ตาในเกิดขึ้นได้อย่างไร
เราจะทำให้ตาในสว่างไสวตลอดเวลาได้อย่างไร
สมัยที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรม
แก่ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า
ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก
ของพระพุทธองค์
ที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
พอพระองค์เทศน์จบ
พระอัญญาโกณฑัญญะ
ผู้มีอาวุโสสูงรองจากพระองค์
เมื่อได้ฟังธรรมจบแล้วก็ได้ดวงตาใน
โดยได้เปล่งอุทานขึ้นในขณะนั้นว่า
“ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง
สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ”
ที่แปลว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดก็ย่อมมีการดับสลายไปเป็นธรรมดา”
เพราะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุให้เกิด
เมื่อหมดเหตุก็จบ
นี่เรียกว่า มีดวงตาเห็นธรรม
เมื่อใดที่พระองค์แสดงธรรมจบลง
ใครคนใดคนหนึ่งเข้าใจธรรม
ในสิ่งที่พระองค์แสดงอย่างแจ่มแจ้ง
พระองค์ก็องค์ก็จะเรียกคนๆ นั้นว่า
ได้ธรรมจักษุ หมายความว่า
ได้ดวงตาเห็นธรรม
นิพพานไม่มีการเกิด จึงไม่มีการดับ
ตาทิพย์ในพุทธศาสนาเป็นอย่างไร
เราจะเห็นความโลภ ความโกรธ ความหลง
ว่าเป็นภัยอันตรายได้อย่างไร
มีนิทานเซ็นอยู่เรื่องหนึ่ง ลูกศิษย์ไปถามอาจารย์เซ็นองค์หนึ่งว่า
ลูกศิษย์ : ผมอยากเห็นนรก อยากเห็นสวรรค์ครับ ถ้าอาจารย์แน่จริงเอาออกมาให้ผมเห็นเดี๋ยวนี้ได้ไหม
อาจารย์ : ก็ได้…
ขณะลูกศิษย์กำลังตั้งใจฟังคำตอบอย่างตั้งใจ อาจารย์ก็ยกน้ำชาสาดใส่หน้าลูกศิษย์คนนั้นแบบตั้งสติไม่ทัน ก็บันดาลโทสะสุดขีด จึงชักกระบี่ออกมาอย่างไม่รู้ตัวด้วยความโกรธ กะว่าจะแทงอาจารย์ให้มิดกระบี่ แต่อาจารย์ผู้บรรลุธรรมแล้ว ก็ไม่รู้สึกตกใจกลัวแม้แต่น้อย แต่กลับชี้หน้าบอกลูกศิษย์ที่กำลังโกรธ ตะโกนบอกศิษย์ด้วยเสียงปนหัวเราะ ดังลั่นทั้งศาลาทันทีว่า
อาจารย์ : นั่นๆ เห็นไหมๆ นรกเกิดแล้วๆ นรกเกิดแล้ว เธอเห็นนรกไหมๆ
ลูกศิษย์ : ไหนล่ะ
อาจารย์ : ก็ท่านกำลังโกรธนั้นไง…เห็นไหมๆ ท่านเห็นนรกของจริงไหม นรกเกิดแล้ว แกก็ตกนรกแล้วด้วย รีบขึ้นมาไอ้หนูรีบขึ้นมา…
ลูกศิษย์ : ออ อ่อ อ้อ อ๋อ…อ…อ…อ…เห็นแล้วขอรับอาจารย์…
ลูกศิษย์ได้สติขึ้นมา ก็วางกระบี่ พร้อมกับก้มลงกราบท่านอาจารย์ทันที
อาจารย์ : นั่น สวรรค์เกิดขึ้นแล้ว เห็นสวรรค์ไหม
ลูกศิษย์ : ไหนละ สวรรค์ อาจารย์
อาจารย์ : นั่นไง ที่แกได้สติ แล้วใจเย็นลง นี่แหละ…เรียกว่าสวรรค์หละ
ความไม่พอใจ : เหตุต้นของความโกรธ
ความไม่พอใจทีละนิด เหมือนดินพอกหางหมู
ความหลงหรือโมหะ
สาเหตุของทั้งโลภะและโทสะ
ความพอใจไม่พอใจห้ามไม่ได้
นรก สวรรค์ มีจริงหรือไม่
นรก สวรรค์ ไม่ต้องรอวันตาย
ความพอใจเป็นเหตุของความสุข
เมื่อเหตุปัจจัยแวดล้อมพร้อม
ที่จะให้เกิดความสุข
สวรรค์ก็จะเกิดขึ้นได้ทันที
ไม่ต้องรอให้ถึงตายก่อนค่อยไปสวรรค์
แต่เมื่อใดความพอใจถูกขัดขวาง
กลับกลายเป็นความไม่พอใจ
เหตุปัจจัยรอบข้าง
ก็พร้อมให้จิตเป็นทุกข์
นรกก็เกิดทันที
ไม่ต้องรอให้ถึงตายแล้วค่อยไป
ถ้าตายไปขณะจิตโกรธแค้น
ก็ต้องไปนรกแท้ๆ แน่นอน
เพราะมีเหตุเกิดแล้ว
ในหลักของพุทธศาสนา
ถือว่าจิตของคนทุกคน
มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องใสสะอาด
อยู่แล้วโดยธรรมชาติ
แต่เมื่อมีเหตุปัจจัยแวดล้อม
ที่จะทำให้เกิดโลภ โกรธ หลง
และเจ้าตัวก็ไม่รู้จักจิตตนเอง
ตามความเป็นจริงมาก่อน
คือไม่รู้จักว่าจิตเดิมนั้นสะอาดบริสุทธิ์
และไม่รู้จักพัฒนาตนเอง
ให้มีศีล สมาธิ ปัญญา
ให้เกิดขึ้นในจิตของตน
เมื่อถูกอารมณ์มากระทบ
ไม่มีธรรมะอะไรมาป้องกัน
จิตนั้นต้องเศร้าหมอง
ด้วยโลภ โกรธ และหลงแน่นอน
แต่คติในศาสนาพราหมณ์ถือว่า
จิตทุกดวงมีโลภ โกรธ หลง
ติดตัวมาแต่กำเนิดแล้ว
ในศาสนาอื่นๆ นอกจากศาสนาพุทธ
เขาถือว่าคนทุกคนมีบาปติดตัวมาแต่กำเนิด
แต่ศาสนาพุทธไม่ถือคติแบบนั้น
เราถือว่า ทุกสิ่งจะบังเกิดเพราะมีเหตุ
ถ้าปราศจากเหตุก็ไม่มีผล
ความโกรธ ความโลภ ความหลง
มีก็เพราะมีเหตุ
ดังนั้น อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม
จึงเป็นเหตุของทั้งนรกและสวรรค์นั้นเอง
องค์ประกอบแห่งการเกิดดวงตาภายใน
ดังนั้น การได้ดวงตาเห็นธรรมนั้นจึงไม่ง่ายและไม่ยากเกิน ที่ว่าไม่ง่าย ก็เพราะว่า กว่าเราจะได้พบกับมิตรดี ได้พบสหายดี ได้พบสิ่งแวดล้อมดีนั้นไม่ง่ายเลย และที่ว่าไม่ยาก ก็เพราะว่าถ้าเราได้พบกับบุคคลที่สามารถเป็นกัลยาณมิตร กัลยาณสหาย และสิ่งแวดล้อมที่ดีๆและมีโยนิโสมนสิการอย่างสมบูรณ์ แล้วจะไม่มีความยุ่งยากใดๆ เหลืออยู่เลย ลองพยายามแสวงหาดูสิ แล้วสักวันหนึ่งจะพบองค์ทั้งสามประการนี้ได้
แต่ที่สำคัญเราต้องไม่ท้อถอย ไม่ดูถูกสติปัญญาของตนเอง โดยเฉพาะองค์ประกอบที่สอง อยากจะให้ไปทบทวนกันให้ดี เป็นองค์ประกอบที่เราพัฒนาด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ไม่มีอุปสรรคอะไรที่ต้องพึ่งพาบุคคลหรือปัจจัยภายนอกเลย
มิตรกับสหาย ต่างกันอย่างไร
ในพุทธศาสนาถือว่าสิ่งแวดล้อมสำคัญกว่ากรรมพันธุ์ ต่อให้คุณมีกรรมพันธุ์ดีขนาดไหนนะ ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี คุณก็จะดีไปได้ยาก แต่ถ้าคุณเกิดมากรรมพันธุ์แย่ขนาดไหน แต่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี คุณก็จะดีได้ง่าย เพราะกรรมพันธุ์เป็นผล แต่สิ่งแวดล้อมเป็นเหตุ ในพุทธศาสนาจึงเน้นไปที่เหตุ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ และเน้นไปที่เหตุสำคัญของการกระทำ ที่จะให้เกิดคุณงามความดีในใจ มี 3 ประการ คือ
1.มีมิตรดี
2.มีสหายดี
3.มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
ในพุทธพจน์กล่าวว่า กัลยาณมิตร กัลยาณสหาย เป็นทั้งหมดของการพัฒนาจิตตั้งแต่ต้นจนจบ คนจะดีจะชั่ว จะถูกจะผิด ขึ้นอยู่กับองค์ธรรม 3 ประการนี้ ในมงคล 38 ประการ พระพุทธเจ้าจะขึ้นต้นอันดับแรกว่า อะเสวนา จะ พาลานัง บัณฑิตานัญจะ เสวะนา
กัลยาณมิตรในพระพุทธศาสนา จะหมายถึง ครูบาอาจารย์ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมาถึงครูอาจารย์ผู้รู้จริงที่เรานับถือกันอยู่ ตั้งแต่ต้นลงมาถึงปัจจุบัน ท่านเหล่านั้นเป็นกัลยาณมิตรของเรา เพราะกัลยาณมิตรที่แท้ หมายถึง ผู้ที่มีประสบการณ์ในสิ่งที่ดีมาก่อนเรา เป็นผู้เข้าถึงธรรมมาก่อนเรา แล้วเราไปคบหาท่าน ท่านก็จะชี้แนะให้เราเห็นธรรมได้เหมือนอย่างท่านด้วย เราจึงเรียกท่านว่า เป็นกัลยาณมิตร
กัลยาณสหาย คือ ผู้ที่ใฝ่ดีเหมือนกับเรา ใฝ่ดีในทางเดียวกัน ทำดีก็ดีเหมือนกัน อายชั่วกลัวบาปเหมือนกัน แต่ภูมิจิตภูมิธรรมยังอยู่ในระดับเดียวกันกับเราหรือใกล้เคียงกัน ถ้าใฝ่ชั่วด้วยกันก็เรียกว่า บาปสหาย ถ้าใฝ่ดีด้วยกันก็เรียกว่า กัลยาณสหาย แต่กัลยาณมิตรต้องเป็นผู้ที่อยู่เหนือเรา ได้แก่ ครูบาอาจารย์
ประการสุดท้ายที่สำคัญคือ สิ่งแวดล้อมและบุคคลแวดล้อม “กัลยาณสัมปะวังกะตา” ถ้ามีมิตรดี มีสหายดี แต่หากไปตกในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เรากับมิตรและสหายก็จะพากันเอาตัวรอดไปในทางที่ดีได้ เช่น องค์คุลีมาล มหาฆาตกรที่น่ากลัวยิ่ง พอมาได้กัลยาณมิตรอย่างพระพุทธองค์ก็รอดพ้นจากอันตรายและบ่วงกรรมอันหนักหนาได้ แรกๆท่านไปคบกับอาจารย์ทิสาปาโมกข์ผู้โง่เขลา สามารถทำให้ท่านผู้บริสุทธิ์กลายเป็นมหาโจรไปได้เช่นกัน
ดังนั้น สิ่งแวดล้อม และกัลยาณมิตร จึงมีอิทธิพลที่สำคัญมากๆ
พระพุทธยานันทภิกขุ