ถอดธรรมบรรยาจากคลิป นวัตกรรมแห่งสติ ๓๖

คลิปนวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว๓๖ ณ วัดพระธาตุแสงเทียน (เช้า ๒๒ ก.ค.๖๐) พระธรรมเทศนาโดย หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท

เรื่อง พัฒนาการของปรมัตถ์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

คนที่ชอบเปลี่ยนวิธีบ่อยๆ
ยังไปไม่ถึงปรมัตถ์
เพราะจิตยังไม่หยั่งรากลึก
ก็จะหาวิธีใหม่มาเสริมเรื่อยๆ ทำให้สับสน

ปรมัตถ์เป็นเรื่องสำคัญ
ถ้ายังเป็นสมมติหรือสมถะ
ยังไม่เข้าถึงกระแสพุทธธรรม
มีโอกาสไขว้เขวได้เสมอ
ถ้าเข้าสู่ปรมัตถ์แล้วจะไม่ไขว้เขว
เหมือนต้นไม้ที่หยั่งรากลึกแล้ว
แม้อากาศจะแปรปรวนก็ไม่ตาย
ถ้ารากตื้นก็ตายได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอารมณ์รูปนาม
สมมติ หรือปรมัตถ์?
ถ้ายังเป็นอารมณ์รูปนามอยู่
ยังต้องตั้งเจตนารู้
ถ้าไม่ตั้งใจจริงๆ ไม่ค่อยรู้เอง หรือรู้แบบผิวเผิน
มักแฉลบออกไปได้ง่าย
รูปนามก็จะพัฒนาไปเป็นสมมติได้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ปรมัตถ์มีสามระดับ
ปรมัตถ์เบื้องต้น ปรมัตถ์เบื้องกลาง
และปรมัตถ์เบื้องสูง

ปรมัตถ์เบื้องต้นคืออารมณ์รูปนามนั่นเอง
ยังเป็นไปกับอารมณ์พอใจไม่พอใจอยู่
เวลามีอะไรมากระทบ
จะเกิดอารมณ์หงุดหงิดปฏิฆะไปสักพัก
กว่าจะรู้ก็นาน
แล้วแต่ความแรงของเรื่องที่มากระทบ
ปรมัตถ์เบื้องกลางรู้สึกตัวได้เองเป็นส่วนใหญ่
อารมณ์อะไรเกิดขึ้น ชอบไม่ชอบ ปฏิฆะหงุดหงิด
จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง แล้วกลับเข้ามาแก้ไขเป็น
ระดับไหนเป็นสมมติหรือปรมัตถ์
ให้ดูที่การรู้ตัวได้ช้าหรือเร็ว
จิตของเราไปกับการถูกกระทบ
ได้มากน้อยแค่ไหน
ปรมัตถ์เบื้องสูง กระทบแล้วดับเลย
ไม่ทันได้ปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว
วัดกันที่ความเร็วของสติ
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปจนถึงปัญญา
ปรมัตถ์เบื้องสูงขึ้นไปก็ยังแบ่งไปอีก
ระดับวิปัสสนาญาณรู้ความคิดได้เร็ว
รู้ทันอาสวะต้องใช้ญาณทัสสนะ
วิปัสสนาญาณเอาไม่อยู่
เพราะอาสวะไม่ต้องอาศัยความคิด
วิปัสสนาญาณเหมือนไฟตกใส่ผ้าชุ่มแล้วดับ
ญาณทัสสนะเหมือนไฟตกใส่น้ำ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

จะดูว่าระดับไหนเป็นสมมติหรือปรมัตถ์
ดูที่ความเร็วของสติปัญญา

ถ้าสติปัญญารู้ตัวได้เร็ว
ก็พัฒนาเป็นปรมัตถ์มากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าสติสัมปชัญญะรู้ตัวได้ช้า
ก็ยังอยู่ในขอบเขตอารมณ์รูปนามอยู่

เราจะคิดไปตามสมมติว่าอยู่ไหนขั้นไหนไม่ได้
ต้องดูตามความเป็นจริงคือตอนที่ถูกกระทบ
ว่าจิตของเราไปกับเรื่องที่มากระทบมากน้อยแค่ไหน
ถ้ากระทบแล้วรู้เร็วขึ้นเรื่อยๆ
ไม่พอใจแค่แว็บเดียว
พอใจก็แค่แว็บดียวแล้วกลับมา
เรียกว่าเป็นปรมัตถ์มากขึ้น
ต้นตอของรูปนามและสมมติปรมัตถ์
คือการเกิดดับ
ภาวะที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์เป็นเกิด
ภาวะที่อยู่เหนือกฎไตรลักษณ์เป็นดับ
เรียกว่าไตรสิกขา
หลักปริยัติเหมือนภาชนะที่บรรจุปรมัตถ์
เปรียบได้กับถังข้าวสาร
ถ้าไม่มีภาชนะก็ต้องขนข้าวสารทีละเม็ด
ปริยัติสามารถบรรจุความหมายของปรมัตถ์ได้หมด
ถ้าใช้ภาษาสมมติ
เหมือนเราขนข้าวสารทีละถุงเล็กๆ
จะช้าและขนได้ไม่หมด
มีโอกาสที่จะสับสนปนเปื้อนได้ง่าย
พอใช้ศัพท์ทางปริยัติก็จะเข้าใจง่าย
กระทัดรัดชัดเจน
คำสอนพระพุทธเจ้าที่ถ่ายทอดมาถึงปัจจุบันได้
เพราะมีปริยัติ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ในส่วนของรูปเป็นการเกิดโดยธรรมชาติ
มีเวทนาให้เห็นตลอดเวลา
เช่น เวทนาเย็น เวทนาร้อน
น้อยมากที่เราจะไม่รู้สึกว่ามีเวทนา

เวทนาเป็นตัวแสดงออกของไตรลักษณ์ทั้งหมด
สุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
ออกมาที่เวทนาทางกายและเวทนาทางจิต

ถ้าไม่มีเวทนา ไตรลักษณ์ที่อยู่ในรูปนาม
ก็ไม่สามารถต่อไปที่สัญญา สังขาร วิญญาณได้
ต้องมีเวทนาเป็นตัวกลางถึงจะต่อกันติด
ถ้าจะรู้รูปนามว่าเป็นเกิดหรือดับ
ให้มาตามรู้ที่เวทนา
เวทนาที่เป็นภาระต่อจิต มีความหนัก
เป็นเวทนาที่เสี่ยงต่อการเกิดสมุทัยของทุกข์
เป็นเกิด
เวทนาที่เย็น เบา สบาย ไม่ถ่ายทอดไปเป็นสมุทัยของจิต
เป็นดับ
เวทนาที่เสี่ยงต่อการเกิดสมุทัยของทุกข์
เวทนานั้น…เป็นเกิด (เพราะสมุทัยเป็นเกิด)
เวทนาที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดสมุทัยของทุกข์
หยุดอยู่ที่รูป เวทนานั้น…เป็นดับ
เรื่องนี้ถ้าเราไม่แยกแยะให้เห็นชัดๆ
โอกาสลังเลไม่แน่ใจมีสูง
เพราะเราอยู่กับกฎไตรลักษณ์มาไม่รู้กี่ภพชาติ
ถ้าเราแยกแยะไม่ออก
ว่าอันไหนเป็นน้ำ น้ำมัน นม น้ำธรรมดา
ก็ยากที่จะใช้ประโยชน์ได้ครบถ้วน
บางครั้งเราต้องการใช้กะทิ
บางครั้งต้องการใช้น้ำมัน
เราต้องรู้วิธีแยกแยะ
บางทีต้องใช้เกิด บางทีต้องใช้ดับ
แต่ให้รู้ว่าอันไหนเป็นเกิด อันไหนเป็นดับ

 

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

รูปนาม สมมติ ปรมัตถ์
มาจากกำเนิดเดียวกันคือการเกิดดับ

ถ้ารู้การเกิดดับชัดเจน ก็จะรู้เรื่องรูปนาม
สมมติ ปรมัตถ์ บัญญัติ ได้ง่าย
ถ้าตั้งต้นที่ต้นตอได้ถูกต้อง

ความก้าวหน้าของวิปัสสนา
อยู่ที่ชัดหรือไม่ชัด
ปฏิบัติไปได้ไกลหมายถึงแยกออกได้ชัด
ว่าอะไรเป็นอะไร

เวลาที่ถูกว่า ถูกด่า ถูกตบ ถูกตี
จิตไม่สะท้านหวั่นไหวกับเวทนาที่เกิดขึ้น
รู้ได้ชัดหมายความว่ารู้สึกในรูปในกายเป็นหลัก
ไม่รั่วไหลไปบีบคั้นจิตใจ
เวทนาร่างกายที่หนัก เบา สุข ทุกข์
ไม่รั่วไหลเข้าไปสร้างให้เกิดสมุทัยทางจิตได้ง่ายๆ
การศึกษาทางโลกใช้เวลาเรียนในห้องเรียน
แต่ไม่ได้คลุกคลีตลอดเวลา
มีเว้นวรรคออกมาเที่ยวเล่นเป็นระยะ
แต่ทางธรรมหรือทางปรมัตถ์จะเว้นระยะไม่ได้
ตั้งต้นแล้วต้องไปต่อจนจบ
ถ้าเว้นระยะจะเนิ่นช้าออกไปเรื่อยๆ
เหมือนเราหุงข้าวเสียบปลั๊กเสร็จ
ก็จบกระบวนการรวดเดียว
ถ้ามีการเว้นระยะเช่นไฟดับหรือน้ำแห้ง
ระยะเวลาของการสุกก็ขยายออกไปเรื่อยๆ
ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติหนึ่งชั่วโมงข้าวก็จะสุก
พัฒนาการของปรมัตถ์ก็เช่นเดียวกัน
ถ้าเข้าใจถูกต้องจะทำรวดเดียว
ข้าวสุกเร็วเท่าใดยิ่งดีเราจะได้กิน
ไฟติดๆ ดับๆ ช้าออกไปเป็นสองชั่วโมง
เราจะเหนื่อย หิว เพลีย เพราะไม่ได้กินข้าว

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เช่นเดียวกันกับปรมัตถ์
ถ้าเราเข้าใจจริงชุดเดียวจบ
จะได้สบายไวๆ ไม่ยืดเยื้อ

ถ้าเราปฏิบัติธรรมแบบเว้นระยะไปเรื่อยๆ
ก็มีความสุขระดับหนึ่ง
แก้หิวได้เหมือนคนกินข้าวไม่สุก
ต่างกับคนที่กินข้าวสุก

เราจึงต้องปฏิบัติแบบรวดเดียวจบ
จะได้สุขอย่าแท้จริง เพราะสังขารไว้ใจไม่ได้เลย
มัวแต่เล่นความสงบ เล่นสมถะ
ความสุขก็ยืดเยื้อไปเรื่อยๆ แทนที่จะทำให้มันจบ
วันหนึ่งเกิดป่วยตายขึ้นมาก็ไปไม่ถึงไหน
มัวแต่ไปเล่นความสนุกเล็กน้อยในระหว่างทาง
เราต้องรีบไปให้ถึงสุดทาง เพราะจะไว้ใจสังขารไม่ได้
มันป่วยตายแตกดับตลอดเวลา
ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอีกกี่หมื่นแสนชาติ
การปฏิบัติที่ถูก ต้องทำอย่างจริงจัง
สามารถกำหนดระยะเวลาที่จะเกิดผลได้
แม้การทำความเพียรจะซ้ำซาก
แต่ก็ก้าวไปข้างหน้าเรื่อยๆ
เห็นระยะทางชัดเจน
วิธีการหลวงพ่อเทียน
เป็นสูตรสำเร็จ ไม่มีการมั่ว
เราต้องทำซ้ำๆ ซากๆ ในเรื่องเก่าๆ เสมอ
การทนต่อความซ้ำซากหมายความว่า
เรามีขันติสูง คุณภาพของสมาธิสูง
เราจึงทนภาวะซ้ำซากได้
ถ้าสมาธิและขันติอ่อน ก็จะเบื่อง่าย
หาเรื่องเล่นไปเรื่อย
จะตกเป็นทาสความแปรปรวน
เราหุงข้าวต้มแกงอยากให้สุกไวๆ ฉันใด
การปฏิบัติธรรมก็ต้องให้ได้ผลไวๆ
ทางที่ถูกต้องเร่งได้ ขึ้นอยูกับความขยัน
ศรัทธา ความเพียร
ถ้าไม่ใช่ของถูกต้องจริงจัง
จะกำหนดเวลาไม่ได้
เหมือนเราเดินทางไกล
ระยะทางจะไกลแค่ไหนก็ซ้ำซากอยู่ที่สองขา
มันไม่ได้อยู่กับที่แต่ไปข้างหน้าเรื่อยๆ
เห็นระยะทางชัดเจนแน่นอน
ในช่วงเข้าพรรษานี้จะเน้นเรื่อง
การเกิดดับและปรมัตถ์บ่อยๆ
Direk Saksith www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้, หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท,
เซนสยาม, Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)