ตัวรู้ผู้จัดการจิต

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ตัวรู้ ฉนวนกันทุกข์

พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบวิธี
ที่ไม่ทำให้ความไม่สบายกาย
ทะลุไปถึงใจ
และความไม่สบายใจ
ทะลุไปถึงกาย
 
โดยมีฉนวนเข้าไปกั้น
ตัวฉนวนนี้เรียกว่าตัวรู้
 
ให้รู้ว่านี่คือรูปทุกข์
ถ้าทนได้ เราก็ทนไป
ถ้าทนไม่ได้
เราก็แก้ไขมันไปเรื่อยๆ
 
แต่ป้องกันไม่ให้โรคของรูป
ระบาดไปถึงนาม
เรามีหน้าที่แค่นั้น
 
เราจึงต้องมีตัวรู้
ที่เกิดจาก สติ สมาธิ ปัญญา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ถ้าไม่มีตัวรู้ ก็จัดการจิตไม่ได้

ถ้าเข้าใจตัวรู้แล้ว
เราจะไปจัดการกับจิตได้
 
แต่ถ้าไม่มีตัวรู้
แม้จัดการกับจิตได้
แต่ไม่ถูกตามหลักวิปัสสนา
 
เพราะจิตมันซับซ้อน
และลึกซึ้งละเอียดอ่อน
เกินกว่าสติธรรมดา
จะจัดการมันได้
 
ตัวรู้นี้ต้องเกิดจากธรรมจักษุ
หรือปัญญาจักษุเท่านั้น
จึงจะเห็นจิตได้ชัด
 
เมื่อดูจิต เห็นจิตเป็นแล้ว
ก็จะรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับจิต
ในแต่ละเวลา
 
สามารถทบทวนตรวจจิต
ได้ยาวนานขึ้นเรื่อยๆ
เพราะจิตวิญญาณ
เกิดจากการทำหน้าที่ร่วมกัน
ของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
 
ดังนั้น จิตตัวนี้
เมื่อขาดตัวรู้ตามดูตามสังเกตแล้ว
ก็พร้อมที่จะแปรเปลี่ยน
เป็นจิตสังขาร
ได้ตลอดเวลา
 
เพราะเวทนาทางกายคือ
ความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
เคร่ง ตึง เจ็บ ปวด ทุกขณะ
จิตสามารถสัมผัสได้ตลอดเวลา
 
แล้วเวทนาทางกาย
ก็ทำให้เกิดสัญญา สังขาร
วิญญาณตามลำดับ
 
อาการของของรูปขันธ์ (คือรูปนาม)
ที่ขาดสติตามรู้
มันก็สร้างนามขันธ์ (คือนามรูป)
เป็นความคิดเป็นสังขาร
วิญญาณต่อไป
 
แล้วก็แยกรับรู้เป็นเรื่องราวต่างๆ
ก็เพราะขาดสติเท่านั้นเอง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

แยกวิญญาณออกมาเป็นตัวรู้

การปฏิบัติธรรม ก็คือ
เรามาเริ่มศึกษารูปนาม
ที่เป็นปัจจุบัน
เราต้องระลึกรู้
และสัมผัสตัวรู้ในรูปนาม
 
คือรู้กายและเวทนา รู้จิต
รู้เห็นในความรู้สึกนึกคิด
(สัญญา สังขาร วิญญาณ)
 
ความรู้สึกนึกคิด
รวมเรียกว่าขันธ์ห้า (นามขันธ์)
เมื่อแยกความรู้สึกนึกคิดและสัมผัส
ออกมาเป็นภาษาปริยัติให้เห็นชัดๆ
คำว่ารู้สึก=เวทนา, นึก=สัญญา,
คิด=สังขาร, รับรู้=วิญญาณ
 
การเจริญสติ คือแยกตัววิญญาณ
ที่ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ต่างๆ ออกมา
สติก็ตามเข้าไปรู้อีกชั้นหนึ่ง
แยกอารมณ์ออกให้เหลือตัวรู้ล้วนๆ
 
ตัวรู้ล้วนๆ นี่แหละคือสติบริสุทธิ์
หรือนามล้วนๆ นั่นเอง
 
และสติบริสุทธิ์นี่เอง จะทำหน้าที่ตามรู้
เวทนาทางกาย และเวทนาทางจิต
ซึ่งมันยังเกี่ยวข้องและผสมผสาน
ระหว่างรูปนามและนามรูปเข้าหากัน
 
เวทนาคือ อาการ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
เคร่ง ตึง ของรูป
คือรูปนามนั่นเอง
 
ถ้าไม่มีอาการของเวทนา
เราก็ไม่รู้ว่าเรามีรูป
คนตายคนเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต
ถึงมีรูปก็เหมือนไม่มีรูป
เพราะเวทนาไม่ทำงาน
 
เวทนาก็จึงเป็นตัวแสดงของรูป
เรารู้ว่ามีกายเพราะมีเวทนา
เรารู้ว่ามีจิตเพราะมีธรรมารมณ์
เป็นตัวแสดงอาการว่าเรามีจิต
เรียกสั้นๆ ว่าอารมณ์
 
อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย
อารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์
ชอบไม่ชอบ เป็นตัวอาการของจิต

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เปลี่ยนอารมณ์เป็นตัวรู้

เราต้องไปตอกย้ำศรัทธา
และความเพียรของเราเอง
เพื่อที่จะไปเพิ่มพูนตัวรู้
หรือตัวสติให้เป็นนิสัยใหม่

นิสัยเก่าเราคือความ เผอเรอ
จับจด ฟุ้งซ่าน เพลิดเพลิน
สนุกสนาน หงุดหงิด โมโห

แต่ถ้าหากว่าตัวรู้เราเข้มแข็งแล้ว
สิ่งเหล่านี้มันก็ถูกตามรู้
เปลี่ยนตัวความรู้สึกเหล่านี้
ให้เป็นตัวรู้ให้หมด

และตัวรู้นี้ก็จะเปลี่ยนแปลงเป็นปัญญา
มันถึงจะเปลี่ยนแปลงสัญชาตญาณ
ให้เป็นปัญญาญาณได้

แต่ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เข้ามากระทบ
เราจะไม่มีวัตถุดิบเลย
เหมือนเราจะผลิตของชิ้นนึง
ต้องมีวัตถุดิบ

อารมณ์ต่างๆที่มากระทบ
มันเป็นวัตถุดิบ

หน้าที่ของเราคือ
ขยันเปลี่ยนตัวไม่รู้ให้เป็นตัวรู้
ขยันเปลี่ยนตัวเผลอให้เป็นตัวไม่เผลอ
ขยันเปลี่ยนสัญชาตญาณให้เป็นปัญญาญาณ
สิ่งที่มันมีอยู่แล้วตลอดเวลา

แต่เราจะทันมั้ย เราจะไวพอมั้ย
เราจะชัดเจน เราจะแม่นยำพอมั้ย
ตรงนี้ขึ้นอยู่กับศรัทธาและความเพียร

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

อารมณ์ไม่มีจริง

อารมณ์ไม่ได้มีอยู่จริง
มีแต่การเกิดขึ้น
และดับไปของทุกข์
 
แต่ผู้รู้มีอยู่จริง
จิตที่ฝึกจนฉลาดแล้ว
สามารถอยู่เหนืออารมณ์ได้
 
จะไม่ถูกอารมณ์
ที่เกิดจากการปรุงแต่ง
หลอกได้อีก

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

จิตไม่ใช่ตัวรู้

จิตกับตัวรู้เป็นคนละตัว
จิตรับอารมณ์เข้าไปสั่งสม
เพื่อเป็นตัวสังขาร

แต่ตัวรู้เป็นตัวของมันล้วน
เป็นวิญญาณ หรือญาณ

จิตแปลว่าสั่งสม
เก็บสิ่งที่ได้รับรู้เข้ามา
เป็นตัวของมันเอง
และพร้อมที่จะปรุงแต่งได้ตลอดเวลา

แต่วิญญาณเป็นตัวรับรู้
และแยกอารมณ์ต่างๆออก
เหลือแต่ญาณล้วนๆ
เป็น pure mind

ท่านจึงกล้าบอกว่าไม่มีจิต
เป็นสุญญตา คือว่างจากจิต

คำว่าจิตว่าง
ที่ถูกควรจะเป็นว่างจากจิต
เพราะไม่มีจิต มีแต่ตัวรู้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เปลี่ยนนิสัยด้วยตัวรู้

นิสัยเก่าเราคือเผอเรอ จับจด ฟุ้งซ่าน

สนุกสนาน หงุดหงิด โมโห

แต่ถ้าตัวรู้เข้มแข็งแล้ว

สิ่งเหล่านี้จะถูกตามรู้

เปลี่ยนตัวรู้สึกเหล่านี้ เป็นตัวรู้ให้หมด

และตัวรู้นี้ก็จะเปลี่ยนเป็นปัญญา

มันถึงจะเปลี่ยนสัญชาตญาณ

เป็นวิปัสสนาญาณได้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

อุเบกขาสัมโพชฌงค์เหมือนแมงมุม

แมงมุมจะอยู่ตรงกลางใยแมงมุม
เวลามีแมลงมาเกาะ มันจะวิ่งไปจับ
แล้วกลับมาอยู่ที่ตรงกลางใย
 
จิตของเราก็อยู่ตรงกลาง
เครือข่ายที่ล้อมคืออายตนะทั้ง๖
พอกระทบก็ไปตามรู้
แล้วก็กลับมาอยู่ตรงกลาง
 
แต่ผู้ที่ไม่ได้ฝึก
พอวิ่งไปจับแล้วก็ไม่กลับ
 
กลับมาอยู่ตรงกลาง
คืออุเบกขาสัมโพชฌงค์
สัมโพชฌงค์ ๗ ตัวสุดท้าย
 
การกลับมาอยู่ตรงกลาง
ต้องมีที่อยู่
เหมือนวงกลมซ้อนกัน ๔ วง
 
วงในสุดเป็นธรรมารมณ์
วงนอกถัดมาเป็นจิต
ถัดออกมาเป็นเวทนา
และวงนอกสุดคือกาย
 
สมมติว่าจิตเป็นแมงมุม
ก็ไปอยู่ตรงกลางนั้น

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ตัวรู้ไม่ใช่ความสงบ

ถ้าเรายังไม่เห็นผลอะไรชัดเจน
เราก็เบื่อบ้าง อยากบ้าง สลับกันไปเรื่อยๆ
แต่ให้เราดูสิ่งที่เกิดขึ้น สุขบ้าง ทุกข์บ้าง
ความคิดมันน่าเบื่อหน่ายจริงๆ

ถ้าเมื่อไรคนเริ่มเบื่อหน่ายความคิดปรุงแต่ง
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน
อันเป็นธรรมหมดจด

แต่ถ้าเมื่อไรเรายังสนุกกับความคิด
สนุกกับความสงบ
เราก็ยังแสวงหาเรื่อยไป

เพราะความคิดกับความสงบ
มันเสมือนเป็นคนละอย่าง
แต่จริงๆแล้วมันก็อันเดียวกันนั่นแหละ
ความฟุ้งซ่านกับความสงบมันอันเดียวกัน
แต่มันอยู่กันคนละขั้วเท่านั้นเอง

ตรงนี้เป็นความสงบ ตรงนี้เป็นความคิด
มันก็เป็นอันเดียวกันนั่นแหละ
ขี้นอยู่กับว่า เมื่อไรเราจะใช้ขั้วไหนเท่านั้นเอง
แต่เราต้องไปสร้างตัวรู้อีกตัวหนึ่ง
ที่มันไม่ใช่ความคิดและไม่ใช่ความสงบ
มันคือตัวรู้ หรือตัว awake
มันเป็นตัวของมันเอง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เหนือจิตคือตัวรู้

เพราะจิตเป็นตัวสั่งสม
ความรู้ ความจำ อดีต อนาคต
ทั้งหมด เรียกว่าจิต
คือภาวะที่สั่งสมอารมณ์

แต่ที่เหนือกว่าจิตนั้น คือตัวรู้
เมื่อรู้สึกตัว เมื่อนั้นก็ว่างจากจิต

นั่นคือมีสติสัมปชัญญะ
เข้าไปทำหน้าที่แทน
เอาสติ สัมปชัญญะ ปัญญา
เข้ามาทำงานแทนจิต

จิตมันจะต้องรวมเอา
รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณเข้าด้วยกัน

แต่ถ้าสติ สมาธิ ปัญญา
อยู่เหนือจิต
ก็คือมีตัวรู้อยู่เหนือจิต

เมื่อมีจิต
มันก็ต้องมีการสร้างภาพ
และความคิด

ถึงแม้ว่าจะเป็นนามรูปก็ตาม
มันจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

แต่เมื่อใด สติ สมาธิ ปัญญา
ออกมาเป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มันก็อยู่เหนือเงื่อนไขของอนิจจัง
ท่านจึงเรียกว่า ”อมตธรรม”
มันก็คือตัวรู้นี้เอง

เราจึงต้องสร้างตัวรู้นี้
ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
แต่เมื่อมันยังไม่สมบูรณ์
แน่นอน การรบกวนของจิต
ก็ต้องมีอยู่

เรามักจะสับสนเรื่องภาษา
ใช้พูดว่าจิตบ้าง สติบ้าง

ดังนั้น พยายามฝึกฝนไปเรื่อยๆ
ถ้าเราเห็นอานิสงส์มากขึ้น
มันจะไม่ท้อ

Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)