วิปัสสนาไม่ตัดสินแต่จัดการ
เราต้องเป็นผู้สังเกต เป็นผู้ดูไปเรื่อยๆ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
เป็นอย่างนี้ มันไม่เป็นอย่างอื่น
พอรู้อย่างนี้แล้วก็จะสบาย ปลอดภัย
ไม่ต้องใช้ตัวนึกตัวคิด เข้ามาตัดสินอะไร
เพียงแต่รู้แล้วก็ปล่อย รู้แล้วก็ปล่อย
แต่ส่วนใหญ่มันจะเข้าไปตัดสิน
ตัดสินทางหนึ่งว่าดี อีกทางหนึ่งว่าไม่ดี
เมื่อมีการตัดสิน จะต้องมีฝ่ายถูก-ฝ่ายผิด
แต่วิปัสสนานั้นให้มองแบบไม่ต้องตัดสิน
เป็นการไม่ตัดสินแต่จัดการนั้นเอง
ส่วนไหนที่เราต้องการก็จัดการส่วนนั้น
ส่วนไหนที่เราไม่ต้องการ ก็ไม่ต้องจัดการ
เช่น เรานั่ง เรารู้สึกปวดขา
แต่จัดการในส่วนที่เราไม่ต้องการ
คืออาการปวดขาออกไปเท่านั้น
มิได้หมายความว่ามันชั่วหรือมันไม่ดี
แต่เราเห็นว่ามันไม่จำเป็นเท่านั้นเอง
ไม่มีดี ไม่มีชั่ว
มันไม่ดีไม่ชั่ว เรียกว่ามองอย่างวิปัสสนา
คือมองแบบผู้จัดการ ไม่ได้มองแบบผู้ตัดสิน
เพราะถ้าไปมองแบบผู้ตัดสินแล้ว
มันจะต้องมีผู้ดี-ผู้ชั่ว ผู้ถูก-ผู้ผิด
แต่ถ้ามองแบบผู้จัดการ คือ
เราต้องทำในส่วนที่จำเป็นและต้องการเท่านั้น
ดังนั้น ส่วนที่ไม่ต้องการและไม่จำเป็น
ไม่ได้หมายความส่วนนั้นไม่ดี
เพียงแต่เป็นส่วนที่เราไม่ต้องการเท่านั้น
นี่คือความหมายที่เราปฏิบัติการเจริญสติ
ดังเช่น เมื่อเรานั่งท่านี้
แล้วเราต้องการเปลี่ยนท่านั่ง
มิได้หมายความว่าท่านั่งนี้ชั่ว
แต่เป็นเพราะว่าเราไม่ต้องการ
เช่น มันสบายเกินบ้าง ไม่สบายเกินบ้าง
แต่ถ้ามันสบายแต่พอดี ไม่สบายแต่พอดี
เราก็สามารถทนใช้มันได้ต่อไปอีก
เพราะมันมีความพอดี พอทนได้
เพราะท่านั่งนี้มันปวดเกินไป
อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้จัดการ
เป็นความคิดที่เป็นผลให้เกิดตัวสมุทัย
คือปัจจัยให้เกิดทุกข์นั่นเอง
รวมวิญญาณให้เป็นญาณ
ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แต่พอมาเป็นตัวรู้สักแต่ว่าตัวรู้
จากส่วนไหนของร่างกายก็ตาม
เป็นอายตนะของตัวรู้ ตัวเดียว
เรารู้สึกตัวว่าเรา เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
อบอ้าว ตึง เคร่ง เคลื่อนไหว
รวมทั้งหมดเป็นตัวรู้ล้วนๆ
การที่เรารับรู้โดยไม่แยกแยะ
ไม่ไปปรุงแต่ง ไม่ได้ไปสมมุติว่าเป็นนั่นนี่
มันเป็นตัวรู้ที่สุขบ้าง ทุกข์บ้าง
เราเห็นมันเฉยๆ เห็นอาการรู้เฉยๆ
ไม่ได้ไม่แยกแยะ ไม่ไปปรุงแต่ง
ไม่ได้ไปสมมุติว่าเป็นนั่นนี้
ตัวรู้ซึ่งเป็นตัวรู้ล้วนๆ
ไม่ได้สำคัญมั่นหมายว่าอาการรู้นี้เป็นเรา
เป็นเราร้อน เป็นเราชอบ เป็นเราไม่ชอบ
เป็นเราสบาย เป็นเราไม่สบาย
มันยังไม่เป็นตัวนั้น แต่มันเป็นตัวรู้เฉยๆ
ตรงนี้เองเป็นที่เราสนใจจะศึกษา
เราจะจำกัดขอบเขตของการรู้
ให้อยู่แค่สักแต่ว่าได้อย่างไร
ถ้าเราไม่มีการฝึกฝน ไม่มีการพัฒนา
ตัวรู้นี้มันก็จะไม่เติบโต
มันยังไม่รวมเป็นหนึ่งเดียว
มันยังกระจัดกระจายไปสู่อายตนะต่างๆ
มันจะไม่มีพลัง เราเรียกว่าวิญญาณ
ตัวรู้นี้จะไปที่อายตนะต่างๆ
ถ้าเราจะพัฒนาให้เป็นปรมัตถ์
มันจะเหลือตัวญาณหรือตัวรู้
เราจะทำอย่างไรให้เหลือตัวรู้ที่ถูกต้อง
ตัวเข้าใจที่ถูกต้อง ตัวเห็นที่ถูกต้อง
ทุกคนมีตัวรู้หรือตัวพุทธะอยู่แล้ว
แต่อยากจะถามว่ารู้ถูกหรือรู้ผิด
ส่วนนี้คือสิ่งที่เราต้องฝึก
เรารู้ถูกเป็นอย่างไร รู้ผิดเป็นอย่างไร
แล้วรู้ถูกมีผลเป็นอย่างไร
เพื่อรวมตัวรู้ที่ส่งไปสู่อายตนะต่างๆ
ให้เป็นตัวรู้เพียงหนึ่งเดียว
ปฏิบัติต่อเนื่อง เพื่อบ่มเพาะให้เกิดภาวนามยปัญญา
การเจริญสติต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
เพื่อบ่มเพาะปัญญาให้มันเติบโตอย่างไว
คือปัญญาที่เกิดจากการภาวนา
เป็นศาสตราจารย์ กี่ปริญญา กี่ศาสตร์ก็ตาม
แต่ก็ยังไม่รู้ปัญญาอย่างนี้
พระพุทธเจ้าเรียนจบมา 18 ศาสตร์
พระองค์ยังไม่รู้เรื่องนี้ได้
พระองค์จึงเลิกใช้ความรู้นี้ทั้งหมด
แต่ก็ยังไม่เกิดความรู้นี้
คือยังออกจากความคิดไม่ได้
พระองค์ก็ทรงเลิกอีกเช่นกัน
ต่อมาพระองค์เปลี่ยนมาดูกาย-ดูใจ
สังเกตกาย ศึกษากาย ศึกษาใจ
ปรากฏว่าสามารถเอาทุกข์ออกจากใจ
ให้เป็นอิสระจากความคิดได้
หลักการนี้พระองค์ทรงค้นพบมา
ประมาณสามพันปีและยังคงใช้ได้อยู่
ฉะนั้น เราอย่าไปเบื่อหน่ายท้อถอย
เพียงแต่ต้องเปลี่ยนแปลงไป
เพราะสถานที่นั้นๆ อินทรีย์ และจิตใจ
ร่างกายของเรามันรับไม่ได้
หรือเรายังไม่มีประสบการณ์
อากาศอย่างไร สถานที่อย่างไร
เราก็สามารถอยู่ได้อย่างสบาย
ในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้
ที่เรายังต้องปรับเปลี่ยนอย่างนั้น อย่างนี้
เพราะเราต้องการให้เกิดปัญญา
เพื่อที่จะกระตุ้นตัวรู้ให้ตื่นตัวอย่างต่อเนื่อง
ต้องการความตื่นรู้ที่ต่อเนื่อง
ตัวรู้ที่แท้จริงหมายความว่า
เราทำก็รู้ ไม่ทำก็รู้ (คือรู้ว่ามันไม่ทำ)
เราปฏิบัติเราก็รู้ ไม่ปฏิบัติก็รู้
มันจะรู้เข้าไปทุกเรื่อง ตลอดเวลา
รู้การเจ็บ-การปวด การสบาย-ไม่สบาย
รู้หิว-รู้ร้อน- รู้หนาวรู้มันไปเรื่อยๆ
เหมือนหินที่โดนน้ำไหลผ่านอยู่ทุกวันๆ
ก็กลายเป็นหินก้อนกลม เกลี้ยงเกลา
มันก็เข้าไปขัดเกลาจิตใจของเราไปด้วย
แต่ถ้าหากว่าความคิดและอารมณ์
มันไม่ผ่าน มันขัง ติดข้อง มันติดอยู่อย่างนั้น
จิตใจของเรามันก็ไม่เกลี้ยงเกลา เช่นกัน.
การดับเองและการทำให้ดับ.
การดับมีอยู่สองลักษณะ คือ
บางอย่างเกิดแล้วก็ดับเองได้
บางอย่างเกิดแล้วก็ต้องช่วยมันดับ
เรายกแขนนี้ไปอีกข้างหนึ่ง
มันดับเอง คือการดับโดยสัญชาตญาณ
เราจึงมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
แต่ถ้าเรานั่งนิ่งเกร็งเป็นหิน
เราก็จะทุกข์มาก เพราะเส้นมันจะตึง
เราจึงได้ดิ้นรน ให้เคลื่อนไหวตลอดเวลา
แต่ถ้าไหนๆ ความทุกข์ได้เกิดขึ้นแล้ว
และเราสามารถแปลงความทุกข์
โดยก่อนที่เราจะเคลื่อนไหวหรือขณะเคลื่อนไหว
เราก็สามารถแปลงตัวทุกข์เป็นตัวรู้ได้
เพราะเราได้ตามดูอาการเคลื่อนไหว
บทบาทที่เราปฏิบัตินี้คือการดับตัวที่ 2
ซึ่งเป็นการดับด้วยสติ-ปัญญา
ไม่มีอะไรยาก แต่ที่มันยาก
ก็เพราะว่าเรายังไม่เข้าใจธรรม
หรือยังไม่ศรัทธาที่จะทำให้มากๆ บ่อยๆ
ถ้าเรามีศรัทธา ความเพียรบ่อยๆ มีความเข้าใจ
เราจะปฏิบัติตามวิธีการของหลวงพ่อเทียน
ถ้าศรัทธาของเราไม่เข้มแข็ง
จะทำให้ผลการปฏิบัติล่าช้า
เพราะฉะนั้นการเจ็บ การป่วย
ไม่ใช่อุปสรรคของการปฏิบัติ
ก็จะแก้ไขปัญหากายใจได้ทันการณ์
ตัวอยากบังคับเราตลอดเวลา
ตัวอยากที่อยู่ข้างในของเรา ตัวอยาก มันบังคับเราตลอดเวลา เรามาเจริญสติ สมาธิ ปัญญา เราต้องการเอาตัวสติ สมาธิ ปัญญา ใช้ลงไปในชีวิตของเรา แทนความอยาก
เป้าหมายของเราในการปฏิบัติก็คือเอาตัวที่เราปฏิบัตินี่แหละ มาเป็นตัวชีวิต ให้ฝึกใช้กับมันไปเลย เราปฏิบัติธรรม ตอนฟังธรรม แล้วบอกให้มันจบ เพื่อจะรีบไปทานข้าว ทานข้าวอยากให้มันเสร็จ อยากจะรีบลุกไปทานน้ำ จะรีบไปไหน จะรีบไปปฏิบัติ พอไปฏิบัติ ก็จะรีบให้มันเสร็จ มันจะเป็นอยู่อย่างนี้ตลอด เท่าที่อาตมาสังเกต ช่วงที่ทำ เราไม่ได้สังเกตเลยว่า เราได้ใส่สติลงไปไหม เราได้ใส่สมาธิลงไปไหม เราได้ใส่ปัญญาลงไปไหม เราเลยพลาดหมดเลย
อย่าว่าแต่โยม แม้แต่พระนักปฏิบัติเอง ก็พลาดหมดในจุดนี้ เราเลยไม่มีความสุขอยู่กับ สติ สมาธิ ปัญญา ในชีวิตจริง อาตมาสังเกตอยู่เสมอในจุดนี้ สังเกตนักปฏิบัติ สังเกตพระเณร นักปฏิบัติของเรา ชีวิตทั้งชีวิตมันไปกับความอยากทั้งหมด มันไม่ได้ไปกับสติ สมาธิ บางครั้ง บางคนนึกได้ ก็เริ่มมีสติ พอเผลออีก ก็ไปกับมันอีก
ถ้าตราบใดตัวสตินี้ ยังไม่เป็นอันเดียวกับชีวิต การปฏิบัติของเราก็ยังไม่จบ ไม่สิ้น ต่อเมื่อใดการใช้ชีวิตของเรากับการมีสติ เป็นอันเดียวกัน นั่นแหละ เรียกว่า จบพรหมจรรย์
พรหมจรรย์นี้มีที่จบนะ มันจบต่อเมื่อ สติ สมาธิ ปัญญา กับชีวิตจริงเป็นอันเดียวกัน ถ้าตราบใดยังแยกกันอยู่แล้วยังๆไม่จบ
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมให้ระลึกอยู่เสมอ ให้มันเป็นชีวิตๆ ถ้าหากว่าใครก็ตามสามารถ นำเอาตัวสติ สมาธิ ปัญญา ที่ฝึก 5 วัน นี่เพียงพอแล้ว เพียงพอที่จะนำไปใช้กับชีวิต นับตั้งแต่ตื่นจนหลับนอน ให้คอยระลึกอยู่เสมอว่า ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ เราได้ใช้สติ อย่างที่เราฝึกมาไหม เดี๋ยวนี้ได้ใช้สมาธิ ปัญญา อย่างที่ฝึกมาไหม คอยระลึกอย่างนี้เสมอ นั่นเรียกว่าการปฏิบัติ เมื่อใดมันเกิดความรีบร้อนขึ้นมา ให้หยุดก่อน ! แล้วตั้งสติใหม่ ทำอย่างนี้เรื่อยๆไป อันนี้จะเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด..
ความรู้สึกตัวแบบสัมมาสติ
ลักษณะของการเกิดความรู้ตัว แบบสัมมาสติ
1.รู้ตัวชัดกับการเคลื่อนไหวทุกส่วนของกายตลอดเวลา
2.รู้สึกถึงความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ของกายได้ชัดเจน
3.จิตอยู่กับปัจจุบัน คือรู้ว่า อะไรเกิดขึ้นกับกายและจิต และสามารถจัดการกายกับจิตให้ดำรงอยู่ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง.
แต่ถ้าจิตไม่อยู่กับปัจจุบัน แสดงว่ากายกำลังไม่สบาย จิตจึงไม่ต้องการอยู่กับกาย หรือกายสบายเกินไปเพราะถูกกระตุ้นให้สบายมากกว่าปกติ จิตก็หลงเพลิน
4.อารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับจิตตลอดเวลา มีสามอารมณ์คือ อารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี และอารมณ์ไม่แน่ไม่นอน
ข้อแรกอารมณ์ดี เป็นเหตุใกล้ให้เกิดกุศล ข้อสองเป็นตรงข้าม เป็นเหตุใกล้
ให้เกิดอกุศล อารมณ์คือไม่แน่นอน อาจเป็นเหตุใกล้ให้เกิดทั้งโมหะและปัญญา
5.การเจริญสติที่อยู่กับปัจจุบันได้นานๆ อาจจะเรียกว่า”นิโรธ”ก็ได้
คือความทุกข์ดับทุกๆขณะ เมื่อมีสติทุกครั้ง
บางทีคนเรามัวแสวงหาแต่ปัจจัยสี่ มาเลี้ยงกายแต่ไม่ได้แสวงหาอริยสัจสี่ มาเลี้ยงจิตใจตนเอง ด้วยวิธีง่ายๆ คือศึกษาให้รู้จักดึงกายกับใจมาอยู่ด้วยกันเท่านั้น หากทำได้บ่อยๆ ก็กลับกลายเป็นเรื่องง่ายๆ แต่คนเราคุ้นเคยแต่คิดถึงอดีต กับอนาคตจนชิน (จนลืมคิดถึงปัจจุบัน)
การเกิดแก่เจ็บตายของจิต เกิดจากจิตเราตายจากปัจจุบันเท่านั้นเอง
ผู้ไม่ได้ฝึกสติจะเกิดช่องว่างระหว่างกายกับจิตแทบตลอดเวลา หากฝึกสติแล้วจะไม่มีช่องว่างระหว่างกายกับจิต จิตย่อมอยู่เหนือกาลเวลาเรียก อกาลิโก
ความทุกข์เกิดเพราะกายกับใจไม่อยู่ด้วยกัน จึงไม่สามารถจัดการกับความทุกข์ที่เกิดกับจิตได้ คือยังไม่พบทางแห่งการฝึกสติเพื่อการดับทุกข์นั่นเอง
รูปแบบที่ไม่ตายตัว
รูปแบบวิธีการของหลวงพ่อเทียน
มัน flexible (คล่องตัว,พลิกแพลง,ยืดหยุ่น) ได้
เพราะนําไปประยุกต์ได้ในทุกเรื่อง
นั่งสร้างจังหวะกับล้างแก้ว
สาระไม่ได้ต่าง แต่ต่างที่ความรู้สึก
ที่ใส่เข้าไป มันจะแยกตรงนั้น
ระหว่างเดินทําโน่นนี่กับเดินจงกรม
เดินจงกรมได้ใส่ตัวรู้เข้าไปอย่างเต็มที่
เราจะฝึกฝนให้เป็นสาระเดียวกัน
เดินไปจับแก้ว ใส่ความรู้เข้าไปที่ฝ่าเท้า
ใส่ความรู้สึกไปที่มือกําลังจับ
ความสําคัญมันอยู่ตรงนั้นว่า
เราจะเปลี่ยนสาระที่จิตของเรา
เคยล่องลอยไปกับอดีตบ้าง อนาคตบ้าง
ให้มาอยู่กับปัจจุบันอย่างรวดเร็ว
เพราะฉะนั้นเรามาฝึกกันนี่
เพื่อตอกย้ำความเป็นปัจจุบัน
เวลาเราต้องการทําอะไรมันมาไว
โดยอาศัยการตอกย้ำตัวกําลัง
ของสติสัมปชัญญะให้มีกําลัง
เบื้องหลังการเคลื่อนไหว
พระพุทธเจ้าทรงแสดงวิถีทางสู่ความไม่ทุกข์
อยู่กับการยืน เดิน นั่ง นอน
และให้ระลึกรู้เมื่อความรู้สึกนึกคิดผุดขึ้นมา
ให้รู้เฉยๆ ในสิ่งที่กำลังแสดงตัว
เวลากายเคลื่อนไหว ถ้าเรารู้เฉยๆ
การเคลื่อนไหวก็เป็นเพียงกิริยา
เป็นเพียงอาการ ไม่มีเราเป็นผู้ทำ
เวลานั่งนานๆ เกิดความปวดเมื่อย
เห็นแล้วสมควรบำบัด ก็บำบัด
จะมีเราเป็นผู้อึดอัด ขัดเคือง
เวลามีความนึกคิด หรืออารมณ์
ถ้าเรารู้เฉยๆ ความนึกคิดอารมณ์
เราจะเข้าไปในเรื่องที่คิด
แล้วก็จะเป็นสุขเป็นทุกข์กับมันทันที
จงฝึกจิตให้คุ้นเคยกับสภาพการรู้เปล่าๆนี้ไว้
รูปเคลื่อนไหว นามปรากฏ เราก็รู้เฉยๆ
เป็นผู้เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เห็นบ่อยเข้า ๆ ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย
คลายความยึดมั่นถือมั่น และปล่อยวาง
รู้เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร
พระพุทธเจ้าทรงแสดงวิถีทางสู่ความไม่ทุกข์ ด้วยการเจริญสติ ระลึกรู้อยู่กับการยืน เดิน นั่ง นอน และให้ระลึกรู้เมื่อความรู้สึกนึกคิดผุดขึ้นมา โดยมีเคล็ดลับว่า ให้รู้เฉยๆ ในสิ่งที่กำลังแสดงตัวโดยไม่ต้องไปทำอะไร
เวลากายเคลื่อนไหว ถ้าเรารู้เฉยๆ การเคลื่อนไหวก็เป็นเพียงกิริยา เป็นเพียงอาการ ไม่มีเราเป็นผู้ทำ ไม่มีเราเป็นผู้รับกรรม
เวลานั่งนานๆ เกิดความปวดเมื่อย เราเห็นอาการที่เกิดขึ้น เห็นแล้วสมควรบำบัด ก็บำบัด แต่ถ้าเราไม่ยอมรู้เฉยๆ เวลากายเจ็บ กายปวด จะมีเราเป็นผู้อึดอัด ขัดเคือง มีเราเป็นผู้ทุกข์ทันที
เวลามีความนึกคิด หรืออารมณ์ ถ้าเรารู้เฉยๆ ความนึกคิดอารมณ์ ก็เป็นเพียงอาการของจิตที่วูบไหวขึ้นมาแล้วดับไป แต่ถ้าเราไม่ยอมรู้เฉยๆ เราจะเข้าไปในเรื่องที่คิด แล้วก็จะเป็นสุขเป็นทุกข์กับมันทันที
จงฝึกจิตให้คุ้นเคยกับสภาพการรู้เปล่าๆนี้ไว้ รูปเคลื่อนไหว นามปรากฏ เราก็รู้เฉยๆ ถ้าเรารู้สึกตัวเป็นแล้ว ความรู้สึกตัวจะถอยออกมาเป็นผู้เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของกายและใจ เห็นบ่อยเข้า ๆ ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย คลายความยึดมั่นถือมั่น และปล่อยวาง สู่ความไม่ทุกข์ ในที่สุด
ตามดูกายเคลื่อนไหว ตามรู้ใจคิดนึก
“ตามดูกายเคลื่อนไหว ตามรู้ใจคิดนึก”
จิตเคลื่อนไหว เรียกว่า ใจนึกคิด
แต่มันเคลื่อนไหวด้วยความถี่สูง
ไม่สามารถจะตามกำหนดรู้มันได้ง่าย
ไม่สามารถตามรู้ จับจิตได้ทัน
เราต้องฝึกสติ ให้มีกำลังสูงขึ้น
อีกระดับหนึ่ง เรียกว่า สติปัฏฐาน
เพื่อเพิ่มกำลังและความเร็วของสติ
ให้มีความถี่สูงเท่ากับจิต
เพื่อให้สามารถตามดึงจิตกลับมาได้
เราต้องฝึกฝนใช้การเคลื่อนไหวกายนี้
มาแปลงเป็นพลัง เป็นกำลังของสติ
เพื่อให้มีความว่องไว และมีความแม่นยำสูง
เราไม่ใช้การฝึกสติกับลมหายใจเข้า หายใจออก
เพราะมันเป็นความรู้สึกตัวที่อ่อนแอ
ถ้าเรานั่งกำหนดรู้ลมหายใจนานๆ
ลมหายใจจะแผ่วเบาลงเรื่อยๆ
จิตก็จะขาดกำลังสติสัมปชัญญะที่ชัดเจน
ดิ่งสู่การเคลิ้มหลับโดยอัตโนมัติ
ดับดิ่งเข้าสู่ภวังค์ได้ง่าย
เป็นเหตุใกล้ให้เกิดนิวรณ์ระดับต่างๆ
พระพุทธยานันทภิกขุ