน
เพลินเมื่อไหร่ทุกข์เมื่อนั้น
 
อำนาจที่สามารถทำให้คนเป็นทุกข์
กามตัณหา ภาวะตัณหา วิภาวะตัณหา
ทำให้เพลินในรูป รส กลิ่น เสียง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ทุกข์ต้องมาละ นันทิราคะ
 
พระนารายณ์แปลงตัวเป็นสาวพรหมจรรย์
ต้องประพฤติพรหมจรรย์เท่านั้น
จึงจะฆ่านนทุกข์ได้
 
ถ้าจิตคิดออกไปข้างนอก ทุกข์มันเกิด
แต่จิตคิดกลับเข้ามา ทุกข์กลับดับ
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

คนจริงใจจะได้พบใจแท้

ความเชื่อถือตามประเพณีมีอุปสรรคมาก

จิตใจของคนเรามักถูกครอบงำ
ด้วยความคิดและสมมติต่างๆ
ในเรื่องของประเพณีทางศาสนามานาน

จึงมักคิดเอาเองว่า
พุทธศาสนาเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อน
และเข้าไม่ถึง
หันไปสร้างบุญบารมีนอกพุทธศาสนา
จนไปเข้าทางศาสนาพราหมณ์ก็มาก

ด้วยความเชื่อและเข้าใจแบบนี้
เมื่อหลวงพ่อเทียนมาชี้ให้เห็น
จุดสำคัญที่ธรรมดาของรูปนาม
ซึ่งนักปฏิบัติบางคนอาจมองไปว่า
เป็นเรื่องง่ายๆ ตื้นๆ
ไม่รู้ว่าจะนำมาสอนกันทำไม

ความรู้สึกตัวที่แสนจะธรรมดา
และง่ายดายเช่นนี้
นักปฏิบัติบางคนที่เจริญสติ
แบบไม่จริงใจ
ก็ไม่สามารถสัมผัสอารมณ์รูปนาม
ได้ง่ายๆเหมือนกัน

แม้แต่พระพุทธองค์เอง
ก็ทรงท้อพระทัย
ในครั้งแรกที่จะเผยแผ่เรื่องนี้
ถึงกับตั้งใจว่า
จะไม่เผยแผ่สั่งสอนเรื่องนี้กับใคร

จนเป็นเหตุให้ท้าวสหัสบดีพรหม
ซึ่งหยั่งรู้ถึงความตั้งใจ
ของพระองค์ในตอนนั้น
รีบมาเฝ้าและอาราธนาทูลเชิญ
ให้ทำการเผยแผ่สัจธรรมแก่สรรพสัตว์

เผื่อว่าบางคนที่มีกิเลสในจิตใจ
เหลือน้อย จะรับได้
พระองค์จึงรับอาราธนา
และเผยแผ่คำสอนตั้งแต่นั้นมา

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มุ่งสงบอย่างเดียวเป็นพราหมณ์

นักปฏิบัติส่วนมาก
พยายามทำจิตให้สงบ
หรือพยายามที่จะสะกดจิตให้สงบ

นั่นไม่ใช่วิปัสสนา
ตามแนวทางของพุทธ
แต่เป็นแนวทางของพราหมณ์
หรือฮินดู

ในกระแสพุทธนั้น
ไม่ได้มุ่งที่ความสงบ
หรือไม่สงบของจิต

แต่มุ่งทำความเข้าใจสภาวะจิต
ทั้งที่สงบและไม่สงบ
ให้เข้าใจทั้งสุขและทุกข์
ความพอใจไม่พอใจ
ซึ่งต่างก็เป็นทางที่สุดโต่ง
ทั้งสองข้าง

พระพุทธเจ้าทรงค้นพบกระแสที่สาม
เรียกว่า ทางสายกลาง
คือความรู้สึกเฉยๆ

หรือตัวรู้สึกที่ทำหน้าที่เป็นผู้รู้
ผู้สังเกตเห็นอาการของจิตทั้งสองนั้น
อีกทีหนึ่ง
เป็นกระแสแห่ง “อริยมรรค”

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

วิธีสังเกตว่าเราติดสมถะหรือไม่

การที่ติดสมถะจะกลัวความคิด
กลัวจิตปรุงแต่ง

เพราะมันจะไปรบกวนจิต
รบกวนความสงบสุขที่มี

เพราะยังไม่เกิดปัญญา
หรือวิชชาที่จะบริหารความคิดได้
ต้องให้โอกาสตัวเอง
ในการฝึกความรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ
จนกว่าจิตจะเปลี่ยน
เป็นวิปัสสนาได้ในวันหนึ่ง
เมื่อกุศลจิตเจริญมากพอ

การที่จิตไม่ปรุง
ด้วยอำนาจของสมถะ
ไม่ถือว่าเป็นวิสังขารจิต
เพราะไม่ประกอบด้วยญาณปัญญา

วิสังขารจิต จะเกิดได้
ด้วยญาณปัญญาเท่านั้น

ใครติดสมถะจะโชคร้าย
เพราะกุศลไม่เจริญงอกงาม
เมื่อกุศลจิตไม่เจริญ
ญาณปัญญาก็เกิดไม่ได้

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

เพ่งเป็นพราหมณ์

การเพ่งไม่ให้จิตไปรับรู้
อาการสบายไม่สบาย หนักหรือเบา
รับรู้แค่จิตนิ่งๆ อย่างเดียว

ตรงนี้กลายเป็นสมถะไปเลย
ซึ่งไม่ใช่ทางของพุทธ
เป็นทางของพราหมณ์

เราพลาดจุดนี้เอง
เราปฏิบัติสมถะ
แต่เข้าใจว่าเป็นวิปัสสนา
นี่คือข้อบกพร่องของมัน

ก็ต้องแก้จากตัวสมถะมาเป็นวิปัสสนา
แทนที่จะไปรู้นิ่งๆ
รู้โดยที่ไม่รับรู้ต่ออาการอย่างอื่น
ให้มารับรู้ต่ออาการอย่างอื่น
แล้วก็ปรับ

เราไปรู้อาการสุข อาการทุกข์
อาการสบาย ไม่สบาย
เพื่อปรับส่วนที่เกินออก
ถ้าหนักเกินไป

แต่ถ้าปรับในส่วนที่เกินออกโดยที่ไม่รู้ตัว
ก็กลายเป็นสัญชาตญาณไปอีก

ชัดต่างจากเพ่ง

คำว่า “ชัด” กับ “เพ่ง” นี้ต่างกัน
คำว่า “ชัด” เหมือนเวลาเราเปิดไฟ
มองเห็นได้ทั่วๆ
 
“เพ่ง” นี่ปิดไฟหมด
แต่หลวงพ่อมีไฟฉาย
หลวงพ่อก็เปิดไฟฉาย
หลวงพ่อก็เห็นคนเดียวเท่านั้นเอง
คนอื่นไม่เห็น
 
“ชัด” เรามองเห็นทั่ว
แต่ “เพ่ง” นี่เห็นเป็นบางจุด
เราอาจจะเห็นเป็นช่องทาง
เราอาจจะไม่รู้ว่าเสาอยู่ข้างหน้า
เพราะเราไม่ได้มองทั่วๆ
 
ฉะนั้นเวลาปฏิบัติ
ถ้าเราตั้งใจเกินไป มันชัดเกินไป
มันหนัก มันเหนื่อย มันเมื่อย
มันเกร็งทั้งร่างกาย
อันนี้ชัดเกินไป เรียกว่า “เพ่ง”
 
ชัดพอดีเรียกว่า “ชัด”
เราก็ปรับให้มันสบายให้มันสมดุล
 
วิธีการของหลวงพ่อเทียน
เป็นวิธีการที่ทำให้สบาย
ทำยังไงก็ได้ให้ต่อเนื่อง
ให้รู้เนื้อรู้ตัว ให้สบาย

 

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ
SONY DSC

พรหมยังอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์

สุขเวทนาเป็นที่มาของคำว่าสวรรค์
สวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นมาจากเวทนาทั้ง ๖ นั่นเอง

เวทนาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ถ้าเราไปติดสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
สวรรค์ ๖ ชั้นเกิดขึ้นทันที

พอเวลาไปประสบกับสิ่งที่ตรงกันข้าม
ความไม่พอใจในการเห็นรูป ได้ยินเสียง
ได้กลิ่น ลิ้มรส ไม่พอใจในอารมณ์
เกิดนรกทันที

เพราะฉะนั้น
ประตูนรกกับประตูสวรรค์
อยู่ประตูเดียวกัน
จะเปิดบานซ้ายหรือบานขวาเท่านั้นเอง

บางคนความพอใจก็ไม่อยากได้
ความไม่พอใจก็ไม่อยากอยู่
ฉันจะสงบอย่างเดียว
ไปสู่ความสงบตั้งแต่ฌาณ๑ ถึงฌาณ๘
กลายเป็นพรหม ๑๖ ชั้น
ความละเอียดของชั้นจิตมากขึ้นไป
ก็ยังหลุดพ้นไม่ได้

จุดสูงสุดของศาสนาพราหมณ์คือพรหม
ยังอยู่ในหลักของไตรลักษณ์อยู่ดี

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ติดสุขเป็นพราหมณ์

คนไทยส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา แต่เข้าใจพุทธศาสนาไปเป็นเรื่องนอกกายนอกใจ ไม่เข้าถึงพุทธศาสนาที่แท้จริง กลายเป็นพราหมณ์ เป็นศาสนาอื่นไป ไปทำสมาธิแบบหลงๆ เข้าฌาน ติดสงบ ติดสุข เสียเป็นส่วนใหญ่ แท้จริงแล้ว พุทธศาสนา คือการหันมาศึกษา กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมของตนเอง เห็นชีวิตนี้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ เป็นสิ่งมีค่าที่ต้องรู้รักษาใช้ไปในทางที่ถูกต้องที่สุด
The majority of Thais are Buddhists but only understand Buddhism outside of the Mind-Body nature. Their lack of genuine understanding mostly leads them become like Brahman which is considered another religion and meditate with obsession, absent mind, or addiction (to calmness and blissfulness that come with meditation). In fact, Buddhism is a study of our own physical, verbal and mental actions and a teaching that life should be perceived as a miracle; something precious a person should nurture and live it to the most virtuous manners.

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ติดสุขไม่เห็นไตรลักษณ์

หากเรายังไม่ชำนาญ
ในการพิจารณาไตรลักษณ์
ยังเห็นทุกอย่างเป็นสมมติอยู่
เราต้องฝึกฝนไปเรื่อยๆ

บางครั้ง ปฏิบัติไป
จิตเข้าสู่ภาวะสงบสุขอย่างประหลาด
เราก็ไม่อยากจะพิจารณาอะไร
ให้จิตฟุ้งซ่าน

เราอยากจะหยุดจิต
ไว้ตรงนั้นนานๆ
จิตก็จะติดในความสงบอันนั้น
เกิดความยินดี พอใจ
กับความสงบสุขนั้น

มันก็จะกลายเป็นอารมณ์สมถะ
ซึ่งจะทำให้การเจริญสติแบบนี้
ไม่ก้าวหน้า

เพราะเป้าหมายของวิปัสสนา
มุ่งไปที่การรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งต่างๆ
ตามความเป็นจริง

ถ้าจิตของเรายังติดยึดในความสุข
ก็ไม่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสุข

เราต้องสลัดจิต
ออกจากอารมณ์อันนั้นให้ได้
อย่ารู้สึกเสียดาย
แล้วเราจึงจะเห็นอารมณ์ไตรลักษณ์
ตามความเป็นจริง

จิตต้องมาอยู่ในสถานะที่เป็นกลาง
จึงจะเห็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

แทนที่เราจะเป็น
ผู้เป็นอารมณ์ที่กำลังเกิด
แม้ว่าจะเป็นอารมณ์ดี หรือ ไม่ดี
สงบ หรือ ไม่สงบ

 

 

ถ้าเราตั้งใจปรับอย่างรู้เนื้อรู้ตัว
เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของเวทนา
ก็เกิดเห็นไตรลักษณ์ขึ้นมา

เราจะรู้เรื่องไตรลักษณ์หรือไม่ก็ตาม
แต่เฝ้าดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ของอาการต่างๆ ที่ปรากฏ
ก็เป็นวิปัสสนา

แต่ถามว่าเรารับรู้อย่างนี้ชัดเจน
และต่อเนื่องหรือไม่?

ไม่ชัดเจนและไม่ต่อเนื่อง
บางครั้งรู้ บางครั้งไม่รู้
ก็ต้องเข้ามาแก้ตัวนี้

การเข้าไปรับรู้ชัดเจนและต่อเนื่อง
ท่านจึงเอาตัวสติสัมปชัญญะ
ในสติปัฏฐาน เข้ามาประกอบ

สติสัมปชัญญะในสติปัฏฐาน
ต่างจากสติสัมปชัญญะทั่วไปอย่างไร?

สติสัมปชัญญะในสติปัฏฐาน
ท่านบอกว่า “อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
วิเนยยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง”

ต้องมีอาตาปี เฝ้าดู สังเกต อย่างต่อเนื่อง
ถ้าสังเกตบ้าง ไม่สังเกตบ้าง
ไม่เป็นอาตาปีแล้ว

สังเกตอย่างต่อเนื่องด้วยลักษณะ
ให้รู้ตัวทั่วพร้อม

รู้ตัวทั่วพร้อมแล้ว
ต้องแก้ไขอาการสองอย่างได้ คือ
อภิชฌาและโทมนัส ชอบและไม่ชอบ
หนักและเบา
ต้องแก้ไขออกไปในส่วนที่มันเกิน

 

 

ถ้านั่งไปนานๆ เราเพลิน
รู้สึกร่างกายไม่หนักแต่รู้สึกเพลิน
สบายกายแต่ใจเป็นอภิชฌาไปแล้ว
ทำให้เพลิน ทำให้ติดใจ ไม่อยากเปลี่ยน
เป็นอภิชฌาไปเรียบร้อยแล้ว
อยากจะนั่งไปอย่างนั้นเรื่อยๆ ไม่อยากเปลี่ยน

บางทีเผลอ อยากเปลี่ยนก็เปลี่ยนเลย
ผิดทั้งกายและใจแล้ว มันเป็นสมถะไป
คือเปลี่ยนเลย

จะต้องตามดูว่าจะเปลี่ยนอย่างไร
และเปลี่ยนแล้วเกิดอะไรขึ้น ปรับให้มันสบาย
ท่านไม่ได้ห้ามการเปลี่ยนแปลง

แต่การที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เราใช้ความหมายว่าต้องอดทน ต้องอดกลั้น
ต้องอธิษฐานว่าไม่พลิก ไม่เปลี่ยน
เป็นอาการของสมถะทั้งหมดเลย

แต่อาการที่พระพุทธเจ้าอธิษฐานว่า
ฉันจะนั่งอยู่ตรงนี้ แม้เลือดเนื้อเอ็น
จะแตกดับเหือดแห้งไปก็ตาม
ฉันจะไม่ลุกจากที่นี่

แต่ท่านไม่ได้บอกว่าฉันจะไม่เปลี่ยน
ท่านบอกว่าจะไม่ออกจากที่นั่นเท่านั้น
ท่านจะเปลี่ยนอย่างไรเป็นเรื่องของท่านแล้ว

แต่เราไปตีความหมายว่า
นั่งแบบไม่พลิก ไม่ลุกเลย ซึ่งมันก็ผิดแล้ว
เพราะเราไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์

เราก็ไม่เข้าใจความหมายว่า
ท่านบอกว่าท่านไม่ออกจากที่นั่น
แต่ท่านไม่ได้บอกว่า
ท่านจะไม่เปลี่ยนอิริยาบถ

ท่านจะเปลี่ยนอิริยาบถเท่าใดไม่มีใครรู้
ท่านอาจจะนั่งอยู่ตรงนั้นทั้งคืน
แต่ท่านก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ อย่างที่เราเปลี่ยนกัน

ท่านทำสมถะตามอาจารย์อื่นๆ มานานแล้ว
ท่านจะทำอีกทำไม
ท่านเห็นว่าทางที่นั่งโดยไม่พลิกไม่เปลี่ยน
ไม่เคลื่อนไหว ด้วยความอดทน
ท่านทำมาแล้วตามอาจารย์เจ้าลัทธิอื่นๆ
ท่านก็เลยลองมาเปลี่ยนแบบนี้บ้าง

แต่ที่ท่านอธิษฐานคือ
ท่านอธิษฐานว่า ถ้าไม่รู้เรื่องนี้
จะไม่ลุกออกจากที่นี่
แต่ไม่ได้บอกว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงอิริยาบถ
ตรงนี้สงสัยว่าเข้าใจผิดแน่นอนเลย

จะเอาแต่เรื่องจิตอย่างเดียวไม่ได้
เพราะอาการเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง
ที่จิตรับรู้ได้ มาจากกาย
ต้องเริ่มต้นจากกายด้วย

จากนั้นมาอาตมาก็ปรับหลักสูตรมาเรื่อยๆ
ปรับเรื่องการออกกำลังกาย ลมหายใจ
การปรับเปลี่ยนอิริยาบถ การสังเกต
ปรับเรื่องสมถะที่เอื้อต่อวิปัสสนา

สมถะที่ไม่เอื้อต่อวิปัสสนาก็มี
ที่เราแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้
เป็นสมถะที่เอื้อต่อวิปัสสนา
แก้ไขปัญหาทางกาย
หนักเป็นเบา เบาเป็นหนัก
หนาวเป็นร้อน ร้อนเป็นหนาว
มาปรับให้มันพอดี

การปรับให้พอดีทางร่างกาย
เป็นสมถะที่เอื้อต่อวิปัสสนา

แต่การไม่ปรับร่างกาย
ปรับแต่จิตให้นิ่งอย่างเดียว
เป็นสมถะที่ไม่เอื้อต่อวิปัสสนา

พระพุทธยานันทภิกขุ