ดินกับน้ำ รูปกับนาม
ดินเหมือนกับรูป
น้ำเหมือนกับนาม
พอมารวมกันได้ไม่นาน
น้ำกับดินผสมกัน
ด้วยความเป็นธาตุของมัน
ก็จะไปสร้างสร้างสิ่งใหม่ขึ ้นมา
เป็นพืชพันธุ์
แต่เมื่อใดดินปราศจากน้ำ
ดินก็จะแห้ง พืชก็จะตาย
หรือมีแต่น้ำไม่มีดิน พืชก็ไม่เกิด
แต่เมื่อน้ำกับดินมาอยู่ด้ว
ก็มีสิ่งมีชีวิตเกิด
เมื่อรูปกับนามมาอยู่รวมกัน
ก็มีสังขารเกิด
ถ้ามีตัวกั้นระหว่างรูปกับน
ไม่ให้ถึงกัน แต่อยู่คนละส่วน
เหมือนน้ำอยู่ในแก้ว
มันก็ไม่ซึมลงดิน
ตั้งไว้นานเท่าใด ดินก็ชุ่มไม่ได้
เพราะมีสิ่งกันอยู่
กายกับใจจะอยู่ด้วยกันนานเท
ก็ไม่สามารถเกิดทุกข์ได้
เมื่อมีตัวสภาวะอันหนึ่ง
เรียกว่า ตัวปรมัตถธรรม เข้าไปกั้นอยู่
การเกิดขึ้นก็ไม่ปรากฏ
เราก็มาเจริญตัวสภาวะปรมัตถ ์นี้
ให้เข้มแข็ง
การเกิดทุกข์ก็ไม่มี
การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ไม่มี
แต่เมื่อใดรูปกับนามมารวมกั
โดยที่ไม่มีตัวสภาวะปรมัตถ์
(ทุกครั้งคำว่าปรมัตถ์หมายถ
สติ สมาธิ ปัญญา)
การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ปรากฏ
แต่ถ้ามีตัวสภาวปรมัตถ์มากั
การเกิดแก่เจ็บตายก็ไม่เกิด
การไม่เกิดคือไม่เกิดตัวนาม
รูปกับนามมาอยู่ด้วยกัน
เมื่อมีสติ มีปัญญา
หรือปรมัตถธรรมกั้นอยู่
ตัวนามรูปก็ไม่เกิด
เมื่อนามรูปไม่เกิด สังขารไม่เกิด
วิญญาณไม่เกิด ทุกข์ก็ไม่เกิด
เราจะเรียกว่าทุกข์เกิดก็ไม
เพราะมันไม่มีการเกิด
ก็ไม่มีการดับ
เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่มีกา
ตัวสภาวะธรรมชาติก็ดำรงอยู่
ของใครของมัน
ภาวะที่ดำรงอยู่ของใครของมั น
ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของนามรูป
ก็ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของรูปนาม
รูปนามคือร่างกายสังขารเราน
นามรูปคือความคิดที่ปรากฏใน
เพราะฉะนั้น รูปมี ๒ รูป
รูปอาการต่างๆ
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่ปรากฏในรูป
ตัวนี้เรียกว่ารูปนาม
ถ้าการเกิดแก่เจ็บตายที่ปรา
เรียกนามรูป
การเกิดทั้ง ๒ ระดับนี้จะไม่เกิด
เพราะมีตัวสภาวะของปรมัตถธร
เข้าไปกั้นกลาง
เราจึงมาเจริญตัววิปัสสนา
เข้าไปสร้างตัวสภาวะนี้
เพื่อไปกั้นการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
นี่คือการเห็นเทวทูตตัวใน
สัมผัสอารมณ์รูปนาม
การสัมผัสอารมณ์รูปนามหมายถ ึง
การสัมผัสการเคลื่อนไหว
ของเราเอง
ชัดขึ้นกว่าเดิม นานขึ้นกว่าเดิม
ความคิดปรุงแต่งเข้ารู้ชัดก ว่าเดิม
เห็นการเข้าออกของความคิด
และอารมณ์ได้ชัด
รู้สึกมีความรักในการรู้สึก
บางคนก็ไปติดอารมณ์วิปัสสนู
การได้สัมผัสอารมณ์รูปนามแล
ถ้าไม่ได้เก็บอารมณ์
มันจะกลายเป็นอารมณ์ปรมัตถ์
เหมือนแม่ไก่ไข่ออกมาแล้วก็
มันเป็นหลักของธรรมชาติ
อารมณ์รูปนามอาจหายไปได้
ถ้าไม่ได้ปฏิบัติต่อเนื่อง
เหมือนปลูกต้นไม้
ถ้าแตกกิ่งแล้วไม่ได้รดน้ำต
ต้นอ่อนก็จะเฉาและตายไป
ในช่วงที่อารมณ์รูปนาม
จะเปลี่ยนเป็นอารมณ์ปรมัตถ์
จะต้องผ่านอารมณ์หลายอย่าง
อารมณ์รูปนาม
เราต้องรู้ว่ารูปทำนามทำเป็นอย่างไร
การเฝ้าดู สังเกตทางกาย เวทนา
ให้ชัดๆ ต่อเนื่อง
ดูในส่วนรูปให้ชัดๆ
ถ้าเราไม่ลงลึกในรายละเอียดอย่างนี้
จิตของมนุษย์มันมีสติปัญญา
มันจะรู้อะไรแบบตื้นๆ
ลึกกว่านี้มันไม่ชอบ
มันก็หาเรื่องคิด
หาเรื่องสงสัยไปเรื่อย
เมื่อเราลงลึกในรายละเอียด
ความสงสัยเราจะได้รับคำตอบ
ด้วยตัวเอง
การปฏิบัติแล้วสงสัย
ไปถามครูบาอาจารย์
มันไม่ใช่คำตอบของเราที่แท้จริง
แต่การปฏิบัติที่เราเข้าใจด้วยตัวเอง
เห็นด้วยตัวเอง
มันก็จะหายสงสัยเอง
คุณธรรมของพระโสดาบัน
มีอยู่ข้อนึงคือ วิจิกิจฉา
สามารถตัดความสงสัย
ได้คำตอบจากตัวเอง
การได้คำตอบจากผู้อื่น
มันไปตัดข้อสงสัยไม่ได้
เห็นรูปทำ นามทำ
อารมณ์รูปนาม
ทำให้เราเห็นรูปทำนามทำ
เห็นธรรมชาติของกายได้ชัดขึ ้น
เมื่อก่อนเราเห็นกายกับใจ
เป็นอันเดียวกัน
เวลากายเจ็บใจก็เจ็บ
เวลาใจเจ็บกายก็เจ็บ
เมื่อก่อนเห็นขาปวด
เราจะเห็นว่าเราปวด
เวลาปวดท้องไม่ใช่ท้องปวด
แต่จะเป็นเราปวดท้อง
เราคืออัตตา อัตตามันไปปวด
ใจมันไปปวด
บางทีกายหายปวดแล้ว
แต่ใจไม่ยอมหาย
มันกลัวที่จะปวดอีก
กายกับใจมันพันกันอยู่แบบนี
แต่พอเราเห็นรูปนามแล้ว
เรื่องของกายก็แก้ไขเรื่องก
ใจไม่จำเป็นต้องปวดด้วย
อันนี้ก็ได้เห็นรูปทำนามทำ
หมายความว่านามมีหน้าที่รู้
ใจมีหน้าที่เป็นทุกข์
ก็เห็นมันทำงานทั้งสองอย่าง
เริ่มเห็นรูปทำนามทำ
เห็นรูปมันทำงาน
เห็นนามมันทำงาน
หน้าที่ของรูปคือ
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เรียกว่าอนิจจัง
เกิดความไม่สบาย
เรียกว่าทุกขัง
และความไม่สบายนี้มันแก้ไขได้
มันดับเองได้ เรียกว่าอนัตตา
เมื่อกายมันทำหน้าที่
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เรียกว่ารูปทุกข์
แต่ถ้าเรายังไม่ได้เจริญสติ เจริญปัญญา
พอรูปทุกข์ นามก็ทุกข์ไปด้วย
เรียกว่านามทุกข์
เห็นรูปทำนามทำ
รูปทุกข์นามทุกข์อย่างนี้
พอเราเข้าใจความรู้สึกตัว
ดูรูปดูนามเป็น
ก็เห็นรูปเป็นทุกข์
ไม่ใช่เห็นเราเป็นทุกข์แล้ว
เห็นรูปเป็นทุกข์
เราก็ปรับไปตามหน้าที่ของรูป
เห็นว่ามันปวด ทนได้ก็ทนไป
ทนไม่ได้ก็แก้ไขมันไป
ไม่จำเป็นต้องไปหงุดหงิดรำคาญ
แต่ถ้าเราเห็นขาเราเป็นทุกข์บ่อยๆ
โดยที่ไม่มีสติ ไม่มีความรู้สึกตัว
ก็หงุดหงิดรำคาญ เบื่อหน่าย ขี้เกียจ
พาลคิดนอกเรื่องไปเลย
เห็นรูปทุกข์ นามทุกข์
เราไม่เห็นรูปทุกข์
นามจึงเป็นทุกข์ไปด้วย
แต่ถ้าเราเห็นรูปเป็นทุกข์
ปวดขาก็ขยับนิดนึงก็หายแล้ว
ไม่จำเป็นต้องรำคาญไปกับมัน
ปวดหลังนิดนึงก็ดัดหลังหน่อ
ไม่จำเป็นต้องเป็นทุกข์กับม
พอเห็นรูปทุกข์นามทุกข์บ่อย
ไปเห็นขบวนการของทุกข์ได้ชั
คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ดังนั้นการบริหารดูเวทนา
ก็คือ ดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง
เมื่อก่อนเราเห็นรูปเห็นนาม
เป็นเราเป็นเขา
พอมาเข้าใจแล้ว
เห็นรูปเห็นนามเป็นทาสของ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
พอมาเห็นตัวนี้
มันก็ถอดความเป็นเราเป็นเขา
ถอดความสำคัญมั่นหมายตัวเอง
ที่มันหนัก มันเหนียวแน่น มันลึก
ก็ค่อยๆ เบาลง
รูปนาม ประตูธรรม
ถ้านักปฏิบัติคนใด
ไม่ชัดเจนเห็นแจ้ง
อาการทางกาย
คืออารมณ์รูปนาม
ตั้งแต่ต้น
การปฏิบัติแบบนี้
จะมีปัญหาไปตลอด
เพราะรูปนามเป็นต้นตอ
และพื้นฐานสำคัญ
สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่
บางคนศึกษาธรรมะ
ปฏิบัติรู้ไปตั้งไกล
แต่ว่ารูปนามยังไม่รู้จัก
ธรรมะที่มันรู้มันก็อยู่ไม่
เพราะว่ามันไม่มีประตูเข้า
การเข้าใจรูปนาม
หมายถึงการเปิดประตูธรรมะได
เราเข้าสู่ประตูธรรมะได้
รู้จักรูปทุกข์ให้ดีก่อน จึงจะเข้าใจนามทุกข์
สำหรับผู้ปฏิบัติเบื้องต้น
ให้รู้เฉพาะเหตุของทุกข์ทาง กาย
ไปเรื่อยๆ ก่อน
เพราะมันชัดเจนและเข้าใจง่า
เช่น อาการปวดขา ปวดเอว ไหล่
และส่วนต่างๆของร่างกาย
มันก็รู้ง่าย ดูง่ายกว่าอาการปวดใจ
การสังเกตการเคลื่อนไหวกาย
จึงเป็นกระบวนการพัฒนา
ให้เกิดตัวรู้
และตัวรู้ที่ถูกต้องก็พัฒนา
เป็นตัวปัญญา
เราต้องอาศัยการสังเกตเท่าน
ถ้าสติตามรู้ถูก ก็รู้สึกสบาย
หากรู้สึกผิดก็รู้สึกไม่สบา
เช่น ความอึดอัด ขัดเคือง
ง่วงเหงา เศร้าซึม ทรมาน
เราต้องปรับให้รู้สึกสบาย
โดยใช้ความสังเกต
และความแยบคาย
ปรับให้เป็นกลางไปเรื่อยๆ
จิตก็เริ่มเป็นสัมมาทิฏฐิแบ
ซึ่งเป็นมรรคองค์ที่ ๑
เป็นก้าวแรกที่สำคัญ
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)