พระธรรมเทศนาเรื่อง “ศีลเพื่อการจัดระเบียบชีวิต” (นวัตกรรมแห่งสติ๕๕) โดย หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท (พระพุทธยานันทภิกขุ) ณ ครุสติสถาน ๑๒ ส.ค.๖๐
การจัดระเบียบสิ่งต่างๆ
เพื่อความสะดวกเรียบร้อยในการปฏิบัติ
เรียกว่าศีล
ศีลภายนอกจะมีได้ต้องมีศีลภายใน
ศีลภายในหมายถึงความปกติเรียบร้อย
ของความรู้สึก
ถ้าเรามีความรู้สึกปกติเรียบร้อยภายใน
ภายนอกก็จะเรียบร้อยด้วย
ในชีวิตของผู้ศึกษาภาวนาหรือนักปฏิบัติ
ต้องมีการสร้างสติสัมปชัญญะให้เข้มแข็งขึ้นมา
เรียกว่าความรู้สึกตัว
เหมือนเรามีไฟสว่างอยู่รอบตัว
ย่อมจะมองเห็นอะไรได้ชัดกว่าคนที่ไม่มี สติสัมปชัญญะ
เป็นแสงสว่างประจำกายและใจของมนุษย์ทุกคน
ถ้าสติสัมปชัญญะดับ
ก็เป็นสติสัมปชัญญะแบบสัญชาตญาณ
มองเห็นอะไรได้ไม่ชัดและไม่ไกล
ถ้าเราได้ศึกษาเรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรื่องของความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เรียกว่าสติสัมปชัญญะ
คำว่าโพธิปัญญา
พุทธะคือกำลังของสติสัมปชัญญะ
ความรู้ตัวทั่วพร้อม
เป็นคุณสมบัติดั้งเดิมของมนุษย์
ซึ่งมีกำลังอยู่ระดับหนึ่ง
พอที่จะดูแลความปลอดภัยของร่างกายนี้
ให้อยู่รอดได้
แต่ไม่สามารถดูแลจิตใจ
ให้ปลอดภัยจากภัยภายในได้
จึงมีผู้รู้เกิดขึ้นเพื่อแสวงหาความสมบูรณ์เรื่องนี้
การเกิดเป็นมนุษย์นั้นยาก
จึงน่าจะมีความสมบูรณ์และความปลอดภัย
ทางด้านร่างกายและจิตใจ
ท่านจึงมุ่งพัฒนาสติสัมปชัญญะอีกระดับหนึ่ง
การสร้างระบบตื่นตัวเป็นหน้าที่ของผู้รู้
อย่างพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระอรหันตสาวก และพระอาริยะบุคคลทั้งหลาย
ล้วนแต่มุ่งสร้างแสงสว่างคือตาใน
ตานอกเพื่อความปลอดภัยของร่างกาย
ตาในเพื่อความอยู่รอดของจิต
เราต้องสร้างทั้งตานอกและตาใน
ถ้าต้องการเป็นมนุษย์ที่มีความปลอดภัย
ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ความปลอดภัยทางด้านร่างกาย
มาจากความปลอดภัยทางด้านจิตใจ
ถ้าจิตใจปลอดภัยระดับหนึ่ง
เราจะมีความระมัดระวัง
ความปลอดภัยภายนอกก็จะเกิดขึ้นเอง
แต่ถ้าจิตใจของเราไม่สว่างเท่าที่ควร
เราก็จะประสบอันตรายภายนอกบ่อยครั้ง
ทำให้ความเป็นมนุษย์ของเราตกต่ำไร้ค่าลงไป
เป็นมนุสสนิรโย มนุสสเปโต มนุสสอสุรกาโย
มนุสสติรัจฉาโน เป็นมนุษย์ชั้นต่ำ
มนุษย์ชั้นกลางเป็นมนุสสภูโต
มนุษย์ชั้นสูงเป็น มนุสสเทโว
มนุสสพรหมาโน มนุสสอาริโย
ตัวชี้วัดความเป็นมนุษย์ชั้นต่างๆ
ที่เป็นคุณค่าแท้
คือตัวสติสัมปชัญญะและตัวปัญญา
ตัวชี้วัดที่เป็นคุณค่าเทียม
คือสติสัมปชัญญะที่เป็นสัญชาตญาณ
ในสังคมที่มีคุณค่าแท้ของชีวิตจิตใจ
ก็จะมีความสงบสุข
แต่ปัจจุบันมีคุณค่าเทียมเยอะกว่าคุณค่าแท้
แต่เราโฆษณาคุณค่าเทียมว่าเป็นคุณค่าแท้
เป็นลักษณะหลอกตัวเอง
เราก็จะมีความทุกข์ที่ซับซ้อนยากต่อการแก้ไข
เพราะเราสร้างคุณค่าแท้ให้แก่ชีวิตไม่สำเร็จ
แต่เอามาโฆษณาเกินจริง
เช่น เราปฏิบัติได้สักนิดหน่อยพอจิตสงบ
เราก็มาบอกว่าเป็นฤทธิ์ เป็นฌาณ เป็นปาฏิหาริย์
ซึ่งความจริงมันไม่ใช่
แต่เป็นการโฆษณาคุณค่าเทียมให้เป็นคุณค่าแท้
ในด้านเศรษฐกิจการเมืองสังคม
ก็เป็นรูปแบบเดียวกัน
ประเทศชาติจะก้าวหน้าหรือตกต่ำ
อยู่ที่การสร้างคุณค่าแท้
ทางด้านจิตใจก็เช่นเดียวกัน
คุณค่าแท้ของชีวิตจิตใจคือ
สติสัมปชัญญะที่เป็นตัวปัญญาญาณ
คุณค่าเทียมที่ทุกคนต้องมีมาก่อน คือ
สติสัมปชัญญะที่เป็นสัญชาตญาณ
เป็นสติสัมปชัญญะในระดับของเวทนา
เราต้องการพัฒนาตัวรู้สึก
ที่เป็นระดับไตรลักษณ์หรือสัญชาตญาณ
ให้เป็นระดับสติสัมปชัญญะ
ที่เป็นปัญญาญาณ
เราจึงมาฝึกปฏิบัติแบบนี้
เมื่อเราเข้าใจความหมายอย่างนี้
เราก็จะมีการจัดระเบียบ
ในการศึกษาและปฏิบัติให้ชัดเจน
เช่นการยืน เดิน นั่ง นอน
ให้มีระเบียบ รู้ตัวทั่วพร้อม
แม้แต่ลมหายใจ เราจะจัดระเบียบอย่างไร
ให้ลมหายใจเกิดประโยชน์ทั้งร่างกายและจิตใจ
เช่น มาศึกษาเรื่องการออกกำลังกาย
เรื่องลมปราณ
เพื่อที่จะจัดระเบียบลมหายใจ
เข้าเท่าไร ออกเท่าไร ลึกเท่าไร
ตื้นเท่าไร ให้เป็นระบบ
ไม่ใช่หายใจตามสัญชาตญาณ
หายใจตามสัญชาตญาณ
ก็จะมีลึกบ้างตื้นบ้าง
ลึกแค่หน้าอก ตื้นแค่คอ
แต่พอมาจัดระเบียบใหม่ ต้องลึกถึงสะดือ
ตื้นขึ้นมาก็ถึงท้อง
ถ้าเราไม่ฝึกฝนก็เป็นอย่างนั้นไม่ได้
พอเราจัดระเบียบตรงนี้
เซลล์และระบบต่างๆ ก็จะยั่งยืน
ได้รับอากาศ ได้รับธาตุต่างๆ
อย่างเต็มความสามารถ
สติสัมปชัญญะก็เช่นเดียวกัน
ถ้าเราปฏิบัติแบบไม่มีระบียบ
ตามสัญชาตญาณก็เป็นแบบทั่วไป
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องนี้ขึ้นมา
ท่านก็มาจัดระเบียบเป็นสติปัฏฐานสี่
จัดระเบียบกายเป็นหกระบบ
ระบบลมหายใจยาวสิบหกแบบ
ระบบการยืน เดิน นั่ง นอน
เป็นอิริยาบถย่อยเจ็ดแบบ
ระบบธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ระบบอาการสามสิบสอง
ระบบกำจัดของเสียเก้าแบบ
ซึ่งในรายละเอียดไปหาดูเอาเอง
การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว
เป็นการรวมอิริยาบถสี่
และอิริยาบถย่อยเข้าด้วยกัน
ด้วยการจัดระเบียบการลุก การนั่ง
การเปลี่ยนอิริยาบถไปตามลำดับ
เราจะไม่พยายามลุก ยืน เดิน นั่ง นอน
โดยที่ไม่มีการจัดระเบียบของสติสัมปชัญญะ
เช่น การยืน เราจะไม่ได้ลงรายละเอียดในลมหายใจ
เพราะเราไม่ได้ใช้ระบบของการหายใจ
เราใช้ระบบการเคลื่อนไหว
ของอิริยาบถสี่และอิริยาบถย่อย
“คัจฉันโต วา คัจฉามีติ ปะชานาติ”
เมื่อเดินก็ให้รู้ชัดๆ ว่าเดินอยู่
เช่น เราเดินจงกรม รู้ชัดว่าเรายก ย่าง เหยียบ
หนักเบาอย่างไร จัดให้เป็นระเบียบ
“ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปะชานาติ”
ยืนก็ให้รู้ชัดๆ เริ่มตามรู้ตั้งแต่กำลังจะลุกขึ้นยืน
“นิสินโน วา นิสินโนมหีติ ปะชานาติ”
นั่งก็ให้รู้ชัดๆ ว่าเรานั่ง นั่งแล้วเกิดอะไรขึ้น
เมื่อเกิดแล้วเราทนได้หรือไม่
ถ้าทนไม่ได้จะทำอย่างไร ค่อยลำดับดูไปเรื่อยๆ
ทำให้เห็นขบวนการเติบโตของความรู้สึกตัว
ที่มั่นคงเป็นระเบียบ
ไม่ใช่มั่วแบบสัญชาตญาณ
ที่จะลุกนั่งเดินตอนไหนก็ทำ ไม่มีการจัดระเบียบ
จึงไม่สามารถแปลงอนิจจังให้เป็นศีลได้
เมื่อมีการจัดระเบียบถูกต้อง
อนิจจังกลายเป็นศีล
ศีลหมายถึงความมีระเบียบ ความปกติ
สงบ ผ่อนคลาย
“สะยาโน วา สะยาโนมหีติ ปะชานาติ”
เมื่อนอนก็ให้รู้ชัดๆ ว่าเรานอนอยู่
เริ่มนอนเวลาเท่าใด นอนแล้วหลับอย่างไร
ลึกหรือตื้น ตื่นเวลาเท่าไร ขณะหลับฝันหรือไม่
มีเวทนาอะไรมารบกวนก็ตามรู้ไปเรื่อยๆ
เรียกว่ารู้ชัดและมีสติในการนอน
เมื่อเราลำดับอิริยาบถใหญ่ ยืน เดิน นั่ง นอน
จะมีความรู้สึกเกิดขึ้นแค่สามความรู้สึกคือ
ไม่สบายจนทนไม่ได้ สบายพอทนได้
และสบายผ่อนคลาย
มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของเวทนา
สามระดับนี้เอง เราก็ค่อยๆ สังเกต
การสังเกตความรู้สึกสามระดับต่อเนื่องเช่นนี้
ก็จะปรับจากสุขเวทนา ทุกขเวทนา
เป็นศีล สมาธิ ปัญญาตามลำดับ
เราต้องทบทวนสิ่งเหล่านี้บ่อยๆ
เพราะเราจะต้องแปลงค่าของไตรลักษณ์
ให้เป็นไตรสิกขา
แปลงค่าของสัญชาตญาณ
ให้เป็นปัญญาญาณ
แปลงค่าอวิชชาให้เป็นวิชชา
ถ้าไม่ทำขบวนการนี้ มันจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ถึงเราจะรู้เป็นอย่างดีว่า
อวิชชาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
อวิชชาเป็นเหตุเกิดการเวียนว่ายตายเกิด
อวิชชาเป็นเหตุให้เกิดความตกต่ำ
และความไม่มีคุณค่าของชีวิต
เรารู้ทั้งรู้แต่จัดการอะไรมันไม่ได้
เพราะเราไม่มีการศึกษาระบบนี้
เราจึงเปลี่ยนชีวิตไม่ได้
เปลี่ยนได้แต่อุดมการณ์ วิชาการ
แต่เรายังเป็นคนเดิมอยู่อย่างนั้นเอง
คนที่เรียนจบด็อกเตอร์ศาสตราจารย์
ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ เห็นแต่แก้ไขไม่ได้
เพราะมันเปลี่ยนแค่ความคิดปรุงแต่ง
ไม่ได้เปลี่ยนพื้นฐานรากของชีวิต
แต่พอมาพบวิชชาของพระพุทธเจ้า
เริ่มด้วยการสร้างปัญญาจักษุ
สร้างญาณคือตัวรู้ขึ้นมา ถึงจะเกิดวิชชาได้
วิชชาทำให้เกิดการแก้ปัญหาได้
เปลี่ยนมืดให้เป็นสว่าง เปลี่ยนทุกข์ให้เป็นสุข
เปลี่ยนอวิชชาให้เป็นวิชชา
เพราะมีแสงสว่างขึ้นมา
จึงเริ่มต้นด้วยการมีแสงสว่าง สร้างตัวรู้
ตัวรู้นี้คือสิ่งที่เรากำลังพูดถึงอยู่
คือการจัดระเบียบ
อันดับแรกตัวรู้ในรูปนาม
เป็นตัวรู้ในระดับเวทนา สบาย ไม่สบาย เป็นกลาง
แล้วจึงมาเปลี่ยนความสบาย ไม่สบาย เป็นกลาง
ให้เป็นศีล สมาธิ ปัญญา เป็นตัวรู้ภายใน
จากตัวรู้สึกตัวภายนอกคือเวทนาของกาย
เปลี่ยนเป็นตัวรู้ภายในคือเวทนาของจิต
เป็นตัวรู้ล้วนๆ
แต่ถ้าเราเปลี่ยนไม่สำเร็จหรือไม่สมบูรณ์
ตัวรู้ที่เป็นเวทนาภายนอก
มันก็ไปสร้างตัวรูปที่เป็นภายใน
ซึ่งก่อให้เกิดความคิดและสังขารทั้งหลายตามมา
เป็นเหตุให้เกิดความมืดภายในด้วย
มืดภายนอกยังไม่พอ ยังมืดภายในอีก
เพราะระบบจัดการ
คือการตามรู้ความรู้สึกสามระดับ
ไม่ละเอียดไม่ชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง รู้ขาดๆ หายๆ
การเปลี่ยนแปลงจึงไม่สมบูรณ์
ผลที่ออกมาก็ไม่สมบูรณ์
ถึงแม้จะพัฒนาต่อยอดขึ้นไป ก็เป็นยอดที่แห้งตาย
ไม่เป็นยอดที่เบิกบานแผ่ขยาย ไม่มีผล ไม่มีดอก
ชีวิตของเราก็เหมือนกัน
ถ้าเราเปลี่ยนค่าของสัญชาตญาณ
ให้เป็นปัญญาญาณไม่สมบูรณ์
เราก็จะไม่มีมรรคผลในตัว
เป็นชีวิตที่ยากจนข้นแค้น
เราจึงต้องศึกษาและตั้งใจทำอย่างจริงจัง
ในช่วงปฏิบัติระหว่างวัน
หลวงพ่อปล่อยให้ปฏิบัติกันเอง
เพื่อพิสูจน์ว่าเรามีศรัทธาเรื่องนี้จริงหรือไม่
พิสูจน์ว่าเรามีความเพียรถูกต้องหรือไม่
พิสูจน์ว่าความตื่นรู้ที่พูดมาทำได้หรือไม่
มีความตั้งใจในการปฏิบัติมากน้อยแค่ไหน
พิสูจน์ว่ามีการแก้ไขอุปสรรค
ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเข้มข้นแค่ไหน
ถ้าเราไม่ทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ก็เป็นการปล่อยตัวเองไปวันๆ
ไม่มีความก้าวหน้าที่แท้จริงของชีวิต
ก็จะเป็นทุกข์
จะมาโทษวาสนาหรือครูบาอาจารย์ไม่ได้
ต้องโทษความไม่เอาไหนของตัวเอง
เราก็เปลี่ยนอาจารย์ไปเรื่อยๆ
เพราะไม่ยอมรับความจริง
เราต้องศึกษาด้วยความเข้าใจ
ถ้าทำด้วยความไม่เข้าใจจะเสียเวลาล้วนๆ
ความเข้าใจในระดับสัมมาทิฏฐิคือ
ร่างกายสังขารเป็นที่ตั้งของทุกข์
แล้วเราจะทำอย่างไรกับทุกข์
ก็ต้องเรียนรู้ศึกษา
วิเคราะห์วิจัยทุกข์ที่กำลังเกิด
ความทุกข์ที่เกิดมีสามระดับ
หยาบ กลาง ละเอียด
เรียกว่าสุขเวทนา ทุกขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา
ดูการเปลี่ยนแปลงของมัน
ที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์
เราต้องมีความเพียรเฝ้าดูศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ไม่ใช่ดูนิดๆ หน่อยๆ ก็ขี้เกียจแล้ว
ทุกคนมีเครื่องมืออยู่แล้ว
แล้วแต่ว่าจะทำงานหรือไม่
เครื่องมือชิ้นแรกคือไตรลักษณ์
เครื่องมือชิ้นที่สองคือเวทนาสาม
เครื่องมือชิ้นที่สามคือไตรสิกขา
เราจะไปโยงใยในสภาวะความเป็นจริงได้อย่างไร
เป็นสิ่งที่เราต้องทำเอง
ไตรลักษณ์ก่อให้เกิดเวทนาสามอย่างไร
เวทนาสามก่อให้เกิดเวทนาทางจิตได้อย่างไร
เวทนาสามแปลงค่าเป็นไตรสิกขาได้อย่างไร
มันไม่ใช่เรื่องของทฤษฎี
ความรู้สึกทั้งสามอย่างในกายใจของเรามีจริง
หนัก เบา สบาย ไม่สบาย มีจริง
สดชื่นแจ่มใส ง่วงเหงาหาวนอน
อึดอัด ขัดเคือง แจ่มใส มีจริงสัมผัสได้
เพียงแต่เราจะไปเกี่ยวข้องกับมันอย่างไร
จึงจะเกิดประโยชน์
เบื้องต้นให้ทำจุดใดจุดหนึ่งที่เราเข้าใจได้เสียก่อน
ส่วนที่ยังไม่เข้าใจไปไม่ถึงตัดออกไปก่อน
ส่วนไหนที่เข้าใจได้ทำจุดนั้นให้ชัด
แต่ทุกคนสามารถทำเรื่องเวทนาทั้งสามตัวได้อยู่แล้ว
รู้สึกหนักขณะนั่ง เบาขณะปรับเปลี่ยน
หายใจเข้าออกรู้สึกเบาหรือหนัก
มีตั้งแต่หัวจรดเท้า ตรวจสอบได้
พอจิตของเรามาคลุกคลีเฝ้าดูตรงนี้
ตัวศีล สมาธิ ปัญญา ก็เกิดขึ้น
ตัวปัจจุบันก็เกิดโดยอัตโนมัติของมันเลย
แต่พอเราไม่ใส่ใจสิ่งเหล่านี้
ตัวคิด อดีตอนาคต ตัวง่วง ตัวเหงา ตัวซึม ก็ปรากฏ
เป็นเหตุผลที่สัมพันธ์กัน
บางครั้งเราพยายามที่จะตื่นรู้
แต่ทำไมมันง่วงเหงา ปวดเมื่อย
แสดงว่าเราสร้างเหตุไม่ดี กรรมมันก็ตามมา
การสร้างเหตุไม่ดีทำให้ต้องมารับผลในปัจจุบัน
เรียกว่าวิบากกรรม
ถ้าเราเห็นทุกข์ ทุกข์ก็ไม่เกิด
เหมือนเราเห็นไฟ เราก็ไม่ไปเหยียบไฟ
เพราะเรามีสัญชาตญาณ
ในการป้องกันตนเองอยู่แล้ว
เรารู้ว่านิวรณ์เป็นอกุศลมีอันตรายต่อจิต
โดยสัญชาตญาณ เราก็ต้องหาทางป้องกัน
ไม่ใช่ปล่อยให้มันมาล็อคคออย่างลอยนวล
ภาวะการตื่นรู้มีอยู่ แต่ที่เราไม่ทำ
อาจเป็นเพราะ ศรัทธา ความเพียร
กำลังปัญญา ยังไม่พอ
เราก็ต้องปลุกมันขึ้นมา ตื่นรู้ขึ้นมา
โดยการแปลงมาจากเวทนาทั้งสาม
อาการหนักเบา สบายไม่สบาย ต้องตามรู้
มันไม่ใช่เรื่องซับซ้อน
แต่เป็นเรื่องที่เราต้องเอาใจใส่
อิริยาบถใหญ่จะทำงานได้
ต้องอาศัยอิริยาบถย่อย
เราจะนั่งทื่อๆ ไม่ได้ ต้องมีการพับตา อ้าปาก
เหลียวซ้ายแลขวา พูด นิ่ง ตื่น หลับ
มันซ้อนอยู่ในอิริยาบถนั่ง
ตามดูอาการเหล่านี้เท่าที่ทำได้
ถ้าทำเกินกำลังกลายเป็นเพ่ง
ตั้งใจเกินไป เกิดปัญหาใหม่ เกร็ง เครียด ตึง
บังคับตัวเองมากเกินไป
ก่อให้เกิดตัณหาอุปาทาน ไม่ใช่ตัวธรรม
ตัวธรรมคือรู้ตามกำลังของเรา
“ยถาสติ ยถาพลัง มนสิกโรมะ
อนุปฏิปัตฌามะ สาสาโน ปฏิปัตติ”
ขอให้การปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย
คือการที่เราเกี่ยวข้องกับค วามรู้สึกนี้
ให้เป็นไปเพื่อทำที่สุดแห่ง ทุกข์
หมายความว่าความรู้สึกนี้ มันไต่ระดับ
จากสบาย มาเป็นกลาง มาเป็นไม่สบาย
ทุกข์ตัวนั้นก่อนที่มันจะสิ ้นสุด
อย่าให้มันสิ้นสุดของมันเอง
แต่เราต้องทำให้มันสิ้นสุด
สมมติว่าเรานั่งมาแต่แรก
สักพักเริ่มตึง ต่อมาเริ่มเกร็ง
ใกล้จะถึงที่สุดของมัน สักพักทนไม่ได้
ระหว่างที่มันเป็นไปเอง กับเราทำให้มันเป็น
มีความหมายมากเลย
“เกวะลัสสะ ทุกขันขันธัสสะ
อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ”
ทำไฉนการทำที่สุดแห่งทุกข์น ี้
จะพึงปรากฏชัดๆ
เมื่อทุกขเวทนามาถึงจุดสูงส ุด
เราต้องใส่ใจ ต้องทำให้มันถึงที่สุด
ด้วยการเปลี่ยนจากทนไม่ได้ใ ห้มันผ่อนคลาย
เราก็จะเห็นความทุกข์ที่หนั กนั้นผ่อนคลายไป
ความสิ้นสุดปรากฏชัด เมื่อความหนักลดลง
ความเบาสบายได้ปรากฏชัด
อันนี้เป็นมิติทางกาย
ถ้าเป็นมิติทางจิตมันละเอีย ด
เกินกว่าที่เราจะอธิบายเป็น ปรมัตถ์
แต่ทั้งหมดทั้งปวงนี้
เราเรียกมันว่าความรู้สึกตั ว
เราต้องการ insight ให้เห็นภาพชัดๆ
ว่าตัวรู้สึกตัวมันเกิดขึ้น ได้อย่างไร
มันเกิดขึ้นสามระดับ
ระดับที่หนึ่ง ความรู้สึกตัวสบายๆ
สัมผัสได้หรือไม่
ระดับที่สอง ความรู้สึกตัวสบาย
เปลี่ยนเป็นความไม่สบายตามก ฎของอนิจจัง
ความรู้สึกสบายกลางๆ สัมผัสได้หรือไม่
สักพักความรู้สึกตัวแบบเป็น กลาง
เปลี่ยนไปเป็นความรู้สึกตัว ที่เข้มขึ้น
ในระดับที่สาม
แต่ทั้งหมดทั้งปวงที่มันปรา กฏไม่ชัด
เนื่องจากสมาธิเราไม่ดี เราไม่ตั้งใจดู
เราขยับปรับเปลี่ยนไปเรื่อย
ทั้งๆ ที่มันไม่ถึงที่สุดเราก็ปรั บแล้ว
เราสับสนตรงนั้น
เราต้องนั่งนิ่งๆ ตั้งใจดู
การนั่งนิ่งๆ มีความรู้สึกสามอย่างอยู่ใน ตัว
สบาย ไม่สบาย หนักจนทนไม่ได้
เราก็ตั้งใจปรับออกไป
แต่ถ้าเราพลิกอยู่เรื่อยๆ เหมือนหุงข้าว
ยกหม้อขึ้นลงอยู่เรื่อยก็ไม ่สุก
เราต้องนั่งนิ่งๆ ดูมันไปนานๆ
จนไม่ไหวแล้วค่อยเปลี่ยนอย่ างชัดเจน
เราจะได้ดูอายุของความสบาย
ว่ามันอยู่ได้นานแค่ไหน
แล้วมาเปลี่ยนเป็นกลาง มันอยู่ได้กี่นาที
แล้วมาเปลี่ยนเป็นทนไม่ได้ก ี่นาที
รวมแล้วนั่งนิ่งๆ สักสามนาทีก็ยังดี
แต่นี่เราพลิกทุกนาทีเลย
ข้าวกำลังจะสุกก็ยกลงไปอีกแ ล้ว
เป็นชั่วโมงข้าวก็ไม่สุก
นี้คือรูปธรรมที่เห็นชัดๆ ไม่ซับซ้อน
แต่เนื่องจากเรายังไม่เกิดโ อปนยิโก
จึงยังไม่สามารถน้อมสภาวะที ่เห็นภายนอก
จากรูปธรรมให้เป็นนามธรรมได ้
เราจึงไม่สามารถประยุกต์หรื อบูรณาการ
เอาเวทนาและสิ่งที่เป็นตัวอ ย่างภายนอก
เข้ามาเป็นโอปนยิโกให้เห็นภ ายใน
แต่คนบางคนมี Sense ในทางนี้
ก็จะปรับได้ไว มีประสบการณ์ มีความเฉลียวใจ
เวลานั่งจะมีอิริยาบถย่อยซ้ อนกันหลายอิริยาบถ
เวลายืนก็มีอิริยาบถย่อยซ้อ นอยู่
เวลาเดินก็มีอิริยาบถย่อยซ้ อนอยู่
เวลานอนก็มีอิริยาบถย่อยซ้อ นอยู่
เช่น เวลาเดิน
“อะภิกกันเต ปะฏิกกันเต สัมปะชานะการี โหติ”
จะก้าวหน้าหรือถอยหลังให้ดู ให้ชัด
ใช้คำว่าสัมปชานะการี ไม่ใช่ปะชานาติ
แต่ในช่วงยืนใช้คำว่า
“คัจฉันโต วา คัจฉามีติ ปะชานาติ”
ให้รู้ชัดๆ ว่ากำลังยืน
อะไรมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ความรู้สึกสามอย่างดูให้ชัด
แต่พอมาอิริยาบถย่อยใช้คำว่ า
“อะภิกกันเต ปะฏิกกันเต สัมปะชานะการี โหติ”
ให้รู้ชัดขึ้นมาทั่วทั้งหมด
ปะชานาติชัดเป็นจุดๆ เฉพาะจุดที่มันเข้ม
แต่พอเปลี่ยนเป็นสัมปะชานะก ารี
ให้เห็นทั้งสามระดับ หยาบ กลาง ละเอียด
คือรู้ตัวทั่วพร้อม
เห็นความรู้สึก ไม่ใช่เห็นกาย
เห็นความรู้สึกในกายที่มีทั ้งหยาบ กลาง ละเอียด
สบาย ไม่สบาย เป็นกลาง
เรียกว่าสัมปะชานะการี
เป็นความรู้สึกในระดับที่สอ ง
ความรู้สึกระดับหยาบ รู้ให้ชัด
ความรู้สึกระดับกลาง รู้ให้พร้อม
ความรู้สึกระดับละเอียด ให้ศึกษา
“สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ”
เราจะต้องศึกษาว่าขณะที่หาย ใจเข้าออก
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็น อย่างไร
หายใจเข้าลึกๆ ลมหายใจมันไปที่ไหนบ้าง
หายใจออกความผ่อนคลายที่ปรา กฏในกาย
เป็นอย่างไรบ้าง ต้องศึกษา
มันละเอียดกว่าการที่จะรู้ส ึกตัวทั่วพร้อม
ความรู้สึกตัวที่หยาบเป็นทุ กข์ ท่านให้รู้ชัดๆ
เช่น เวลานั่งไปถึงที่สุด ก่อนที่จะเปลี่ยน
ขยับตัวให้รู้ชัดว่าความหนั กออกไปอย่างไร
ความเบาเกิดขึ้นอย่างไร รู้ให้ชัด
ใช้คำว่าปะชานาติ
พอมาความรู้สึกชั้นกลาง
ท่านใช้คำว่าสัมปะชานะการี
หรือสัมปะชัญญะปัพพะ
รู้ให้ทั่วทั้งหยาบ กลาง ละเอียด
อิริยาบถย่อยมันเปลี่ยนบ่อย
เช่น พับตา หายใจเข้าออกทุกวินาที มันจะไว
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่ไว
จะนำไปสู่ความรู้สึกชั้นกลา ง
ความรู้สึกหยาบ เรานั่งอยู่อย่างนี้
ตั้งนานหลายนาทียังไม่ต้องเ ปลี่ยนเลย
ยืนก็ได้นาน
แต่อิริยาบถย่อยที่ซ้อนอยู่ มันเปลี่ยนทุกวินาที
เราต้องดูให้ทัน ดูให้พร้อม
เรียกว่าสัมปะชานะการี
สัมปชานะการี (ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม)
แบ่งเป็นเจ็ดอย่าง
(ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมี ๗ ระบบ)
๑. “อะภิกกันเต ปะฏิกกันเต สัมปะชานะการี โหติ” มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมใน การก้าวหน้าถอยหลัง
๒. “อาโลกิเต วิโลกิเต สัมปะชานะการี โหติ” รู้สึกตัวทั่วพร้อมในการเหล ียวดู เหลียวซ้ายแลขวา ก้มเงย
๓. “สัมมิญชิเต ปาสาริเต สัมปะชานะการี โหติ” รู้สึกตัวทั่วพร้อมในการคู้ เหยียดอวัยวะ วิธีการหลวงพ่อเทียนก็คือสั มปชัญญะปัพพะในท่าที่สามนี้ ยื่นแขนออกไป หดแขนเข้ามา การที่เราจะไปจับการเคลื่อน ไหวในการคู้เหยียด หยิบจับ จะต้องมีการฝึกให้เกิดทักษะ เสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการคู้เหย ียดแบบสัญชาตญาณตามความเคยช ิน ไม่เป็นองค์ภาวนา การฝึกปฏิบัติเป็นการสร้างท ักษะที่ซ้ำซาก เพื่อให้มันตอกลึกลงไปเรื่อ ยๆ เวลาเราไปทำอะไรมันจะรู้โดย อัตโนมัติ เป็นองค์ภาวนา เราสามารถทำงานทั้งวันและปฏ ิบัติธรรมทั้งวันไปด้วยกัน ดังที่หลวงพ่อพุทธทาสบอกว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่นึกในใจว่ากำลังปฏิบั ติธรรม ทั้งๆ ที่ไม่มีองค์ความรู้ในรายละ เอียด มันก็เป็นเพียงสมถะ
สมถะหมายความว่ารู้โดยรวม เราดีใจว่าตั้งใจปฏิบัติธรร ม มีสมาธิ มีสติ แต่โดยรวมไม่สามารถเห็นรายล ะเอียด แต่พอลงวิปัสสนา เราเห็นรายละเอียดและเป็นสม ถะไปในตัว การปฏิบัติวิปัสสนาที่ถูกต้ อง จะรวมสมถะเข้าไปด้วย และการทำสมถะที่ถูกต้อง จะรวมวิปัสสนาเข้าไปด้วย เรียกว่าบูรณาการโดยไม่ต้อง แยก
๔. “สังฆาติ ปัตตะ จีวะระ ธาระเณ สัมปะชานะการี โหติ” มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมใน การทรงสังฆาติ บาตร จีวร อันนี้สำหรับพระ แต่สำหรับโยมมากกว่านั้น เพราะมีเสื้อผ้าเยอะกว่า
๕. “อุจจาระปัสสาวะ กัมเม สัมปะชานะการี โหติ” มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขณ ะที่เข้าห้องน้ำ อาบน้ำ ถูตัว ทำธุระหนักเบา แปรงฟัน เห็นตัวเองตลอด
๖. “อะสิเต ปีเต ขายิเต สายิเต สัมปะชานะการี โหติ” มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมใน การกิน ดื่ม เคี้ยว สังเกตดูว่าเรารับประทานอาห ารเสร็จไวมาก ไม่ค่อยมีสัมปะชานะการี เพราะเราเคยชินกับการรีบกิน รีบเคี้ยว รีบลุก แต่พอมาปฏิบัติ เราต้องมีการเคี้ยว ลิ้ม ดื่ม กลืน แบบไม่ต้องรีบ เพราะมันเป็นช่วงปฏิบัติเหม ือนกัน
๗. “คะเต ฐิเต นิสินเน สุตเต ชะคะริเต ภาสิเต ตุณหีภาวะ สัมปะชานะการี โหติ” มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมใน ขณะไป ขณะมา ขณะพูด ขณะหลับ ขณะตื่น แม้แต่นิ่งๆ ก็ให้รู้สึกตัวว่าอะไรกำลัง เกิดขึ้นในขณะที่นิ่ง
บางคนรู้สึกว่าหลวงพ่อเป็นป ริยัติจังเลย
แต่นี่คือของจริงเป็นบัญญัต ิ
แต่ถ้าเราไม่นำปริยัติมาบอก กัน
มันจะกลายเป็นการมั่วนิ่ม
ถ้ามีหลักเกณฑ์จะทำให้เกิดค วามมั่นใจ
พระพุทธเจ้าท่านว่ามาอย่างน ี้
เราก็ว่าตามทางพระพุทธเจ้า
แต่ก็ต้องให้รายละเอียดลงไป
ในการกระทำด้วย
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
บวกอิริยาบถสี่และอิริยาบถย ่อยเข้าด้วยกัน
เป็นระบบบูรณาการ
พอมาถึงเรื่องอาการสามสิบสอ ง ธาตุสี่
ท่านก็รวมกันมาเป็นอีกชุดหน ึ่ง
เพราะมันเกี่ยวข้องกัน
ธาตุสี่และอาการสามสิบสอง ดิน น้ำ ลม ไฟ
ทำหน้าที่ได้สามสิบสองอาการ
ออกมาเป็นส่วนประกอบร่างกาย ๓๒ อาการ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ
เวลาเราจับผมก็มีความรู้สึก
เวลาปวดฟันยิ่งรู้สึกมากเลย
ความรู้สึกเหล่านี้ออกมาในร ูปของธาตุ
การเคลื่อนไหวอย่างมีระบบระ เบียบ
เป็นธาตุลม
ธาตุลมเป็นลักษณะของสติสัมป ชัญญะ
การนั่งตรงๆ นานๆ เป็นธาตุดิน
แสดงว่าสมาธิดีจึงนั่งได้นา น
ธาตุน้ำเป็นลักษณะของการระบ ายความร้อน
เพราะในนั้นมีธาตุไฟกับธาตุ น้ำ
ธาตุดินกับธาตุไฟ ธาตุลมกับธาตุไฟ
ธาตุดินกับธาตุน้ำ เป็นตัวร่วมกัน
ธาตุลมเป็นตัวร่วมกับธาตุดิ น
เพราะจะให้มันเคลื่อนไหวแกว ่งตลอดเวลาไม่ได้
จะต้องมีการนิ่งบ้าง การนิ่งคือธาตุดิน
อาการที่เคลื่อนไหวไปมา
เป็นอาการของธาตุลม
เราจะร้อนตลอดเวลาไม่ได้ต้อ งมีเย็นบ้าง
คืออาการของธาตุน้ำกับธาตุไ ฟ
ธาตุน้ำกับธาตุไฟ ธาตุดินกับธาตุลม
บางลักษณะก็เอาธาตุดินกับธา ตุน้ำ
ธาตุลมกับธาตุไฟ
มาเป็นตัวร่วมแก้ไขปัญหา
ลักษณะทั้งสี่บูรณาการออกมา
เป็นอาการสามสิบสอง
แต่ละธาตุแยกตัวเป็นแปด
สี่คูณแปดเท่ากับสามสิบสอง
เราเข้าไปดูอาการที่ละเอียด กว่าสัมปชัญญะ
เมื่อดูสัมปชัญญะเป็นแล้ว
ไปดูอาการสามสิบสอง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
อาการสามสิบสองเยอะเกินไปดู ไม่ไหว
ก็ลดลงมาสามประการ คือ
สบาย ไม่สบาย และเป็นกลาง
พยายามทำของเยอะๆ ให้เป็นของเล็กลงมา
และทำเล็กลงมาให้เป็นจริง
อสุภะหมายถึงของเสียในร่างก ายที่เป็นรูป
และของเสียในร่างกายที่เป็น นามรูป
แต่ถ้าเมื่อใดของเสียในร่าง กายไม่ถูกบำบัด
จากรูปนามก็กลายเป็นนามรูป
เช่น ความปวดเมื่อยเป็นของเสียขอ งร่างกาย
ออกมาเป็นความปวดเมื่อยไม่ส บาย
เนื่องจากมันจะต้องเสื่อม
เราต้องเอาสติสัมปชัญญะ
ไปจัดการกับของเสียหรือความ ไม่สบาย
ให้มันรู้สึกเบาขึ้น สบายขึ้น
กลายมาเป็นของดีและเบา
แล้วก็กลับมารักษาให้เป็นกล างพอทนได้
ต่อมาสักพักเนื่องจากมันเป็ นไตรลักษณ์
มันก็กลับมาเป็นของเสียอีก
เราก็เข้าไปปรับให้เป็นของด ีคือเบาสบาย
การสลับกันไปมา ดูอาการสามสิบสอง
ของของเสียทั้งสามระบบ เรียกว่าอสุภะ
อสุภะแปลว่าความไม่สวยงาม
อสุภะกลายเป็นของสกปรก เรียกว่าปฏิกูล เน่าเสีย
ถ้าเราบำบัดจากอสุภะให้เป็น สุภะไม่ได้
มันก็กลายเป็นปฏิกุละ คือปฏิกูลสกปรก
ถ้าเป็นทุกขเวทนา นั่งไปนานๆ โดยไม่บำบัด
ก็จะทำให้จิตใจวุ่นวาย สกปรก
กลายเป็นอารมณ์ความวุ่นวายต ่างๆ
ในแง่ของนามธรรม
ในรูปธรรมท่านบอกว่า
ร่างกายของเราเป็นป่าช้า
เพราะมีสัตว์มาตายที่นี่เยอ ะ
ร่างกายเป็นที่รวมของของเสี ย
เมื่อพิจารณาอย่างนี้
อสุภะก็จะทำให้ลดมานะอัตตา
ความสำคัญผิดในตัวเองลดลง
ในแง่ของกายานุปัสสนาถ้าทำค รบ
เปลี่ยนจากสักกายทิฏฐิที่สำ คัญผิด
ว่า เราดี เราสวย เรารวย เราจน
เราถูก เราผิด เราแน่ เราไม่แน่
ก็จะค่อยผ่อนลงไปเป็นความรู ้สึกธรรมดา
เป็นคนมีสติสัมปชัญญะ รู้สึกรู้สา
เป็นวิญญูชน รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ
รู้บุคคล วางตนได้เหมาะสม
สักกายะทิฏฐิลดลงกลายเป็นสั มมาทิฏฐิ
ใช้ร่างกายให้ถูกกาลเทศะ เหมาะแก่กาลเวลา
ต่อไปก็จะพัฒนาไปเป็นสัมมาส มาธิ ถูกต้องขึ้น
ในระบบของกายานุปัสสนาทั้งห มด
ถ้าเราทำได้ถูก ตรง
มันก็จะไปเปลี่ยนสักกายะทิฏ ฐิ
ให้เป็นสัมมาทิฏฐิโดยอัตโนม ัติ
ท่านมีระบบของท่านเรียบร้อย แล้ว
แต่เราตีบทไม่แตกเข้าไม่ถึง
เลยโยงไม่ติดว่าอะไรเป็นอะไ ร
ที่จริงแล้วร่างกายคือความร ู้สึกล้วนๆ
เรารู้ว่ามีมือเพราะมีความร ู้สึกตัวอยู่
ถ้าไม่รู้สึกตัว มีมือก็เหมือนไม่มี
ยกมือคือความรู้สึกตัว
ไม่ต้องรู้ว่าเป็นรูปนามก็ไ ด้
ยกความรู้สึกตัว ถ้าเราไม่ยกมันก็ไม่รู้สึก
หลวงพ่อคำเขียนบอกว่า
ทุกอย่างเป็นความรู้สึกอย่า งเดียว
ไม่ต้องไปรู้ปริยัติให้สับส น
แต่ถ้าองค์ความรู้ไม่พอ
รู้สึกตัวอยู่แต่ก็ยังสะดุด ล้มจนได้
ความรู้สึกตัวไม่ละเอียดถี่ ถ้วน ไม่เพียงพอ
บางครั้งเราบรรจงทำอย่างดี
มันพลิกทีเดียวเสียหมดเลย
เป็นความรู้สึกตัวที่ขาดปัญ ญา
ขาดความรู้ทั่วพร้อม
เรียกว่าความรู้เท่าไม่ถึงก ารณ์
องค์ความรู้ไม่พอ
เรารู้สึกตัวอย่างเดียวไม่พ อ
ต้องมีองค์ความรู้ประกอบ
เพื่อรู้ให้พร้อมว่าอะไรเป็ นอะไร
มีเหตุที่ไปที่มา
ความรู้สึกหนักไม่ใช่จะหนัก ปุ๊บปั๊บ
มันเริ่มตั้งแต่ความรู้สึกเ บาสบาย
ที่เราเปลี่ยนมาเมื่อกี้นี้
ค่อยๆ ไต่ขึ้นมาเป็นความหนัก
พอหนักแล้วก็ดูว่าทนได้หรือ ไม่
ถ้าทนไม่ได้ก็ตั้งใจเปลี่ยน
จากความหนักมาเป็นความเบา
เรียกว่ามีองค์ความรู้แล้ว
แต่ถ้าพลิกไปเลยก็ไม่เห็น
ความสบายที่ค่อยๆ เกิดขึ้น
จากหนักเป็นเบาก็สบายเหมือน กัน
แต่ไม่ได้องค์ความรู้ในรายล ะเอียด
เรียกว่าความทุกข์ไม่ปรากฏช ัด
ทำให้ทุกข์ทั้งกายและใจ
แต่ถ้าเห็นความทุกข์ปรากฏชั ด
มันทุกข์แต่กาย ใจไม่ทุกข์
รู้ทุกข์แล้วมันตัดสมุทัย
ทุกข์ต้องกำหนดรู้เพื่อตัดส มุทัยโดยอัตโนมัติ
แต่ถ้าไม่กำหนดรู้ทุกข์ สมุทัยก็ต้องเกิด
ให้รู้ทุกข์เพื่อตัดสมุทัย
เมื่อตัดสมุทัยได้นิโรธกับม รรคก็เกิด
อริยสัจสี่ก็เหลือเพียงความ รู้สึกตัว
คือความรู้สึกตัวว่าเราทุกข ์
เวลาเราปฏิบัติทั้งวัน
อาจมีส่วนใดส่วนหนึ่งแว็บขึ ้นมาบ้าง
เช่น ง่วง เหงา เบื่อ เซ็ง
เราจะได้รู้ว่าเราทำผิดไปนะ
ตอนแรกก็ดีมีไฟมีกำลัง
ชั่วโมงต่อไปมันจะล้าลงไปเร ื่อยๆ
เพราะขาดการเร่งเร้า ขาดวิริยะ
มีฉันทะก็จริงแต่ขาดวิริยะ
ก็ต้องพยายยามกระตุ้นเร่งเร ้า
ให้มันชัดเจนขึ้น
จะเห็นว่าวิธีการที่เราทำไม ่มีอะไรซับซ้อน
แต่เราขาดผู้มีประสบการณ์
มาขยายความว่ามันเป็นอย่างน ี้
ในชุดกายานุปัสสนาทั้งหกชุด
ทำไมเราไม่ลงลึกไปในอานาปาน สติ
เพราะเราคุ้นเคยมานานแล้ว
มันไม่เหมาะกับอินทรีย์ของเ รา
เหมือนคอมพิวเตอร์ของเราเป็ นรุ่นสามสิบสอง
แต่อานาปานสติเป็นรุ่นหกสิบ สี่
มันไม่รับโปรแกรมบางอย่างขอ งเรา
แต่บางคนพัฒนาทักษะสูงขึ้น
ก็สามารถเปลี่ยนจากระบบสามส ิบสอง
เป็นหกสิบสี่ได้
แต่เราขาดผู้มีประสบการณ์
มาขยายความว่ามันเป็นอย่างน
ทำไมเราไม่ลงลึกไปในอานาปาน
เพราะเราคุ้นเคยมานานแล้ว
มันไม่เหมาะกับอินทรีย์ของเ
แต่อานาปานสติเป็นรุ่นหกสิบ
มันไม่รับโปรแกรมบางอย่างขอ
ก็สามารถเปลี่ยนจากระบบสามส
เป็นหกสิบสี่ได้