ความคิดมีสามแบบ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

แบบที่หนึ่ง เรียกว่า “ธรรมารมณ์”

เป็นความคิดที่เหมือนไม่ใช่ความคิด
เรียกว่าเป็น ธรรมารมณ์ หรือ วิสัยจิต
คือมันผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านไป
ความคิดแบบนี้ไม่มีปัญหา
ไม่ต้องไปปฏิเสธมัน
ให้รับรู้เฉยๆ อย่าตามมัน
หากเราเผลอคิดตามมันไป
มันจะเกิดความคิดแบบที่สอง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

แบบที่สอง เรียกว่า “สังขารจิต”

เป็นอารมณ์ หรือความคิดที่ผ่านเข้ามา
แล้วไม่ผ่านไป มันจะติดข้องอยู่
ไม่ยอมผ่านไป
แล้วแปรสภาพเป็น
ความคิดปรุงแต่ง
และปรากฏตัวเป็นอารมณ์
ไปตามอำนาจของอวิชชา
ตอนที่เราเผลอตามมันไป
ต่อมา ตัณหา อุปาทาน กรรม
ก็จะเกิดตามมาเอง
อารมณ์ชนิดนี้มีปัญหา
และสร้างสมุทัย
อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
อย่างที่เราเป็นกันอยู่
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

แบบที่สาม เรียกว่า “วิสังขารจิต”

คือความคิดที่ผ่านเข้ามาแล้ว
เรามีสติปัญญารู้เท่าทัน คือมีเจตนา
อันเกิดจากกำลังสติปัญญา
ที่เราฝึกฝนอบรมมาอย่างดี
เป็นเหตุให้เกิดวิชชา
รู้จักคิด รู้จักที่มาของความคิด
รู้จักหยุดความคิด
และรู้จักวิธีจัดการกับความคิด
รู้จักวิธีบริหารใช้ความคิด
ไม่ปล่อยให้ความคิดเข้ามาในจิต
อย่างลอยนวลโดยไม่รู้สึกตัว
เมื่อเราฝึกสติ จนชำนิชำนาญแล้ว
ความคิดมันจะกลายเป็นวัตถุดิบ
แห่ง ศีล สมาธิ และ ปัญญา
เราจะไม่กลัวความคิดอีกต่อไป
จิตแบบนี้จะให้คิดก็ได้
เมื่อมีเหตุให้คิดก็คิด
เมื่อหมดเหตุก็หยุดคิด
ดังพุทธอุทานว่า
“วิสังขารคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา”
จิตของเราเข้าถึงแล้ว
ซึ่งความสิ้นไปของความอยาก คือตัณหา
เรียกว่า นิพพานจิต หรือ วิสังขารจิต
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)