ความเคยชินคือกล่องดำของชีวิต
จิตใต้สำนึก หรือสัญชาตญาณ และความเคยชินทั้งหมด ถือว่าเป็นกล่องดำของชีวิต เพราะเมื่อใดสติสัมปชัญญะของเราเริ่มอ่อนกำลัง การรับรู้ต่อสิ่งรอบข้างของเรา จะไม่ชัดเจน มันจะเบาบาง พร่ามัว บางครั้งเราจำเป็นต้องเพ่งกระแสความสนใจไปในสิ่งที่เรากำลังทำ พูด คิด เพียงจุดเดียว เพื่อให้เป้าหมายเฉพาะหน้าที่เรากำลังเกี่ยวข้องอยู่ ให้สำเร็จประโชน์ เช่น การเพ่งความใจอย่างเต็มที่ ในอ่านหนังสือ เขียน พิมพ์หนังสือ หรือแม้กระทั่งตั้งใจฟังหรือดูรายการพิเศษ ที่เราชอบเป็นต้น ในบรรยากาศเช่นนี้ เราจำเป็นต้องตั้งใจเป็นพิเศษลักษณะเช่นนี้ถือว่า เป็นการทำให้กำลังสติสัมปชัญญะอ่อนไป ได้หรือไม่? ตอบว่า “ไม่ใช่” เพราะขณะนั้น กำลังของสติสัมปชัญญะ ไปหน้าที่ของสมาธิ แต่มีข้อข้อแม้ว่า สิ่งที่ใจเข้าไปติดพันขณะนั้นๆ เป็นสัมมาสมาธิ หรือเป็นมิจฉาสมาธิ
เรื่องนี้ต้องแยกเป็นสองกรณีคือ 1. วัตถุหรือเป้าหมายที่เกี่ยวข้องคืออะไร? 2. วางน้ำหนักกำลังความใส่ใจ มุ่งไปทางไหนมากกว่า? ต้อพิจารณาเหตุผล 2 ประการดังนี้ประกอบด้วย ถึงจะตัดสินได้ว่า ถูกหรือผิด ซึ่งรายละเอียดสูงมาก จะไม่นำมากล่าวในที่นี้ แต่ในที่นี้ จะมุ่งกล่าวถึงความสำคัญของสัญชาตญาณหรือความเคยชิน ในฐานะเป็นกล่องดำของชีวิตจิตใจได้อย่างไร และจะจัดการแก้ไขอย่างไรกับเรื่องนี้
เพราะเหตุใดจึงเรียกความเคยชินว่าเป็นกล่องดำ
แล้วเราขาดสติตามรู้ต่อการกระทบนั้น
อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทบทุกครั้ง
จะเป็นกุศลหรืออกุศลหรือกลางๆ
มันจะถูกซึมซับผสมผสานกันเข้า
เรียกว่า “ภวังคจิต” หรือจิตกึ่งสำนึก
แต่เรานิยมเรียกว่า จิตไร้สำนึก
จิตดวงนี้เอง เวลามันทำงาน
มันก็จะออกมาตอนเราขาดสติเหมือนกัน
เวลามันเข้ามาในบ้าน มันไม่ให้เรารู้
เวลามันออกบ้านไป มันก็ไม่ให้เรารู้
จะสังเกตเห็นว่า เวลาเราฝัน
มันก็คิดปรุงแต่งออกมาเป็นเรื่องเป็นราว
จิตไร้สำนึก ก็กลายเป็นจิตรู้สำนึก
การที่เราไม่ใส่ใจที่จะรู้เท่าทันเรื่องนี้
ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดความเคยชิน
เหตุเกิดของอาสวะธรรมทุกชนิด
ที่นิยมใช้กับเครื่องบินว่า “กล่องดำ”
มีข้อมูลทั้งถูกต้องและผิดพลาด
วิปัสสนาผ่ากล่องดำ
ถ้าเราปฏิบัติธรรมด้วยไม่รู้ความจริง
เราไปหลงทำสมถะเพื่อบังคับให้จิตสงบ
แต่ทำไปด้วยความไม่รู้ จิตก็สงบไม่ได้
หรือบังจิตไร้สำนึก ไม่ให้ทำงาน
ยิ่งไม่ให้คิดมันก็ยิ่งคิด
ต้องทำงานตามหน้าที่ของมัน
จึงเป็นการระบายจิตไร้หรือใต้สำนึก
ให้เป็นจิตรู้สำนึกอย่างมีระบบ
แต่จิตรู้สำนึกมี 2 อย่างคือ
1. จิตรู้สำนึกที่ประกอบด้วยสัมมาสติ
ไปจนถึงสัมมาสมาธิและปัญญาญาณ)
2. จิตรู้สำนึกที่ประกอบด้วยมิจฉาสติ
ไปจนถึงมิจฉาสมาธิได้เช่นกัน)
สัญชาตญาณมาจากอวิชชาความไม่รู้เท่าทัน
สติที่เห็นโทษใช้ขัดเกลาจิต
แต่ถ้าเราได้เห็นโทษของมันแล้ว
การเห็นโทษเป็นเรื่องสำคัญ
ท่านใช้คำว่า มุญจิตุกัมมยตาญาณ
สิ่งที่เราทำไม่ดีทั้งหลาย
พ้นไปจากความไม่เข้าท่าของตัวเอง
เกิดภังคญาณ และเกิดนิพพิทาญาณ
บางอย่างก็รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองพูด ทำ คิด
มันไม่เข้าท่า แต่ก็ยังเลิกไม่ได้
แต่ที่แย่คือ ไมรู้สิ่งที่ไม่เข้าท่านั้น
คิดว่ายังเป็นข้อดีของตัวเองอยู่
ท่านเรียกว่าวาสนา วิบากกรรม
เราจึงมาฝึกตัวโยนิโสมนสิการ
โลกุตตรปัญญา เกิดจากการภาวนา
โยนิโสมนสิการ หลอมใจให้เป็นเพชร
เพชรถูกหลอมมาจากความร้อน
เพชรยิ่งสะอาด ยิ่งบริสุทธิ์ ยิ่งแข็ง
หลายหมื่นภพชาติด้วยความเพียร
พระอริยเจ้าจึงมีจิตที่แข็งเพราะบริสุทธิ์
ที่จะทำให้เราอยากพ้นไปจากสิ่งที่เป็นอยู่
พ้นไปจากความเคยชิน นิสัยเดิม
พ้นไปจากความโลภ ความโกรธ ความหลง
ความอยากพ้นนั้นต้องรุนแรงสุดๆ
ต้องเกิดความเบื่อหน่ายสุดๆ
นั่นแสดงว่า ต้องได้รับการฝึกฝน
ขัดเกลามาอย่างหนัก จนได้ภังคญาณ
ซึ่งจะต้องมีโยนิโสมนสิการ
คือ ฝึกฝน ขัดเกลา ตรวจสอบ ตนเอง
จนเห็นความไม่เข้าท่าของตนเอง
จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง
ให้เห็นความไม่เข้าท่านั้น
พระพุทธยานันทภิกขุ