ถอดพระธรรมเทศนา วิธีสังเกตอารมณ์รูปนาม

พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, พระพุทธยานันทภิกขุ, Direk Saksith, Deva Nanda ณ สวนพันดาว ๒๕ ก.ย. – ๑ ต.ค. ๕๙

 


พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ถ้าทำถูกจะรู้สึกผ่อนคลาย สบาย
ไม่วุ่นวาย ไม่หนัก ไม่เหนื่อย ไม่เมื่อย
ไม่ง่วง ไม่เหงา มันจะปรับตลอดเวลา
นั่นคือการเก็บอารมณ์ที่ถูกต้อง

ถ้าเก็บไปแล้วมันตึง มันเครียด มันเบื่อ
มันเหงา มันเซ็ง มันคิด มันปรุงแต่งฟุ้งซ่าน
แสดงว่าในช่วงทำความเพียร
เราไม่ได้ปรับความสมดุล

Read your mind, read your body
When some feeling comes up,
You can read it.
อ่านความรู้สึกที่กำลังเกิดขึ้น
ถ้าทำสำเร็จ จะมีความสุขในการทำความเพีย
นั่นคือความก้าวหน้าของการปฏิบัติ
แต่ถ้าทำไปแล้วไม่มีความสุข
แสดงว่าขาดความสมดุล
ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งของการปฏิบัติ
ไม่เช่นนั้นการปฏิบัติธรรมจะเป็นเรื่องทรมาน
กักขังตัวเอง บีบคั้นตัวเอง
แต่เราปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับ
ความเย็น ความสงบ ความสบาย
ทำอะไรที่มันไม่สงบ ไม่สบาย ตึง เครียด เกร็ง
เรียกว่าสุดโต่ง
สุดโต่งในทางหย่อน ทำให้เรารู้สึกเบื่อ
เหนื่อย เฉื่อย ง่วง
ไม่อยากทำเพราะมันเป็นทุกข์
สุดโต่งในทางตึง ทำให้เรารู้สึกเหน็ดเหนื่อย
เพ่ง ฟุ้ง หงุดหงิด อึดอัด
เราก็ต้องมาดูว่าทำไมขาดความสมดุล
เดินช้า เดินเร็วไปหรือเปล่า
เดินเร็วไปปรับให้ช้าลง
เดินก้าวหน้าอย่างเดียวหรือเปล่า
ลองเดินถอยหลังดูบ้าง
นั่งตรงนี้นานไปหรือเปล่า
มันจะต้องปรับหาความพอดีให้ได้
เมื่อพอดีแล้วจึงอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เราต้องปรับที่กายให้เป็นเสียก่อน
ถ้าปรับที่รูปหรือที่กายไม่เป็น
ปรับที่เวทนาก็ไม่เป็น

ถ้าปรับที่เวทนาไม่เป็น ปรับที่จิตก็ไม่เป็น
ถ้าปรับที่จิตไม่เป็น ปรับอารมณ์ก็ไม่เป็น
นั่นคือสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
จะว่ายากก็ไม่ยาก จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย
มันยากตรงที่เราอยู่กับความเคยชิน
อะไรเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
เราก็ไม่ได้อ่านดูว่ามันสบายหรือไม่สบาย
เราปฏิบัติเพื่อจะเอาอะไร
เอาพลัง ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ บุญ วาสนา
เอาสบาย สงบ เยือกเย็น ระงับจากทุกข์ทั้งปวง
หรือเป้าหมายคือสิ้นทุกข์
ถ้าเราทำแต่ต้น ไม่เล็งให้ตรงเป้าหมายสุดท้าย
เราปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ พ้นความลำบาก
พ้นการเวียนว่ายตายเกิด พ้นความเร่าร้อน
พ้นความเครียด แต่ทำไปแล้วสิ่งเหล่านี้มันเพิ่ม
มันก็ไม่ตรงเป้าหมายที่เราตั้งไว้
นี่คือการอ่านว่า ขณะที่เราทำ
และเป้าหมายที่เราต้องการไปถึง
ว่ามันตรงกันหรือไม่
ถ้าไม่ตรงกันแสดงว่ามันเฉออกข้างใดข้างหนึ่ง
เราต้องปรับให้อยู่ตรงกลาง
เฉออกทางสบาย ก็ไม่ถึงเป้าหมาย
เฉออกทางไม่สบาย เป้าหมายอีกทางหนึ่ง
ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ซึ่งตรงนี้เราขาดการปรับ
พระอาจารย์กรรมฐานก็ไม่เน้นจุดนี้
เน้นให้เห็นอะไรที่พิเศษเหนือมนุษย์
แต่ความปกติธรรมดาที่มันเป็นความดับ
ความเย็น ความสบาย ที่ทุกคนต้องการ
เรากลับข้ามมันไป
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ดังนั้นการปฏิบัติวิปัสสนา
จึงใช้คำว่าโยนิโสมนสิการ
คือการเข้าไปดูต้นตอว่ามันเริ่มต้นอย่างไร
ตั้งอยู่อย่างไร ดับไปอย่างไร

การเริ่มต้น ตั้งอยู่ ดับไป
เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
หรือเพื่อความทุกข์ ความกระวนกระวาย
ความลำบาก ความเดือดร้อน ของกายและใจ

เราจะต้องเข้าไปเคลียร์ตรงนั้นให้ได้
ใช้คำว่า โยนิโสมนสิการ
คือความละเอียด ถี่ถ้วน ความแยบคาย
การแก้ การปรับให้สมดุล ให้พอดี
พระพุทธเจ้าทรงพบทางสายนี้
และตรัสเรื่องนี้มาตลอดในสี่สิบห้าพรรษา
เบื้องต้นท่านบอกว่า
บรรพชิตพึงละทางสุดโต่งทั้งสองทาง
กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค
ปรับให้ไปทางมัชฌิมาปฏิปทา
ถ้าเราเฉออกไปนอกทาง ติดสบายเกินไป
มันก็นำไปสู่ทุกข์ ไม่มีประโยชน์ ไม่ประเสริฐ
เป็นไปเพื่อความไม่สงบระงับ ไม่รู้แจ้ง ไม่เยือกเย็น
ในทางสุดโต่งทั้งสองทาง
เวลาเรามาปฏิบัติก็เริ่มจับอาการเหล่านี้
เริ่มจับอาการตั้งแต่เรายืน เราเดิน เรานั่ง เรานอน
แต่ในกรณีที่บางครั้งร่างกายปกติ
เรามักไปเสพความสุข ตรงนี้เองที่มันเป็นเหตุ
เพราะทางสายกลางกับความสุข
มันคล้ายกันมาก แต่เป็นคนละเรื่อง
ความสุขเกิดจากการสุดโต่ง
ไปทางทุกข์มาก่อน แล้วตีกลับมาอีกทาง
แต่ทางสายกลางมันอยู่ตรงกลา
มันพร้อมที่จะปรับไปทั้งสองทาง
มันสุขเกินไปก็พร้อมที่จะปรับมาทุกข์
มันทุกข์เกินไปก็พร้อมที่จะปรับมาสุข
ให้มันพอดี
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ทางสายกลาง ท่านใช้คำว่า พอทนได้
สุขก็พอทนได้ ทุกข์ก็พอทนได้
ท่านจะไม่ใช้คำว่าสุข ทุกข์ แต่พอทนได้

ซึ่งได้กล่าวหลายครั้งว่าในสมัยพุทธกาล
เวลาที่พระพุทธเจ้าทักทายพร
หรือพระทักทายพระพุทธเจ้า
ท่านไม่ใช้คำว่าสวัสดี สบายดีมั้ย
ท่านจะทักว่า พอทนได้มั้ย
หมายความว่าพอดี ไม่สุขเกินไป
ไม่ทุกข์เกินไป
คำว่าปกติหรือเป็นกลาง
ไม่ได้หมายความว่าสบายเกินไ
แต่มันพอสบาย พออยู่ พอกิน
เมื่อคืนนอนหลับมั้ย… พอนอนได้
อาหารอร่อยมั้ย… พอทานได้
คำๆ นี้เป็นสำนวนที่เราใช้ประจำ
แต่เราไม่รู้ที่ไปที่มา
ครอบครัวเป็นอย่างไร… พออยู่ด้วยกันได้
พอคุยกันรู้เรื่อง พอปรับความเข้าใจกันได้
เพราะชีวิตคือตัวปัญหา
ต้องอาศัยการปรับตลอดเวลา
ความเข้าใจวันนี้ พรุ่งนี้อาจจะไม่ใช่
มันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
การได้ปรับความเข้าใจ การทำความเข้าใจ
ต้องใช้โยนิโสมนสิการคือปัญญาเรื่อยๆ
พุทธศาสนาเน้นให้เกิดปัญญา
เพื่อนำมาปรับความสมดุล
แต่ปัญญาจะเกิดได้ต้องอาศัยสติ
อาศัยความไม่ประมาท
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

จนกระทั่งวาระสุดท้าย ท่านสั่งไว้ว่า
บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
มันเสื่อม มันเกิด มันดับ ตลอดเวลา

ท่านทั้งหลายจงเตรียมสติ เตรียมปัญญา
ไว้ตลอดเวลา
“อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ”
จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม

ความไม่ประมาทหมายถึงการมีสติปัญญาอยู่เสมอ
เป็นพินัยกรรมชิ้นสุดท้ายที่ท่านสั่งไว้
ในคำสอนทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ต้องมาทำตัวไม่ประมาทนี้เป็นหลัก
นิยามของความไม่ประมาทมันเป็นผล
เหตุของมันคือการมีสติสัมปชัญญะ
ให้ถึงพร้อมนั่นเอง
ถ้าขาดสติสัมปชัญญะ
ความไม่ประมาทเป็นไปไม่ได้
เราขาดสติสัมปชัญญะเรียกว่าประมาท
ประมาทคือขาดสติ ขาดความรู้เนื้อรู้ตัว
ขาดความสำนึก ขาดความระลึกได้
ขาดความระมัดระวัง
ทั้งหมดนี้คือสติสัมปชัญญะนั่นเอง
เวลาเราทำความเพียร แม้กระทั่งการใช้ชีวิต
ถ้าเราทำความเพียรฝึกฝนสติสัมปชัญญะ
รู้เนื้อรู้ตัว อ่านตัวเองออก บอกตัวเองได้
ใช้ตัวเองเป็นอยู่เสมอ
เวลาเราจะไปหยิบน้ำสักแก้ว
ก็จะมีความระมัดระวังเกิดขึ้น
การยกขึ้นเรารู้สึกหนัก ไม่สบาย
การวางลงเรารู้สึกเบา สบาย
ในกรณีนี้สายกลางอยู่ตรงไหน?
ถ้าของนี้หนักเกินไป เราก็ไม่ยอมยกน้ำกิน
เราก็ไม่ได้กินน้ำเพราะมันหนัก
เราต้องยอมหนักเพื่อประโยชน์นั้น
ประโยชน์ที่ได้จากการหนักคือได้ดื่มน้ำ
แล้วก็วาง
การรู้จักใช้หนักและเบาให้เป็นประโยชน์
นั่นคือทางสายกลาง
ถ้าหนักเกินไป คุณไม่กล้าแตะเลย
ถ้าร้อนเกินไป กินไม่ได้ ก็ไม่ยอมกิน
เรียกว่าไม่ได้ปรับ
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ถ้าทางสายกลาง คุณต้องการดื่มน้ำเดือดๆ
แต่น้ำมันร้อนมาก คุณก็ทำให้มันพอดื่มได้
ทำอย่างไรให้พอดื่มได้

ร้อนเกินไปดื่มไม่ได้ จะรอให้มันเย็นลงมา
เหลือเวลาอีกสองนาทีฉันจะรีบไป
รอไม่ได้ กว่าน้ำจะเย็นอีกห้านาทีสิบนาที
ปรับสมดุลให้มันเย็นลง
ร้อนปรับเย็น เย็นปรับร้อน เพื่อให้ทันเหตุการณ์
ถ้าเราใช้หลักการนี้ให้เป็นนิสัยประจำวัน
ชีวิตของเราก็จะดีขึ้น
เราจะมีความสดชื่นแจ่มใสเข้มแข็ง
ไม่มีความเร่าร้อนกระวนกระวาย
เป็นชีวิตที่พึงปรารถนา
เรามาปฏิบัติ เสียสละเวลา เงินทอง ข้าวของ
เพื่อรักษาพระศาสนา เพื่อให้เราได้เรียนรู้สิ่งนี้
และทำสิ่งนี้ได้ ผลบุญที่ได้คือ
เราปรับชีวิตให้สบายตลอดเวลาได้เป็น
แต่ถ้าเรานับถือพุทธศาสนา
เราไม่เรียนสิ่งนี้ เราไม่ได้สิ่งนี้จากพุทธศาสนา
เรานับถือศาสนาไปเพื่ออะไร
เพื่อมีศีลมีธรรม เพื่อมีเมตตา
เราจะมีศีลมีธรรมตลอด ทำอย่างไร?
ต้องปรับชีวิต ถ้าเราเต็มไปด้วยศีลธรรม ความเมตตา
แต่เต็มไปด้วยปัญหาและความทุกข์
การรักษาศีล มีความเมตตา การให้ทาน
เราจะทำได้อย่างยั่งยืนหรือไม่
ถ้าจิตใจเราสบาย ร่างกายเราสบาย
เราก็เกิดเมตตา อยากให้คนอื่นสบายด้วย
เราพออยู่พอกิน เห็นคนอื่นไม่มีอยู่ไม่มีกิน ขาดแคลน
เราก็อยากให้เขาพออยู่พอกินอย่างเราด้วย
การช่วยเหลือเกื้อกูล การเมตตากัน ก็จะเกิดขึ้น
ดูเขาเกะกะ สกปรก ไม่มีระเบียบ
เราจะไปตำหนิเขาก็ไม่ได้
เราจะบอกว่าตัวเองดีกว่า
เราไปตำหนิเขาก็ไม่ถูกแล้ว
แต่เรามีเมตตาเขา เราจะบอกเขาได้อย่างไร
ต้องใช้ปัญญาแล้ว
ทุกขั้นตอนที่จะให้เกิดศีล เกิดปัญญา
ต้องเกิดความเมตตา เกิดความรัก
ต้องใช้ปัญญาหมดเลย นั่นหมายความว่า
ปัญญาต้องเกิดที่ตัวเราก่อน
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ถ้าจะให้เกิดเหตุที่ยั่งยืน
เราต้องได้รับอานิสงส์จากสิ่งนั้นก่อน
รับอานิสงส์จากความเมตตา
รับอานิสงส์จากการมีศีล
รับอานิสงส์จากความรักความสามัคคี

ตัวเราเองมีความเมตตาต่อตัวเองหรือไม่
การทำอะไรโหดๆ กับตัวเอง ทำให้ตัวเองลำบาก
ถือว่าไม่มีเมตตากับตัวเอง
เราต้องสร้างความเมตตาให้กับตัวเองก่อน
รักตัวเองอย่างถูกต้อง ไม่ให้ทุกข์เกินไป
และขณะเดียวกันก็ไม่เสพสุขมากเกินไป
ให้พอดี
สุขเกินไป คนจนก็ทำไม่ได้
เพราะเขามีรายได้จำกัด
สุขเพราะการมีทรัพย์ สุขเพราะความร่ำรวย
เขาก็ทำตามไม่ได้
ทุกข์เกินไป คนรวยก็ทำไม่ได้
เพราะอยู่กับสิ่งที่มีความสุข ตนเองก็เลยอ่อนแอ
ต่างคนก็ต่างปรับหากันไม่ได้จึงเกิดช่องว่าง
สิ่งเหล่านี้ถ้าเราเข้าใจ มันบูรณาการได้หมดเลย
ในการแก้ปัญหา
พุทธศาสนาพยายามให้ทุกคนได้พึ่งตัวเอง
พึ่งสติปัญญาของตัวเอง
หลวงพ่อพุทธทาสท่านบอกว่า
พุทธศาสนาเป็นศาสนาของปัญญา
ในชุมชน ในบุคคลบางคน
ไม่พร้อมที่จะทำให้เกิดปัญญาได้
เขาก็จำเป็นที่จะต้องมีศาสนาอื่นๆ ให้นับถือ
พุทธศาสนาจะเป็นที่ยอมรับของคนทุกคนไม่ได้
เพราะคนบางคนไม่ยอมปรับตัวเอง
หรือปรับตัวเองไม่เป็น
เขาเป็นอย่างนี้ก็ต้องเป็นอย่างนี้
อย่างอื่นจะดีอย่างไรเขาไม่เอา
คนในโลกอย่างนี้ก็มีเหมือนกัน
เขาก็ต้องมีศาสนาอีกแบบหนึ่
เขาก็จะรับพระพุทธศาสนาไม่ได้
เราจำเป็นต้องมีหลายศาสนา
ตามจริตนิสัยและวิบากกรรมของคน
เมื่อผู้นำศาสนาเข้าใจอย่างนี้
ก็จะเกิดความรักความสามัคคีระหว่างศาสนา
ศาสนาก็จะไม่มุ่งร้ายทำลายกัน
แต่ความเป็นจริงไม่ป็นอย่างนั้น
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ในภาคปฏิบัติ ไม่ว่าเดินจงกรม สร้างจังหวะ
ก็จะมีความไม่สบายให้เห็น
เพราะร่างกายเป็นที่ตั้งของทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
จะให้มันสบายตลอดก็ไม่ได้
จะให้มันสุขตลอดก็ไม่ได้
มันก็สลับไปสลับมา

แต่ถ้าเราไม่มีความแยบคาย
เรารู้สึกไม่สบาย เราก็จะไปแสวงหาความสบาย
เดินจงกรมสร้างจังหวะตรงนี้มันเหนื่อย มันเมื่อย
ก็เปิดห้องออกไป เดินทางอื่น ไปทำอะไรสักอย่าง
ให้มันรู้สึกอยากจะทิ้งความรู้สึกเหล่านั้นเสีย
อยู่ในห้องนาน อึดอัด เปิดห้องไปเล่น ไปคุย
ไปทำอะไรให้มันสบาย สักพักเข้ามาทำใหม่
พอมาทำใหม่ก็เป็นแบบเดิม
มันหนัก มันเหนื่อย เพลีย ขี้เกียจ
ก็ไปหาอะไรอื่นทำ ก็จะวนอยู่อย่างนี้
ไม่ได้แก้ปัญหา
แต่ถ้าเราเดินจงกรมสร้างจังหวะ
ตัวปัญหามันเกิดแล้ว
เราอยู่บ้านไม่เคยนั่งนานขนาดนี้
ไม่เคยต้องมายกมือตลอด
มันผิดปกติจากชีวิตเรา
มันจะต้องมีอะไรบางอย่างที่ทำให้รู้สึกไม่สบาย
เหมือนจะฝืนความรู้สึกที่ดีๆ ของเรา
เราฝืนทำไม เรานั่งนานๆ ให้ปวดเมื่อยทำไม
มันจะเริ่มคิดแล้ว เราก็ได้รับคำอธิบายมาว่า
ชีวิตนี้เป็นที่ตั้งของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ถ้ามันเปลี่ยนแปลงเอง
มันจะไม่เป็นประโยชน์
ใช้ไม่ได้ เรียกว่าอนัตตา
แต่พระพุทธเจ้าได้ค้นพบว่า
ถ้าเราเข้าไปเปลี่ยนแปลงมันอย่างเหมาะสม
มันจะใช้ได้ มันจะเกิดปัญญา
หลักของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
มันมีทางออกแล้ว
ทางออกตรงที่ว่าได้สติ
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

จะทำให้มันไม่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ได้หรือ?
ก็ท่านตั้งประเด็นไว้ว่า
เมื่อมีมืดก็ต้องมีสว่างมาแก้
เมื่อมีร้อน ก็ต้องมีเย็นมาแก้
เมื่อมีทุกข์ ต้องมีไม่ทุกข์มาแก้

เมื่อมีอนิจจัง ก็ต้องมีนิจจังมาแก้
เมื่อมีทุกขัง ก็ต้องมีไม่มีทุกข์มาแก้
เมื่อมีอนัตตา ก็ต้องมีตัวธรรมะมาแก้
เราจะแก้อย่างไร ตรงนี้ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
ก่อนหน้าท่านจะตรัสรู้ ไม่มีใครคิดอย่างนี้ได้เลย
มีแต่ว่ามันทุกข์ก็ต้องหาสุ
เมื่อมันเป็นอนิจจัง ก็ต้องทำให้มันเป็นนิจจัง
เมื่อมันเป็นอนัตตา ก็ต้องทำให้มันเป็นอัตตาขึ้นมา
แต่มันก็ไปค้านกับกฎความเป็นจริงของธรรมชาติ
ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจัง
จะให้เป็นนิจจังไม่ได้
เพราะมันไปฝืนกฎธรรมชาติ
หายใจเข้าไม่ต้องหายใจออกไม่ได้
หายใจออกไม่ต้องหายใจเข้าไม่ได้
เลือดลมเปลี่ยนแปลงตลอด ไม่ให้มันเดินไม่ได้
ไปฝืนกฎธรรมชาติแล้ว
เราไม่ถึงกับต้องเป็นนิจจัง หยุดหมด
แต่ปรับตัวอนิจจังให้ไปในทางที่เราต้องการ
ถ้าปล่อยอนิจจังไปตามเรื่องของมัน
มันไปในทางที่เราไม่ต้องการ
เช่น ฝนตกลงมา น้ำไหลลงที่ต่ำมันก็จะขุ่น
มันไปชะเอาสิ่งสกปรกทั้งหลายออกมา
ถ้าฝนตกลงมา เราต้องการให้น้ำใส
เหมือนกับที่มันตกลงมา ไม่ขุ่น ไม่ไหลไปที่อื่น
เราต้องหาภาชนะ ต้องเป็นผู้จัดการ
ถ้ามันตกทั้งปีทั้งชาติ เราไม่จัดการตรงนั้น
น้ำที่ตกลงมาก็ไม่ใส ไหลไปที่อื่นหมด
ถ้าปล่อยให้เป็นตามกฎของมัน ก็เป็นอย่างนั้น
ใช้ไม่ได้
แต่เมื่อเราได้สติ น้ำนี้มันตกลงมา มันสะอาด ใส
จะทำอย่างไรให้มันใสเหมือนเดิม
มันเริ่มมีการจัดการแล้ว คือไปหาภาชนะมา
น้ำตกลงในห้วยในร่อง ในเขา
ปล่อยลงทะเลทั้งปีทั้งชาติ
พอหน้าแล้งมาไม่มีน้ำดื่มน้ำกิน ก็ปล่อยไปอย่างนั้น
น้ำฝนที่ตกทั้งปีก็ไม่เป็นประโยชน์
เมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้เกิดขึ้น
ไม่ต้องการให้น้ำไหลลงทะเล
เกิดวิชาการทฤษฎีในการสร้างเขื่อน สร้างอ่างเก็บน้ำ
ต้องมีการจัดการเกิดขึ้น
เช่นเดียวกัน
เรานั่งตลอดเวลา เราจะให้มันสบายขึ้นเรื่อยๆ
เป็นไปไม่ได้ มันจะต้องไหลลง หนักลง
จะทำให้มันไหลขึ้นทำอย่างไร?
ต้องจัดการมัน ถ้าจะให้มันสบาย พอทนได้
เราจึงมีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

แต่การเคลื่อนไหวมีสองอย่าง
เคลื่อนไหวด้วยวิชชาหรืออวิชชา
การเคลื่อนไหวจัดการเอาทุกข์ออกจากกาย
ทุกคนทำได้ เวลาไม่สบายก็พลิกเท่านั้นเอง

อย่าว่าแต่คนเลย สุนัขมันนอนอยู่กับที่นานๆ
มันก็ทุกข์เหมือนกัน มันก็ลุกหนี
เวลามันหิว มันก็ไปหากิน
โดยสัญชาตญาณ ไม่ว่าคนหรือสัตว์ทำได้หมด
ในการเอาตัวรอด

การที่เราจะจัดการกับสิ่งที่ตกลงมา
เวทนาเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เหมือนฝนตก เมื่อตกมาแล้ว จิตเป็นตัวรองรับ
วิญญาณเป็นตัวรองรับ ก็จะไหลมาเป็นความคิด
ความคิดที่ไหลออกมาจากจิตของเรา
มันจะมีอยู่สี่ลักษณะ
๑. เพื่อเอาตัวรอดทางกาย
ต้องดูแลร่างกายด้วยการหาอาหารใส่ปากใส่ท้อง
๒. ต้องการเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย
๓. เมื่อมีภัยเกิดขึ้น ต้องหนี ต้องการความปลอดภัย
๔. สรรพสัตว์ทุกตัวรักตัวกลัวตาย
สำคัญว่าเขาเป็นตัวตน
ต้องการที่จะดำรงความเป็นตัวตนให้อยู่ได้ตลอดไป
เขาก็ต้องการสืบเผ่าพันธุ์
สัญชาตญาณสี่อย่างนี้มีเสมอเหมือนกันหมด
แม้แต่ยุง ริ้น ไร มันก็ยังสืบเผ่าพันธุ์ของมั
อย่าว่าแต่มนุษย์เลย
เวลาความคิดลงไปที่จิตแล้ว มันจะคิดแค่สี่เรื่องนี้
เขาเรียกว่าโดยสัญชาตญาณ
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาพบว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ถ้ามันอยู่โดยสัญชาตญาณอย่างนี้
ทุกข์ก็ไม่เคยจบสิ้น มันก็จะเวียนว่ายตายเกิด
อยู่อย่างนี้ตลอด เป็นอมตะไปเลย

แต่มนุษย์มีสติปัญญา มีสมองที่สูงกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
เราจะต้องเป็นตามกฎเกณฑ์อย่างนี้ตลอดไปเช่นนั้นหรือ?
ก็มีการคิดย้อนทวนศรเกิดขึ้

เราจะไม่อยู่ภายใต้กฎอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทั้งหมดได้หรือไม่
เราจะอยู่เพียงครึ่งเดียวได้หรือไม่
ถ้ามันดีดไปอีกทางหนึ่ง
เมื่อมันเป็นทุกข์ ก็ทำให้เป็นสุข
พอหมดสุขมันก็ดีดมาทุกข์
พอหมดทุกข์มันก็ดีดมาสุข
อันนี้ก็ยังเป็นสัญชาตญาณอยู่
ถ้านั่งตรงนี้นานไม่สบาย ก็ลุกขึ้น รู้สึกสุข
ยืนนานๆ ทุกข์อีก ก็เดิน
ตลอดเวลาเราดิ้นรนเพื่อแก้ไขปัญหา
ที่เกิดตามสัญชาตญาณ มันไม่จบทำอย่างไร
พระพุทธเจ้าค้นพบว่า ที่ตั้งของทุกข์มีสองอย่าง
คือกายกับใจ รูปกับนาม
สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีแค่สองอย่างนี้
คือกายกับใจ รูปกับนาม
เมื่อความไม่สบายเกิดขึ้น มันตั้งอยู่ที่กายที่ใจ
แต่ที่เราบำบัด เราบำบัดออกทางหยาบที่สุด
คือทางกาย
แต่ผู้ที่ทนไม่ได้กับความทุกข์อันนี้
ใครเป็นผู้ทนไม่ได้
กายทนไม่ได้หรือใจทนไม่ได้?
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ใจทนความทุกข์ไม่ได้
เพราะฉะนั้นเราไปปรับที่กายอย่างเดียวไม่ได้แน่
ต้องบำบัดที่จิตด้วย
เพราะต้นตอที่จะทำให้ไหลไปตามมัน
อยู่ที่จิต ไม่ได้อยู่ที่กาย
กายเป็นเพียงวัตถุชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง

ท่านก็เริ่มเห็นว่า จะลุกอย่างเดียว
เพื่อให้มันหายปวดอย่างเดียวไม่พอ
ต้องรู้ด้วยว่าความปวดมันหายไปได้อย่างไร?
และความปวดมาจากที่ไหน?
ความไม่สบายกายเอาออกได้อย่างไร?
ความไม่สบายกายที่ต้องบำบัดตัวเอง
ใครเป็นผู้สั่ง ท่านเริ่มย้อนศรแล้ว
มีใจเป็นผู้สั่ง แล้วกายกับใจเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
เริ่มเห็นแล้ว
ท่านเริ่มย้อนศร ถึงได้รู้ว่า เรารู้กายได้เพราะมีเวทนา
มีนาม มีสัญญา มีความจำได้ว่าอันนี้มันปวด
มีสังขาร แล้วก็คิดหาวิธีว่าจะไม่ปวดกว่านี้ได้อย่างไร
มีวิญญาณ พยายามที่จะรับรู้ในผลที่เกิดขึ้น
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
แต่คนส่วนใหญ่ต้องการรับผลที่มันสบาย
เพราะมันทนได้ง่ายกว่า
เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็ปรับจุดนี้ใหม่
เมื่อความไม่สบายเกิดขึ้น
เราก็ปรับออกไปโดยที่ไม่เห็นว่า
ขบวนการคือความหนักมันหายไปได้อย่างไร
ลักษณะนี้ความทุกข์ออกจากกายอย่างเดียว
แต่ไม่ได้ออกจากใจ
ถ้าจะให้มันออกทั้งกายและใจทำอย่างไร?
ก็เริ่มกลับเข้ามาดู
ก่อนหน้านี้ท่านใช้วิธีของฤาษี
ไม่สามารถรู้เรื่องนี้ได้ ท่านก็เลิกวิธีของฤาษีทั้งหมด
แล้วกลับย้อนศรมาดู ท่านใช้คำว่าทวนกระแส
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เรื่องทวนกระแสเป็นเรื่องสำคัญ
ในพุทธประวัติตอนหนึ่ง
ที่สะท้อนให้เห็นว่าทวนกระแสเป็นเรื่องสำคัญ

พระพุทธเจ้าอธิษฐานเอาถาดไปลอยน้ำ
ถ้าข้าพเจ้าจะสามารถเข้าใจเรื่องนี้ได้
ไม่มีทุกข์ได้จริงๆ ขอให้ข้าพเจ้าเห็นวิธีการ
แต่ถ้ามันเป็นไปไม่ได้จริงๆ
ขอให้ถาดใบนี้ไหลตามน้ำไป
แล้วจึงวางถาดลงไปในน้ำ
ปรากฏว่าถาดใบนี้ทวนกระแสน้ำขึ้นไป
แสดงว่ามีทางออก เรื่องนี้เป็นไปได้
มันฝืนความจริงหรือเปล่า
เวลาเอาถาดไปวางแล้วมันไหลทวนน้ำ
อันนี้เป็นปริศนาธรรม ไม่ได้เป็นความจริง
ปริศนาธรรมว่าทุกอย่างจัดการได้
มีมืดก็ต้องมีสว่าง มีร้อนก็ต้องมีเย็น
มีไม่รู้ก็ต้องมีรู้ มีโง่ก็ต้องมีไม่โง่
ท่านก็คิดย่างนี้ ในที่สุดก็พบว่ามันมีทางแก้
ท่านก็ตามมาดูอาการของจิต
จิตเปลี่ยนมาเป็นความรู้สึกได้อย่างไร?
อาศัยกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
จิตไปรับรู้สมมตินี้ได้อย่างไร
ตามไปดูอาการของเวทนา
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
เป็นอาการของกายหรือของจิตกันแน่
นั่งอยู่นี่ทุกคนหนักสะโพก
อาการหนักสะโพกเป็นอาการของกายหรือของจิต?
คนตายเขารู้สึกหนักอย่างเราหรือไม่?
เขาก็มีกายทำไมไม่รู้สึก?
คนตายไม่รู้สึกเพราะเขาไม่มีเวทนาพระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เวทนาเป็นกายหรือเป็นจิต?
เวทนาเป็นนาม เกิดจากกายวิญญาณ
เรียกว่ากายะปสาทะ

กายวิญญาณทำงานโดยอาศัยระบบประสาท
และกายะปสาทะ
ระบบประสาทนี้อาศัยการทำงานของธาตุสี่
ดิน น้ำ ลม ไฟ
รับรู้ต่อการทำงานของธาตุสี่ได้
ธาตุรู้ของกายเรียกว่าเวทนา
สิงสาราสัตว์ก็มีเวทนา มีธาตุรู้อย่างเรา
เวลามันทุกข์มันก็หาทางออกเหมือนกัน
มันก็มีธาตุรู้เหมือนกัน
แต่ธาตุรู้ของสัตว์นี้เปลี่ยนมาเป็นแบบคนไม่ได้
สัตว์จึงฉลาดอย่างคนไม่ได้เพราะธาตุรู้ไม่สมบูรณ์
แต่มนุษย์มีธาตุรู้ที่สมบูรณ์ เพราะมีสัญญาด้วย
อย่างนี้สมมติว่ามันหนัก อย่างนี้สมมติว่ามันเบา
อย่างนี้สมมติว่ามันสบาย อย่างนี้สมมติว่ามันพอดี
มีสัญญา
ปรับตัวอาการทุกข์เหล่านี้เป็นด้วย เป็นสังขาร
รู้จักวิธีปรับให้ได้ตลอดเวลา เป็นวิญญาณ
เวทนา สัญญา สังขาร ซึ่งเป็นนามดิบๆ
เป็นนามที่ติดอยู่กับรูป
เมื่อมีการใคร่ครวญ มีการพิจารณา
ตามตรรกะของตัวรู้ที่สูงกว่าสรรพสัตว์คือมนุษย์
เลยเห็นว่าตัวนี้ที่มันเป็นไปตามสัญชาตญาณ
เพราะไม่รู้จักฝืนมัน มันมีการเปลี่ยนแปลง
เมื่อมันเปลี่ยนแปลงในทางลงได้
ก็ต้องเปลี่ยนแปลงในทางขึ้นได้
เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไปในทางไม่ดีได้
ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

มนุษย์คนแรกที่ค้นพบ
คือผู้ที่บรรลุถึงพุทธะทั้งหลาย
ไม่ใช่เจ้าชายสิทธัตถะคนเดียว
พุทธะมีต่อกันมาเรื่อยๆ หลายพันองค์

เราก็เอาตัวรู้ย้อนศรมาพัฒน
ถ้ามันหนัก มันผิดปกติ ทำให้มันไม่หนัก
ก็คือปรับ การรู้จักเข้าไปปรับให้เป็นปกติ
จึงเรียกว่าศีล ศีลแปลว่าปกติ

เราจึงสมมติคำๆ นี้ว่าทำให้ปกติ คือมันไม่หนัก
ความหนักหายไป ความปกติเกิดขึ้น
แต่บางคนไม่ได้บำบัด รู้สึกหนักก็ลุกไปเลย
ไม่เห็นขบวนการว่า หนักเกิดขึ้นอย่างไร
หนักตั้งอยู่อย่างไร หนักหายไปได้อย่างไร
เราเรียกว่าปกติโดยสัญชาตญา
ปกติมีสองปกติ
ปกติที่เกิดขึ้น ปรับโดยสัญชาตญาณ
ใช้ความเคยชิน ใช้คำว่าอวิชชา
ถ้าเราปรับโดยรู้เนื้อรู้ตั
เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของความทุกข์
หรือความหนักความเบา เข้าไปรู้ขบวนการของมัน
เรียกว่าวิชชา
วิชชาตัวนี้สมมติว่าเป็นสติสัมปชัญญะ
ในเวลาต่อมา
ตัวนี้เองจึงเป็นกุญแจดอกแร
ที่พระพุทธเจ้าได้ค้นพบความจริง
คือได้สติเข้าไปตามรู้อาการเหล่านี้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติของรูป
แต่ไม่ได้เป็นปกติของนาม
บางครั้งมันเข้าสู่จิตเพราะขาดวิชชา

ร่างกายไม่ได้เป็นวิชาหรืออวิชชา
ร่างกายเป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น
รู้หรือไม่รู้ เป็นเรื่องของนาม ไม่ใช่เรื่องของกาย

แต่ถ้าเราไม่รู้ขบวนการนั้น
นามจึงเป็นอวิชชา เรียกว่านามรูป
เพราะสำคัญว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เป็นรูปและเป็นเรา เรียกว่านามรูป
เมื่อความผิดปกติ หรือความปกติ
ที่มันอยู่ในกาย เข้าสู่นาม
จึงมีชื่อใหม่ว่านามรูป
แต่ถ้ามันอยู่กับกายเรียกว่ารูปนาม
ถ้าเข้าสู่จิตเรียกว่านามรูป
รูปนามเราบำบัดได้โดยสัญชาตญาณ
ที่จะให้ความปวดเมื่อยหายไป
แต่เมื่อรูปของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าสู่จิตด้วย
โดยที่ไม่รู้ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอย่างไร
เราจึงเรียกอวิชชาที่เกิดในจิตว่า นามรูป
เพราะฉะนั้น คนก็ยังโกรธ เกลียด เครียด ขุ่นเป็น
ไม่สบาย หงุดหงิดเป็น เพราะมันเป็นนามรูป
เมื่อเราเข้าไปรู้ขบวนการ
ตัวรู้ตัวนี้ ที่ไม่ใช่ โกรธ เกลียด เครียด ขุ่น สุข ทุกข์
มันเป็นตัวรู้เฉยๆ แต่ทำหน้าที่รู้ขบวนการทั้งหมด
ตัวนี้มันก็จะเหลือนามล้วนๆ
สติ สมาธิ ปัญญา จึงเป็นนามล้วนๆ
ไม่ใช่นามรูป เพราะมันทำหน้าที่เป็นผู้รู้ล้วนๆ
เรียกว่านาม
นามตัวนี้เรามาสมมติว่าเป็นธรรมที่เป็นฝ่ายรู้
ที่เป็นกุศล เราก็เลยมาเจริญนาม
คือตัวรู้ตัวนี้ให้มากขึ้น
เพราะถ้ามันน้อย มันจะตามเข้าไปแก้ปัญหา
ที่เกิดจากรูปนามและนามรูปไม่ได้
เพราะตัวนั้นมันทำงานตลอดเวลา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาที่เกิดจากรูป
ถ้าเราไม่มีองค์ของความรู้
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็มาเกิดกับนามด้วย

ถ้าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตามาเกิดกับนาม
อนิจจังก็เปลี่ยนเป็นความพอใจ
ทุกขังก็เปลี่ยนเป็นความไม่พอใจ
อนัตตาก็เปลี่ยนเป็นความไม่รู้ใจตัวเอง
เรียกว่าอนัตตา บังคับบัญชาใจไม่ได้เพราะไม่รู้

ถ้าขบวนการรู้นามในลักษณะที่ว่า
รูปเข้าไปสู่นามลักษณะไหน
แล้วคอยแยกออกว่า อาการของรูป
เป็นความสบาย ไม่สบาย ไม่รู้
เป็นอาการที่เกิดกับรูป แล้วสกัดออกไป
ให้รู้เฉยๆ โดยที่ไม่ต้องไปพอใจไม่พอใจ
กับสิ่งที่มันปรากฏในจิต
เข้าไปรู้อาการนั้นเฉยๆ
แสดงว่าแยกรูปและนามออกจากกันได้
เพราะแยกความรู้สึกชอบในอนิจจังออกไป
แยกความรู้สึกไม่ชอบในทุกขังออกไป
และรู้ขบวนการด้วย รู้ใจด้วย เป็นปัญญาขึ้นมา
อนิจจัง ทุกขัง แทนที่จะเป็นอนัตตา
เพราะขบวนการนี้เข้าไป ก็เลยกลายเป็นตัวรู้ล้วนๆ
เราสมมติว่าเป็นปัญญา
อนิจจัง ทำให้ปกติได้ เป็นศีล
ทุกขัง ทำให้เราตั้งใจที่จะปรับแก้ เป็นสมาธิ
อนัตตา รู้ขบวนการทั้งหมด เป็นปัญญา
ศีล สมาธิ ปัญญา จึงเป็นชื่อของนาม
ในฝ่ายที่ประกอบด้วยวิชชา
แต่ถ้าเราปล่อยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ปล่อยรูปไหลไปเข้าสู่จิต โดยจัดการไม่ได้
ก็เปลี่ยนเป็นพอใจ ไม่พอใจ
เป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา
ไม่ได้เปลี่ยนเป็นศีล สมาธิ ปัญญา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เพราะฉะนั้น ตัวรู้เท่าทันนี้เอง
เราต้องมาสร้างขึ้นให้มากที่สุด
เพื่อที่จะไปเปลี่ยนกฎของไตรลักษณ์
ให้กลับมาเป็นกฎของไตรสิกขา
คือศีล สมาธิ ปัญญา

ไม่ง่าย ไม่ยาก อยู่ที่มีศรัทธาที่จะทำหรือไม่
มีความเพียรที่จะพิสูจน์หรือไม่

ถ้าคนไม่มีศรัทธาในศาสนาจะทำไม่ได้
เมื่อไม่มีศรัทธาก็ไม่มีความเพียรที่จะทำ
ถึงบอกว่าบางคนรับพุทธศาสนาไม่ได้
เพราะเขาไม่มีศรัทธาในพุทธศาสนา

แต่บางคนมีศรัทธาในพุทธศาสนาเหมือนกัน
แต่ว่าศรัทธาไปอีกด้านหนึ่ง
เป็นมิจฉาศรัทธา หรือมิจฉาทิฏฐิ
คนที่เข้าใจเรื่องนี้ไม่ได้มีประเภทเดียว
คือประเภทที่เป็นมิจฉาทิฏฐิเท่านั้น
ประเภทที่เป็นสัมมาทิฏฐิ อย่างไรก็ต้องรู้
เราจึงมาปรับที่ทิฏฐิก่อน
ในมรรคมีองค์แปด ท่านจึงมาเริ่มที่สัมมาทิฏฐิก่อน
ต้องมาปรับความคิดเห็นตรงนั้นให้ถูกต้องทีเดียว
ถ้าปรับความคิดเห็นถูกต้อง เรื่องอื่นไปได้หมดเลย

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ร้ายแรงที่สุด
ในคำสอนของพระพุทธเจ้า
เวลาที่พระพุทธเจ้าจะด่าใครสักคน
มิจฉาทิฏฐิเป็นการด่าที่ร้ายแรงมาก
มันไม่มีอะไรดีเลยในชีวิต น่ากลัวมาก
เพราะฉะนั้นไปปรับความคิดเห็นเป็นเบื้องต้น

สัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิมีความสำคัญอย่างไร
พระพุทธเจ้าจึงให้ความสำคัญ
สัมมาทิฏฐิอย่างไรถึงจะถูกต้อง
อันนี้อาตมาได้ขยายไปหลายรอบแล้ว
ท่านให้เห็นอย่างไรถึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ?

ท่านให้เห็นว่าร่างกายนี้เป็นที่ตั้งของทุกข์
รูปนามนี้เป็นที่ตั้งของทุกข์
มีความสุขเหมือนกันในบางครั้ง
จะบอกว่าเป็นที่ตั้งของทุกข์ได้อย่างไร?

ความสุขคือความทุกข์ประเภทหนึ่ง
เป็นความทุกข์ที่อ่อนลงมา
เราไปสมมติว่าเป็นความสุข
สมมติว่าเรายกของมันหนัก เรียกว่าทุกข์
พอผ่อนลงมา ให้เห็นว่ารูปทั้งหลายเป็นที่ตั้งของทุกข์
ทุกข์เกิดขึ้นเองหรือว่ามันมีที่ไปที่มา
แก้วน้ำอยู่ตรงนั้น ถ้าอาตมาไม่ยกมา มันจะหนักมั้ย?
ที่ไปที่มาคือเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับมัน
ตรงนี้เขาเรียกว่าสมุทัย
ให้รู้ที่ไปที่มาของทุกข์ ว่าทุกข์เกิดจากไหน
เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับมันถึงรู้สึกว่าหนัก
แต่ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับมัน
เราก็ไม่รู้สึกว่าแก้วน้ำนี้หนัก
การเข้าไปเกี่ยวข้องทำให้เรารู้สึกหนักทันที
นี่คือที่ไปที่มาของคำว่าหนัก
เพราะเราเข้าไปสัมผัส ไปเกี่ยวข้องกับมัน
เมื่อก่อนเราไม่เคยมีสามีภรรยา
เราไม่เคยเป็นทุกข์กับสามีภรรยา
แต่พอเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะสามีภรรยา
ความสุขความทุกข์ในฐานะสามีภรรยาจึงเกิดขึ้น
เพราะการเข้าไปเกี่ยวข้อง
เกี่ยวข้องอย่างไรที่จะทำให้เกิดทุกข์และไม่ทุกข์
ตรงนี้มีทางออกแล้ว
จะต้องรู้ก่อนว่าถ้าเราไม่เกี่ยวข้อง
มันสบายหรือไม่สบาย…
รู้สึกปกติ ความสบาย ไม่สบายไม่มีมาก่อน
อันนี้ก็ไม่ทุกข์ ความรู้สึกก็ไม่หนัก
มันทุกข์โดยไม่มีโดยธรรมชาติของมัน
ลักษณะนี้เรียกว่านิโรธ มันไม่มีทุกข์มาก่อน
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ
แก้วน้ำนี้เรารู้สึกไม่หนัก เพราะเราไม่เกี่ยวข้อง
แต่ถ้าจำเป็นต้องเกี่ยวข้อง ฉันต้องดื่มน้ำ ต้องยก
ถ้าจำเป็นต้องหนัก การที่หยิบขึ้นมาแล้ว ดื่มเสร็จแล้ว
แล้วก็ถือเอาไว้ ไม่ถูกต้อง
ต้องวางลง นี่คือมรรค ต้องทำให้ถูกต้อง
ใช้แล้วต้องวาง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เรามีสามีภรรยา
ถ้าอยู่ด้วยกันอย่างถูกต้อง
ไม่มีความทุกข์

อยู่ด้วยกันถูกต้อง หมายความว่า
อย่ายึดซึ่งกันและกัน
พร้อมที่จะปล่อยวาง
ใช้แล้วก็ปล่อย ใช้แล้วก็วาง
ใช้แล้วไม่ปล่อยไม่วาง มันถึงทุกข์

มีลูกก็เป็นทุกข์เพราะลูก
มีสามีก็ทุกข์เพราะสามี
ถ้าคุณปล่อยวาง คุณก็ไม่ทุกข์
คุณต้องปฏิบัติ นิโรธถึงเกิด

ภาคปฏิบัติเรียกว่ามรรค
ถ้าปล่อยวางได้เรียกว่านิโรธ
เห็นลักษณะสี่อย่างนี้คือสัมมาทิฏฐิ
คนไม่ศึกษาเรื่องนี้ก็ไม่รู้เรื่อง ต้องมีศรัทธา
เราฟังเรื่องนี้มาตลอดชีวิต
ไม่มีศรัทธาและความเพียรที่ถูกต้อง
แล้วเราก็ไม่เข้าใจ
เพราะศรัทธาของเราไม่ถูกต้อง
ไปศรัทธาเรื่องอื่น ศรัทธาหลวงพี่ หลวงพ่อ
หลวงปู่ หลวงตา เจ้าแม่ เจ้าพ่อ รูป เหรียญ
พิธีกรรมอะไรต่างๆ ที่มันถูกกับกิเลสเรา
แต่ไม่ได้ศรัทธาที่จะมาศึกษาเรื่องการปล่อยวาง
การฝึกฝนให้เกิดการปล่อยวางให้ถูกต้อง
เราอยู่กับภรรยาก็มีความสุข
เราอยู่กับสามีก็มีความสุข
เรามีลูกก็มีความสุข
เพราะอยู่ด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่น
อยู่ด้วยความรู้ ด้วยสติปัญญา
ลักษณะนี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะก็เกิดตามมา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เมื่อเห็นถูกต้องก็คิดถูกต้อง
พิจารณาใช้อย่างถูกต้อง สัมมากัมมันตะ
พูดกันในสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่พูด
เป็นสัมมาวาจาเกิดขึ้น

ทำมาหากินด้วยกันอย่างเข้าอกเข้าใจกัน
สัมมาอาชีวะ ปัญหาก็ไม่เกิด

สัมมาวายามะ พยายามในการระมัดระวัง
ในสิ่งที่ผิดพลาดอย่าให้เกิด
เมื่อผิดพลาดไปแล้วต้องรู้จักขอโทษกัน
รู้จักให้อภัยกัน

แล้วพยายามพอกพูน
ในสิ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจให้ถูกต้องเสมอ
รักษาสัญญาว่าฉันจะไม่นอกใจเธอ
เธอไม่นอกใจฉัน มันก็จะไม่มีปัญหา
เรียกว่าสัมมาวายามะ
แต่ในภาคปฏิบัติต้องใช้สัมมาสติและสัมมาสมาธิ
สัมมาทิฏฐิจึงเป็นไปตามนั้น
ภาคปฏิบัติเราจึงมาเจริญสติ เจริญสมาธิ
และเจริญปัญญา
แล้วสัมมาทิฏฐิก็จะทำงานของมันเอง
เมื่อสัมมาทิฏฐิทำงานแล้ว
ตัวปล่อยวาง ตัวหมดทุกข์ มันก็มีมาเอง
เป็นนิโรธ
เข้าใจถูกต้อง คือเข้าใจทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
เราเรียกธรรมะชุดนี้ว่าอริยสัจสี่
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่ คือเข้าใจอย่างนี้
เราจะเห็นว่ามันเป็นเรื่องไม่ยาก
ที่พูดมาทั้งหมดสื่อความหมายได้ เข้าใจได้
แต่การที่จะเข้าใจความหมาย
เราต้องมีศรัทธาระดับหนึ่งแล้ว
ต้องมีความเพียรระดับหนึ่ง ถึงเข้าใจได้ง่าย
เบื้องต้นเราจึงขาดศรัทธาและความเพียรไม่ได้
ถ้าเราไม่มีศรัทธา ใครจะมานั่งฟังอย่างนี้
ถ้าไม่มีความเพียรมาก่อน
ก็จะไม่เข้าใจอย่างนี้เหมือนกัน
ไม่รู้ท่านพูดเรื่องอะไร
แต่เดี๋ยวนี้เราฟังแล้วเข้าใจ
เพราะเราได้ทำมาระดับหนึ่งแล้ว
เราก็สามารถเข้าใจธรรมะนั้นได้
เรียกว่ามรรค
ในเบื้องต้นการเข้าถึงมรรค
ต้องมีศรัทธาและความเพียร
ศรัทธาเกิดจากอะไร
นี่คือรายละเอียดอย่างหนึ่ง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ในภาคปฏิบัติวันนี้ที่อยากจะแนะ
คือให้ไปทำสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
สติที่ถูกต้อง และความตั้งใจที่ถูกต้อง

สัมมาสติต้องดูสี่อย่างเป็นหลัก
กาย เวทนา จิต อารมณ์
คำว่าธรรมารมณ์เป็นเรื่องกว้าง
ใช้คำว่าอารมณ์ใกล้ตัวกว่า

ถ้ามันคิดออกจากสิ่งนี้ไป
หมายความว่าเราออกจากมรรคแล้ว
สมุทัยก็จะเกิด ทุกข์ก็จะเกิด
เพราะเราออกจากมรรค
คือเราออกจากกาย เวทนา จิต ธรรม

ที่นี้ดูอย่างไร? รายละเอียดต้องไปทำ
ดูกายก่อน กายมันหนัก บำบัดเวทนาให้เบาบาง
ถ้าเวทนาเบาบาง จิตก็จะไม่ปรุงแต่ง จะรับรู้เฉยๆ
ถ้าเวทนาหนัก จิตมันก็จะปรุงแต่ง
ถ้ามันไม่สบาย จิตมันก็ปรุงแต่ง
ถ้าสบายเกินไป จิตมันก็ปรุงแต่ง
เกี่ยวข้องด้วยความสุดโต่ง ไม่สุดโต่งตัวนั้นด้วย
อารมณ์ดีหรือไม่ดีขณะทำ
ถ้าทำด้วยอารมณ์ไม่ดี
ก็ไปเรียบเรียงดูใหม่
ว่ากาย เวทนา จิต ถูกหรือไม่
ถ้าอารมณ์ดี หมายความว่าเราทำกาย เวทนา จิต
ถูกต้องแล้ว
ขณะที่ทำ สบายหรือไม่สบาย
ถ้ามันไม่สบาย
แสดงว่าทำกาย เวทนา จิต ไม่ถูก
ถ้ามันสบาย
แสดงว่าทำกาย เวทนา จิต ได้ถูก
ปรับกันอยู่อย่างนี้
เดินอย่างไรให้พอดี ไม่หนัก ไม่เบื่อ
ไปทำความเข้าใจเรื่องสัมมาสติ
นั่งอย่างไร เดินอย่างไร ทำอย่างไร
ถึงจะไม่เบื่อ ไม่เซ็ง ไม่ง่วง ไม่เหงา
ก็ต้องมาทบทวนเรื่องการดูกาย เวทนา จิต
ด้วยการดูแล้วแก้ไขๆ ดูแล้วปรับ ดูแล้วแก้
การปรับแก้เราเรียกว่ามรรค
ทำมรรคให้ถูกเป็นสัมมากัมมันตะ ทำถูกต้อง
ความทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ก็จะหายไป
โดยอัตโนมัติของมันเอง
คิดว่าเราจะไปหาความสบาย
ทำอย่างไรให้กายสบาย
ฉันนอนดีกว่า สบายดี อันนี้ไม่ได้
หาความสบายในการทำ ไม่ยากเลย
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)