อนุปัสสนาหรือพิจารณากันแน่?
นักปฏิบัติต้องทำความเข้าใจตรงนี้ให้ชัดเจนก่อน ตามหลักสติปัฏฐานสูตร ท่านก็บอกให้เจริญกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา คือ ให้เฝ้าดูหรือตามดูกาย เฝ้าดูเวทนา เฝ้าดูจิต เฝ้าดูอารมณ์ ตามดูหรือเฝ้าดู มิใช่พิจารณาดูหรือคิดดู ว่ากันตามหลักสูตรทฤษฎีที่พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้ เดี๋ยวจะว่าทิ้งหลักของพระพุทธเจ้า ตามดูกายส่วนไหนบ้าง ท่านกำหนดให้ตามดูทั้งหกส่วน แต่ก็ดูแบบรวมๆ มิใช่แยกส่วนดู แต่ตามหลักทฤษฎีท่านก็ต้องเขียนไว้แบบนี้
1.ให้ตามดูลมหายใจ
2.ให้ตามดูอิริยาบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
3.ให้ตามดูการเคลื่อนไหวส่วนย่อยทุกส่วนของกายคือ คู้ เหยียด เคลื่อนไหว สร้างจังหวะ เดินจงกรม เหลียวซ้ายและขวา เป็นต้น
4.ให้ตามดูธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
5.ให้ตามดูอาการ 32 ในตัวของเรา
6.ให้ตามดูอสุภะ ความสกปรกของร่างกายเรา
วิธีตามดูกายานุปัสสนา
ด้วยวิธีตามลมหายใจในที่นี้ ไม่จำเป็นต้องนั่งดูแบบพุทโธ แบบสัมมาอรหัง หรือ ยุบหนอ พองหนอดอกนะ ให้ตามดูลมหายใจเข้าหายใจออกเฉยๆ ให้รู้เท่านั้นเอง ไม่ต้องไปกำหนดเพ่งจ้องอะไร แต่ให้ตามรู้สึกไปเรื่อยๆ
จะไปเพ่งแต่ลมหายใจอย่างเดียว
แต่ลมหายใจก็เป็นส่วนหนึ่ง
เมื่อจำเป็นต้องเน้นเท่านั้น
เราจะตามดูให้ทั่วพร้อมทั้งหมดเลย
เช่น กระพริบตา อ้าปาก หายใจ
หยิบขยับ จับฉวย ก้าวหน้า ถอยหลัง
ที่ต้องเคลื่อนไหวก็เพราะมันเป็นทุกข์
และหลักอริยสัจบอกให้เรารู้ว่า
ทุกข์ต้องกำหนดรู้ ต้องแก้ไข
พอพูดแบบนี้ บางคนก็สรุปเอาง่ายๆ ว่า
แต่หลวงพ่อสนับสนุนการตามรู้เฉยๆ
กายส่วนไหนรู้สึกชัดก็รู้ ตามรู้ส่วนนั้น
ส่วนไหนไม่ชัด ก็ไม่จำเป็นต้องตามรู้มัน
บางครั้งเราจำเป็นต้องขึ้นสู่ที่สูงๆ
ลมหายใจมันเด่นชัดก็ดูลมหายใจ
เวลาเราจะนอนหลับแต่ยังไม่หลับ
เราก็ตามดูลมหายใจไปเรื่อยๆ ก็ได้
นี่คือวิธีตามดูกายส่วนที่หนึ่ง
วิธีตามดูเวทนานุปัสสนา
วิธีตามรู้ดูเวทนานุปัสสนา
แบบเคลื่อนไหวกันบ้าง
เมื่อใดเรารู้สึกอบอ้าวหรือเจ็บปวด
ตามส่วนต่างๆ ของกาย
ก็ตามดูความรู้สึกนั้นไป
รู้สึกเย็นก็ตามดูอาการเย็น
รู้สึกเมื่อยก็ตามดูอาการเมื่อย
เรานั่งปฏิบัติมานานเป็นชั่วโมงแล้ว
รู้สึกเมื่อยขา หรือเหน็บกินขา
ปวดหลังปวดเอวก็ตามดูมัน
ถ้าอาการเข้มจนทนไม่ไหว
ก็แก้ไขกันไป
แก้ไขไม่ได้ก็ตามดูเหตุปัจจัยของมัน
และตามรู้ไปเรื่อยๆ
การตามดูแบบนี้เรียก ดูเวทนา
ขณะที่ตามดูเวทนานี้
เฝ้าดูอย่างใกล้ชิดเข้าไปอีกหน่อยว่า
ทุกขเวทนาตัวนี้บีบคั้นทางกายฝ่ายเดียว
หรือบีบคั้นจิตไปด้วย
ถ้าจิตเริ่มคิดปรุงแต่ง
เตลิดออกไปข้างนอก
หรือรู้สึกหงุดหงิดนิดๆ รำคาญหน่อยๆ
แต่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน
ว่าเกิดจากอะไร
ก็ตามไปดูอย่างถี่ถ้วนชัดเจนทีเดียวว่า
คิดเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะอะไร
จิตมีอาการอย่างนี้เพราะอะไร
ต้องตามหาเหตุอย่างใกล้ชิดทีเดียว
เรียกว่า มีโยนิโสมนสิการ
อาจารย์กรรมฐานบางสำนัก
ท่านสอนให้พิจารณารู้ตามกฎของไตรลักษณ์
ให้มองเห็นว่าอาการเหล่านี้
มันเป็นอาการของอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา
ถามว่าตามดูด้วยความคิดแบบนี้
จะถูกต้องไหม? สำนักไหนเขาสอนให้ดู
และกำหนดแบบนี้กันทั้งนั้นแหละ
แล้ววิธีหลวงพ่อเทียนจะว่าอย่างไร
มักจะถามกันบ่อยๆ นักแล
ถ้าผู้เขียนจะถามกลับว่า
ก็ตามดูมันเฉยๆ ไม่ได้หรือไง
ดูว่ามันเจ็บอย่างไร ทุกข์อย่างไร
เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
อาการมันหนักเป็นอย่างไร
มันเบาเป็นอย่างไร
เกิดขึ้นอย่างไร หายไปอย่างไร
อาการร้อนมันเป็นอย่างไร
อาการหนาวมันหนาวเป็นอย่างไร
หิวเป็นอย่างไร รู้สึกอิ่มมันเป็นอย่างไร เป็นต้น
จะตามดูอาการของกายของจิตไปเรื่อยๆ
แบบนี้ไม่ได้หรือ
ทำไมต้องไปคิดพิจารณาให้ยุ่งยากล่ะ
บางคนก็รู้ดีเกินไปก็ถามว่า
ไม่พิจารณาอย่างนี้จะเกิดปัญญาได้อย่างไรล่ะ
ผู้เขียนก็ตอบแทนทีเล่นทีจริงว่า
คุณจะเอาปัญญาหรือคุณจะต้องการรู้ความจริง
ของกายของใจกันแน่
ผู้ฟังก็แสดงอาการงงๆ เหมือนกัน
ถ้าผู้เขียนจะบอกว่า นักปฏิบัติถูกอบรมกันมาผิดๆ
รู้กันมาผิดๆ และก็ผิดมานานแล้วด้วย
แต่ไม่ค่อยมีใครกล้าหาญบอกความจริงเรื่องนี้
เพราะกระแสส่วนใหญ่เขาสอนกันอย่างนี้
ถ้าไปพูดแบบนี้อาจารย์กรรมฐานก็กลัว
จะถูกกล่าวหาว่าเพี้ยนบ้าง สอนผิดบ้าง
น่าสลดจริงๆ
พระกรรมฐานที่แท้ ก็ต้องกล้าทวนกระแสสังคม
กล้าทวนกระแสกิเลส
และกล้าทวนความจริงแบบโลกๆ
ถ้าเราไปสอนแบบทวนกระแส
ก็เกรงภาพพจน์อาจารย์กรรมฐานจะเสีย
วิธีตามดูธัมมานุปัสสนา
วิธีตามดูความรู้สึกตามอารมณ์ (ธรรม)
ถ้าเรานั่งท่านี้ตะคริวจับขา
ก็กลับมาสำรวจดูที่ใจก่อนว่า
ใจรู้สึกอย่างไร ใจคิดอย่างไร
กับอาการที่ตะคริวจับตรงขา
ดูให้ถูกที่จริงๆ ว่าตะคริวจับที่ขา
หรือจับที่จิต หรือจับที่รูปนามกันแน่
หันกลับมาดูตรงนี้ให้ชัดๆ ก่อน
อะไรที่เหน็บให้เจ็บปวดกันแน่
อีกตัวอย่างของการตามดูธรรม
เมื่อเรานั่งปฏิบัติไปนานๆ
แล้วรู้สึกง่วงหรือเคลิ้มสลึมสลือ
ข้อต่อมาให้สังเกตว่า ขณะนั่งปฏิบัติ
เราเผลอหลับตาทำในบางครั้งหรือเปล่า
เราสร้างจังหวะช้าไปหรือเปล่า
ความรู้สึกตัวขณะนั้นชัดหรือเปล่า
เผลอบังคับหรือสะกดจิตให้นิ่ง
อยู่ในอารมณ์สมถะนานไปหรือเปล่า
การลงมือปฏิบัติแต่ละครั้ง
ต้องไม่ลืมข้อสังเกตเหล่านี้
เพราะเงื่อนไขเหล่านี้คือสาเหตุ
ให้เกิดอาการง่วงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ถ้าละเลยต่อเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว
แต่ถ้าความง่วงมีกำลังมากกว่าจริงๆ
ต้องรีบแก้ไขเอาความง่วงออกไปก่อน
บางคนไม่สนใจแก้ไข ยอมนั่งสัปหงก
สับแล้วสับอีก ก็ง่วงอยู่อย่างนั้น
นี่เรียกว่า เราไปมีอารมณ์ร่วมเสพกับมัน
และส่วนใหญ่ก็ง่วงเพราะเหตุนี้
ดังนั้นให้สำรวจทุกครั้งว่า
ความง่วงเหงาก็มีอำนาจเหนือเราอยู่ดี
เพราะเราไม่อยากจะแก้นั่นเอง
และตัวอย่างในการแก้นิวรณ์ตัวอื่น
ใช้แก้นิวรณ์ได้ทุกตัวตัวเลยทีเดียว
เริ่มแก้ที่ต้นเหตุกัน คือเฝ้าสังเกต
ตามเงื่อนไขที่ให้ไว้เบื้องต้น
วิธีเจริญสติแบบหลวงพ่อเทียน
วิธีการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวนี้
ผู้ปฏิบัติสามารถสัมผัสกับสติ
เพราะขบวนการฝึกฝนไม่เน้นพิธีกรรม
เน้นการกำหนดรู้ เฝ้าดูทุกข์โดยตรง
ก็ไม่ให้ทำแบบบังคับกดเกร็งเพ่งจ้อง
ไม่เปิดโอกาสให้จิตอยู่กับนิวรณ์
ที่สำคัญคือไม่จำกัดอิริยาบถในการฝึก
ไม่นิยมนั่งหลับตาเพราะจะทำให้ง่วงง่าย
หรือจากผ่านการฝึกไปแล้ว 4 วัน
ตัวรู้ที่เป็นสติจะแยกออกจากตัวคิด
ที่เป็นสังขารได้ค่อนข้างชัดเจน
สติจะรู้เองโดยที่เราไม่ต้องกำหนดรู้
เกิดการชำระจิตที่สั่งสมอารมณ์มาในอดีต
ที่เกิดเพราะโมหะจิตเป็นสัมมาทิฐิ
รู้เท่าทันอารมณ์ปรุงแต่งที่จักเกิดขึ้นในอนาคต
หรือคลายทุกข์ในขั้นที่เรียกได้ว่า
เป็น “การสำรอกกิเลส” เลยทีเดียว
เพราะตัวรู้มีความเร็วเท่าทันตัวคิด
อาการของไตรลักษณ์จะปรากฏชัดมาก
ตัวรู้จะกลายเป็นปัญญาวิราคะธรรม
หน่ายต่อความหลงในการสร้างภพชาติในจิต
เข้าใจอุปาทาน แล้วเกิดการสลัดตัวเอง
ออกจากอุปาทานนั้นอย่างรุนแรง
จิตจะสว่างแจ่มแจ้ง มีความผ่องใส
คงความเป็นผู้รู้ได้เองโดยธรรมชาติ
ไม่สงสัยในเรื่องราวของชีวิต
เจริญสติในอิริยาบถเดิน
ไม่เร็วไม่ช้า ไม่ยาวไม่สั้น จนเกินไป
ให้พอดีกับที่เราเดินตามปกติ
หรือจับกันไว้ด้านหน้าก็ได้
ไม่ต้องมีคำบริกรรมประกอบการเดิน
สติระลึกรู้เท้าขณะสัมผัสพื้น
รู้เป็นธรรมชาติ อย่าจดจ้อง
ทำสลับกับการนั่งสร้างจังหวะ
ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของแต่ละบุคคล
ขณะปฏิบัติหากมีความคิดเกิดขึ้น
แล้วกลับมาอยู่กับความรู้สึกตัว
กับอิริยาบถที่กำลังเคลื่อนไหว
เฝ้าดูเฝ้ารู้ ทำให้ต่อเนื่อง
เจริญสติในอิริยาบถยืน
วิธีเจริญสติด้วยอิริยาบถยืน
จะทำการสร้างจังหวะ 14 จังหวะ
และกำหนดสติให้มีความรู้สึก
เหมือนกับการนั่งสร้างจังหวะ
เพียงแต่เปลี่ยนอิริยาบถจากนั่ง
เจริญสติในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราขึ้นรถหรือลงเรือ
เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว
เราก็พลิกมือขึ้นพลิกมือลง
เราเคลื่อนมือเหยียดมือหรือคลึงนิ้วมือ
กะพริบตา หายใจ กลืนน้ำลาย และอื่นๆ
ให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเช่นนั้น
เป็นวิธีที่เรียกความคิดนั้น
และปล่อยวางความคิดเสีย
สามารถเจริญสติกับการดำรงชีวิตอื่นๆ
เช่น เมื่อทำงานบ้าน ล้างจาน
ทำควาวมสะอาดบ้าน อาบน้ำ
กินข้าว ดื่มน้ำ นอนหลับ ฯลฯ
เจริญสติแบบเคลื่อนไหว ต้องไม่ดัดจริต
ในวิธีการของหลวงพ่อเทียนนั้น
เน้นการเคลื่อนไหวแบบธรรมชาติ
เป็นวิธีที่เหมาะกับกาลเทศะ
ก็ไม่ต้องไปบริกรรมให้ยุ่งยาก
วิธีนี้จึงเหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติ
ทุกเพศทุกวัยและทุกจริตด้วย
วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีจริตแบบนี้
วิธีนั้นเหมาะสำหรับคนที่มีจริตแบบนั้น
“ผมทำไม่ได้เพราะไม่ถูกจริต”
เมื่อรู้ว่าเป็นจริตที่ไม่ดี
อย่าไปดัดให้งอไปงอมาไม่ได้
การสร้างจังหวะเป็นเพียงอุปกรณ์ เป็นเพียงเครื่องมือ
การยกมือสร้างจังหวะแบบนี้
เป็นเหมือนเครื่องมือทำงาน
หรืออุปกรณ์ช่วยผ่อนแรงเท่านั้นเอง
เช่น จะทานก๋วยเตี๋ยวก็ใช้ตะเกียบ
จะทานข้าวเจ้าก็ต้องใช้ช้อนส้อม
จะทำความสะอาดก็ใช้ไม้กวาด เป็นต้น
เป็นเรื่องธรรมดาสามัญมากๆ
ไม่ได้เกี่ยวกับจริตนิสัยอะไรเลย
เพราะการทำวิปัสสนาเป็นการรักษา
คือขจัดกิเลสให้หมดไปจากจิตใจ
เหมือนกับเล่นดนตรีเล่นกีฬา
เหมาะสมสำหรับคนทุกจริตนิสัย
จึงเป็นการพูดแบบไม่เข้าใจ
การบัญญัติเรื่องจริตกรรมฐาน
เป็นเรื่องกำหนดกันขึ้นทีหลัง
ไม่เชื่อก็ไปหาดูในพระไตรปิฎก
ไม่ปรากฏว่าพระพุทธองค์ได้เคยตรัสไว้ที่ไหน
หรือใครเจอก็เอามาเขียนไว้
ต้องฝึกใช้อุปกรณ์ให้เป็น
ด้วยการเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะๆ
เป็นอุปกรณ์เพื่อเรียงลำดับตัวรู้
อันเกิดจากการตามสังเกตด้วยปัญญา
เข้าสู่ใจอย่างมีระบบระเบียบเท่านั้นเอง
เพราะถ้าไม่มีสติรู้สึกตัวเสียก่อน
ความรู้ต่างๆ ที่เข้ามาสู่จิต
เพราะกิเลสมันไม่รู้จักเลือก
ไม่รู้จักวิธีจัดการสิ่งต่างๆ อย่างถูกต้อง
เราจึงใช้การสร้างจังหวะเป็นเครื่องมือ
เพื่อป้อนสติสัมปชัญญะและปัญญา
สติก็เสมือนลิ้นที่คอยเลือกอาหาร
ที่เหมาะสมก่อนกลืนลงไปสู่ท้อง
เราไม่ต้องตะขิดตะขวงใจว่าอาหารนั้น
จะไปขวางหรือทำลายอวัยวะภายในของเรา
ดังนั้นการปฏิบัติแบบนี้ก็ไม่ต้องอายใคร
ในการที่จะยกมือสร้างจังหวะ
และไม่ต้องย่องทีละก้าวๆ แบบวิธีปฏิบัติอื่นๆ
แต่ก็ให้ดูกาลเทศะหน่อยเท่านั้น
ว่าที่ใดสมควรจะทำหรือไม่สมควร
อันนี้สามัญสำนึกที่ดีสอนเราอยู่แล้ว
การพัฒนาสติสัมปชัญญะ
ให้ปรากฏเป็นรูปธรรมที่สัมผัสได้
เมื่อสติมีกำลังมากขึ้นๆ แล้ว
วิมุตติและเป็นวิมุตติญาณทัสสนะ
เปรียบเสมือนเราปลูกต้นมะม่วง
วันนี้เราเรียกว่าเป็นเมล็ดมะม่วง
แต่ในเดือนต่อไปไม่ใช่แล้ว
เป็นต้นอ่อนหรือหน่อมะม่วง
ก็พัฒนาไปจากเมล็ดอันเดียวนั่นแหละ
วันนี้เป็นสติ วันต่อไปจะเป็นศีล
เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เป็นหิริ เป็นโอตตัปปะ
เป็นขันติโสรัจจะ ไปตามลำดับ
ตัวสติเป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์
การเจริญสติแบบหลวงพ่อเทียนได้สติง่าย
ไปเสียตอนใช้ไม่เป็นเท่านั้นแหละ
ก็ปฏิบัติสำเร็จได้รวดเร็วแน่นอน
พระพุทธยานันทภิกขุ