ธรรมวิจัยในรูปนาม
จากไฟล์เสียงชุด ครุสติรัทรีท ๑๑-๑๗ สิงหาคม ๕๙ แสดงธรรมโดย พระพุทธยานันทภิกขุ, หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, Deva Nanda, Direk Saksith
พระถูกหลอก
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก
มีพระเข้าใจรูปเดียว มีพระฟังห้ารูป
ทั้งๆ ที่อยู่กับพระพุทธเจ้ามานานแล้ว
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ
พระนักเทศน์ พระนักสอนทั่วไป
เข้าใจผิดว่าสิ่งที่ตัวเองพูด
คนจะเข้าใจหมด
คนที่ปฏิบัติธรรม
ฟังธรรมมาตลอดชีวิต
ชีวิตไม่เปลี่ยนแปลง
เพราะองค์ประกอบห้าอย่างไม่ครบ
ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
หนึ่ง ศรัทธา ความเชื่อมั่น ความอยากจะศึกษา
ความรักที่จะศึกษาในสิ่งที่เข้ามา ไม่พอ
สอง ถ้าเกิดความเชื่อมั่นแล้ว
ความเพียรที่จะลงมือทำน้อย
สาม ลงมือทำแล้ว
ที่จะปะกอบด้วยสติ สมาธิ ปัญญา
ก็ลดน้อยลงไปอีก
พระทั่วไปก็เหมือนถูกหลอก
ทุกวันนี้คนตั้งใจฟังดีมาก
พอไปสอบเข้าจริงๆ แล้ว
เหลือไม่กี่เปอร์เซ็นต์
หลวงพ่อก็ต้องตรวจสอบ
ไม่งั้นก็เหนื่อยตาย
ฟังอย่างมีศรัทธา
เราจะเทน้ำลงขวดอย่างไร
ที่น้ำจะเต็มโดยไม่กระฉอก
ขวดตั้งหรือขวดนอน
ขวดเปิดฝาหรือไม่
คนรินตั้งใจริน แต่ไม่ได้ดูขวด
ว่าขวดตั้งอยู่หรือเปล่า
ขวดเปิดฝาหรือสะอาดเปล่า
ไม่ได้ดู
ผู้เสนอตั้งใจนำเสนอร้อยเปอร์เซ็นต์
เหมือนตั้งใจรินน้ำลงขวด
แต่ไม่รู้ว่าผู้ฟังตั้งใจฟังหรือเปล่า
เขาเปิดใจหรือเปล่า
เขาพอใจที่จะฟังหรือเปล่า
ผู้พูดไม่ได้สำรวจ
เมื่อพูดไปแล้ว ทำความเข้าใจไปแล้ว
ในหนึ่งร้อยหวังแค่ห้าคนก็คงยาก
แต่ถ้าสิบคน ยี่สิบคนขึ้นไป
หมายความว่าตัวผู้พูดเป็นที่ตั้งของศรัทธา
ตัวผู้ฟังก็มีปัญญา
ก็จะมีจำนวนมากขึ้น
แต่ถ้าตัวผู้พูดไม่เป็นที่ตั้งของศรัทธา
ตัวผู้ฟังยังไม่เกิดศรัทธา ไม่เกิดปัญญา
ผลก็ยิ่งน้อยเกินไป
อันนี้คือส่วนหนึ่ง
เราไม่ได้หวังว่าทุกคนจะเข้าใจ
แต่อย่างน้อยคือมีโอกาส
ก็สร้างโอกาสให้ได้มานั่งฟัง
สร้างโอกาสให้มาฟัง
อาจจะรินเข้าทีละนิดก็ไม่เป็นไร
รินหลายๆ ครั้ง อาจจะเข้า
ศรัทธาเกิดขึ้นไม่ใช่ของง่ายเลย
ศรัทธาในการที่จะฟัง
ศรัทธาในการที่จะศึกษา
ดังที่หลวงพ่อเสนอว่าลองเดินรอบห้อง
และนับลมหายใจเข้า ได้กี่รอบ
แต่ละรอบหายใจเข้าให้ลึกที่สุด
หายใจออกให้ยาวที่สุด
ในห้าสิบคน จะตั้งใจทำจริงๆ ไม่ถึงห้าคน
อันนี้เป็นสัจธรรม เราต้องเข้าใจ
โอกาสของคนเราไม่เหมือนกัน
แยกรูปนามเพื่อความพ้นทุกข์
หลวงพ่อจะทบทวนเรื่องรูปนามอีกครั้งหนึ่ง
อยากจะถามว่ารูปนามทำให้เกิดความทุกข์
ปัญหาของมันเองหรือคนอื่นสร้างให้
หรือเราเป็นผู้สร้าง
หรือเรากับคนอื่นร่วมกันสร้าง
รุปนามคือกายใจของเรา
มีความทุกข์และปัญหาเกิดขึ้น
บางครั้งบางคราวหรือตลอดเวลา
เราต้องแยกกันตอบ
รูปเกิดปัญหาโดยบางครั้ง หรือตลอดเวลา?
ตลอดเวลา…
เพราะมันเป็นกฎของไตรลักษณ์
นามเกิดปัญหาขึ้นบางครั้ง หรือตลอดเวลา?
บางครั้ง…
เมื่อใดนามประกอบด้วยรูป
เกิดปัญหาตลอดเวลา
แต่เมื่อใดนามเป็นอิสระ ตัวของมันเองล้วนๆ
ปัญหาก็ไม่เกิด
แต่เมื่อใดเผลอ รูปเข้าไปในนาม เป็นนามรูป
ปัญหาก็เกิด แต่พอเรามีสติปัญญา
แยกรูปออกมาจากนามได้
ปัญหาก็ดับ
เรารู้ว่าตัวรูปคือตัวปัญหา
โดยตัวของมันเอง
เพราะมันเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์
ที่พระพุทธเจ้าค้นพบ
การที่จะพ้นทุกข์ได้มีทางเดียว
คือจะต้องแยกรูปออกจากนามให้ได้
แล้วรูปจะเข้าไม่ถึงนาม เรียกว่าพ้นทุกข์
ความพยายามของเราคือจุดนั้น
จุดที่จะแยกรูปออกจากนาม
เอาอะไรมาแยก
ร้านตัดกระจกใช้เพชรตัดกระจก
เพราะมันคมกว่ากระจก
เวลากรีด เราไม่เห็นรอยตัด
แต่เราจะรู้ว่ากระจกขาด
ต่อเมื่อเราไปกดออกมา
วัตถุ ยังละเอียดขนาดนั้น
แต่อันนี้คือนามธรรม
แยกรูปนามแบบสมถะหรือวิปัสสนา
ถ้าเราเอานมมาแก้วหนึ่ง
ในนมหนึ่งแก้วมีน้ำใสอยู่กี่เปอร์เซ็นต์
ตัวนมจริงๆ เป็นผง
ถ้าไปกลั่นเอาน้ำออกมา
นมก็จะข้นลงๆ ในที่สุด
เอาไปเคี่ยวแล้วตากแดด ก็เหลือแต่ผง
น้ำใสๆ คือนาม
ตัวขุ่นๆ คือรูป
การที่จะแยกนมออกจากน้ำ
มีขบวนการคือกลั่น หรือไปตากให้มันแห้ง
ถ้าเอาไปตากให้มันแห้งเหลือแต่ผงนม
ก็ใช้เวลานานหน่อย
แต่พอไปกลั่นก็ใช้เวลาเร็วขึ้น
ระบบการแยกรูปแยกนามจึงมีสองระบบ
ระบบสมถะ เหมือนนำนมไปตากแดดให้น้ำแห้ง
มันจะแห้งวันไหนก็ไม่รู้ แต่ตากไว้อย่างนั้น
ระบบวิปัสสนา เหมือนนำนมไปกลั่น
กำหนดเวลาได้เลยว่า
น้ำเดือดขนาดนี้ใช้เวลาชั่วโมงเดียวหรือสองชั่วโมง
น้ำถึงจะแห้ง แล้วนำไปตากแดดอีก
แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องไปตากแดดให้ลำบาก
พอมันงวดเหลือแต่นม
นำเข้าตู้อบ หรือไมโครเวฟ
ไม่นานก็เหลือแต่นมแห้งๆ เป็นผง
กำหนดเวลาได้
พระพุทธเจ้าจึงมั่นใจในสูตรของท่าน
ถ้าคนไหนทำตามสูตรที่ท่านตรัสรู้แล้ว
อย่างช้าที่สุดไม่เกินเจ็ดปี
อย่างเร็วที่สุดไม่เกินเจ็ดวัน
ถ้าท่านไม่มั่นใจขนาดนั้น
ท่านไม่กล้ารับประกันเวลา
ดังนั้นระบบวิปัสสนาเราประกันได้ว่า
เมื่อนำนมกับน้ำไปต้ม
เราจะให้แห้งได้ในเวลาเท่าไรกำหนดได้
และเราจะเอานมที่แห้งจากน้ำ
ไปใส่ตู้อบหรือไมโครเวฟ
ให้มันแห้งในเวลาเท่าไร กำหนดได้
แต่ถ้าเอาไปตากแดดให้มันแห้ง
โดยอำนาจของแดด กำหนดเวลาไม่ได้
ไม่รู้ว่าวันไหนมันจะแห้ง
บางวันมีแดด บางวันไม่มีแดด
บางวันแดดจ้า บางวันแดดอ่อน
บางวันฝนตก ไม่สามารถควบคุมเงื่อนไขได้
แต่วิปัสสนานั้น ควบคุมเงื่อนไขได้
ธาตุเกิดและธาตุดับ
ย้อนไปที่รูปกับนาม
รูปเป็นส่วนที่เกิดปัญหา
โดยตัวของมันเอง
จึงเกิดปัญหาตลอดเวลา
ปัญหาหรือความทุกข์ที่เกิด
๑. เกิดด้วยตัวของมันเองแน่นอน
๒. เราไม่รู้การเกิดของมัน
๓. เรารู้การเกิดของมัน
๔. เราเป็นผู้สร้างมันขึ้น
๕. ผู้อื่นเป็นผู้สร้างขึ้น
๖. เรากับผู้อื่นร่วมกันสร้างขึ้น
นี่เฉพาะเงื่อนไขของรูป
มาดูว่า ถ้าเราเป็นผู้สร้างขึ้น
เรารู้ว่าปัญหาต้องเกิด
ทุกปัญหาเป็นกลาง เป็นพลังอย่างหนึ่ง
เหมือนไฟกับน้ำ ยังไม่เป็นตัวให้เราทุกข์
แต่มันเป็นกำลัง
ในร่างกายของเรา
ถ้าไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหนัก ความหน่วง
เราก็อยู่ไม่ได้
มันจะมีธาตุเกิดและธาตุดับอยู่ในตัว
ธาตุเกิดคือความร้อน ได้แก่ธาตุไฟและธาตุดิน
ธาตุดับคือธาตุน้ำและธาตุลม
เพราะฉะนั้นธาตุสี่จะมีการดับและเกิด
ในตัวของมันเอง
ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมผสานกัน
เราแยกไม่ออกว่าอันไหนเป็นธาตุหนัก
อันไหนเป็นธาตุเบา เป็นรายละเอียดของมัน
ถ้าร่างกายไม่มีธาตุไฟและธาตุดิน
ก็จะไม่เป็นร่างกาย
แต่ถ้ามีแต่ธาตุดินกับธาตุไฟ
ไม่มีธาตุน้ำกับธาตุลม
ก็จะไม่เป็นรูปอันนี้เหมือนกัน
ดังนั้นในตัวดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เป็นรูป
จึงสร้างการเกิดดับ
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
ธาตุสี่เป็นสิ่งมหัศจรรย์
เมื่อมันมาสมดุลเป็นปาฏิหาริย์
สัญชาตญาณคือพลังดิบ
เมื่อธาตุสี่สมดุลกันพอดี
ก่อให้เกิดพลังดิน น้ำ ลม ไฟ
เมื่อดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลกันพอดี
ก่อให้เกิดพลังสองอย่าง
เรียกว่าอากาศธาตุ คือออกซิเจน
และวิญญาณธาตุ คือธาตุรู้
ธาตุรู้นี้เป็นพลังสุดยอดของสิ่งมีชีวิต
โดยการรวมตัวของธาตุสี่
เมื่อเรามาปฏิบัติ เราจะดูแลธาตุสี่
ด้วยการใช้ตัววิญญาณธาตุ
วิญญาณธาตุที่เกิดขึ้นในธาตุสี่และขันธ์ห้า
ก็เป็นวิญญาณที่เป็นพลังรู้อันหนึ่ง
พลังรู้ที่เกิดโดยธาตุสี่ขันธ์ห้า
พลังรู้นี้เป็นพลังดิบ
พลังรู้ที่ดิบ เราเรียกว่าสัญชาตญาณ
เมื่อเป็นพลังดิบอยู่
เราเอามาใช้แยกรูปแยกนามไม่ได้
เพราะรายละเอียดไม่พอ
เหมือนพลังดิบเช่น เทียนไข ตะเกียง
จุดไต้ จุดไฟ จุดฟืน มันเป็นพลังดิบ
ความร้อนแรง ความคมชัด
ไม่พอที่จะมาบัดกรี มาตัดเหล็ก
มาใช้กับเครื่องอีเล็กโทรนิกทั้งหลาย
ก็เอาพลังดิบนี้มาผ่านขบวนการ
ขบวนการคือกระแสไฟฟ้า โดยพลังความร้อน
แล้วเพิ่มพลังขึ้นมา สามารถนำไปบัดกรีได้
ตัดเหล็กได้ เปลี่ยนสภาวะร้อนให้เป็นเย็น
เย็นให้เป็นร้อนได้ เปลี่ยนสภาวะมืดให้เป็นสว่าง
สว่างให้เป็นมืดได้ ต้องเอามาพัฒนา
ฉันใดก็ดี ตัวรู้สึกตัวที่เป็นพลังดิบ
เราเรียกว่าสัญชาตญาณ
สัญชาตญาณนี้พัฒนามาจากตัววิญญาณ
วิญญาณนี้พัฒนามาจากธาตุสี่
ขบวนการแยกรูปแยกนาม
ขบวนการที่เราจะแยกรูปแยกนาม
แค่แยกน้ำออกจากนมยังใช้ขบวนการตั้งเยอะ
แยกกายออกจากใจ แยกรูปออกจากนาม
ถ้าใช้ความรู้ระดับสัญชาตญาณ ทำไม่ได้
ถ้าเราเก็บน้ำกับนมไว้นานๆ
นมต้องบูดเน่า
แต่ถ้าเราแยกน้ำออกมาใสๆ
แยกผงนมออกต่างหาก
ทั้งผงและน้ำเก็บไว้ทั้งปีก็ไม่เสีย
การแยกรูปแยกนาม
เพื่อเข้าสู่ความเป็นอมตะ
เรียกว่าอมตธรรม
รูปก็ไม่เสื่อม นามก็ไม่เสื่อม
แต่เมื่อใดรูปกับนามปนกันโดยที่ไม่แยก
เหมือนน้ำนม ไม่เกินสามวัน
บางทีเก็บวันเดียวก็ไม่อยากทานแล้ว
มันเริ่มมีกลิ่นตุๆ แล้ว
แต่น้ำใสๆ ที่กลั่นแล้ว เก็บได้ทั้งปี
หลายปีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
ผงนมก็เช่นเดียวกัน
แต่มันเป็นรูปอยู่ มันก็ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ดี
แต่อายุมันยืนกว่าที่ทั้งสองอย่างมารวมกัน
อะไรก็ตามขึ้นชื่อว่ารูป
มีการเปลี่ยนแปลงหมด
แต่จะเปลี่ยนแปลงช้าหรือเปลี่ยนแปลงไว
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข
การเปลี่ยนแปลงของรูปนามเป็นทุกข์
กายกับใจถ้ามารวมกัน มีการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงของรูปกับนาม
กายกับใจ รวมกันเราเรียกว่า…
“ชาติปิทุกขา การเกิดเป็นทุกข์
ชราปิทุกขา ความแก่เป็นทุกข์
พยาธิปิทุกขา ความเจ็บป่วยเป็นทุกข์
มรณังปิทุกขัง ความตายเป็นทุกข์”
การเปลี่ยนแปลงทั้งสี่อย่าง
โดยที่เราไม่รู้ต่อการเปลี่ยนแปลงของมัน
ก่อให้เกิดรูปอีกอันหนึ่ง
ที่เข้าไปอยู่ข้างใน
รูปนั้นเรียกว่า
“โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส”
เปลี่ยนเป็นนามรูป
“อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข”
ประสบกับสิ่งที่ไม่น่ารักก็เป็นทุกข์
“ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข”
พลัดพรากจากสิ่งที่น่ารักเป็นทุกข์
สามีภรรยารักกัน เกิดพลัดพรากจากกัน
ร้องไห้น้ำตาแทบเป็นสายเลือด
เพราะเราไม่รู้ถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงของมัน
“ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง”
ปรารถนาสิ่งใด
ปรารถนาให้เงินหนึ่งล้านอยู่กับตัวเอง
ไม่ให้มันเสียไปเลย ไม่ได้
ปรารถนาให้คนที่รักที่สุดอยู่กับเรานานที่สุด
ก็เป็นทุกข์
“สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา”
ทั้งหมดขึ้นอยู่กับประการเดียวคือ
การเข้าไปยึดทั้งรูปและนาม
เป็นทุกข์โดยแท้ เป็นต้นตอของทุกข์
เราสวดกันทุกวัน แต่เราตีบทไม่แตก
เพราะเราสวดแบบนกแก้วนกขุนทองไปแบบนั้น
เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่าทีที่เราจะไปจัดการ
รูปนามและนามรูป
ให้เป็นประโยชน์นั้น ทำอย่างไร?
แก้ปัญหา เพิ่มปัญญา
ถามก่อนว่าช่วงเช้าการออกกำลังกาย
สบายหรือไม่สบาย…ไม่สบาย
มันหนัก มันเหนื่อย เหงื่อแตก
หายใจแทบไม่ทัน
เป็นปัญหาที่เราสร้างขึ้น หรือว่ามันเกิดเอง?
…เราเจตนาสร้างขึ้น
ความทุกข์และปัญหาที่เราเจตนาสร้างขึ้น
ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันหนัก มันเหนื่อย
เหงื่อกาฬแตก หายใจไม่ทั่วท้อง
แทบจะใจขาด รู้ว่าเป็นทุกข์
เราทำไปทำไม?
เราสร้างปัญหาเพราะเรารู้ผลว่า
การสร้างปัญหาอย่างนี้ มันจะเกิดผลอย่างนี้
เพราะเรารู้ขบวนการ
เวลาครูออกข้อสอบมา เรียกว่าออกปัญหา
เราไม่ชอบ แต่เราต้องทำ
เพราะรู้ว่าถ้าตอบปัญหาได้ มันจะสบาย
มันจะสอบได้
ที่เราเรียนจบกันมา
ถ้าไม่ผ่านการออกข้อสอบของครู
เราจะเรียนจบมาไม่ได้
นั่นคือการสร้างปัญหาขึ้นมาเพื่อที่จะ
พัฒนาสติปัญญา ให้เกิดแสงสว่าง
เกิดเท่าใด ดับเท่านั้น หมดปัญหา
แต่ถ้าเราไปเจอปัญหา
โดยที่เราไม่รู้ขบวนการการสร้าง
คนอื่นที่มาสร้างปัญหาก็ไม่มีขบวนการ
ว่ามันจะเป็นประโยชน์อย่างไร
มันจะได้อะไร
อันนี้คือตัวทุกข์แล้ว
แต่ทุกข์เพราะปัญหาที่เราสร้างขึ้น
และคนอื่นสร้างขึ้นร่วมกับเรา
เรารู้ขบวนการขั้นตอนว่า
มันจะไปจบอย่างไร
นี้เรียกว่าตัวปัญหาและตัวทุกข์
กลายเป็นพลังงาน
สมมติเขาออกข้อสอบมาสิบข้อ
เราตอบได้ห้าข้อ
ปัญหานั้นเกิดขึ้นมา
เราดับได้คือตอบถูก
แต่อีกห้าข้อมันเกิดปัญหา
แล้วเราดับมันไม่ได้
ต้องกลับไปทำใหม่
เราต้องไปหาคำตอบให้มันครบ
ถ้าคนไหนตอบได้มากที่สุด
ปัญหาสิบข้อตอบได้แปดข้อเก้าข้อ
ก็ไปแก้ปัญหาอีกแค่สองข้อ
ถ้าปัญหาสิบข้อ เราตอบได้สิบข้อ
เกิดเท่าใด ดับเท่านั้น
เราก็สบายใจ
เกิดเท่าใดดับเท่านั้น หมดปัญหา
ออกข้อสอบมาสิบข้อ เราตอบได้สิบข้อ
หมดปัญหา สบายใจ
ทุกข์จากรูปเกิดตลอดเวลา
หายใจเข้ากับหายใจออก
ในอัตราส่วนที่เท่าๆ กัน
ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าหายใจเข้าสั้น หายใจออกยาว
หายใจเข้ายาว หายใจออกสั้นเกินไป
เกิดปัญหา เพราะไม่สมดุลกัน
หลักความสมดุล
เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหา
มัชฌิมาปฏิปทา
ดังนั้นเราจะเห็นว่า
รูปกับนาม ถ้าวิเคราะห์วิจัยให้ลึกๆ แล้ว
มันสนุกและหลากหลายมาก
จะทำให้เราเกิดปัญญามหาศาล
แต่ส่วนใหญ่เรามองอย่างเผินๆ
เรานั่งนานๆ เกิดปัญหา
ปัญหาคือหนักก้น หนักหลัง หนักไหล่
ปวดขา เมื่อย เพลีย
ปัญหานี้เราสร้างขึ้นหรือมันสร้างเอง
โดยรูปมันสร้างเอง
ในรูปนี้มีนามอยู่
คือเข้าไปรู้ว่าการนั่งอย่างนี้หนัก
จะทำอย่างไรให้มันเบาได้
ใครเป็นผู้เข้าไปทำให้มันเบา
การที่ทำให้มันเบาได้
เรียกว่าเข้าไปแก้ปัญหา
มัน question เข้ามา
เราก็ answer ทันที
มันหนักเราก็เปลี่ยนได้
การตอบปัญหาได้
คือขบวนการของการดับ
และปัญหาต้องเกิดตลอดเวลา
ในเรื่องของรูป
เพราะฉะนั้น การบำบัดทุกข์ที่เกิดจากรูป
ต้องทำตลอดเวลา นั่นคือขบวนการ
เพราะมันเกิดตลอดเวลา
ถ้าหากว่าเราไม่บำบัดตลอดเวลา
เราลืมแก้มันเสีย
เขาเรียกว่าเศษกรรม
แล้วมันจะรวมเป็นโรคภัยไข้เจ็บต่อไป
สมถะติดวิบาก
วิบากกรรมไม่มีใครสร้างให้เรา
โดยธรรมชาติ มันสร้างมันเอง
สมมติว่าข้อสอบสิบข้อ
เราทำได้ห้าข้อ
อีกห้าข้อเป็นวิบากกรรม
ที่เราจะต้องไปทำใหม่ ไปแก้ใหม่
สิบข้อเราแก้ปัญหาได้แปดข้อ
เราก็มีวิบากกรรมแค่สอง
เราดับได้แปด เหลือแค่สอง
เราก็ไปตามดับเอา
ปัญหาของรูป เรานั่งอยู่หนึ่งชั่วโมง
เราแก้มันตลอดเวลา
ในหนึ่งชั่วโมงนั้นความทุกข์ที่ค้างอยู่
ตามข้อ ตามแขน ตามไหล่ ไม่เหลืออยู่
เพราะได้รับการแก้ไข
แต่อีกคนนั่งแช่อยู่หนึ่งชั่วโมง
โดยที่ไม่บำบัด ไม่แก้ไข
ความทุกข์เกิด เป็นวิบาก
ผู้ที่ปฏิบัติภาวนาในระดับสมถะ
จึงไปสู่อารยะบุคคลไม่ได้
เพราะมันติดวิบาก
แต่วิปัสสนานั้น ปัญหาความไม่สบาย
เกิดขึ้นเท่าใดดับเท่านั้น แล้วมันจบ
แต่สมถะเกิดร้อยดับสิบ
ที่เหลือเก้าสิบเป็นผลวิบากกรรม
ผู้ที่ปฏิบัติสมถะทั้งหลาย
จึงแบกวิบากกรรมไปสู่แค่พรหมอย่างสูงสุด
ไปสู่โลกุตตระไม่ได้
พระพุทธเจ้าท่านจึงไม่ได้ทำตาม
อาฬารดาบสและอุทกดาบส
เพราะเป็นแค่สมถะ
ทรมานตนเองให้ลำบาก
ลัทธิอย่างนี้ยังมีอยู่ที่เมืองไทยเยอะทีเดียว
แม้แต่ในวิธีการหลวงพ่อเทียนเช่นกัน
บางคนต้องการทำสมถะ
ไม่ต้องการทำวิปัสสนา
เพราะทำสมถะมันมีเรื่องสนุกเยอะ
ได้เล่นกับทุกข์ ได้สนุกกับทุกข์อยู่
นั่นคือวิบากกรรม
สมถะได้แค่พรหม
คนมีวิบากอยู่ คือเอาทุกข์เป็นที่เล่น ที่สนุก
เรียกว่า อัตตกิลมัตถานุโยค
ยังหาความสนุกในทุกข์อยู่
แต่บางคนไม่อยากทำแล้ว
ทำให้สบายดีกว่า ไปทำให้ลำบากทำไม
มานั่งยกมือ นั่งทรมานกายทำไม
ไปนอนหลับสบายดีกว่า
เป็นวิบากในฝ่ายตรงข้าม
เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค
ไปติดสบาย
ทำความเพียรก็ทำแบบสบายๆ
นั่งหลับบ้าง รู้สึกตัวก็ยกมือไป
ง่วงก็หลับต่อ เป็นกามสุขัลลิกานุโยค
เพราะการเกิดการดับไม่สมดุลกัน
หรืออีกฝ่ายนั่งทำเต็มที่ได้
สามชั่วโมง ห้าชั่วโมง ทนได้สบาย
มีนิมิตเกิดขึ้นมากมาย มีสีแสง
มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นมากมาย
แต่กายต้องรับผลวิบาก
ผู้ที่ติดสมถะจึงไปนิพพานไม่ได้
ไปได้แค่เทวดาและพรหมอย่างสูงสุด
ติดอยู่แค่นั้น
ในประเทศไทย ผู้สอนกรรมฐาน
ปฏิบัติอยู่ตรงนี้เก้าสิบเปอร์เซ็นต์
วิปัสสนาไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์
สมัยที่อาตมาเข้าใจธรรมะใหม่ๆ
อาตมาถามหลวงพ่อเทียนว่า
ประเทศไทยมีชาวพุทธเก้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์
แต่ชาวพุทธแท้มีแค่สิบเปอร์เซ็นต์จริงหรือ
ท่านบอกไม่ถึงสองเปอร์เซ็นต์
ในร้อยคนผู้เป็นพุทธที่เข้าใจแท้ๆ
ไม่ถึงสองคน อีกเก้าสิบแปดคนคืออะไร?
แต่เดี๋ยวนี้พัฒนามาเกือบสามสิบปี
น่าจะขึ้นถึงสามสิบเปอร์เซ็นต์
เพราะหลังจากที่หลวงพ่อเทียน
หลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อชา เกิดขึ้น
คนก็ตื่นตัวในเรื่องการภาวนา
แยกอะไรเป็นสมถะ อะไรเป็นวิปัสสนา
แต่ก่อนหน้านั้นมันมั่วๆ มาตลอด
ปฏิบัติสมถะก็ว่าเป็นวิปัสสนา
ปฏิบัติวิปัสสนาก็ว่าเป็นสมถะ
บางคนทำอย่างไรก็ได้
เลยไม่ใช่หลักสูตรที่พระพุทธเจ้าสอน
ละทางสุดโต่งสองทาง
ที่พระพุทธเจ้าสอนว่า
ผู้ปฏิบัติพึงละทางสุดโต่งสองทาง
ทางแรกคืออย่าสนุกกับความทุกข์
คืออัตตกิลมัตถานุโยค
เอาความทุกข์มาเป็นประเด็นในการปฏิบัติ
เพราะเป็นการทำร้ายตัวเอง
แล้วคนนั้นก็จะได้รับวิบากทางกาย
นั่งนิ่งไม่ไหวติง
ร่างกายเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เราต้องขยันเปลี่ยนตามเขา
เพื่อแก้ไขวิบาก
อีกคนหนึ่งติดสบาย
เรื่องอะไรจะไปทรมานกายให้ลำบาก
เอาสบายดีกว่า เป็นกามสุขัลลิกานุโยค
พระพุทธเจ้าบอกว่าเอาสายกลาง
ทำให้พอดี
หนึ่ง ต้องเห็นถูกต้อง
เห็นถูกต้องคือ
เห็นทุกข์ในร่างกายมีตลอดเวลา
สอง ถ้าเราไม่สามารถควบคุมทุกข์
ที่เกิดทางกายได้ ทุกข์นั้นจะเลยไปหาจิต
เรียกว่าสมุทัย
รูปนามเป็นทุกข์
แต่เมื่อใดเราควบคุมทุกข์อยู่ในรูปนามไม่ได้
เข้าไปสู่จิต เรียกว่านามรูป
คือเป็นสมุทัย
ตัวนามรูปเป็นสมุทัยที่แท้จริง
รูปนามเป็นพียงตัวร่วม
ไม่ได้เป็นสมุทัยโดยตรง
ถ้าเราแก้ความทุกข์ในรูปนามทัน
ทุกข์ก็จะไม่ลามไปสู่จิต ไม่เป็นนามรูป
รูปที่อยู่ในนามคือความคิด
เราจะทำอย่างไรให้ทุกข์เป็นนิโรธให้ได้
คือมันดับ
ตัวรูปที่มันอยู่ในนาม
คือตัวความคิดที่มันอยู่ในตัวรู้
เราจะแยกออกมาอย่างไร
ต้องใช้ขบวนการ หรือกรรมวิธี
เรียกว่ามรรค
ท่านแยกไว้แปดอย่าง มรรคมีองค์แปด
องค์แรกสัมมาทิฏฐิ
ความหมายของสัมมทิฏฐิข้อหนึ่งคือ
รูปเป็นที่ตั้งของทุกข์โดยประการเดียว
เราต้องปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา
เพื่อบำบัดและควบคุมทุกข์
ให้อยู่ในแค่รูปนาม
แต่ถ้าเราไปสร้างทุกข์ให้กับรูปนาม
ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว
ไปทรมานกายเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เพราะไปสร้างความทุกข์ให้กับรูป
เพราะรูปโดยสภาวะแล้ว
มันเป็นทุกข์โดยอัตโนมัติของมันอยู่แล้ว
เราไปเพิ่มทุกข์ให้มันอีก
เป็นมิจฉาทิฏฐิ
เห็นผิดเป็นสมถะ
สมถะจึงมีสองแบบ
หนึ่ง สมถะแบบพราหมณ์
สอง สมถะแบบพุทธ
สมถะแบบพุทธจะเอื้อต่อวิปัสสนา
แต่สมถะแบบพราหมณ์
จะเป็นเส้นขนานกับวิปัสสนา
คนละทางกันเลย
บำบัดทุกข์ในรูป กำจัดทุกข์ในนาม
ในประเทศไทยเรา
เป็นสมถะแบบพราหมณ์
ถึงเก้าสิบเปอร์เซ็นต์
เวลาปฏิบัติต้องการเห็นสีเห
เห็นฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์
เห็นเลข เห็นหวย เห็นเบอร์
รู้ล่วงหน้า อะไรทำนองนั้น
แต่ไม่ต้องการเห็นทุกข์
สะกดทุกข์และเปลี่ยนทุกข์ให
ซึ่งมันเป็นสมถะในแง่ของรูป
คำจำกัดความของสัมมาทิฏฐิอั
เมื่อร่างกายมันเป็นทุกข์
ทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆ
ทุกข์มีที่มาที่ไปเรียกว่า สมุทัย
และสมุทัยนี้เราจะดับมันได้
แต่ต้องมีขบวนการ
มรรคองค์ที่หนึ่ง
เราเห็นความทุกข์เป็นสิ่งที
ถ้าทุกข์ที่เกิดทางสมุทัย
เราเรียกว่า ดับ กำจัด หรือเอาออก
แต่ทุกข์ที่เกิดในรูป เราใช้คำว่า บำบัด
ทุกข์ต้องบำบัด
ท่านไม่ใช้คำว่าดับ
บำบัดหมายความว่ามันเกิดขึ้
ต้องคอยบำบัดเรื่อยๆ
แต่ถ้า ดับ หมายความว่า
มันแยกออกไปต่างหากได้เลย
แต่ความทุกข์ที่เกิดในรูป
มันแยกออกไปต่างหากไม่ได้
เพราะมันเป็นกฎของมัน
เรียกว่าไตรลักษณ์
แต่ถ้าทุกข์ที่เกิดในกาย
ถูกควบคุมจำกัดขอบเขตอยู่
บำบัดอยู่แค่รูป
มันก็จะไม่ไหลไปสู่นาม
ก็จะไม่เป็นนามรูป
เพราะมันแยกออกมาแล้ว
แต่ในกรณีที่เราไม่รู้มรรคแ
เพราะเราไม่รู้ขบวนการ
เราก็จะสร้างทุกข์ให้กับตัว
เห็นถูกคิดถูก เห็นผิดคิดผิด
ขบวนการกำจัดทุกข์อันที่หนึ
คือ อริยสัจสี่
ขบวนการอันที่สอง
คือ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาทิฏฐิคือเห็นถูก
เห็นว่าความทุกข์แก้ไขได้ด้
คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ยังไม่พอ ต้องใช้ขบวนการที่สองคือ
สัมมาสังกัปปะ
สัมมาสังกัปปะแปลว่า คิดถูก
เห็นถูกถึงจะคิดถูก เห็นผิดก็คิดผิด
เช่นเราเดินทางไปในค่ำคืน
แสงสว่างลิบหรี่ไม่มีไฟฉาย
อาศัยแสงจันทร์
สมัยเราเป็นเด็กไฟฉายไม่มี
อาตมาเป็นเด็กวัด ต้องไปนอนวัด
สวดมนต์ เรียนภาษา
เราทำงานวันยังค่ำ ไฟฉายไม่มี
บ้านห่างจากวัดเกือบกิโล
ต้องวิ่งจากบ้านไปวัด
บางวันไม่มีแสงจันทร์
ก็ใช้ไม้แคร่ เอาไม่ไผ่มาสับๆ
จุดแล้ววิ่ง พอวิ่งลมมันพัดไฟก็ลุก
พอเห็นทาง
ถ้าวันไหนเดือนหงายมีพระจัน
ก็เห็นทาง พอไปได้
บางครั้งอาตมาเอาธูปมาเล่น
มาจุดแล้วก็หมุน กันผีหลอก
ที่จริงเพื่อให้ใจอยู่กับธู
เพราะทางเส้นนั้นมีคนตายเยอ
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ไปเห็นวัตถุชนิดหนึ่ง
มันเลี้ยวไปเลี้ยวมาเหมือนง
เราก็ชะงัก คิดว่างู
คว้าเอาก้อนหินข้างทางเขวี้
มันก็ไม่ดิ้น ดูอีกทีมันไม่ใช่งู
เป็นเชือกเส้นใหญ่
เรียกว่าเราเห็นผิด เห็นว่าเชือกเป็นงู
วิธีการที่จะรู้ว่าเชือกเป็
ต้องมีการพิสูจน์
เมื่อมีมิจฉาทิฏฐิ ก็จะเกิดมิจฉาสังกัปปะ
คิดผิดด้วย แต่พอเรามีการตรวจสอบก่อน
แล้วค่อยไปสัมผัสอีกที
สัมมาสังกัปปะก็เกิดขึ้น
สัมมาสังกัปปะ คิดแบบมีสติ
สัมมาสังกัปปะมีนิยามสามประ
หนึ่ง คิดอะไรก็ได้ แต่ให้ออกจากความอยากได้
เรียกว่า เนกขัมมสังกัปปะ
สอง คิดอะไรก็ได้ ที่ไม่เบียดเบียนตนเอง
เรียกว่า อัพยาปาทสังกัปปะ
สาม คิดอะไรก็ได้ ที่ไม่เบียดเบียนคนอื่น
เรียกว่า อวิหิงสาสังกัปปะ
ปฏิบัติไม่ใช่ห้ามไม่ให้คิด
สัมมาสังกัปปะแปลว่าคิดถูก
สังกัปคือความคิดแบบมีสติปั
สังกัปกับสังขารคนละเรื่อง
สังขารคิดแบบขาดสติ
แต่สังกัปคิดแบบมีสติ
ถ้าคิดแบบมีสติ
มันจะก่อให้เกิดคุณภาพสามปร
หนึ่ง ไม่คิดไปตามความอยาก
เรียว่า เนกขัมมะสังกัปปะ
สอง สิ่งที่คิดออกมาล้วนแต่เป็น
กับตนเอง เป็น อัพยาปาทสังกัปปะ
สาม สิ่งที่คิดออกมานั้น
เอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่นได้
เรียกว่า อวิหิงสาสังกัปปะ
อย่างนี้เรียกว่าคิดถูก
ไม่ได้ห้ามไม่ให้คิด
ไม่ได้ไม่ให้คิด แต่คิดให้ถูก
แล้วมันจะออกมาสามอย่าง
หนึ่ง เป็นการออกจากความอยาก
อะไรก็ตามที่ทำให้เราอยากโน
พยายามที่จะออกจากมัน
เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่จำเป
สอง อย่าเบียดเบียนตัวเอง
สาม อย่าเบียดเบียนคนอื่น
เอื้อตัวเองและผู้อื่น เรียกว่าคิดถูก
แต่ถ้าไม่มีองค์ประกอบสามปร
คิดออกมาเป็นมิจฉาสังกัปปะ
ในคำว่ารูปนาม มีความหมายละเอียดลึกซึ้งมา
เราจะดูมันเผินๆ ไม่ได้
คอนเซ็ปต์หลักก็คือ
รูปนี้สร้างความไม่สบาย
ให้แก่เราตลอดเวลา
สอง เมื่อความไม่สบายนี้
ไม่ได้ถูกบำบัดอย่างเหมาะสม
ความไม่สบายของรูป ผ่านไปสู่นาม
ความทุกข์ก็เกิดจากนามด้วย
การบำบัดความทุกข์ที่เกิดจา
และความทุกข์จากรูปที่ไหลไป
อย่างไหนแก้ไขง่ายกว่า
รูปแก้ไขได้ง่ายกว่า เวลายกแค่นี้ก็ดับแล้ว
นี่เรียกว่าบำบัด
ลักษณะที่ดับแล้วเกิด เกิดแล้วดับ
เราเรียกว่าบำบัด
ลักษณะที่ดับแล้วไม่เกิดเลย
เรียกว่าขจัด หรือดับ เหมือนเราดับไฟ
ในการบำบัดความทุกข์ออกจากก
เป็นกิจกรรมที่เราต้องทำตลอ
ชีวิตจึงเกิดการเคลื่อนไหว
เคลื่อนไหวเพื่อบำบัดทุกข์
บำบัดทุกข์แบบสัญชาตญาณเป็นโมหะ
การบำบัดทุกข์มีสองลักษณะ
หนึ่ง บำบัดด้วยความไม่รู้
สอง บำบัดด้วยความรู้สึกตัว
เช่น รู้สึกหนักก็ลุก เท่านั้นเอง
ไม่ต้องไปรู้อะไรมัน
เพื่อต้องการเอาความหนักนั้
ลักษณะนี้บำบัดด้วยความไม่ร
ความสบายเกิดขึ้น
แต่มันเกิดขึ้นด้วยความไม่ร
แทนที่จะเป็นปัญญา กลายเป็นโมหะ
เพราะการบำบัดทุกข์นั้น
ทำด้วยอำนาจของสัญชาตญาณ
แต่ก่อนที่จะบำบัด รู้ให้ชัดก่อน
ว่าหนักขนาดนี้ ทนได้หรือไม่
ถ้าทนได้ก็นั่งไปอีกหน่อย
การตามรู้ ตามพิจารณาอย่างนี้
ขบวนการรู้เกิดขึ้นแล้ว
หนึ่ง ทุกข์ต้องกำหนดรู้
ตามหลักอริยสัจสี่
สอง ความทุกข์นี้จะเข้าไปสู่จิต
สมุทัยต้องละ
ต้องละความรู้สึกนั้นเสีย
เข้าไปพิจารณาด้วยหลักอริยส
หนักเกินไปรู้สึกหงุดหงิดรำ
ไม่สนุก กลายเป็นสมุทัย
ก็ปรับนิดหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องลุกขึ้น
เห็นชัดก่อนบำบัด
ความหนักที่สะโพกเกิดขึ้นอย
อาตมาอธิบายมาหลายครั้งแล้ว
ไมต้องอธิบายซ้ำอีก
แต่ให้รู้ว่าการบำบัดทุกข์ท
ทำด้วยความรู้ตัวหรือไม่รู้
ถ้าทำด้วยความไม่รู้ตัว เป็นสมุทัย
สร้างสมุทัยขึ้นมา เรียกว่าอวิชชา หรือโมหะ
มันจะคิดหรือไม่ แต่มันเริ่มมีกรอบสมุทัยแล้
เป็นโมหะอวิชชา
แต่ถ้ามีการลำดับขบวนการเกิ
ขณะที่จะขยับ ให้ตามรู้ว่าทนได้แค่ไหน
ก็ปรับไป
ทั้งหมดเป็นร้อยๆ ตัวอย่างในร่างกายเรา
หายใจเข้า มันฝืดเพราะแน่นจมูก
เป็นทุกข์ แก้ไขได้ทันที
หายใจเข้ายาว หายใจออกสั้น ก็เป็นปัญหา
หายใจเข้าสั้น หายใจออกยาว ก็เป็นปัญหา
ประเด็นที่จะทำให้เกิดทุกข์
มีทุกส่วนของร่างกาย
ท่านจึงบอกว่าให้เห็นทุกข์ก
ทุกข์ต้องกำหนดรู้ ทุกข์ต้องให้เห็น
ทุกข์ต้องเข้าใจ
ทุกข์ต้องวิเคราะห์วิจัยให้
มันจะไม่เป็นสมุทัย
การที่จะยกทุกข์ออกจากสะโพก
ต้องเห็นชัดๆ ก่อนว่าอะไรเกิดขึ้นตรงนั้น
มันจะไม่เกิดเป็นสมุทัย
ต้องทำด้วยสติและปัญญา
คนที่ไม่ได้เจริญสติ เจริญปัญญาเลย
เขาจะไม่รู้อย่างนี้
ร้อยทั้งร้อย ไม่สบายก็ลุกหนีเท่านั้นเอง
ลุกหนีนั้นแสดงว่า
สมุทัยเข้าไปสู่จิตเรียบร้อ
เกิดความหงุดหงิด รำคาญ อึดอัด
เราลุกหนี เป็นสมุทัย นามรูป เรียบร้อยแล้ว
การที่จะเอาความอึดอัดออกจา
กับการเอาความรู้สึกไม่สบาย
อันไหนง่ายกว่า
แยกรูปแยกนามด้วยการเคลื่อนไหว
เราต้องขยันบำบัด
แต่ถ้าเรามีการฝึกฝนอบรม
มีการฟังเรื่องการเจริญสติ สมาธิ ปัญญาแล้ว
เราจะต้องใช้ตัวนี้บ่อยๆ
การปฏิบัติก็จะก้าวหน้า
ทุกครั้งก่อนที่เราจะขยับปรับเปลี่ยน
เพื่อที่จะบำบัดทุกข์ ให้ตามรู้เยอะๆ
หลวงพ่อเทียนจึงเอาการเคลื่อนไหว
มาเป็นประเด็น เป็นที่ตั้งของการตามรู้
เพื่อเป็นการบำบัดทุกข์อย่างรู้เนื้อรู้ตัว
เป็นการแยกรูปแยกนามไปในตัว
ทุกครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ
เพื่อบำบัดทุกข์อย่างรู้เนื้อรู้ตัวชัดเจน
ตรงนั้นแยกรูปกับนามได้เรียบร้อยแล้ว
แต่ว่ายังเป็นมรรคอยู่
เพราะการแยกรูปนามมีสองระดับ
ระดับมรรค และระดับผล
ระดับมรรค ต้องทำบ่อยๆ
มรรคต้องเจริญบ่อยๆ
นิโรธทำให้แจ้ง
ให้เห็นชัดๆ ว่ารูปกับนามแยกกันชัดเจนจริงมั้ย
ให้เห็นชัดๆ ไม่ใช่แยกแบบมั่วๆ
ให้เห็นชัดว่าไม่มีรูปเหลืออยู่จริงๆ
เมื่อจิตใจของเราไม่มีรูปเหลืออยู่
จะรู้สึกโล่ง โปร่ง เบา สบาย ว่าง ผ่อนคลาย
นิโรธจะออมาในลักษณะ โล่ง โปร่ง เบา
สบาย ผ่อนคลาย มีความสงบลึกซึ้ง มีความสุข
อันนี้เป็นผลที่ถาวร
แต่ผลเบื้องต้นที่เป็นระดับมรรค
ต้องปรับเดี๋ยวเบา เดี๋ยวหนัก เดี๋ยวคิด
ยังไม่เป็นผล ถ้าเป็นนิโรธเมื่อใดเป็นผล
มรรคเป็นเหตุ นิโรธเป็นผล
ระหว่างทุกข์และสมุทัย
ตัวไหนเป็นเหตุ ตัวไหนเป็นผล
รูปเป็นเกิด นามเป็นดับ
ทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ
เป็นผลหมายถึงดับ
เป็นเหตุหมายถึงเกิด
ในทุกข์และสมุทัย ที่เป็นการเกิดดับของทุกข์
นิโรธและมรรค เป็นการเกิดดับของทุกข์ในนาม
ทุกข์และสมุทัย เป็นการเกิดดับของทุกข์ในรูป
เพราะฉะนั้น ย่ออริยสัจสี่เหลือสองได้
คือรูปกับนาม
รูปกับนาม ตัวไหนเป็นเกิด ตัวไหนเป็นดับ
รูปเป็นเกิด นามเป็นดับ
การเฝ้าดูรูปนาม คือเฝ้าดูการเกิดดับนั้นเอง
เฝ้าดูการเคลื่อนไหว
คือเฝ้าดูการเกิดดับนั่นเอง
ในวิปัสสนาจึงเอาตัวเกิดดับเป็นอารมณ์
การเกิดดับเป็นปรมัตถ์
เมื่อชัดเจนเราก็ไม่สงสัย เราก็ตั้งใจทำ
ส่วนจะทำได้มากน้อย ขึ้นอยู่กับศรัทธา
เงื่อนไขห้าประการ
หนึ่ง ต้องมีศรัทธา ความรักที่จะทำ
สอง ต้องลงมือทำ
ศรัทธาและความเพียรจะถูกต้อง
มีตัววัดสามประการ
ถ้าถูกต้องแล้ว สติ สมาธิ ปัญญา ต้องเกิด
ถ้าศรัทธาและความเพียรไม่ถูกต้อง
สติ สมาธิ ปัญญา เกิดน้อย หรือไม่เกิด
อินทรีย์ห้ากลายเป็นพละห้าถ้าทำถูก
จะพิสูจน์ว่าศรัทธาและความเพียร
ของเราถูกต้องหรือไม่ ต้องดูสามตัวนี้
เราเรียกว่าอินทรีย์ห้า
ถ้าเราทำถูก มันก็เป็นพละห้า
ถ้าเราทำไม่ถูก มันก็เป็นอินทรีย์เหมือนเดิม
ไม่แน่ว่าจะถูกหรือจะผิด
ธรรมหมวดเดียวกันแต่มีสองชื่อ
คืออินทรีย์ห้าและพละห้า
ทำไมต้องมาซ้ำกัน
ถ้ายังเป็นอินทรีย์อยู่
ยังไม่แน่ว่าจะถูกหรือผิด
แต่ถ้าเมื่อใดเป็นพละ
หมายความว่ามันถูกฝ่ายเดียว
คือประกอบด้วยสติมีกำลัง
สมาธิมีกำลัง ปัญญามีกำลัง
เราจึงมาเพิ่มกำลังให้สติ สมาธิ ปัญญา
โดยการยกมือ ตามรู้การเดินจงกรม
คือการเพิ่มกำลังให้สติ สมาธิ ปัญญา
เมื่อสติ สมาธิ ปัญญา มีกำลังแล้ว
ทำให้ตัวญาณมีกำลัง
มันจะแยกจากสัญชาตญาณและวิญญาณ
พัฒนาจากสัญชาตญาณและวิญญาณ
ให้มาเป็นญาณเฉยๆ เรียกว่าตัวรู้
ถ้าเราไม่ชัดเจนแบบนี้ ปฏิบัติมั่วไปตลอด
มันเสียเวลา
ลืมตามรู้กลายเป็นวิบาก
เราจะทำเรื่องลึก เรื่องละเอียดให้ง่าย
แทนที่จะไปพิจารณาเรื่องเหล่านี้
มันไม่จำเป็นแล้ว
อธิบายว่าตัวญาณประกอบด้วยอะไร
หน้าที่ของเราคือ รู้สึกปวดหัวปวดท้อง
เอายาใส่ปาก ดื่มน้ำเรียบร้อย
ไม่ต้องมารู้ว่ายาตัวนี้ประกอบด้วยอะไร ใครผลิต
สิ่งที่หลวงพ่อพูดถึง กำลังอธิบายเม็ดยาตัวนี้
แต่หน้าที่ของพวกเรา คือเอายาใส่ปาก ดื่มน้ำ จบ
ในขณะที่รู้สึกไม่สบาย ก็เข้าไปตามรู้มันหน่อย จบ
แต่ความรู้สึกไม่สบายมันเกิดทางรูปตลอดเวลา
ต้องตามรู้ตลอดเวลา
ในครั้งใดที่เราลืมตามรู้ ครั้งนั้นเป็นวิบาก
ที่จะต้องไปแก้ต่อไป
เขาให้ปัญหามาสิบข้อ ทำได้ห้าข้อ
อีกห้าข้อไม่ต้องทำ
อาจารย์ต้องมาบอกให้ไปทำมาให้หมด
ไม่งั้นสอบไม่ผ่าน ต้องไปเรียนซ้ำชั้น
เราก็ต้องเร่งทำข้อสอบ
ปฏิบัติชาตินี้ไม่พอ
ชาติหน้าต้องมาปฏิบัติอีก
ไม่รู้จะได้เกืดมาฟังกันอีกหรือเปล่า
เรื่องนี้ถ้าเป็นรูปธรรมแล้วจะเห็นง่าย
ถ้าเป็นนามธรรมเห็นยาก
เพราะเรายังไม่มีประสบการณ์
ในเรื่องรูปนาม นามรูป แค่สองเรื่อง
เจาะลึกในรายละเอียดออกมาเป็นอย่างนี้
แต่ในภาคปฏิบัติของเรา
ให้มีศรัทธาและความเพียรในการทำ
แค่นั้นเอง
อย่าทำด้วยความอยาก
แต่ถ้าเราศรัทธาบ้าง ไม่ศรัทธาบ้าง
ความเพียรเต็มบ้าง ไม่เต็มบ้าง
รูปนามก็แยกได้บ้าง แยกไม่ได้บ้าง
แยกได้ครึ่งๆ กลางๆ
นมหนึ่งแก้ว เอาไปตากแดดเหลือครึ่งแก้ว
นมก็จะยังเสียได้อยู่
ถ้าอย่างนั้นเอาไปต้มให้เหลือครึ่งแก้ว
ทิ้งไว้นานๆ ยังเสียได้อีก
จนแยกได้ชัดเจนว่า นี่คือน้ำเปล่า นี่คือผงนม
ก็จะไม่เสีย
เหมือนเราเคลื่อนไหว ยกมือแต่ละครั้ง
แล้วแต่ว่าน้ำมันงวดแค่ไหน
ความคิดมันงวดลงแค่ไหน
ความรู้สึกตัวมันปรากฏแค่ไหน
ถ้าความรู้สึกตัวเหมือนน้ำใสๆ
มันก็แยกได้เยอะ
ผงนมข้นๆ มันแยกได้แค่ไหน
เราต้องคำนึงถึงคุณภาพในการยกแต่ละครั้ง
กำหนดรู้แต่ละครั้งให้ชัด
แต่คำว่าชัดกับเพ่งเป็นคนละเรื่อง
เพ่ง หมายถึงตั้งใจเป็นสาย
เพื่อเอาความรู้ให้เต็มที่
อันนี้เรียกว่าความอยากเข้าไปแล้ว
อยากจะให้มันชัด
อย่าทำด้วยความอยาก
เพราะความอยากเป็นสมุทัย
ทำให้มันสบาย
ลักษณะที่ทำให้สบาย ให้ถูกต้อง
เราไม่เรียกว่าอยาก
เราเรียกว่าฉันทะ ในอิทธิบาทสี่
รักในการที่จะทำ
ฉันทะที่ถูกต้อง ที่ไม่เป็นตัณหา
ประกอบด้วย วิริยะ จิตตะ วิมังสา
จึงไม่อยากให้มองข้าม
เราต้องทำให้มันถูกต้องให้มากไว้ก่อน
พยายามแยกน้ำใสออกมาให้มาก
บางทีได้ต้มออกมาได้น้ำใสครึ่งแก้ว
แต่ถ้าต้มกันจริงๆ จะได้น้ำใสหนึ่งแก้ว
ผงจะเหลือค่อนลงไปไม่ถึงครึ่งแก้ว
แต่วันนี้เราเคี่ยวไป แห้งแค่ครึ่งแก้วเอง
วันต่อไปก็ไปเคี่ยวต่ออีก
จนกระทั่งแยกผงกับน้ำออกมาให้ชัดเจน
นั่นคือความสำเร็จของเราว่า
แยกรูปแยกนามได้ชัดเจน เป็นปรมัตถ์
แล้วรูปก็จะไม่เกิดอีก
แต่ร่างกายก็ยังทุกข์อยู่
อย่าทำเป็นเล่นไป
พระพุทธเจ้าร่างกายยังทุกข์เหมือนเดิม
ตอนที่พระเทวทัตกลิ้งหินใส่ไปถูกเท้าท่าน
หมอชีวกต้องมารักษาอยู่หลายวัน
อันนี้เป็นวิบากอยู่
กายรับวิบากกรรมถ้วนหน้า
เราจะทำเล่นๆ เผลอๆ เพลินๆ ไม่ได้
ต้องทำอย่างเข้าใจ
ถ้าไม่เข้าใจก็มีปัญหาอีก
เบื่อ เครียด รำคาญ หงุดหงิด
ถ้าทำด้วยความเข้าใจ
จะเบาสบาย ปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย มีความสุข
เป็นตัววัดว่าทำถูกหรือผิด
ดูว่าปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย สบาย หรือเปล่า
ทำไปแล้วร่างกายมันเกร็ง นั่งทั้งวัน
ก็นอนลงบ้าง จะนั่งให้เครียดทำไม
แต่ระวังไม่ให้สบายเกินไป
หลวงพ่อไม่ได้ห้ามไม่ให้นอน
แต่ให้นอนเพื่อบำบัดทุกขเวทนา
แต่อย่าลืมว่าบำบัดได้แค่พอดี
ถ้าเกินพอดีก็หลับไปเลย
จะบอกว่าหลวงพ่อย่อหย่อนเกินไปให้นอน
แต่ความจริงแล้ว เอาไปใช้ไม่ถูก
ขออนุโมทนาสาธุในความตั้งใจที่จะศึกษา
เรียนรู้ในเรื่องนี้ต่อไป จนสามารถที่จะ
แยกกาย แยกใจ แยกทุกข์ แยกจิต
ออกชัดเจนด้วยกันทุกคนทุกท่านเทอญ
พระพุทธยานันทภิกขุ
One thought on “พระธรรมเทศนา ธรรมวิจัยในรูปนาม”
Comments are closed.