ถอนรากเหง้ากามาสวะ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

เหตุคือการเกิดดับ

ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตตรัสถึงเหตุเกิด
และการดับไปของเหตุนั้น
 
พระมหาสมณะตรัสเรื่องนี้เท่านั้น
(เย ธัมมา เหตุปปภวาเตสัง เหตุง
ตถาคโต เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ
เอวัง วาที มหาสมโน)
 
พระเถรคาถาบทนี้ที่พระอัสสชิ
กล่าวแก่อุปติสสมานพ (พระสารีบุตร)
เป็นบทสรุปคำสอนของพระพุทธองค์
อย่างชัดเจน ตรงประเด็นและสั้นลัดที่สุด
 
สรุปเป็นภาษาไทยง่ายๆ อีกที ก็คือ
พระตถาคตตรัสสอนแต่เรื่องเหตุ
ของการเกิดและการดับเท่านั้น
 
เพราะคำว่า “ธรรม” แปลว่า “เหตุ”
เหตุคือการเกิด-ดับ
 
ถ้าจะดับก็ดับที่เหตุ
ตามที่กล่าวแล้วว่า “อาสวธรรม”
เป็นเหตุเบื้องต้นและเบื้องปลายของทุกข์
 
แต่ความสบาย ความไม่สบาย ทางกาย
เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง
ซึ่งเกิดจากกฎของไตรลักษณ์
 
การไม่รู้จัก ไม่เข้าใจกฎ
ของไตรลักษณ์นั่นเอง
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
คือ ความไม่สบายใจ
 
ความทุกข์กายมิใช่เหตุเกิดทุกข์
ทางอริยสัจจ์โดยตรง
 
สรุปก็คือ ทุกข์กายเป็นผลของไตรลักษณ์
ทุกข์ใจเป็นผลมาจาก
ไม่รู้จักกฎของไตรลักษณ์

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

กลัวทุกข์เพราะไม่รู้จักทุกข์

เมื่อเราไม่รู้จักทุกข์ เหตุเกิดทุกข์
การดับทุกข์ และวิธีการดับทุกข์
เราจึงกลัวทุกข์
และอยากพ้นไปจากทุกข์
 
ดังนั้น ความกลัวทุกข์
จึงเกิดจากความไม่รู้จักทุกข์
ไม่ใช่เกิดจากทุกข์
 
กิจของเราคือการสร้างความรู้
มิใช่สร้างความไม่รู้
 
เมื่อความรู้สมบูรณ์
ความกลัวก็ไม่มี
ความทุกข์ก็ไม่มี
มีแต่ธรรมชาติของการเกิดและดับ
 
มันทำงานไปกับธรรมชาติ
ของกฎไตรลักษณ์ เท่านั้นเอง
 
พระตถาคตเจ้าบังเกิดขึ้นทุกพระองค์
เพื่อมาทำหน้าที่ชี้นำขบวนการ
สร้างความรู้เรื่องอริยสัจเท่านั้น
 
เพราะหลักของอริยสัจ คือหลักของวิชชา
รวมเรียกว่า “ไตรสิกขา”
 
เพื่อเอามาแก้เหตุของทุกข์ คืออวิชชา
คือความไม่รู้ตามความเป็นจริง
 
ดังนั้นการรู้และเข้าใจ
เรื่องของอวิชชาทั้งหมด
ต้องศึกษาตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ไตรสิกขาศึกษาทุกข์

การศึกษาในหลักของไตรสิกขาชนิดที่จะทำให้เกิดความรู้ที่ถูกต้อง คือ วิชชานั้น ต้องปฏิบัติภาวนา 2 ประการ คือ สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา สมถะเป็นหลักเบื้องต้นเพื่อศึกษารายละเอียดของศีลและสมาธิ อันเป็นฐานของความรู้ และนำมาสู่การปฏิบัติในศีลและสมาธิที่ถูกต้อง หลักสมถะใดไม่ทำให้เกิดความรู้และเข้าใจในศีลและสมาธิอย่างถูกต้อง ไม่ถือว่าเป็นสมถะของวิชชา

วิปัสสนา เป็นฐานของความรู้ที่ถูกต้อง คือ วิชชา โดยการศึกษาเรื่องปัญญาสิกขา ดังนั้นขบวนการศึกษาจึงเริ่มต้นจากหลักการ หรือ หลักสูตรที่ทำให้เกิดวิปัสสนา คือ หลักของอริยสัจ 4 และดำเนินตามวิธีการ คือ ศึกษาไปตามหลักของอริยมรรคมีองค์ 8

เริ่มต้นดำเนินการต้องศึกษาทั้งหมดเป็นขบวนการเดียวกันทั้งสมถะและวิปัสสนา อริยสัจและอริยมรรค โดยอาศัยวิธีการของไตรสิกขา โดยทางตรงและลัดสั้น มีอยู่แค่นี้เรียกว่าใบไม้ในกำมือ ส่วนองค์ประกอบต่างๆ ที่นำมาอ้าง ก็เพื่อขยายความของขบวนการเรียนรู้ให้ถูกต้องเท่านั้นเอง จึงไม่จำเป้นต้องรู้รายละเอียดเกินจำเป็น

ความรู้มีสองแบบ

เมื่อทราบโดยหลักว่า ความรู้มี 2 ลักษณะ คือ วิชชา และอวิชชา

  • วิชชา รู้ตามความเป็นจริง
  • อวิชชา รู้ตามความไม่จริง หรือ ผิดจากความเป็นจริง

การศึกษาให้รู้หลักทั้ง 2 นี้ มี 2 วิธี คือ

  1. ศึกษาเรื่องของกาย ของจิต เรียกว่า ศีลสิกขา และจิตตสิกขา
  2. ศึกษาเรื่องของตัวรู้ คือ วิญญาณ เรียกว่า “ปัญญาสิกขา”

“วิชชา” ความรู้ตามความเป็นจริง อันเกิดจากญาณปัญญาและแสงสว่าง ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในหลักของธัมมจักรว่า “วิชชา เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น อาโลกะ เกิดขึ้น (จักขุงอุทปาทิญาณังอุทปาทิ วิชชา อุทปาทิ ปัญญา อุทปาทิอาโลโก อุทปาทิ)”  ผู้รู้ท่านใด ถ้าต้องการทราบรายละเอียดเรื่องวิชชาและอวิชชาตามตำราพระไตรปิฎก กรุณาเข้าไปค้นหาได้จากหนังสือ “พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม” ของ ท่านเจ้าคุณ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)  จะได้รับรายละเอียดครบถ้วน ตามหลักวิชาการ

แต่ที่นี่อยากนำชี้ทางปฏิบัติตรงๆ ไม่ไปยุ่งกับศัพท์ทางตำราโดยไม่จำเป็น เพราะมักถูกกล่าวหาว่าติดตำราบ่อยๆ แต่บางครั้งก็จำเป็นต้องอ้างที่ไปที่มา เพื่อแสดงว่าสิ่งที่นำเสนอไม่ได้อ้างเอาตามความคิดของตนเอง เพียงแต่นำภาษาปฏิบัติมากล่าวโดยหลักปรมัตถ์ จึงจำเป็นต้องหลีกการใช้ศัพท์ทางปริยัติที่ฟุ่มเฟือยเกินไป เพราะจะทำให้สับสน ไม่แจ่มแจ้งต่อความเข้าใจ

รูปแบบของการแสวงหาโลกุตตรปัญญาจากการเจริญสมถะ-วิปัสสนา มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งเถรวาทและมหายาน ในที่นี้ จะขอนำเสนอรูปแบบวิปัสสนา ที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงจากวิธีนี้ คือ วิปัสสนาแบบเคลื่อนไหว สามารถรวมเอาสมถะ วิปัสสนามาทำร่วมกันในเวลาเดียวกัน บูรณาการเอาศีล สมาธิ ปัญญา มาเจริญร่วมกันในเวลาเดียวกัน จึงเป็นวิธีการที่ตรงและลัดสั้นไม่พาให้หลงทาง ใช้เวลาไม่นานก็สามารถสัมผัสผลการปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

พระพุทธยานันทภิกขุ