อินทรีย์ห้า พละห้า
เป็นกองหนุนที่เป็นกำลังหลัก
การปฏิบัติในวิธีการแบบเคลื่อนไหวนี้
ต้องเน้นที่อินทรีย์ห้า
พละห้าเป็นกำลังหลัก คือ
ความจริงจัง ตั้งใจ จดจ่อ
ต่อเนื่อง และถูกต้อง
ไม่ใช่เน้นที่ทำได้ดี
หรือทำได้มาก หรือทำได้นาน
แต่ถ้าปฏิบัติถูกต้องตามวิธีการแล้ว
น้อยก็ดี มากก็ได้ ช้าก็ได้ เร็วก็ได้
หลับตาก็ดี ลืมตาก็ได้
แต่ถ้าไม่ถูกต้อง
มากก็ไม่ดี น้อยก็ไม่ดี
จะช้าหรือเร็วใช้ไม่ได้
เพราะตั้งใจไม่ถูก
ทำอย่างไรก็ไม่ถูก
ฉะนั้น เน้นที่ความถูกต้อง
เป็นข้อสุดท้ายของอินทรีย์ห้าและพละห้า
ผู้เขียนก็เลยตั้งสโลแกน
ให้จำอินทรีย์ห้าและพละห้ากันง่ายๆ ไว้ว่า
ศรัทธาคือจริงจัง
วิริยะคือตั้งใจทำ
สติต้องจดจ่อ
สมาธิต้องต่อเนื่อง
และปัญญาคือถูกต้อง
ต่อเนื่องทั้งในและนอกรูปแบบ
ทำไมชาวพุทธต้องมีพิธีกรรม
พิธีกรรมชาวพุทธที่แท้เป็นแบบไหน
เคยสังเกตบ้างไหมว่า เมื่อเวลาที่เราไปงานศพ งานบวช งานแต่งงาน งานสงกรานต์ หรือไปร่วมพิธีกรรมทางศาสนาพุทธเราตามประเพณี เริ่มแรกของงานประเพณี ก็คือจะมีการจุดธูปจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย
เคยตั้งข้อสังเกตบ้างไหมว่า ทำไมต้องจุดธูปเทียน แต่วันนี้อาตมาไม่ใช้จุดธูป เพราะอากาศจะเสียแต่ให้จุดเทียนได้ ที่ไม่ให้จุดธูปเพราะปัจจุบันนี้ทางการแพทย์สมัยใหม่ เข้าได้พิสูจน์ออกมาแล้วว่าการจุดธูปเพื่อประกอบพิธีบ่อยๆ นี้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งปอดของพระสงฆ์ที่ชอบจุดธูปบูชาในพิธีกรรมต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อเมริกาด้วยแล้ว ภายในบ้านเปิดเครื่องทำความอบอุ่นหรือฮีทในหน้าหนาว และเครื่องทำความเย็นหรือแอร์ในหน้าร้อนแทบตลอดทั้งปี ถ้าเราจุดธูปเข้า อากาศก็จะระบายไม่ได้ เพราะห้องต้องปิดสนิทหมด เพื่อรักษาอุณหภูมิที่พอดี ดังนั้นเขาจึงไม่อนุญาตให้จุดธูปเลย จุดได้แต่เทียน เทียนจุดกันช่วงสั้นๆ เพราะเทียนก็มีมลพิษเช่นกัน หรือถ จำเป็นที่ต้องจุดจริงๆ (เพราะบางคนไม่ได้จุดธูปแล้วไม่สบายใจ เพราะยึดติดมานาน พระก็อนุโลมให้จุด แต่จุดแล้วก็เอากระถางธูปไปไว้ข้างนอกบ้าน บางแห่งก็แก้ด้วยวิธีซื้อธูปไฟฟ้ามาตั้งแทนกระถางธูปเสียเลย)
ทำไมต้องจุดธูป
การจุดธูปเทียนสมัยก่อนสืบเนื่องมาจากเรายอมรับเอาลัทธิศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเข้ามาก่อนพุทธศาสนา เพราะสองศาสนานี้เขาต้องจุดธูปเทียนเพื่อบูชาเทพพระเจ้าในศาสนาของเขา เราก็เอามาทำตามตั้งแต่นั้นมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว พอเรายอมรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาเมื่อสองพันปีมานี้เราก็ไม่เลิกการจุดธูปเทียน และประเพณีพิธีกรรมต่างๆก็ล้วนติดมาจากศาสนาพราหมณ์แทบทั้งนั้น
ว่ากันจริงๆแล้ว ในพุทธศาสนาแทบจะไม่มีพิธีกรรมอะไรเลยนอกจากตั้งใจประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ตลอดเวลานั้น นี่คือพิธีกรรมทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่เป็นสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัย หรือเป็นสัญลักษณ์ของไตรทวารทั้งสาม ถ้าจะมีพิธีกรรมอยู่บ้างก็ทำพอเป็นพิธี เพื่อเป็นแบบแผนแก่อนุชนรุ่นหลังเท่านั้น เช่น การบูชา การกราบไหว้พระรัตนตรัย การสมาทานศีล การถวายทาน และประเพณีบางอย่างที่จำเป็น ก็ทำแบบกระทัดรัดสั้นๆ ไม่เยิ่นเย้อ เสียเวลาในการฟังธรรม ซึ่งเป็นสาระของงานพิธีกรรม
เป้าหมายหลักของการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ก็เพียงเพื่อเตรียมความพร้อมให้มีโอกาสได้รับธรรมบรรยายเท่านั้นเอง ถ้างานพิธีกรรมใดๆไม่มีการแสดงธรรมแล้ว แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่ใช่พิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ต้องจดจำตรงนี้เอาไว้ แม้พิธีกรรมงานนั้นจะทำไปด้วยความเรียบร้อยงดงามเพียงใดก็ตาม ถ้าไม่มีการแสดงธรรมถือว่าเป็นการส่งเสริมความงมงายโดยแท้ ไม่ใช่ชาวพุทธที่แท้แน่นอน
ไตรทวารมีอะไรบ้าง
ทำไมต้องจุดเทียน
จุดเทียนเพื่ออะไร ก่อนจะตอบเรื่องนี้ ขอแทรกเรื่องนี้หน่อย ในปีนี้ (พ.ศ.2551) พระสงฆ์และชาวพุทธทั่วประเทศ ช่วยกันประกาศรณรงค์ชาวพุทธมาช่วยกันเร่งเร้าให้รัฐบาล ยกระดับพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติที่เรานับถือกันมาเป็นพันๆ ปี สิ่งที่น่าจะยกระดับกันมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมไม่ทำกัน ก็เพราะเหตุผลว่า ชาวพุทธไทยเรายังตอบปัญหาง่ายๆ แก่ชาวต่างชาติต่างศาสนาไม่ได้ เวลาเขามาถามว่า “ชาวพุทธจุดธูปเทียนไปเพื่ออะไร”
พวกเราเป็นชาวพุทธมาเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่ตอบปัญหาง่ายๆ ของศาสนาที่ตนเองนับถืออยู่ยังไม่ได้ แล้วจะไปตอบคำถามที่ลึกซึ้งกว่านี้ได้อย่างไร การจุดธูปจุดเทียนเป็นเพียงแค่เรื่องง่ายๆทำกันอยู่เป็นประจำแล้วคำสอนที่ดีๆไนพุทธศาสนาอีกมากมายที่เรายังไม่ได้ทำจริงจัง เราจะอธิบายเขาได้อย่างไร
ข้อสังเกตนี้น่าคิดมากเพราะตอบคำถามนี้ไม่ได้รัฐบาลก็เลยยังไม่อนุมัติให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศเพราะเกรงว่าจะขายหน้าชาวต่างชาติเขา เพราะถ้าเขาถามไปอีกหน่อยว่าหลักธรรมประจำใจที่ถือปฏิบัติกันทุกวันของชาวพุทธคืออะไร ถ้าเราตอบว่าศีลห้า ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่ามีอะไรบ้างแล้วปฏิบัติได้ครบไหม ถ้าไปถามเจอคนที่ไม่ได้เข้าวัดเข้าวาก็เรียบร้อยเลย หรือแม้จะถามคนที่เข้าวัดตามประเพณีไม่เคยรู้เรื่องศีลเรื่องธรรมเลยก็จอดเหมือนกัน ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ชาวพุทธจะต้องยกระดับเสียตัวเองก่อน ก่อนที่บัญญัติลงในรัฐธรรมนูญว่าให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
เพราะชาวพุทธที่แท้ดูกันที่ตรงไหน ถ้าเป็นคฤหัสถ์ต้องตั้งอยู่ในศีลห้าได้เกินห้าสิบเปอเซ็นต์ขึ้นไปของชาวพุทธทั้งประเทศ ถ้าเป็นนักบวชก็ต้องรักษาศีลแปด ศีลสิบ และสองร้อยยี่สิบเจ็ด หรือศีลสามร้อยสิบเอ็ดให้ได้อย่างน้อยเกินครึ่งของบัญญัตินั้นๆ
แต่ในความเป็นจริง เรายอมรับความจริงกันไหมว่าเรายังทำกันไม่ได้ ขอฝากเรื่องนี้ให้ช่วยคิดกันหน่อย
การจุดเทียน 2 เล่ม
หมายความว่าอย่างไร
ทำไมเราจุดแค่ 2 เล่ม ทำไมไม่จุดสัก 3-4 เล่ม หรือมากกว่านั้น จะได้สว่างไสวกันทั่วๆ นักปราชญ์ท่านผู้รู้ทางศาสนาพุทธอีกนะแหละ ท่านเกรงว่าชาวพุทธเราจะงมงายทางศาสนาพราหมณ์อันเป็นศาสนาดั้งเดิมของเรา ท่านก็เลยให้ปริศนาธรรมในการจุดเทียนเอาไว้ว่า
มนุษย์และสัตว์ทั่วไปส่วนใหญ่เกิดมาก็มีตากันเพียง 2 ตา ต่างกับผลไม้หรือต้นไม้บางพันธุ์มีตาเยอะมาก เช่น ตาของสับปะรด หรือตาไม้ ยิ่งเยอะยิ่งใหญ่ ไม่ใช่มีแต่ตาซ้ายตาขวาเหมือนกับมนุษย์และสัตว์ ถ้ามนุษย์มี 2 ตาเท่ากับสัตว์ก็คงไม่ต่างกับสัตว์แน่ๆ เลย แต่เพราะมนุษย์มีตาที่สาม จึงประเสริญกว่าสัตว์มากมาย แต่ถ้ามนุษย์ยังไม่มีตาที่สามก็คงแย่กว่าสัตว์อีกเยอะทีเดียว
แต่ในที่นี่จะเรียกเสียใหม่ เรียกตาสองข้างคือตาขวาและตาซ้ายว่า “ตานอก” หรือมังสจักษุ หรือตาเนื้อ ส่วนตาที่สามจะเรียกว่า “ตาใน” ส่วนที่มีชื่อเรียกตามภาษาบาลีต่างๆเพราะบัญญัติเรียกไปตามสภาวธรรม เช่น ธรรมจักษุ (ตาธรรม) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา) พุทธจักษุ (ตารู้ ตาตื่น ตาใจ) สมันตจักษุ (ตาสติ)
เรามีตานอกไว้เพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ที่มาจากภายนอก เช่น ขวากหนาม ของมีคมทุกชนิด ตลอดจนสถานที่เป็นหลุม เป็นร่อง เป็นบ่อ สิ่งที่มีพิษภัย เช่น อสรพิษและไฟชนิดต่างๆ อันจะเป็นอันตรายกับกาย เราสามารถป้องกันภัยเหล่านี้ได้ เพราะเรามีตานอก ทำให้เรารู้จักหลบหลีกได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นอันตรายภายนอกเรารู้จักกันดี
ควรจุดเทียนเล่มไหนก่อน
เริ่มจากซ้ายหรือเล่มขวา
อันตรายภายใน คืออะไร
เมื่อความอยากไม่ถูกตอบสนอง
ความหลงคือจิตออกนอกตัวเอง
พระพุทธยานันทภิกขุ